โรคหน้าที่ [ 1] [ 2]
หรือ ความผิดปกติเชิงหน้าที่
(อังกฤษ : functional disorder, functional disease, functional illness [ 2] )
เป็นความผิดปกติที่มีอาการแต่ไม่สามารถกำหนดเหตุทางกายได้[ 2] [ A]
เป็นภาวะทางการแพทย์ ที่ขัดกับการทำหน้าที่ปกติของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย แต่ตรวจไม่เจอความผิดปกติเมื่อตรวจร่างกาย เมื่อตัดเนื้อออกตรวจ หรือแม้แต่เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ภายนอกจะไม่ปรากฏอะไรที่ผิดปกติ
เทียบกับโรคโครงสร้าง/โรคกาย (structural disorder/organic disorder) ที่จะเห็นบางส่วนของร่างกายว่าผิดปกติ หรือโรคกายเหตุจิต (psychosomatic disorder) ที่มีเหตุจากความเจ็บป่วยทางจิตใจ
แต่นิยามต่าง ๆ ที่ใช้ก็ยังต่าง ๆ กันในวงการแพทย์
โดยทั่วไป กลไกที่เป็นเหตุให้เกิดโรคเชิงหน้าที่ไม่ชัดเจน มีความเข้าใจน้อย หรือบางครั้งไม่สำคัญในการรักษา
สมอง หรือระบบประสาท บ่อยครั้งเชื่อว่ามีบทบาท
คนไข้ที่มีโรคหน้าที่ชนิดหนึ่งก็จะมีชนิดอื่น ๆ อีกด้วยอย่างสามัญ
สถานะ
โรคทางการแพทย์จะเรียกว่าโรคทางหน้าที่หรือไม่ โดยส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับความรู้ที่มี
โรคบางชนิดรวมทั้งโรคลมชัก โรคจิตเภท และไมเกรน ครั้งหนึ่งเคยจัดว่าเป็นโรคหน้าที่ แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้จัดอย่างนั้นแล้ว[ 4]
ตัวอย่าง
ตัวอย่างของโรคที่ยังไม่ปรากฏเหตุทางกายรวมทั้ง
กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (Irritable bowel syndrome)
ไฟโบรไมอัลเจีย
กลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome)
เจ็บเชิงกรานเรื้อรัง (chronic pelvic pain)
กลุ่มอาการเจ็บกระเพาะปัสสาวะ (bladder pain syndrome)
การทำงานผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint dysfunction)
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
อ้างอิง
↑ "functional disease", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕ , (แพทยศาสตร์) โรคหน้าที่ ,"disorder", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕ , (จิตเวช) โรค, ความผิดปรกติ
↑ 2.0 2.1 2.2 "functional disorder", Physicians' Desk Reference , 2006, ISBN 978-1563635267 , a disease characterized by physical symptoms with no known or detectable organic basis. See behavior d., neurosis. SYN: functional disease, functional illness.
↑ "functional disroder", WordNet 2.0 , มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน , 2003, disorder showing symptoms for which no physiological or anatomical cause can be identified
↑ Natelson, Benjamin H. (1998). Facing and fighting fatigue: a practical approach . New Haven, Conn: Yale University Press. pp. 33 . ISBN 0-300-07401-8 .