การกลืนลำบาก [ 1] [ 2] [ 3]
(อังกฤษ : Dysphagia )
ซึ่งแม้ ICD-10 จะจัดว่าเป็น "อาการและอาการปรากฏ " ของโรคต่าง ๆ[ 4]
แต่บางครั้งก็ใช้หมายถึงภาวะโดยเฉพาะของตนเอง[ 5] [ 6] [ 7]
และผู้ที่มีภาวะนี้ก็อาจไม่สำนึกว่าตนมี[ 8] [ 9]
มันอาจจะเป็นความรู้สึกว่าอาหารแข็งหรือเครื่องดื่มดำเนินผ่านปากไปจนถึงท้องได้ยาก[ 10]
หรืออาจไม่มีความรู้สึกที่คอหอย หรืออาจเป็นความบกพร่องในการกลืนอื่น ๆ
การกลืนลำบากต่างกับอาการอื่น ๆ รวมทั้งอาการกลืนเจ็บ [ 11]
และอาการเหมือนมีก้อนในลำคอ
เพราะบุคคลอาจกลืนลำบากโดยที่ไม่มีอาการกลืนเจ็บ หรือกลืนเจ็บโดยไม่ได้กลืนลำบาก หรือมีทั้งสองอย่างร่วมกัน
ส่วนอาการนี้ที่เกิดจากจิตใจเรียกว่า โรคกลัวการกิน (phagophobia)
อาการ
คนไข้บางคนสำนึกถึงอาการนี้ได้อย่างจำกัด ดังนั้น การไม่มีอาการไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีโรคที่เป็นเหตุ[ 12]
ถ้าอาการไม่ได้วินิจฉัย และรักษา คนไข้มีโอกาสเสี่ยงสูงในการสูดอาหารและน้ำเข้าปอด (pulmonary aspiration) แล้วเป็นปอดบวม เพราะเหตุนั้น
คนไข้บางคนอาจสูดอาหารและน้ำเข้าปอดแต่ก็ไม่มีอาการไอหรืออาการอื่น ๆ ที่เนื่องกัน (silent aspiration)
อาการที่ไม่ได้รักษาอาจทำให้ขาดน้ำ ขาดอาหาร และไตวาย
อาการของการกลืนลำบากที่ปากและคอหอย (oropharyngeal dysphagia) รวมจัดการอาหารในปากได้ยาก ควบคุมอาหารและน้ำลายในปากได้ยาก เริ่มกลืนลำบาก ไอ สำลัก ปอดบวมบ่อย ๆ น้ำหนักลดโดยไม่มีเหตุ เสียงเปลี่ยนหลังกลืน การสำลักออกทางจมูก และกลืนลำบาก[ 12]
เมื่อถามว่าอาหารไปติดที่ตรงไหน คนไข้บ่อยครั้งจะชี้ไปที่คอ
จุดที่อาหารติดจะอยู่ตรงที่คนไข้ชี้หรือต่ำกว่านั้น
อาการสามัญที่สุดของการกลืนลำบากในหลอดอาหาร (esophageal dysphagia)
ก็คือ กลืนอาหารแข็งได้ยาก ซึ่งคนไข้บอกว่าอาหารติดก่อนที่จะเข้าไปถึงท้อง หรือจะขย้อนขึ้น
อาการกลืนเจ็บจะต่างกันโดยเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจมีมะเร็งเยื่อบุ แต่ก็มีเหตุอื่น ๆ อีกมากมายเช่นกันที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง
ภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย (achalasia) เป็นข้อยกเว้นในเรื่องอาการทั่วไปของการกลืนลำบาก เพราะจะกลืนน้ำได้ยากกว่ากลืนอาหารแข็ง
ภาวะนี้มีเหตุจากความเสียหายต่อปมประสาทพาราซิมพาเทติกของข่ายประสาท (myenteric plexus) ที่ควบคุมการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หลอดอาหารส่วนล่างแคบลง และทำให้หลอดอาหารไม่บีบตัวทั่วทั้งหลอด
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของการกลืนยากอาจรวมการสูดอาหารและน้ำเข้าปอด ปอดบวม ขาดน้ำ และน้ำหนักลด
