เลือดแฝงในอุจจาระ
เลือดแฝงในอุจจาระ บัตรและขวดที่ใช้เพื่อตรวจเลือดแบบ Hemoccult test ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ stool guaiac test
เลือดแฝงในอุจจาระ [ 1]
(อังกฤษ : Fecal occult blood , ตัวย่อ FOB )
หมายถึงเลือด ในอุจจาระ ที่ไม่ปรากฏให้เห็น (ไม่เหมือนกับเลือดในอุจจาระ อื่น ๆ เช่นที่เห็นในอุจจาระดำ หรือเลือดสด ๆ ที่ถ่ายออก)
การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (fecal occult blood test, FOBT) จึงเป็นการตรวจเลือดที่ซ่อนอยู่ในอุจจาระ[ 2]
โดยอาจตรวจหา globin[ A] ,
ดีเอ็นเอ , หรือแฟ็กเตอร์ในเลือดอื่น ๆ เช่น transferrin ส่วนการตรวจที่มีมานานคือ stool guaiac test จะตรวจหา heme[ B]
ในการแพทย์
การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT ) มุ่งตรวจการเสียเลือดที่เห็นได้ยากจากทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่ปาก ไปจนถึงลำไส้ใหญ่
เลือดที่ตรวจพบอาจมาจากทางเดินอาหารส่วนบน (รวมหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ) หรือส่วนล่าง (รวมลำไส้เล็กโดยมาก และลำไส้ใหญ่) และเมื่อพบก็ควรตรวจเพิ่มว่ามีแผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer) หรือโรคร้ายอื่น ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้น หรือไม่
แต่ให้สังเกตว่า การทดสอบนี้ไม่ได้ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยตรง แต่มักจะใช้เพื่อตรวจคัดกรองโรคนี้ แม้ก็สามารถใช้หาการเสียเลือดในคนไข้โลหิตจาง ได้ด้วย[ 6]
หรือว่าเมื่อมีปัญหาทางกระเพาะลำไส้อื่น ๆ[ 7]
การทดสอบชนิดหนึ่งคือ stool guaiac test (gFOB ) สามารถทำได้ทั้งที่บ้านหรือสถานพยาบาล หรือสามารถส่งตัวอย่างอุจจาระไปให้ห้องแล็บตรวจ
ชุดตรวจในบางประเทศมีขายในร้านเภสัชโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ หรือแพทย์พยาบาลอาจสั่งเพื่อให้คนไข้ใช้ตรวจได้
ถ้าตรวจพบเลือดที่บ้าน ก็แนะนำว่าให้ไปหาแพทย์เพื่อตรวจเพิ่ม[ 8]
แหล่งเลือดออก
การตกเลือดในกระเพาะลำไส้มีแหล่งหลายแหล่ง ดังนั้น ถ้าตรวจพบเลือด ก็จึงต้องตรวจหาแหล่ง ปกติจะหาเลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนล่างก่อนแล้วจึงหาในทางเดินอาหารส่วนบน ยกเว้นจะมีเหตุน่าสงสัยอย่างอื่น ๆ[ 9]
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นวิธีที่แนะนำเหนือการสร้างภาพลำไส้ใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์เอกซ์เรย์ (CT colonography )[ 10]
ประชากรราว 1-5% จะพบเลือดถ้าตรวจคัดกรองในชนจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง ]
ในบรรดาคนเหล่านี้ 2-10% จะมีมะเร็ง และ 20-30% จะมีเนื้องอกต่อม
เลือดที่พบอาจจะมาจากทางเดินอาหารส่วนบนหรือส่วนล่าง เหตุสามัญรวมทั้ง
ถ้าตรวจเจอเลือด ก็ควรตรวจดูทางเดินอาหารเพิ่มโดยวิธีใดวิธีหนึ่งรวมทั้ง
การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนคด (sigmoidoscopy) เป็นการตรวจไส้ตรง และลำไส้ใหญ่ ส่วนล่างด้วยกล้องติดแสงสว่างเพื่อตรวจดูความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อเมือก
การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นการตรวจไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
การส่องตรวจลำไส้ใหญ่เสมือน (virtual colonoscopy) เป็นการใช้เครื่องเอ็กซ์เรย์บวกคอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพลำไส้ใหญ่เป็นภาพ 2 มิติและ 3 มิติ เริ่มตั้งแต่ไส้ตรงไปจนถึงลำไส้เล็ก
การส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal endoscopy) ซึ่งบางครั้งทำพร้อมกับ chromoendoscopy (การส่องกล้องร่วมกับการใช้สี) ซึ่งช่วยให้เห็นดีกว่าโดยเพิ่มความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อมะเร็งจากเนื้อเยื่อปกติ โดยเพิ่มสี (toluidine blue) ที่เนื้อเยื่อที่มีดีเอ็นเอเพิ่มขึ้นเกินปกติ หรือไม่ก็ป้ายสี (Lugol) ที่เนื้อเยื่อของเนื้องอกเพราะมีไกลโคเจน ที่ผิวน้อยกว่า[ 15] [ 16]
Infrared fluorescent endoscopy[ต้องการอ้างอิง ] และ ultrasonic endoscopy[ต้องการอ้างอิง ] สามารถตรวจสภาพวิรูปของหลอดเลือด เช่น esophageal varices[ E]
การสวนตรวจทวารด้วยแบเรียม (double contrast barium enema) เป็นการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เป็นชุดเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
สีอุจจาระ
แม้อุจจาระสีแดงและดำอาจเป็นตัวบ่งว่ามีเลือดออก แต่อุจจาระสีเข้มหรือดำก็อาจมาจากการทานบลูเบอร์รี อาหารเสริมคือธาตุเหล็ก ตะกั่ว หรือยา Bismuth subsalicylate ซึ่งใช้แก้ปัญหาท้องปั่นป่วน และสีแดงก็อาจมาจากสีอาหารทั้งแบบสังเคราะห์หรือแบบธรรมชาติ ที่พบในของหวานสีแดง เช่น เจลาติน ไอศกรีม เป็นต้น
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นการตรวจจับความเปลี่ยนแปลงก่อนจะเป็นมะเร็ง เช่น ติ่งเนื้อเมือก บางชนิด หรือลักษณะอื่น ๆ ก่อนหน้านั้น ซึ่งมีโอกาสรักษาหายได้ดีกว่า
ระดับที่การตรวจคัดกรองจะลดความชุกของมะเร็งกระเพาะลำไส้ หรืออัตราตาย จะขึ้นอยูกับอัตราการมีภาวะก่อนมะเร็งและการมีมะเร็งในกลุ่มประชากรนั้น ๆ
การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มพบว่า วิธีการตรวจคัดกรองคือ gFOBT และการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนคด แต่ละชนิดล้วนมีประโยชน์[ต้องการอ้างอิง ]
มีหลักฐานพอสมควรว่า การตรวจคัดกรองด้วย iFOBT (immunochemical fecal occult blood test) หรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ มีประโยชน์
และก็มีองค์กรแพทย์หลายกลุ่มที่ออกแนวทางการรักษาเกี่ยวกับการคัดกรองเช่นนี้ แต่หลักฐานก็ไม่ได้รวมการศึกษาแบบสุ่ม
ในปี 2009 วิทยาลัยวิทยาทางเดินอาหารอเมริกัน (ACG ) เสนอว่า วิธีการที่สามารถป้องกันโรคโดยตรงคือตัดเนื้อเยื่อ/แผลที่เกิดก่อนมะเร็งได้ เป็นวิธีที่ควรใช้เป็นอันดับแรก (preferred) กล่าวคือแนะนำให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ทุก ๆ 10 ปีในบุคคลที่มีความเสี่ยงปกติเริ่มตั้งแต่อายุ 50 ปี[ 19]
