การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554
พลเรือนช่วญี่ปุ่นและกองกำลังสหรัฐในเขตมิซาวะขณะกำลังช่วยกันกู้พาหนะยานยนต์
จากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับข้อความแสดงความเสียใจและได้รับการเสนอความช่วยเหลือจากผู้นำต่างประเทศ ตามที่กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมี 116 ประเทศ และ 28 องค์กรระหว่างประเทศได้เสนอความช่วยเหลือไปยังประเทศญี่ปุ่น[ 1] ซึ่งบทความนี้เป็นรายชื่อของการตอบสนองด้านการช่วยเหลือการกุศลและด้านมนุษยธรรมสำหรับภัยจากธรรมชาติ จากภาครัฐบาลและองค์การสาธารณประโยชน์ โดยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการบริจาคเงินไปยังพื้นที่ประสบภัยพิบัติรวม 520 พันล้านเยน และผู้คน 930,000 รายได้รับความช่วยเหลือในความพยายามที่จะกู้คืนจากภัยพิบัติ[ 2]
การร้องขอ
ทางประเทศญี่ปุ่นได้ขอทีมช่วยเหลือจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา [ 3] [ 4] และได้ขอร้องผ่านทางองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ให้มีการเคลื่อนไหวด้านกฎบัตรระหว่างประเทศในพื้นที่และภัยพิบัติครั้งใหญ่ ให้ดาวเทียมได้แสดงความหลากหลายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมใช้งานร่วมกันกับการกู้ภัยและองค์กรให้ความช่วยเหลือ[ 5]
การตอบสนองจากนานาประเทศ
ชาวรัสเซียนำดอกไม้ไปแสดงความอาลัยยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงมอสโก
แคนาดา เริ่มแรกส่งทีมช่วยเหลือจำนวน 17 คน รวมทั้งอุปกรณ์ขจัดทางเคมี ชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ นายกรัฐมนตรีแคนาดา สตีเฟน ฮาร์ปเปอร์สั่งการนำเครื่องบินแคนาเดียนฟอร์ซ พร้อมอุปกรณ์ทางแพทย์ และวิศวกรรม
จีน ได้ส่งเงินช่วยเป็นจำนวนเงิน 167,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในวันเดียวพร้อมทีมเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ ออกจากประเทศ ณ วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยที่จีนก็ได้รับผลกระทบกับแผ่นดินไหวในมณฑลยูนนาน พ.ศ. 2554 ก่อนญี่ปุ่นเพียงหนึ่งวัน
ประธานาธิบดีไต้หวันสาธารณรัฐจีน ได้สั่งการบริจาคเงิน 100 ล้าน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ (ประมาณ 3.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 300 ล้านหยวน) พร้อมทั้งทีมช่วยเหลือ 35 คน และ ทีมช่วยเหลืออีก 28 คนจากกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งยังได้มีการรวบรวมเงินบริจาคส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยคิดเป็นมูลค่ารวมมากถึง 5,700 ล้านดอลลาร์ไต้หวันใหม่ หรือประมาณ 20,000 ล้านเยน ซึ่งเป็นตัวเลขยอดเงินบริจาคที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวันสำหรับการช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรมแก่ต่างประเทศ รวมทั้งยังส่งให้ไต้หวันเป็นประเทศที่บริจาคเงินช่วยเหลืออุบัติภัยในครั้งนี้ที่สูงที่สุดด้วย[ 16] [ 17]
ฮังการี หน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติฮังการีได้ส่งทีมสู้ภัยลงสู่บริเวณพื้นที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางเทคนิคและเจ้าหน้าเชี่ยวชาญพิเศษจำนวน 8 นาย
อินเดีย กำลังส่งเสื้อขนแกะและผ้าห่ม โดยแผนแรกจะเริ่มส่งเป็นประมาณ 22 ตัน[ 20]
อินโดนีเซีย ส่งทีมงานกู้ภัย ความช่วยเหลือทางเวชภัณฑ์และการแพทย์ และบริจาคเงินเป็นจำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[ 21]