การจัดหมวด
อาการสามารถแบ่งออกเป็น[ 13]
การกลืนลำบากที่ปากและคอหอย (oropharyngeal dysphagia)
การกลืนลำบากในหลอดอาหาร (esophageal dysphagia)
กลุ่มอาการทางประสาทและกล้ามเนื้อ
การกลืนลำบากที่ไม่ใช่โรคกาย (functional dysphagia) คือเป็นอาการที่ไม่ได้มีเหตุจากโครงสร้างและอวัยวะ
ตารางต่อไปนี้แสดงเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้
เหตุที่เป็นไปได้ของการกลืนลำบาก
ตำแหน่ง
เหตุ
ปาก
คอหอย
ในช่อง:
ที่ผนัง
นอกผนัง
ฝีหลังคอหอย
โรคปุ่มน้ำเหลือง ที่คอ
เนื้อร้ายไทรอยด์
Eagle syndrome[ B]
หลอดอาหาร
ในช่อง
ที่ผนัง
หลอดอาหารตีบตันแต่กำเนิด (esophageal atresia)
การตีบที่ไม่ร้าย มีเหตุจากหลอดอาหารอักเสบเหตุกรดไหลย้อน การกลืนสารกัดกร่อน วัณโรค หรือรังสีบำบัด และภาวะหนังแข็ง
การกระตุกเนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย , Paterson-Kelly syndrome[ A] , พังผืดหลอดอาหาร , และ Schatzki ring
เนื้องอก เช่น มะเร็งหลอดอาหาร และ esophageal leimomyoma
ความผิดปกติทางประสาท เช่นที่มีเหตุจากอัมพาตก้านสมองส่วนท้าย , อัมพาตก้านสมองส่วนท้ายเทียม (pseudobulbar palsy), การผ่าตัดเอาประสาทเวกัสออก และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย
Crohn's disease
หลอดอาหารอักเสบเหตุติดเชื้อ Candida albicans
หลอดอาหารอักเสบแบบชอบอีโอซิโนฟิล (eosinophilic esophagitis)
นอกผนัง
โรคคอพอกหลังกระดูกอก (retrosternal goitre) คือต่อมไทรอยด์บวม
เนื้อร้าย
Zenker's diverticulum[ C]
ท่อเลือดแดงโป่งพอง
เนื้องอกเข้ามาในโครงสร้างตรงกลาง (mediastinal growth)
การกลืนลำบากเหตุหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าผิดปกติ (dysphagia lusoria)
Periesophagitis
กระเพาะอาหาร เลื่อนผ่านกะบังลม (hiatus hernia)[ D]
การผ่าตัดผูกหูรูดกระเพาะอาหารที่แน่นเกิน หรือการผูกแถบกระเพาะอาหาร (gastric banding)
ความลำบากหรือความไม่สามารถกลืนอาจมีเหตุจากหรือทำให้แย่ลงโดยยาฝิ่นและ/หรือยาโอปิออยด์ [ 17]
วิธีการวินิจฉัย
มาตรฐานในการวินิจฉัยการกลืนลำบากก็คือใช้เครื่องมือตรวจ เพราะบริเวณที่เป็นประเด็นไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า และคนไข้อาจจะไม่รู้สึกถึงการกลืนลำบากหรือสามารถกำหนดตำแหน่งที่เป็นปัญหาได้อย่างแม่นยำ
มาตรฐานอย่างหนึ่งเพื่อวินิจฉัยการกลืนลำบากที่ปากและคอหอยก็คือการให้กลืนเม็ดยาถ่ายเอ็กซ์เรย์ (MBSS /VFSS )
ซึ่งช่วยให้เห็นโครงสร้างและสรีรภาพเกี่ยวกับการกลืนด้วยภาพเอกซ์เรย์เคลื่อนไหว โดยได้มุมมองจากด้านข้าง (lateral) และจากหน้าไปหลัง (AP )
