ผลที่ตามมาจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 รวมทั้งวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมและผลกระทบต่อเศรษฐกิจขนานใหญ่ คลื่นสึนามิส่งผลให้มีผู้อพยพมากถึง 300,000 คนในภูมิภาคโทโฮกุ ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร น้ำ ที่พักอาศัย ยาและเชื้อเพลิงในผู้รอดชีวิต รัฐบาลญี่ปุ่นตอบสนองโดยระดมกำลังป้องกันตนเอง ขณะที่อีกหลายประเทศส่งทีมค้นหาและกู้ภัยช่วยค้นหาผู้รอดชีวิต องค์การช่วยเหลือทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลกยังได้ตอบสนอง โดยกาชาดญี่ปุ่นรายงานได้รับเงินบริจากว่า 1 พันล้านเยน ผลกระทบทางเศรษฐกิจมีทั้งปัญหาเฉียบพลัน ซึ่งการผลิตทางอุตสาหกรรมหยุดชะงักไปในหลายโรงงาน และปัญหาในระยะยาวกว่าในด้านการฟื้นฟูบูรณะ ซึ่งมีการประเมินไว้ที่ 10 ล้านล้านเยน ผลกระทบร้ายแรงอีกประการหนึ่งของสึนามิคือความเสียหายหนักอันเกิดแก่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีและโอกาสเกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และต้องการการทำความสะอาดราคาแพง
วิกฤตการณ์มนุษยธรรม
แผ่นดินไหวทำให้คนจำนวนมากต้องย้ายออกจากถิ่นฐาน จำนวนผู้อพยพครั้งหนึ่งเคยสูงเกิน 300,000 คน[1] ผู้รอดชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวบางส่วนเสียชีวิตในค่ายอพยพหรือในระหว่างขั้นตอนการอพยพ ค่ายอพยพจำนวนมากพยายามอย่างยิ่งในการจัดหาอาหารให้แก่ผู้อพยพ และไม่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพียงพอ[2][3]
การขาดแคลนเชื้อเพลิงทำให้ปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัยล่าช้า ในสัปดาห์แรกหลังแผ่นดินไหว เสบียงอาหาร น้ำและยาต้องรอออกไปเพราะการขาดแคลนเชื้อเพลิงและสภาพอากาศ[4] อาหารจำกัดสำหรับประชาชนที่ไม่อพยพ และจนถึงปลายเดือนมีนาคม ผู้อพยพบางคนได้รับอาหารเพียงหนึ่งมื้อต่อวัน[5]
มีความต้องการที่พักอาศัยชั่วคราว ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามนำตัวผู้อพยพบางส่วนออกจากค่ายอพยพขนาดใหญ่ ซึ่งมีรายงานว่าสภาพสุขอนามัยไม่ดี จนถึงปลายเดือนมีนาคม มีแผนสร้างหน่วยชั่วคราว 8,800 หน่วยในอิวาเตะ 10,000 หน่วยในมิยางิ และ 19,000 หน่วยในฟูกูชิมะ[6]
จนถึงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 จำนวนผู้อพยพในญี่ปุ่นอยู่ที่ 87,063 คน ในจำนวนนี้ 12,905 คนอาศัยอยู่ในค่ายอพยพสาธารณะ และอีก 19,918 คนอาศัยอยู่ในโรงเตี๊ยมหรือโรงแรม หน่วยที่พักอาศัยชั่วคราวสี่หมื่นหกพันแปดสิบเอ็ดหน่วย คิดเป็นราว 88 เปอรเซ็นต์ของจำนวนตามแผน ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว ผู้อพยพได้ย้ายเข้าไปอยู่ในที่พักอาศัยชั่วคราวที่มีอยู่ 73 เปอร์เซ็นต์[7]
อุบัติเหตุนิวเคลียร์
หลังเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิและการล้มเหลวของระบบหล่อเย็นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง และปัญหาซึ่งเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งอื่นในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีการประกาศภาวะฉุกเฉินนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น และราษฎร 140,000 คนที่อาศัยอยู่โดยรอบรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้าถูกอพยพ[9] เหตุระเบิดและเพลิงไหม้ส่งผลให้กัมมันตภาพรังสีระดับที่เป็นอันตราย ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ปิดตัวลดลงอย่างรุนแรงและการแห่ซื้อของ (panic