อิสราเอล ได้ส่งองค์กรช่วยเหลือมนุษยธรรมแห่งอิสราเอล (IsraAID และ ZAKA) ได้แก่ผู้ตอบสนอง (first responders) ทีมเฉพาะสำหรับค้นหา และช่วยเหลือ พร้อมเจ้าหน้าที่เคลื่อนย้าย เจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน ทีมเจ้าหน้าที่แพทย์ และอุทกบุคลากร (water specialists)
ลาว บริจาค 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในการช่วยเหลือ[ 22]
เม็กซิโก ส่งทีมเฉพาะด้านค้นหาและช่วยเหลือ 8 คน กับสุนัข 5 ตัว พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา[ 25]
นิวซีแลนด์ ส่งทีมช่วยเหลือและทีมค้นหา พร้อมทั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือ 15 ตัน[ 26]
รัฐบาลปากีสถานให้ความช่วยเหลือผ่านทางสถานทูตปากีสถาน ณ กรุงโตเกียว โดยการส่งทีมงานสู่เมืองเซ็นได เพื่อติดตามสถานการณ์และช่วยเหลือผุ้ประสบภัย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม สมาคมชาวปากีสถานในญี่ปุ่นก็ได้จัดส่งอาหารไปช่วยเหลือ[ 27]
ฟิลิปปินส์ ส่งทีมช่วยเหลือ 41 คนจากคณะ 3 คณะประกอบด้วยทีมค้นหา และทีมช่วยเหลือที่ดีที่สุด และจะตามไปด้วย ฟิลิปปินส์แอร์ฟอร์ซ ซี-130 เครื่องบินบรรทุกสินค้า และลูกเรือ รัฐบาลฟิลิปปินส์พร้อมบริจาคเงินแด่ญี่ปุ่น 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เกาหลีใต้ เป็นประเทศแรกที่ได้ยื่นมือช่วยญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกด้วยทีมช่วยเหลือ โดยทีมแรกประกอบไปด้วย 5 คน และสุนัข 2 ตัว ถึงญี่ปุ่น ณ วันที่ 12 มีนาคม และอีกทีม 102 คน ถึง ณ วันที่ 14 มีนาคม[ 29] ทั้งยังมีการเตรียมพร้อมเพิ่มเติมหน่วยช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 100 ราย เกาหลียังเสนอส่งคนอีก 1,000 รายหากทางญี่ปุ่นมีความประสงค์[ 30] นอกเหนือจากการส่งคนไปช่วยเหลือแล้ว เกาหลีได้ส่งธาตุโบรอน สำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และแหล่งพลังงาน[ 31] หลายจังหวัดได้เสนอความช่วยเหลือเช่นกัน จังหวัดคย็องกี บริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มเติมด้านการช่วยเหลือ[ 32]
รัฐบาลเซอร์เบีย โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำส่งส่งทีมงานกู้ภัยจากหน่วยงานกู้ภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินสู่ญี่ปุ่น[ 33]
ศรีลังกา บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมงานแพทย์[ 35]
สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นปฏิบัติการณ์โทโมดาจิ[ 37] โดยใช้กำลังทหารจากหลายเหล่าทัพ เช่น กองเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส โรนัลด์เรแกน และอากาศยานจากฐานบินโยโกตะ[ 38] [ 39]
รัฐบาลเวียดนาม บริจาคเงินช่วยเหลือ 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ประชาชนชาวญี่ปุ่น[ 40]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "FACTBOX-Aid and rescue offers for Japan quake" . Reuters . 15 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011 .
↑ Jiji Press , "Disaster donations top ¥520 billion", Japan Times , 8 March 2012, p. 1.
↑ Nebehay, Stephanie (11 March 2011). "Japan requests foreign rescue teams, UN says" . Reuters . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011 .
↑ "Japan earthquake: Aid request to the UK" . BBC News . 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011 .
↑ "Disaster Charter – Earthquake in Japan" . Disasterscharter.org. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 12 March 2011 .