ผู้ชำนาญการจะวิเคราะห์การกลืนโดยแบ่งเป็นช่วง ๆ
สำหรับช่วงปาก สิ่งที่ประเมินก็คือ การปิดปาก การจัดการควบคุมก้อนอาหาร การเริ่มขยับลิ้น การเคี้ยว การเคลื่อนย้ายก้อนอาหาร และสิ่งที่เหลืออยู่ในปากเมื่อกลืน
สำหรับช่วงคอหอย สิ่งที่ประเมินคือ การปิดคอหอยด้วยเพดานปาก (velopharyngeal closure) การเริ่มกลืนที่คอหอย การยกคอหอยขึ้น การขยับกระดูกไฮออยด์ด้านหน้า การปิดฝากล่องเสียง การปิดโพรงคอหอยและความเร็วในการตอบสนอง การหดโคนลิ้นออก การบีบตัวของคอหอย และสิ่งที่เหลืออยู่ในคอยหอยเมื่อกลืนแล้ว
ส่วนหลอดอาหารจะวิเคราะห์การเคลียร์เทียบกับการเหลืออาหาร น้ำ และยา
สิ่งที่เหลือก็จะตรวจดูว่ามันกลับขึ้นมายังหลอดอาหารส่วนบนหรือเข้าไปในคอหอยและหลอดลมหรือไม่
เจ้าหน้าที่จะตรวจอาหารและน้ำประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเม็ดยาที่ให้กลืน
เป็นเรื่องสำคัญที่จะทดสอบสิ่งที่กลืนซึ่งมีความหนืดและปริมาณขนาดต่าง ๆ กัน
สิ่งที่ทดสอบปกติจะรวมน้ำเปล่า น้ำผลไม้ที่หนืดขึ้น น้ำผึ้ง ที่หนืดขึ้นอีก น้ำผัก ผลไม้ บด ขนมปัง กรอบ (หรือคุกกี้ ) ของที่มีความหนืดข้นไม่เท่ากัน และเม็ดยาที่กลืนกับน้ำหรือน้ำผักผลไม้บด (โดยขึ้นอยู่กับวิธีการวัดค่าพื้นฐาน)
เจ้าหน้าที่จะตรวจดูว่าการกลืนปลอดภัยหรือไม่ (คือไม่สูดเข้าทางลมหายใจ) และมีประสิทธิภาพหรือไม่ (คือไม่มีอะไรเหลือ)
จุดประสงค์ก็เพื่อตรวจว่า ทำไมจึงกลืนลำบากและว่า จะทำอะไรได้เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการกลืน
บางครั้งการดื่มน้ำธรรมดาอาจทำให้สูดเข้าทางลมหายใจได้ง่าย ดังนั้น เจ้าหน้าที่ก็อาจตรวจท่าทาง อิริยาบถ และวิธีการกลืนเพื่อป้องกันไม่ให้สูดเข้าทางลมหายใจ โดยจะขึ้นอยู่กับร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของบุคคลนั้น
วิธีการหนึ่งที่อาจเพิ่มความปลอดภัยในการกลืนของเหลว ก็คือเปลี่ยนความหนืด เช่นทำให้ข้นขึ้น ไม่ว่าจะในระดับต้น กลาง หรือข้นสุด ๆ
ถ้ามีของเหลือมากหลังจากกลืน ก็จะมีเทคนิคเพื่อลดปัญหานี้
ดูเรื่องการรักษาต่อไปสำหรับกลยุทธ์การกลืนเพื่อแก้ปัญหาหรือวิธีการเพื่อฟื้นฟูสภาพ
มาตรฐานอีกอย่างเพื่อวินิจฉัยการกลืนยากก็คือการส่องกล้องต่อเส้นใยนำแสงผ่านจมูก (FEES )
ซึ่งทำโดยให้กลืนอาหารและน้ำเช่นเดียวกัน บวกกับการหาว่าทำไมจึงกลืนยากและสามารถทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาได้
การตรวจนี้ดีกว่าตรงที่ไม่ต้องจำกัดการถูกกับรังสีเอ็กซ์เรย์
ดังนั้น จึงสามารถดูคนไข้ในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเมื่อทานอาหาร
กล้องส่องจะบางมากและปกติจคนไข้จะอดทนได้ดีแม้เมื่อไม่ใช้ยาชาที่จมูก