buying) ในซูเปอร์มาร์เก็ต[10] สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและประเทศอื่นอีกบางประเทศแนะนำให้ประชาชนของตนพิจารณาออกจากกรุงโตเกียว จากความกลัวว่าจะมีการปนเปื้อนนิวเคลียร์ที่ขยายลุกลามออกไป อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้ความสนใจมึ่งไปยังปัญหามาตรฐานการออกแบบโครงสร้างแผ่นดินไหวนิวเคลียร์ญี่ปุ่น และส่งผลให้รัฐบาลประเทศอื่นประเมินโครงการนิวเคลียร์ของตนเช่นกัน จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 น้ำยังคงถูกเทเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายเพื่อหล่อเย็นแท่งเชื้อเพลิงที่กำลังหลอมละลายนั้น จอห์น ไพรซ์ อดีตสมาชิกฝ่ายนโยบายด้านความปลอดภัยที่บรรษัทนิวเคลียร์แห่งชาติของสหราชอาณาจักร กล่าวว่า "อาจใช้เวลา 100 ปี ก่อนที่แท่งเชื้อเพลิงที่กำลังหลอมละลายนั้นจะสามารถถูกนำออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่นได้อย่างปลอดภัย"[11]
ปัญหาในการรักษาความเสถียรของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งทำให้ทัศนะต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 "ชาวญี่ปุ่นมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ว่า ตนเป็นพวกต่อต้านนิวเคลียร์และไม่เชื่อข้อมูลเกี่ยวกับรังสีของรัฐบาล"[12] วิกฤตการณ์ฟูกูชิมะทีกำลังดำเนินไปอาจเป็นจุดจบของพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่น เมื่อ "พลเมืองที่เห็นค้านเพิ่มขึ้นและทางการท้องถิ่นปฏิเสธจะอนุญาตให้เครื่องปฏิกรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยแล้วกลับมาทำงานใหม่" ทางการท้องถิ่นสงสัยว่า ได้ดำเนินมาตรการความปลอดภัยเพียงพอหรือยัง และสงวนท่าทีที่จะให้อนุญาตตามที่กฎหมายกำหนด ก่อนที่จะนำเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ชะลอการทำงานไปนั้นกลับมาทำงานอีกครั้ง[12]
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
หลังเหตุแผ่นดินไหวนักวิเคราะห์บางคนทำนายว่าค่าฟื้นฟูบูรณะทั้งหมดอาจสูงถึง 10 ล้านล้านเยน (122,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[13] อย่างไรก็ตาม จนถึงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นประเมินว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดแก่วัสดุโดยตรงนั้นอาจสูงกว่า 25 ล้านล้านเยนแล้ว (300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของญี่ปุ่นหดตัวลง 3.7% ในไตรมาสแรกของ พ.ศ. 2554
พื้นที่โทโฮกุเหนือซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด มีส่วนสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถึงราว 8% ซึ่งมีทั้งโรงงานที่ผลิตสินค้า เช่น รถยนต์และเบียร์ ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านพลังงาน[14] พื้นที่ดังกล่าวรวมไปถึงทางเหนือของจังหวัดมิยางิ อันเป็นที่ตั้งของเมืองเซ็นได ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 300 กิโลเมตร พื้นที่จังหวัดมิยางิมีเขตผลิตและอุตสาหกรรมซึ่งมีทั้งเครื่องปฏิกรณ์เคมีและไฟฟ้า มีการประเมินว่าจังหวัดมิยะงิมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของญี่ปุ่น 1.7%[15]