↑ "タイ国王夫妻が弔意" . 産経新聞 . 2011-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12 . (ญี่ปุ่น)
↑ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 13 มี.ค. 2554 ฉบับที่ 2957
↑ 8.0 8.1 หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 หน้า 1, 12
↑ " "พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ" มอบถุงยังชีพ 3 พันชุดช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2012-12-05 .
↑ "タイ政府、日本に医療チーム派遣 毛布、食料も" . newsclip . 2011-03-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14 . (ญี่ปุ่น)
↑ นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจที่ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิ [ลิงก์เสีย ]
↑ "News Headlines" . Cnbc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11 .
↑ "Factbox: Aid and rescue offers for Japan quake" . Reuters. March 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011 .
↑ "Rescue team ready for Japan" . BDnews24. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18 .
↑ "Cambodia expresses deep sympathy to Japan over massive quake" . People's Daily . 13 March 2011.
↑ http://www.president.gov.tw/Default.aspx?tabid=131&itemid=24168&rmid=514
↑ http://www.ly.gov.tw/01_lyinfo/0101_lynews/lynewsView.action?id=27193&atcid=27193
↑ 18.0 18.1 ABCnews, 15. März 2011, Outpouring of international support for Japan
↑ "Factbox: Aid and rescue offers for Japan quake" . Reuters. March 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ March 16, 2011 .
↑ "India, Lanka to send aid" . Hindustan Times . 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011 .
↑ "Indonesian Red Cross to send aid workers to quake-hit Japan" . Monstersandcritics.com. 2010-11-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-14 .
↑ "Aid continues to reach Japan, evacuations go on" . 16 March 2011.
↑ "Malaysia sends rescue team to Japan" . People's Daily Online . March 12, 2011. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011 .
↑ "Mercy Malaysia Deploys Four-Person Team to Tokyo" (Press release). Malaysian Medical Relief Society (Mercy Malaysia). March 13, 2011. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011 .
↑ Embajada de México en Japón [ลิงก์เสีย ]
↑ "New Zealand USAR team arrive in Japan" . 3 News. 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18 .
↑ "No Pakistani casualty in Japan earthquake, tsunami: FO" . Associated Press of Pakistan . 14 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18 .
↑ http://hosted.ap.org/dynamic/stories/E/EU_RUSSIA_TSUNAMI , AP News, 11 March 2011
↑ "[일본 대지진]대구소방본부 구조대원 日지진 현장서 구조활동" . Chosun. 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-16 .
↑ "[일본 대지진]김문수 "日에 구조대 1000명 파견 의사 전달" " . Chosun. 2011-03-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18 .
↑ "일본 "붕소 지원해달라"…한국 "재고 모자라도 주겠다" " . Chosun. 2011-03-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-16 .
↑ "[수도권I] 경기도 일본에 100만달러 구호금" . Chosun. 2011-03-16.
↑ "DACIC EXPRESSED CONDOLENCES AND OFFERED ASSISTANCE TO JAPAN" . Radio Srbija. 11 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18 .
↑ "Singapore sends rescue team to Japan" . AsiaOne . Singapore Press Holdings. March 12, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011 .
↑ Fernando, J.A. (14 March 2011). "Sri Lanka to send tri forces for rescue missions and US$1 million for Tsunami hit Japan" . Asian Tribune . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-03-14. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011 .
↑ Tsunami hits Japan after massive quake
↑ "U.S. military, aid teams headed for Japan" . Los Angeles Times. March 12, 2011.
↑ "Operation Tomodachi Aiding Japan Efforts" . lalate.com . 12 March 2011.
↑ "Relief workers, search and rescue teams arrive at Misawa AB" . U.S. Air Force. 13 March 2011. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18 .
↑ "VN offers aid to Japan, works on citizens' safety" [Việt Nam trợ giúp nhân dân Nhật Bản 200.000 USD] (Press release) (ภาษาอังกฤษ). Ha Thu. 2011/3/14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ 2011/3/14 . CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
แหล่งข้อมูลอื่น
ธรณีวิทยา พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ
สาธารณูปโภค ที่ได้รับผลกระทบ อุบัติภัยนิวเคลียร์