อย่างไรก็ดี การกลืนแป้งถ่ายเอ็กซเรย์ (barium swallow study/esophagram/upper GI study) จะช่วยให้ตรวจหลอดอาหารทั้งหมดได้ดีที่สุด
โดยอาจต้องทานเป็นจำนวนมากเพื่อให้ขยายช่องหลอดอาหารเพื่อตรวจ
เป็นการตรวจที่สามารถประเมินกรดไหลย้อนเป็นบางส่วนด้วย ซึ่งไม่เหมือนเมื่อตรวจด้วย VFSS
แต่วิธีการตรวจทั้งสองก็สามารถช่วยให้เห็นอาการ Zenker's diverticulum[ C] ได้
ความเสี่ยงอย่างหนึ่งก็คือ แป้งที่กลืนอาจล้นช่อง ทำให้ย้อนขึ้นไปสู่คอหอยแล้วสูดเข้าปอดหลังกลืน
ภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย จะตรวจได้ดีที่สุดโดยวิธีนี้ ซึ่งสามารถแสดงปลายหลอดอาหารอันแคบลงเหมือนกับจะงอยปากนก หรือเหมือนกับหางหนู
เมื่อหลอดอาหารตีบ น้ำแป้งที่ทานเข้าไปอาจจะเหลืออยู่ด้านบนของส่วนที่ตีบแล้วค่อย ๆ ไหลลง
ซึ่งก็สามารถเห็นได้เหมือนกันด้วย VFSS ถ้าแพทย์สงสัยว่ามีหลอดอาหารตีบหรือไม่บีบตัวตั้งแต่แรก
คือสามารถดูตามหลอดอาหารเมื่อได้ทานอาหารแข็งเช่นขนมปังหรือคุกกี้
การตามดูหลอดอาหารด้วย VFSS จะมีประโยชน์มากเพราะสามารถตรวจเมื่อกลืนสิ่งต่าง ๆ ที่ทดสอบได้
ส่วนการกลืนแป้งหรือเม็ดยาปกติจะตามดูได้แต่แป้งและเม็ดยาเท่านั้น
วิธีการตรวจอื่น ๆ รวมทั้ง
การส่องกล้องดูหลอดอาหาร (esophagoscopy) หรือดูคอหอย (laryngoscopy) จะทำให้ดูช่องทั้งสองได้โดยตรง
การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ที่หน้าอก อาจแสดงอากาศและน้ำภายในอวัยวะที่คั่นระหว่างปอด และ Pott's disease ซึ่งเป็นการติดเชื้อวัณโรคนอกปอด และหลอดเลือดโป่งพองแบบมีแคลเซียมเกาะก็สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีนี้
การตรวจสอบการบีบตัวของหลอดอาหาร (esophageal motility study) จะมีประโยชน์เมื่อมีภาวะกล้ามเนื้อเรียบไม่คลาย หรือมีหลอดอาหารกระตุกแบบกระจาย (diffuse esophageal spasm)
การตรวจสอบเซลล์หลอดอาหารที่หลุดออกเป็นแผ่นสามารถทำจากน้ำล้างหลอดอาหารที่ได้เมื่อส่องกล้องดูหลอดอาหาร ซึ่งสามารถตรวจจับเซลล์เนื้อร้ายในระยะต้น ๆ
อัลตราซาวนด์ และเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ จะไม่ช่วยให้พบเหตุของการกลืนยาก แต่สามารถตรวจจับก้อนเนื้อในอวัยวะที่คั่นระหว่างปอดกับเอออร์ตาโป่งพอง (aortic aneurysm)
การส่องกล้องต่อเส้นใยนำแสง (FEES ) พร้อมกับตรวจสอบประสาทรับความรู้สึก ต่าง ๆ อาจทำโดยแพทย์ที่รักษาปัญหาเกี่ยวกับการพูด ซึ่งก็ทำโดยให้ทานของที่ข้นต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว
เสียงและแรงสั่นที่มาจากการกลืนอาจใช้คัดกรองปัญหาการกลืนลำบาก แต่วิธีเช่นนี้ยังเป็นประเด็นงานวิจัยในระยะต้น ๆ[ 18]