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิมีผลกระทบอย่างรุนแรงเฉียบพลันแก่ธุรกิจ อย่างเช่น โตโยต้า นิสสันและฮอนด้า ซึ่งชะลอการผลิตอัตโนมัติทั้งหมดจนถึงวันที่ 14 มีนาคม บริษัทนิปปอนสตีล ก็ได้ยุติการผลิตด้วยเช่นกัน บริษัทโตโยไทร์แอนด์รับเบอร์ และซุมิโตโมรับเบอร์อินดัสตรีส์ ปิดสายการผลิตยางรถยนต์และยาง ขณะที่จีเอส ยูอาซะได้เปิดการผลิตแบตเตอร์รีรถยนต์ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่คาดว่าจะขัดขวางการสามารถจัดหาอุปทานสำหรับผู้ผลิตรถยนต์[16] บริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว โตชิบา บริษัททางรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก และชินเอ็ตสึเคมิคัล ได้รับการเสนอว่าเป็นบริษัทที่ไม่มั่นคงที่สุดจากผลของแผ่นดินไหว[17] โซนียังได้ชะลอการผลิตที่โรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมดหกแห่งในพื้นที่ ขณะที่ฟูจิเฮฟวีอินดัสตรีส์ไม่สามารถดำเนินการผลิตต่อได้ในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดในจังหวัดกุมมะและจังหวัดโทจิงิ[18] โรงงานอื่น ๆ ชะลอการผลิต ซึ่งรวมไปถึง คิรินโฮลดิงส์ แกล็กโซสมิทไคล์น เนสต์เล่[19] และโตโยต้า เนื่องจากการถูกตัดพลังงาน[20] การปิดตัวลงของโรงงาน การตัดไฟฟ้า และผลกระทบตามมาที่สันนิษฐานไว้ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาจส่งผลร้ายต่อจีดีพีของประเทศเป็นเวลาหลายเดือน ถึงแม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ ไมเคิล บอสกิน จะทำนายว่า "เศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย"[14][21]
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นที่เครดิตสวิส ฮิโรมิชิ ชิรากาวะ กล่าวในบันทึกถึงลูกค้าว่าประมาณการความเสียหายทางเศรษฐกิจอาจอยู่ที่ระหว่าง 171,000-183,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แค่เฉพาะพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเท่านั้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ธนาคากลางญี่ปุ่น ในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาด[22][23] ได้อัดฉีดเงินกว่า 15 ล้านล้านเยนเข้าสู่ตลาดการเงินเพื่อรับประกันเสถียรภาพทางการเงินท่ามกลางสภาวะที่หุ้นดิ่งลงอย่างรวดเร็วและความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ธนาคารกลางได้จัดคณะทำงานเฉพาะกิจฉุกเฉินเพื่อรับประกันสภาพคล่องหลังจากเกิดภัยพิบัติขึ้น ผู้ว่าการมาซาอากิ ชิรากาวา และคณะกรรมการบริหารธนาคารได้ขยายโครงการโดยซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อแลกเปลี่ยน-ค้ากองทุนถึง 10 ล้านล้านเยน ประธานธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่า การอัดฉีดเงินจะดำเนินต่อไปหากจำเป็น[24] อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดวิกฤตนิวเคลียร์รั่วไหล การกระทำของธนาคารกลางถูกตลาดมองว่าไร้ประสิทธิภาพ[25] ถึงแม้ว่าจะมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ตลาดมากกว่า 8 ล้านล้านเยนก็ตาม[26] วันที่ 15 ตุลาคม ดัชนีโทปิกซ์ดิ่งลงอีกครั้ง นับเป็นการดิ่งลงสองวันติดต่อกัน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เมื่อความเสี่ยงทางการเงินของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นาโอโตะ คัง ประกาศเตือนว่ามีการรั่วไหลเพิ่มเติมจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ไม่รับความเสียหาย โภคภัณฑ์ได้มีจำนวนลดลงอย่างมาก[27] มีรายงานว่าผู้อยู่อาศัยในโตเกียวแตกตื่นแห่กันไปเลือกซื้อสินค้าเพื่อกักตุนของใช้ประจำวันที่จำเป็นและน้ำมัน จากความเสี่ยงจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสีนิวเคลียร์ที่เพิ่มมากขึ้น[28]
