เคี่ยม (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotylelobium lanceolatum ) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Dipterocarpaceae พบในคาบสมุทรอินโดจีน คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว ลำต้นตรง ไม่มีพูพอน ถิ่นที่อยู่พบในบริเวณสังคมพืชบนสันทรายเขตร้อน (kerangas forest) หรือบริเวณป่าชายหาด ที่ระดับความสูงถึง 300 ม. (1,000 ฟุต) ยกเว้นในเกาะบอร์เนียวพบได้ที่ความสูงถึง 1,500 ม. (5,000 ฟุต)[ 1]
ลักษณะ
เคี่ยมเติบโตสูงได้ถึง 45 เมตร (150 ฟุต) โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นได้มากถึง 1.2 ม. (4 ฟุต) เปลือกสีน้ำตาลเข้มอมดำ ผิวแตกเป็นร่องลึกหลุดออกได้ ใบเดี่ยว ลักษณะเรียบเป็นมันรูปใบหอกถึงรูปไข่ ยาว 8 ซม. (3 นิ้ว) ดอกช่อสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 6 ซม. (2 นิ้ว)[ 3] เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดห่อเข้าหากัน ผลเดี่ยวมีปีกสีเขียวทรงลูกข่าง ผลแก่สีน้ำตาลปลิวตามลมได้
เนื้อไม้แข็งแรงทนทานใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกไม้ใส่ในภาชนะรองรับน้ำตาลไม่ให้บูดเน่า ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้ท้องร่วง[ 4]
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Ly, V.; Nanthavong, K.; Pooma, R.; Luu, H.T.; Khou, E.; Newman, M.F. (2017). "Cotylelobium lanceolatum " . IUCN Red List of Threatened Species . 2017 : e.T33069A2832191. doi :10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T33069A2832191.en . สืบค้นเมื่อ 20 November 2021 .
↑ 2.0 2.1 "Cotylelobium lanceolatum " . Plants of the World Online . Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 10 September 2021 .
↑ Ashton, Peter Shaw (September 2004). "Cotylelobium Pierre". ใน Soepadmo, Engkik; Saw, Leng Guan; Chung, Richard C. K. (บ.ก.). Tree Flora of Sabah and Sarawak . Vol. 5. Forest Research Institute Malaysia. pp. 80, 82–83. ISBN 9789832181590 .
↑ มัณฑนา นวลเจริญ (2009). พรรณไม้ป่าชายหาด . ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. p. 32. ISBN 9786161200305 .