การวินิจฉัยแยกแยะโรค
เหตุของการกลืนลำบากทั้งหมดต่างก็เป็นวินิจฉัยแยกแยะโรคของอาการนี้ เหตุที่สามัญรวมทั้ง
การกลืนลำบากในหลอดอาหารมีเหตุเกือบทั้งหมดจากโรคในหลอดอาหารหรืออวัยวะข้างหลอดอาหาร แต่บางครั้งก็เกิดจากแผลที่คอหอยหรือกระเพาะอาหารเหมือนกัน
ในโรคที่ก่อการกลืนลำบากหลายอย่าง ช่องหลอดอาหารจะแคบลงและขยายออกไม่ได้โดยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ตอนแรกเพียงแค่อาหารแข็งที่มีใยอาหาร จะก่อปัญหา แต่ตอนหลังอาจเป็นอาหารแข็งทุกอย่าง และหลังจากนั้นแม้น้ำก็อาจก่อปัญหา
คนไข้ที่มีปัญหากลืนลำบากอาจได้ประโยชน์จากน้ำที่ทำให้หนืดขึ้ดถ้าทานแล้วรู้สึกสบาย แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่า น้ำเช่นนี้มีประโยชน์จริง ๆ
การกลืนลำบากอาจเป็นผลของความผิดปกติของระบบประสาทอิสระ เช่น ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง [ 20]
และ ALS [ 21]
หรือเกิดจากการรักษาภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ที่ทำเร็วเกินไป[ 22]
การรักษา
มีวิธีการรักษาการกลืนลำบากหลายอย่าง เช่นบำบัดการกลืน เปลี่ยนอาหาร ใช้หลอดป้อนอาหาร ยา และการผ่าตัด
การรักษาการกลืนลำบากอาจจะต้องอาศัยผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ
รวมทั้งผู้บำบัดการพูด-ภาษาที่ชำนาญการในเรื่องปัญหาการกลืน แพทย์หลัก แพทย์โรคทางเดินอาหาร พยาบาล ผู้บำบัดในเรื่องการหายใจ นักชำนาญการในเรื่องอาหาร ผู้บำบัดเรื่องทางอาชีพ ผู้บำบัดทางกายภาพ และรังสีแพทย์ [ 12]
โดยบทบาทของผู้ชำนาญการเหล่านี้จะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับรูปแบบปัญหาการกลืน
ยกตัวอย่างเช่น ผู้บำบัดเรื่องการกลืนจะเป็นผู้รักษาคนไข้ที่กลืนลำบากในปากและคอหอย ส่วนแพทย์โรคทางเดินอาหารจะเป็นผู้บำบัดโรคหลอดอาหารโดยตรง
วิธี
วิธีการรักษาควรจะขึ้นกับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดของผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ
กลยุทธ์การรักษาจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับคนไข้ และควรจะทำตามความจำเป็นของคนไข้
โดยเลือกตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น วินิจฉัย พยากรณ์โรค การตอบสนองของคนไข้ต่อวิธีการชดเชยปัญหา ความรุนแรงของอาการ สภาพทางจิตใจ/ประชาน การทำงานของระบบหายใจ ผู้ช่วยดูแลคนไข้ และแรงจูงใจและความต้องการของคนไข้[ 12]
การรับอาหารและน้ำ
แผนการรักษาต้องให้อาหารและน้ำแก่คนไข้อย่างเพียงพอ
จุดประสงค์หลักของการรักษาก็เพื่อให้คนไข้ทานอาหารและน้ำทางปากได้
โดยต้องให้ได้พอและทำได้อย่างปลอดภัยด้วย (คือไม่สูดเข้าปอด)[ 12]