เลขานุการคณะรัฐมนตรี ยูกิโอะ เอดาโนะ กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นประชุมในวันที่ 13 มีนาคม เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อหายนะดังกล่าว[29] เขายังกล่าวแก่โทรทัศน์เอ็นเอชเคว่า รัฐบาลจะใช้เงิน 200,000 ล้านเยนซึ่งยังคงเหลือจากปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งจะสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม เพื่อความพยายามฟื้นฟูประเทศอย่างเร่งด่วน มาตรการเพิ่มเติมอาจสามารถก่อหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นได้ (ซึ่งมีหนี้สาธารณะสูงที่สุดในโลกอยู่แล้ว) การใช้จ่ายเพิ่มเติมนี้ยังอาจกระทบต่อความต้องการพันธบัตรรัฐบาลอีกด้วย[14]
การผลิตซิลิกอนเวเฟอร์ชะงักในโรงงานของชินเอ็ตสึเคมิคอลและเอ็มอีเอ็มซีอิเล็กทรอนิกส์แมทีเรียล ซึ่งผลผลิตของทั้งสองบริษัทนี้คิดเป็น 25% ของการผลิตซิลิกอนเวเฟอร์ทั่วโลก การชะลอการผลิตดังกล่าวเป็นที่คาดว่าจะกระทบต่อการผลิตสารกึ่งตัวนำในประเทศอย่างรุนแรง ขึ้นอยู่กับการสามารถหาซิลิกอนเวเฟอร์ดังกล่าว[30][31]
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจบางคนมองว่า ท้ายที่สุดแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยเป็นการเพิ่มอาชีพระหว่างความพยายามฟื้นฟูประเทศ โดยหลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิน พ.ศ. 2538 ผลประกอบการทางอุตสาหกรรมลดลง 2.6% แต่ได้เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนต่อมา และอีก 1% ในอีกสองเดือนถัดมา หลังจากนั้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นเวลาอีกสองปีต่อมา และเร็วกว่าอัตราเติบโตเดิมเสียอีก[21] ขณะที่ความคิดเห็นบางส่วนระบุว่าภัยพิบัติดังกล่าวจะสร้างผลเสียต่อเศรษฐกิจ[32]
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
ตลาดหลักทรัพย์นิกเกของญี่ปุ่น ในส่วนของตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้ามีการปรับตัวลดลง 5% หลังจากทำการซื้อขายในตลาด[33] ธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาระบุว่าจะพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน[34] เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ข่าวของระดับกัมมันตรังสีที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ตลาดนิกเกดิ่งลงมากกว่า 1,000 จุด หรือ 10.6% (รวมแล้วทั้งสัปดาห์ลดลงถึง 16%) [35]
ตลาดหุ้นอื่นทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ดัชนีแด็กซ์ของเยอรมนีดิ่งลง 1.2% ภายในไม่กี่นาที[36] ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงดิ่งลง 1.8% ขณะที่ดัชนีคอมโพสิตเกาหลีใต้ตกลงไป 1.3%[37] เมื่อตลาดปิดทำการซื้อขายในวันที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นนั้น ดัชนีเอ็มเอสซีไอเอเชียแปซิฟิกลดลงถึง 1.8%[38] ตลาดหุ้นสำคัญของสหรัฐเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.5% ถึง 0.7%[39] ราคาน้ำมันเองก็ได้ปรับตัวลดลงจากผลของการปิดโรงกลั่นน้ำมันในญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงในลิเบียจะยังคงดำเนินต่อไป และการเดินขบวนประท้วงซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในซาอุดีอาระเบีย ราคาน้ำมันดิบสหรัฐลดลงเหลือ 99.01 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 100.08 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงเที่ยง และราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลดลง 2.62 ปอนด์ เหลือ 112.81 ปอนด์[40]
เงินสกุลเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว และแตะระดับสูงสุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่ 76.25 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากมีการคาดคะเนว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะส่งทรัพย์สินกลับประเทศเพื่อใช้จ่ายในการบูรณะ[41] เนื่องจากญี่ปุ่นพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก เงินเยนที่แข็งค่านั้นอาจทำลายเศรษฐกิจยิ่งลงไปอีก ความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงินได้ทำให้กลุ่มจี 7 ประชุมกันเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งได้ข้อสรุปเป็นความตกลงในการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนกับดอลล่าร์ร่วมกัน[42] ซึ่งนับเป็นพฤติการณ์ดังกล่าวครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2543[43]
การตอบสนองในญี่ปุ่น
นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ประกาศว่ารัฐบาลได้เรียกระดมกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเข้าไปในพื้นที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวแล้วหลายพื้นที่[44] เขาขอร้องให้สาธารณชนญี่ปุ่นให้อยู่ในความสงบและคอยรับฟังข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เพื่อรับทราบข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง[44][45] เขายังได้รายงานว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายครั้งได้ปิดตัวลงอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายและการรั่วไหลของกัมมันตรังสี[44] นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์ฉุกเฉินในสำนักงานของเขาเพื่อประสานการตอบสนองของรัฐบาล[45]
ปัจจุบันที่พักอพยพกำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มพกพา อาหาร ผ้าห่ม และสิ่งอำนวยความสะดวกห้องน้ำ โดยรัฐบาลได้จัดการของจำเป็นเหล่านี้ส่งไปยังพื้นที่ที่ต้องการเร่งด่วนอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากหลายพื้นที่ของญี่ปุ่นและต่างประเทศ[46] อุณหภูมิที่ลดลงเนื่องจากสายไฟฟ้าและแก๊สถูกรบกวนนั้นได้สร้างปัญหาเพิ่มเติมที่ที่พักพิงชั่วคราวดังกล่าว[47] เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีประชากรในญี่ปุ่น 336,521 คนที่ต้องย้ายออกจากบ้านและอาศัยอยู่ที่อื่น รวมทั้งในที่พักพิงชั่วคราว 2,367 แห่ง[48]
ทีมค้นหาและกู้ภัยในเมืองของญี่ปุ่นที่ถูกส่งตัวไปยังนิวซีแลนด์ ภายหลังแผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช พ.ศ. 2554 ถูกเรียกตัวกลับประเทศ[49]
สื่อหลายสำนักรายงานว่าชาวญี่ปุ่นรับมือกับภัยธรรมชาติดังกล่าวอย่างเป็นระเบียบและอดทน โดยไม่มีการปล้นสะดมหรือเกิดเหตุรุนแรงขึ้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังเข้าแถวรอซื้อสินค้าแม้ว่าสินค้านั้นจะหมดไปแล้วก็ตาม[50] ลักษณะเช่นนี้อาจเป็นลักษณะเฉพาะของชาวญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่า กามัง ซึ่งมีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า "ความอดทนและความอุตสาหะ"[51][52][53]
สิบวันหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ได้เริ่มต้นมีรายงานการลักขโมยและลักทรัพย์ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ เมื่อถึงวันที่ 20 มีนาคม ตำรวจจังหวัดมิยางิได้รับรายงานว่ามีการก่อเหตุลักทรัพย์ขึ้น 250 ครั้ง และสินค้าถูกขโมยไปจากร้านค้ารวมมูลค่า 4.9 ล้านเยน และเงินสด 5.8 ล้านเยน พยานรายงานว่าโจรได้ขโมยเงินสดและสมุดเงินฝากธนาคารจากบ้านที่ถูกทำลาย ฉกชิงทรัพย์จากร้านค้า และถ่ายน้ำมันจากยานพาหนะที่ถูกทิ้งไหว้หรือได้รับความเสียหาย[54][55][56]