และแนะนำว่า วิธีตรวจจับมะเร็งอื่น ๆ รวมทั้งการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระทุกรูปแบบแม้เป็นทางเลือกแต่ก็ควรใช้รองลงมา (less preferred) หรือใช้ต่อเมื่อคนไข้ไม่ต้องการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำให้ตรวจเลือดแฝงในอุจจาระแบบ FIT (fecal immunochemical test) หรือ iFOBT (immunochemical fecal occult blood test)
ส่วนแนวทางการรักษาขององค์กร US Multisociety Task Force (MSTF) และ US Preventive Services Task Force (USPSTF) แม้จะอนุมัติให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นทางเลือกในการตรวจคัดกรอง แต่ก็ไม่ได้แนะนำเป็นอันดับแรก (preferred)[ 20] [ 21]
ACG และ MSTF ยังรวมการสร้างภาพลำไส้ใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์เอกซ์เรย์ (CT colonography ) ทุก ๆ 5 ปี และการตรวจดีเอ็นเอให้ใช้เป็นทางเลือก
คณะทั้งสาม [ F] ต่างก็แนะนำให้แทนการตรวจอุจจาระในเลือดแฝงที่มีความไว ต่ำและใช้มานานกว่า คือ gFOBT
ด้วยการตรวจที่ไวกว่าและใหม่กว่ารวมทั้ง hs gFOBT (high-sensitivity guaiac-based fecal occult blood testing) หรือ FIT (fecal immunochemical testing)
โดย MSTF ได้ตรวจดูงานศึกษา 6 งานที่เทียบ hs gFOBT (คือ Hemoccult SENSA) กับ FIT แล้วสรุปว่า ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันอย่างสำคัญ
การตรวจคัดกรองด้วย gFOBT ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงปกติสามารถลดอัตราตายที่สัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 25%[ 23]
แต่เพราะเป็นประสิทธิผลที่ต่ำกว่า การลงทุนตรวจคัดกรองกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ด้วย gFOBT จึงจัดว่าไม่มีประสิทธิภาพ[ 24] [ 25] [ 26] [ 27]
ถ้าสงสัยอยู่แล้วว่ามีมะเร็งลำไส้ใหญ่ (เช่น คนที่มีโลหิตจาง อย่างไม่มีสาเหตุ) การตรวจเลือดแฝงในอุจจาระอาจไม่มีประโยชน์
คือไม่ว่าผลจะออกมาบวกหรือลบ ก็ยังควรต้องตรวจเพิ่มอยู่ดี
สมาคมมะเร็งแคนาดา (Canadian Cancer Society) แนะนำให้ผู้มีอายุ 50 ปีและยิ่งกว่านั้นตรวจคัดกรองด้วย FOBT อย่างน้อยทุก ๆ 2 ปี[ 28]
ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ การใช้ตัวอย่างอุจจาระตัวอย่างเดียวที่เก็บโดยแพทย์ผู้กำลังใช้นิ้วคลำตรวจไส้ตรงไม่แนะนำ[ 29]
ส่วนการตรวจแบบ M2-PK Test จะแนะนำเหนือ gFOBT สำหรับการตรวจคัดกรองที่ทำเป็นปกติ (routine screening) เพราะอาจตรวจพบเนื้องอกทั้งที่เลือดออกและไม่ออก[ 30]
คือสามารถตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ 80% และเนื้องอกต่อม ขนาดยิ่งกว่า 1 ซม. 44% เทียบกับ gFOBT ที่ตรวจเจอมะเร็งเพียง 13-50%[ 30]
ในประเทศต่าง ๆ
ในปี 2006 รัฐบาลออสเตรเลีย ได้เริ่มโปรแกรมมะเร็งลำไส้แห่งชาติ (National Bowel Cancer Program) ซึ่งได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งแล้วตั้งแต่นั้น
ซึ่งมุ่งตรวจคัดกรองประชาชนออสเตรเลียระหว่างอายุ 50-74 ปีทั้งหมดภายในปี 2017-2018
โดยองค์กร Cancer Council Australia แนะนำว่า FOBT ควรใช้ตรวจทุก 2 ปี[ 31]
ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) มี "โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" ที่มุ่งตรวจประชากรโดยมาก[ G]
ทั่วประเทศใน "กลุ่มเสี่ยงปกติ"[ H]
คืออายุระหว่าง 50-70 ปีและไม่มีอาการผิดปกติทุก ๆ 2 ปีโดยขั้นต้นจะตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระด้วยวิธี FIT (fecal immunochemical test) และถ้าพบผลบวกก็จะส่งตัวให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อวินิจฉัยต่อไป[ I]
เป็นโปรแกรมที่อาจลดอัตราการตายเนื่องจากโรคสูงสุด 25-33% หรือประมาณ 750-1,000 คน เทียบกับผู้ป่วยใหม่ปีละ 10,624 คนที่ก็อาจลดลงด้วยเช่นกัน
[ J]
โรคกระเพาะลำไส้และยา
ภาวะเช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis) หรือท้องร่วงแบบติดเชื้อที่เป็นอีก ๆ อาจจะรุนแรงไม่เท่ากันเมื่อเวลาผ่านไป FOBT อาจช่วยประเมินความรุนแรงของโรค
อนึ่ง ยาที่สัมพันธ์กับเลือดออกในกระเพาะลำไส้ เช่น Bortezomib บางครั้งจะระวังสอดส่องด้วย FOBT
การตรวจเลือดแฝงในสิ่งคัดหลั่ง
การใช้อุปกรณ์ตรวจเลือดแฝงในอุจจาระสำหรับอาการในปาก โพรงจมูก หลอดอาหาร ปอด และกระเพาะอาหาร บ่อยครั้งจะไม่แนะนำ เนื่องจากปัญหาทางเทคนิกเช่นยังไม่ได้กำหนดประสิทธิภาพรวมทั้งความไว ความจำเพาะ และข้อสรุปที่จะอนุมานได้
อย่างไรก็ดี การได้ข้อมูลทางเคมีว่าสีที่เห็นมาจากเลือดและไม่ใช่จากกาแฟ พืช ยา หรือสารเติมแต่งอาหาร ก็อาจช่วยการรักษาได้อย่างสำคัญ
นักวิ่งมาราธอน
นักวิ่งมาราธอน บ่อยครั้งมีปัญหากระเพาะและลำไส้และเลือดออกจำนวนน้อย ๆ [ 39]
การออกกำลังกายอย่างหนัก โดยเฉพาะพวกนักวิ่งเก่ง ๆ บวกกับนักกีฬาพวกอื่น ๆ (แม้จะน้อยครั้งกว่า) อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการกระเพาะลำไส้ในขั้นบาดเจ็บรวมทั้งแสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง และเลือดออกในกระเพาะลำไส้[ 40]
นักกีฬาแบบวิ่งทนประมาณ 1/3 จะประสบกับอาการที่ทำให้ต้องจำกัดการออกกำลังชั่วคราว และเลือดที่ออกในกระเพาะลำไส้ซ้ำ ๆ บางคราวก็จะทำให้ขาดธาตุเหล็ก และโลหิตจาง[ 41]
นักวิ่งบางครั้งยังอาจเกิดอาการสำคัญรวมทั้งอาเจียนเป็นเลือด [ 42]
การออกกำลังกายสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพอย่างกว้างขวางของทางเดินอาหาร
รวมทั้งการผันเลือดจากทางเดินอาหารไปยังกล้ามเนื้อ และปอด ลดการดูดซึมในทางเดินอาหารและการบีบตัวของลำไส้ เพิ่มเวลาที่อาหารต้องดำเนินผ่านลำไส้ใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน และเพปไทด์ ในระบบประสาท-ภูมิคุ้มกัน-ต่อมไร้ท่อ เช่น vasoactive intestinal peptide, secretin, และ peptide-histidine-methionine[ 43]
การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญก็เกิดกับฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียดรวมทั้ง cortisol, กับความเข้มข้นและกิจทางเมแทบอลิซึม ของเม็ดเลือดขาว , กับระดับของ สารภูมิต้านทาน , และระดับการแสดงออก ของ major histocompatibility complex[ 44]