ถ้าการทานอาหารทางปากทำให้ใช้เวลาทานนานขึ้นและต้องใช้ความพยายามมากขึ้นแล้วทำให้ได้อาหารไม่เพียงพอเพื่อดำรงน้ำหนัก อาจจะต้องให้อาหารคนไข้โดยวิธีอื่น ๆ
อนึ่ง ถ้าคนไข้สูดอาหารหรือน้ำเข้าปอดแม้ใช้วิธีการชดเชยปัญหาแล้ว ทำให้ทานอาหารได้อย่างไม่ปลอดภัย อาจจะต้องได้อาหารทางอื่นที่ไม่ผ่านปาก
เช่นผ่านหลอดส่งผ่านจมูกเข้าไปยังกระเพาะอาหาร การผ่าตัดทำรูเปิดกระเพาะ หรือการผ่าตัดทำรูเปิดลำไส้เล็กส่วนกลาง [ 12]
วิธีการรักษา
วิธีการชดเชย จะเปลี่ยนการไหลของอาหารและน้ำเข้าไปในท้อง แต่ไม่ได้เปลี่ยนสรีรภาพในการกลืน ซึ่งอาจรวม[ 12]
การวางอิริยาบถ/การเปลี่ยนท่าทาง
การเปลี่ยนความหนืดความข้นของอาหาร
การเปลี่ยนปริมาณอาหารและความเร็วช้าในการกลืน
การเพิ่มความสำนึกถึงสิ่งที่อยู่ในปาก
อุปกรณ์ในปากที่ช่วยกลืน
วิธีการรักษา เพื่อเปลี่ยนหรือปรับปรุงสรีรภาพในการกลืนอาจรวม[ 12]
การฝึกเคลื่อนไหวปากและคอหอย
การฝึกขืนวิธีการจัดการ/กลืนอาหารดังที่เคยทำมาก่อน
การฝึกจัดการควบคุมคำอาหาร
การฝึกการกลืน
Supraglottic swallow
Super-supraglottic swallow
Effortful swallow
Mendelsohn maneuver
อาจจะต้องรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ร่มกันเพื่อให้กลืนอาหารได้อย่างปลอดภัยและได้อาหารอย่างเพียงพอ
เช่น อาจต้องเปลี่ยนอิริยาบถร่วมกับการฝึกการกลืน
ความระบาด
ความผิดปกติในการกลืนอาจเกิดในกลุ่มอายุใดก็ได้ และอาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด ความเสียหายต่ออวัยวะ หรือโรคอื่น ๆ[ 12]
ปัญหาการกลืนเป็นเรื่องสามัญสำหรับผู้สูงอายุ โดยการกลืนลำบากก็มีความชุก ที่สูงกว่าในผู้สูงอายุ[ 23] [ 24]
ในคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง [ 25]
และในคนไข้ที่เข้ารักษาในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกโรคเรื้อรัง
การกลืนลำบากมีเหตุต่าง ๆ หลายอย่าง ซึ่งสามารถรู้ได้โดยการสอบประวัติคนไข้[ 26]
ประวัติคำ
คำภาษาอังกฤษว่า "dysphagia" มาจากคำกรีกโบราณ คือ dys ซึ่งแปลว่าไม่ดีหรือผิดปกติ และรากศัพท์ว่า phag- ซึ่งหมายถึงการกิน
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 1.2 Paterson-Kelly syndrome เป็นโรคที่มีน้อยและมีอาการกลืนลำบาก โลหิตจาง เหตุขาดธาตุเหล็ก ลิ้นอักเสบ ริมฝีปากอักเสบ และพังผืดหลอดอาหาร[ 19]
↑ Eagle syndrome เป็นภาวะที่มีน้อยซึ่งมีอาการเจ็บฉับพลันคล้ายที่เกิดทางประสาท ตรงกระดูกขากรรไกรและข้อ ที่หลังคอ และที่โคนลิ้น ซึ่งจุดชนวนโดยการกลืนหรือการขยับขากรรไกร หรือการเอี้ยวคอ[ 14]