การตอบสนองจากนานาชาติ
การร้องขอความช่วยเหลือ
ทางประเทศญี่ปุ่นได้ขอทีมช่วยเหลือจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[57][58] และได้ขอร้องผ่านทางองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นให้มีการเคลื่อนไหวด้านกฎบัตรระหว่างประเทศในพื้นที่และภัยพิบัติครั้งใหญ่ ให้ดาวเทียมได้แสดงความหลากหลายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมใช้งานร่วมกันกับการกู้ภัยและองค์กรให้ความช่วยเหลือ[59]
ความเกี่ยวข้องกับโลก
ญี่ปุ่นได้รับสาส์นแสดงความเสียใจและเสนอความช่วยเหลือจากผู้นำนานาประเทศ ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม มี 128 ประเทศ และ 33 องค์การระหว่างประเทศได้เสนอความช่วยเหลือไปยังญี่ปุ่น[60]
เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะได้จุดประเด็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ และนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 50,000 คนในชตุทการ์ทและการยกเลิกการแถลงข่าวที่เห็นด้วยกับนิวเคลียร์ในสหราชอาณาจักร[61]
ขณะที่กำลังเฝ้าจับตาระดับกัมมันตรังสีตามแนวชายฝั่งหลังจากเกิดวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ จีนซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักในปฏิบัติการช่วยเหลือในญี่ปุ่นถึงแม้ว่าจะประสบกับวิกฤตการณ์แผ่นดินไหวในประเทศของตนด้วยในขณะเดียวกัน ได้เริ่มต้นอพยพพลเมืองของตนจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติเลวร้ายที่สุดในญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554[62] ฝรั่งเศสเองก็ได้เริ่มต้นอพยพผู้ที่มีสัญชาติจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติเลวร้ายที่สุดเช่นกัน โดยมีการส่งเครื่องบินของสายการบินไปช่วยเหลือการอพยพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554[63][64] และเพื่อเป็นการรับมือกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสี รัฐบาลออสเตรียได้ย้ายสถานทูตในญี่ปุ่นของตนจากโตเกียวไปยังโอซากะ ห่างออกไป 400 กิโลเมตร[65]
ในหลายประเทศ ได้มีการจัดการรณรงค์ช่วยเหลือขึ้นทั้งโดยภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเงินสนับสนุนและส่งความช่วยเหลือมายังผู้ประสบภัยพิบัติและประชากรทั่วไปในญี่ปุ่น ไซท์ซื้อแบบเป็นกลุ่มได้จัดการรณรงค์ออนไลน์ซึ่งมีการระดมเงินหลายล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อส่งไปให้กับองค์การช่วยเหลือที่กำลังทำงานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น[66]
อ้างอิง
- ↑ "asahi.com(朝日新聞社):避難者、16都県で31万9121人―21日午後11時 – 社会". Asahi.com. 2011-03-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-22. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
- ↑ "asahi.com(朝日新聞社):避難所など震災関連死27人 医療設備不足や寒さ響く – 社会". Asahi.com. 2011-03-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
- ↑ Fujimura, Naoko. "Quake Evacuees Survive on Rice Balls, Bread, Seek to Avoid Contracting Flu". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-29.
- ↑ / Asia-Pacific – Fuel shortages hamper humanitarian effort. Ft.com (2011-03-17). Retrieved on 2011-04-01.