อาการอาจแย่ลงเมื่อขาดน้ำ หรือทานอาหารบางอย่าง หรือดื่มน้ำที่มีน้ำตาลและเกลือแร่เข้มข้นสูงก่อนออกกำลัง และอาจดีขึ้นเมื่อฝึกได้ลงตัวแล้ว (เพราะร่างกายจะผันเลือดจากทางเดินอาหารน้อยลง)[ 43]
การทานยายับยั้งการหลั่งกรด คือไซเมทิดีน 800 มก. 2 ชม. ก่อนวิ่งมาราธอนไม่มีผลต่อความถี่ของอาการกระเพาะลำไส้หรือเลือดออกในกระเพาะลำไส้[ 45]
อีกนัยหนึ่ง การทานไซเมทิดีน 800 มก. 1 ชม. ก่อนเริ่มวิ่งและอีกครั้งที่ 50 ไมล์ เมื่อวิ่งมาราธอน 100 ไมล์ ช่วยลดอาการกระเพาะลำไส้และการตรวจพบเลือดในทางเดินอาหารด้วย stool guaiac test หลังการวิ่ง โดยไม่มีผลต่อการวิ่ง[ 46]
วิธี
มีวิธีการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ 4 อย่าง
ซึ่งตรวจดูตัวบ่งชี้เลือดต่าง ๆ กัน เช่น สารภูมิต้านทาน , heme[ B] , globin[ A] , porphyrin[ K]
หรือดูดีเอ็นเอ ของวัสดุจากเซลล์ เช่นที่ได้จากรอยโรค และเยื่อเมือกลำไส้
Fecal immunochemical testing (FIT ), และ immunochemical fecal occult blood test (iFOBT ) - FIT ใช้สารภูมิต้านทาน โดยเฉพาะ ๆ เพื่อตรวจจับ globin การตรวจคัดกรองด้วย FIT มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบผลทางสุขภาพและค่าใช้จ่ายกับการตรวจด้วย gFOBT (guaiac fecal occult blood test)[ 47] ตามแนวทางการรักษาของ ACG ปี 2008 "การตรวจอุจจาระประจำปีด้วยสารเคมีภูมิต้านทานเป็นการตรวจจับมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แนะนำ (preferred)"[ 48] [ 49] FIT สามารถตรวจจับระดับ globin ในอุจจาระที่ 50 นาโนกรัม ต่อมิลลิลิตร หรือยิ่งกว่านั้น ซึ่งเป็นค่าสูงสุดเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ตามที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก
การตรวจด้วย FIT ได้แทนที่การตรวจด้วย gFOBT โดยมากเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่[ 50] [ 51] วิธีนี้สามารถปรับใช้ในการตรวจอัตโนมัติที่ตรวจและรายงานผลข้อมูลเป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบกลยุทธ์คัดกรองโรคที่สามารถใช้ในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่[ 52]
จำนวนตัวอย่างอุจจาระที่ส่งเพื่อตรวจโดย FIT อาจมีผลต่อความไวและความจำเพาะของวิธีนี้ โดยสามารถใช้ hs gFOBT เช่น Hemoccult SENSA เป็นทางเลือก ซึ่งอาจมีบทบาทเพื่อเฝ้าสังเกตภาวะทางกระเพาะลำไส้ต่าง ๆ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล [ 53] อย่างไรก็ดี FIT ก็ยังเป็นวิธีตรวจสอบที่แนะนำอันดับแรกในแนวทางการรักษาล่าสุดต่าง ๆ[ 48]
การตรวจพบเลือดโดยใช้ gFOBT
Stool guaiac test เพื่อตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ (gFOBT ) - เป็นการตรวจซึ่งต้องป้ายอุจจาระที่กระดาษดูดซึมอันได้ผ่านปฏิบัติการทางเคมี แล้วก็หยดไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ที่กระดาษ ถ้ามีร่องรอยของเลือด กระดาษจะเปลี่ยนสีภายใน 1-2 วินาที วิธีนี้ใช้ได้ก็เพราะองค์ประกอบคือ heme[ B] ของเฮโมโกลบิน มีปฏิกิริยาคล้ายกับ peroxidase คือสามารถสลายไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว ในบางกรณี เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ด้านบน