อาการมีเหตุจากระดูกสไตลอยด์ โพรเซส ที่ขมับซึ่งยาวหรือมีรูปร่างผิดปกติ หรือเกิดจากการมีแคลเซียมเกาะที่เอ็น Stylohyoid เพราะกวนการทำงานของโครงสร้างและอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
↑ 3.0 3.1 3.2 Zenker's diverticulum เป็นช่องพองซึ่งเกิดที่เยื่อเมือกของคอหอยเหนือหูรูดด้านบนของหลอดอาหาร ซึ่งมีเหตุจากแรงดันที่เกิดผิดปกติทางด้านล่างของคอหอย ทำให้ส่วนที่อ่อนแอที่สุดป่องออก จนอาจทำให้มีขนาดเป็นหลายเซนติเมตร
↑ 4.0 4.1 hiatus hernia เป็นภาวะที่อวัยวะในท้อง (โดยปกติกระเพาะอาหาร ) จะเลื่อนผ่านกะบังลม เข้าไปในช่องกลางของหน้าอก
ซึ่งอาจมีผลเป็นโรคกรดไหลย้อน [ 15] [ 16]
อาการอื่น ๆ อาจรวมกลืนลำบากและเจ็บหน้าอก
ภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งโลหิตจาง เหตุขาดธาตุเหล็ก ไส้บิดเกลียว (volvulus) การอุดกั้นลำไส้ (bowel obstruction)[ 15]
↑ Esophageal varices เป็นเส้นเลือดดำใต้เยื่อเมือกซึ่งบวมมากโดยอยู่ที่ส่วนล่าง (1 / 3 ) ของหลอดอาหารและมีเหตุจากตับแข็ง ซึ่งก่อความดันสูงในหลอดเลือดดำจากระบบทางเดินอาหารไปยังตับ เป็นภาวะที่ทำให้เสี่ยงเลือดออกสูง
อ้างอิง
↑
Dysphagia . ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕ . (ซีดีรอม). "(แพทยศาสตร์) การกลืนลำบาก".
↑
Smithard DG, Smeeton NC, Wolfe CD (2007). "Long-term outcome after stroke: does dysphagia matter?". Age Ageing . 36 (1): 90–4. doi :10.1093/ageing/afl149 . PMID 17172601 .
↑
Brady, A (2008). "Managing the patient with dysphagia". Home Healthc Nurse . 26 (1): 41–6, quiz 47-8. doi :10.1097/01.NHH.0000305554.40220.6d . PMID 18158492 .
↑ "ICD-10:" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 13 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 .
↑
Boczko, F (2006). "Patients' awareness of symptoms of dysphagia" . J Am Med Dir Assoc . 7 (9): 587–90. doi :10.1016/j.jamda.2006.08.002 . PMID 17095424 .
↑
"Dysphagia" . University of Virginia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 9 กรกฎาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008 .
↑
"Swallowing Disorders - Symptoms of Dysphagia" . New York University School of Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2008 .
↑
Parker C, Power M, Hamdy S, Bowen A, Tyrrell P, Thompson DG (2004). "Awareness of dysphagia by patients following stroke predicts swallowing performance". Dysphagia . 19 (1): 28–35. doi :10.1007/s00455-003-0032-8 . PMID 14745643 .
