มะขามป้อม

มะขามป้อม
พืช
ผล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: อันดับโนรา
วงศ์: วงศ์มะขามป้อม
สกุล: สกุลมะขามป้อม

L.[2]
สปีชีส์: Phyllanthus emblica
ชื่อทวินาม
Phyllanthus emblica
L.[2]
ชื่อพ้อง[3][4]
  • Cicca emblica (L.) Kurz
  • Diasperus emblica (L.) Kuntze
  • Dichelactina nodicaulis Hance
  • Emblica arborea Raf.
  • Emblica officinalis Gaertn.
  • Phyllanthus glomeratus Roxb. ex Wall. nom. inval.
  • Phyllanthus mairei H.Lév.
  • Phyllanthus mimosifolius Salisb.
  • Phyllanthus taxifolius D.Don

มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)[5]

มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็ก ๆ เพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง 20 เท่า

ถิ่นกำเนิด

มะขามป้อมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ในประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และในเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ศรีสังกา บังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน

ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้ว ๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด[5]

การใช้ประโยชน์

ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้[6] มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ได้

ชาวกะเหรี่ยงจะใช้เพื่อย้อมผ้าให้เป็นสีเทา[7]

อ้างอิง

  1. Roland, C. (2020). "Phyllanthus emblica". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T149444430A149548926. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T149444430A149548926.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Phyllanthus emblica". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  3. "Phyllanthus emblica L." World Flora Online. World Flora Consortium. 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  4. "Phyllanthus emblica L." Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanical Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 30 June 2022.
  5. 5.0 5.1 มะขามป้อม เก็บถาวร 2010-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ
  6. DO-ME เก็บถาวร 2018-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประโยชน์ของIndian Gooseberry
  7. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Phyllanthus emblica


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!