- ↑ Fackler, Martin (29 March 2011). "In Japanese Whaling Town, Food Is Rationed but Resolve Is Plentiful". The New York Times.
- ↑ Fujimura, Naoko. (2011-03-28) Japan Moves to Relocate Quake Victims After Meeting Food, Clothing Targets. Bloomberg. Retrieved on 2011-04-01.
- ↑ Kyodo News, "87,000 still in limbo five months after quake", Japan Times, 12 August 2011, p. 1.
- ↑ Tomoko Yamazaki and Shunichi Ozasa (June 27, 2011). "Fukushima Retiree Leads Anti-Nuclear Shareholders at Tepco Annual Meeting". Bloomberg.
- ↑ Weisenthal, Joe (11 March 2011). "Japan Declares Nuclear Emergency, As Cooling System Fails At Power Plant". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
- ↑ "Blasts escalate Japan's nuclear crisis". World News Australia. March 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-07. สืบค้นเมื่อ 2011-09-05.
- ↑ David Mark, Mark Willacy (April 1, 2011). "Crews 'facing 100-year battle' at Fukushima". ABC News.
- ↑ 12.0 12.1 Gavin Blair, (June 20, 2011). "Beginning of the end for nuclear power in Japan?". CSMonitor.
{{cite web}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
- ↑ "Japan looks for market stability after quake". The Independent. 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Anstey, Christopher. "Japan Plans Spending Package as Quake Slams World's Most Indebted Economy". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Osamu Tsukimori and Stanley White (2011-03-11). "BoJ pledges support; Toyota halts output". Reuters via Financial Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
- ↑ "Toyota, other automakers to suspend production at all domestic plants". Mainichi Daily News. Tokyo. 2011-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Fujimura, Naoko. "Tokyo Electric, Toshiba, East Japan Rail May Be Among Most Hurt by Quake". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Knight, Ben (2011-03-13). "Japan's monster quake cripples industry, strains economic recovery". Deutsche Welle. Reuters; Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Webb, Tim (2011-03-13). "Japan's economy heads into freefall after earthquake and tsunami". The Guardian. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Langeland, Terje. "Sony, Toyota Close Plants After Earthquake Damages Factories, Cuts Power". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
- ↑ 21.0 21.1 Wiseman, Paul; Rugaber, Christopher S. (2011-03-11). "Quake and tsunami a blow to fragile Japan economyR". San Francisco Chronicle. Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
- ↑ Kihara, Leika; Ishiguro, Rie (2011-03-14). "BOJ offers record 7 trillion yen to soothe markets". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
- ↑ Wearden, Graeme (2011-03-14). "Bank of Japan pumps billions into financial markets". The Guardian. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ Christopher Anstey and Mayumi Otsuma (2011-03-11). "BOJ Pledges Support on Japan Earthquake; Toyota Halts Output". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ Ujikane, Keiko. "Bank of Japan Fails to Contain Investor Panic as Nuclear Danger Escalates – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ Funabiki, Saburo. "Bank of Japan Adds 8 Trillion Yen Through 1-Day Operations – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ Armstrong, Paul. "Stocks, Commodities Fall Amid Japan Disaster; Treasuries Up – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ Ozasa, Shunichi. "Tokyo Shoppers Strip Stores as Nuclear Risk Sparks Panic – Bloomberg". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ "Japan says quake impact on economy 'considerable'". Agence France-Presse. 2011-03-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Becker, Nathan (21 March 2011). "Japan Quake Has Stopped About 25% Of Silicon-Wafer Production -IHS iSuppli". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ King, Ian (21 March 2011). "Japan Earthquake Suspends 25% of World Silicon, ISuppli Says". Bloomberg News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-21. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ "Japan's Tsunami- The Broken Window Fallacy Returns | XChange – The NBR Blog | Nightly Business Report". PBS. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
- ↑ Japan earthquake: market reaction
- ↑ "BOJ to Work to Ensure Financial Market Stability". 2011-03-11.