↑
Rosenvinge SK, Starke ID (2005). "Improving care for patients with dysphagia" . Age Ageing . 34 (6): 587–93. doi :10.1093/ageing/afi187 . PMID 16267184 .
↑ Sleisenger, Marvin H.; Feldman, Mark; Friedman, Lawrence M. (2002). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal & Liver Disease (7th ed.). Philadelphia, PA: W.B. Saunders Company. Chapter 6, p. 63. ISBN 0-7216-0010-7 .
↑ "Dysphagia" . University of Texas Medical Branch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 .
↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Logemann, Jeri A. (1998). Evaluation and treatment of swallowing disorders . Austin, Tex: Pro-Ed. ISBN 0-89079-728-5 .
↑ Spieker, Michael R. (15 มิถุนายน 2000). "Evaluating Dysphagia" . American Family Physician (ภาษาอังกฤษ). 61 (12): 3639–3648. PMID 10892635 .
↑ Waldman, SD (6 มิถุนายน 2013). Atlas of Uncommon Pain Syndromes . Elsevier Health Sciences. pp. 35–36. ISBN 1-4557-0999-9 .
↑ 15.0 15.1
Roman, S; Kahrilas, PJ (2014-10-23). "The diagnosis and management of hiatus hernia". BMJ (Clinical research ed.) (349): g6154. doi :10.1136/bmj.g6154 . PMID 25341679 .
↑
"Hiatal Hernia" . PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2017 .
↑ "Opioid Effects on Swallowing and Esophageal Sphincter Pressure" . clinicaltrials.gov . US National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2018 .
↑ Dudik JM, Coyle JL, Sejdić E (2015). "Dysphagia screening: Contributions of cervical auscultation signals and modern signal processing techniques" . IEEE Transactions on Human-Machine Systems . 45 (4): 465–477. doi :10.1109/thms.2015.2408615 . PMC 4511276 .
↑ Novacek G (2006). "Plummer-Vinson syndrome" . Orphanet J Rare Dis. (1): 36. doi :10.1186/1750-1172-1-36 . PMC 1586011 . PMID 16978405 .
↑ Edmiaston J, Connor LT, Loehr L, Nassief A (กรกฎาคม 2010). "Validation of a dysphagia screening tool in acute stroke patients" . Am J Crit Care . 19 (4): 357–64. doi :10.4037/ajcc2009961 . PMC 2896456 . PMID 19875722 .
↑ Noh EJ, Park MI, Park SJ, Moon W, Jung HJ (กรกฎาคม 2010). "A case of amyotrophic lateral sclerosis presented as oropharyngeal Dysphagia" . J Neurogastroenterol Motil . 16 (3): 319–22. doi :10.5056/jnm.2010.16.3.319 . PMC 2912126 . PMID 20680172 .
↑ Martin, RJ (กันยายน 2004). "Central pontine and extrapontine myelinolysis: the osmotic demyelination syndromes" . J Neurol Neurosurg Psychiatry . 75 (Suppl 3): iii22–8. doi :10.1136/jnnp.2004.045906 . PMC 1765665 . PMID 15316041 .
↑
Shamburek RD, Farrar JT (1990). "Disorders of the digestive system in the elderly". N. Engl. J. Med . 322 (7): 438–43. doi :10.1056/NEJM199002153220705 . PMID 2405269 .
↑
"When the Meal Won't Go Down" . New York Times. 21 เมษายน 2010. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2014 .
↑ Martino R, Foley N, Bhogal S, Diamant N, Speechley M, Teasell R (2005). "Dysphagia after stroke: incidence, diagnosis, and pulmonary complications" . Stroke . 36 (12): 2756–63. doi :10.1161/01.STR.0000190056.76543.eb . PMID 16269630 .
↑ Ingelfinger FJ, Kramer P, Soutter L, Schatzki R (1959). "Panel discussion on diseases of the esophagus". Am. J. Gastroenterol . 31 (2): 117–31. PMID 13617241 .
แหล่งข้อมูลอื่น