- ↑ "Treasurys Surge Following Nikkei Plunge". CNBC. 2011-03-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
- ↑ "Erdbeben Japan: Riesige Flutwelle spült Trümmer übers Land". Zeit Online (ภาษาเยอรมัน). 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
- ↑ "Japan earthquake hits global markets". London: The Telegraph. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ "Roubini Says Earthquake Is 'Worst Thing' at Worst Time for Japan Economy". Bloomberg. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ Bharatwaj, Shanthi (2011-03-11). "Stocks rebound after Japan earthquake". The Street. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ "Oil prices drop after Japan quake". Raidió Teilifís Éireann. 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
- ↑ "Yen hits record-high against US dollar as Nikkei falls". BBC. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ "Yen Declines After G-7's Post-Earthquake Market Intervention Pares Gain". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ "G7 agrees joint intervention to curb strong yen". Reuters.com. 18 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ 44.0 44.1 44.2 Christopher Anstey (2011-03-11). "Kan Mobilizes Forces, BOJ Pledges Liquidity After Quake".
- ↑ 45.0 45.1 Nikkei Inc. (2011-03-11). "Govt Takes Emergency Steps, Kan Asks People To Stay Calm". Nikkei.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
- ↑ Watts, Jonathan (2011-03-16). "After Japan's quake and tsunami, freezing weather threatens relief efforts". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
- ↑ "World English". NHK. 12 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
- ↑ NHK, 17 Mar, 04:01 am.
- ↑ "Japanese rescue team in NZ heads home". BigPond News. 2011-03-12.
- ↑ โลกทึ่งญี่ปุ่นไร้เหตุการณ์ปล้นสะดม-รับมือวิกฤตอย่างมีระเบียบวินัย เป็นตัวอย่างให้โลกอย่างดี. (15 มีนาคม 2554). มติชน. สืบค้น 23-3-2554.
- ↑ "U.S. troops exposed to radiation". Detroit Free Press. 16 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
- ↑ Lloyd, Mike (16 March 2011). "Japanese remain calm while dealing with quake aftermath". National Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
- ↑ "Crushed, but true to law of 'gaman'". The Australian. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 18 March 2011.
- ↑ Agence France-Presse and Jiji Press, "Desperation tests crime taboo", Japan Times, 21 March 2011, p. 2.
- ↑ Jiji Press, "Thieves, looters targeting Miyagi's quake-hit stores", Japan Times, 21 March 2011, p. 2.
- ↑ Allen, Nick (21 March 2011). "Japan earthquake: Looting reported by desperate survivors". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-21. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ Nebehay, Stephanie (11 March 2011). "Japan requests foreign rescue teams, UN says". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
- ↑ "Japan earthquake: Aid request to the UK". BBC News. 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
- ↑ "Disaster Charter – Earthquake in Japan". Disasterscharter.org. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011.
- ↑ Nomiyama, Chiz (21 March 2011). "Factbox: Japan disaster in figures". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2011. สืบค้นเมื่อ 21 March 2011.
- ↑ Stuart, Becky (2011-03-14). "Nuclear power comes under attack; solar stocks increase". pv magazine. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14.
- ↑ "China evacuates citizens from Japan quake areas". Yahoo!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
- ↑ "Japan earthquake: Anger over Fukushima evacuation plan". BBC. 16 March 2011.
- ↑ "Japan earthquake and tsunami: UN predicts nuclear plume could hit US by Friday | Mail Online". The Daily Mail. London. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
- ↑ Joe McDonald. "China activating plans to evacuate citizens from Japan". The Washington Times.
- ↑ "After Japan's Earthquake, Daily Deals became a Useful Tool for Daily Giving". Pinggers Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04 CS1 maint: postscript (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
ธรณีวิทยา | |
---|
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ | |
---|
สาธารณูปโภค ที่ได้รับผลกระทบ | |
---|
อุบัติภัยนิวเคลียร์ | |
---|