วิธีนี้อาจไวกว่าวิธีที่ตรวจจับ globin เพราะ globin จะสลายตัวในลำไส้ส่วนบนในอัตราส่วนที่สูงกว่า heme[ 54] มีการตรวจแบบ gFOBT ที่วางขายซึ่งจัดว่ามีความไวต่ำหรือสูง แต่ที่จัดว่าไวสูงจึงจะเป็นทางเลือกที่ยอมรับได้แทนการตรวจแบบ FIT ซึ่งปัจจุบันเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แนะนำ การได้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับ gFOBT จะขึ้นอยู่กับอาหารที่ทานเมื่อเตรียมตัวตรวจด้วย[ 55]
Stool DNA screening test เป็นวิธีตรวจที่หาความเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอที่สัมพันธ์กับมะเร็ง
นักวิชาการปัจจุบันยังสืบหาวิธีการอื่น ๆ เพื่อตรวจจับเลือดแฝง รวมทั้งการใช้ไม้จิ้มวัด transferrin[ 56]
และการสืบหาความผิดปกติของอุจจาระในระดับเซลล์/โมเลกุล[ 57]
ประสิทธิภาพการทดสอบ
การเสียเลือดในกระเพาะลำไส้
คนปกติจะมีเลือดประมาณ 0.5-1.5 มล. ที่ออกจากเส้นเลือดเข้าไปในอุจจาระ[ 58] [ 59] [ 60]
และบุคคลก็สามารถเสียเลือดอย่างสำคัญโดยไม่เห็นในอุจจาระ เช่น ถึง 200 มล. ภายในกระเพาะอาหาร [ 61]
100 มล. ภายในลำไส้เล็กส่วนต้น และจำนวนน้อยกว่านั้นในลำไส้ส่วนล่าง
ดังนั้น การตรวจหาเลือดแฝงก็จะต้องไวพอตรวจหาเลือดน้อยกว่านั้นได้
ความไวและความจำเพาะ
FIT สามารถตรวจจับเลือดน้อยถึง 0.3 มล. ในอุจจาระ
แต่ขีดเริ่มเปลี่ยนเท่านี้ก็ยังไม่เป็นเหตุให้ได้ผลบวกปลอม จากเลือดที่ปกติรั่วซึมออกจากลำไส้ส่วนบน เพราะมันไม่สามารถตรวจจับเลือดแฝงจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน
ดังนั้น FIT จึงมีความจำเพาะ ต่อเลือดออกจากลำไส้ใหญ่หรือทางเดินอาหารส่วนล่างยิ่งกว่าวิธีการตรวจอื่น ๆ[ 62]
อัตราการตรวจจับเลือดได้จะลดลงถ้าช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างกับการตรวจผลในแล็บห่างกัน
ดังนั้น จึงแนะนำให้ตรวจผลภายใน 5 วัน[ 63]
ความไว ของ gFOBT จะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เลือดออก
gFOBT ที่ไวกลาง ๆ จะสามารถตรวจจับเลือดประมาณ 10 มล. (ประมาณ 2 ช้อนชา) และที่ไวยิ่งกว่านั้น สามารถตรวจจับเลือดได้น้อยที่สุด 2 มล.
เพื่อให้แสดงผลบวก
ความไวของการตรวจด้วย gFOBT ครั้งเดียวอ้างว่าอยู่ที่ 10-30% แต่ถ้าทำ 3 ครั้งดังที่แนะนำ ความไวจะเพิ่มเป็น 92%[ 64]
แต่เพราะคนไข้ไม่ค่อยยอมเก็บอุจจาระถึง 3 ครั้ง วิธีนี้จึงไม่ค่อยได้ประโยชน์
ส่วนการตรวจหา porphyrin[ K] ด้วย HemoQuant อาจได้ผลบวกปลอมเพราะเลือดและ porphyrin แปลกปลอมภายนอก
แต่ HemoQuant ก็เป็นวิธีการตรวจที่ไวสุดสำหรับเลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนบน และดังนั้น จึงอาจเป็นการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระซึ่งเหมาะที่สุดเพื่อตรวจการขาดธาตุเหล็ก [ 65]
โดยแนะนำให้คนไข้ไม่ทานเนื้อที่มีสีแดงเมื่อยังดิบ และไม่ทานแอสไพริน เป็นเวลา 3 วันก่อนจะเก็บตัวอย่าง[ 66]
ผลบวกปลอมอาจเกิดกับไมโยโกลบิน, catalase, หรือ protoheme ก็ได้[ 67]
และกับ porphyria บางอย่างได้[ต้องการอ้างอิง ]
ส่วนการตรวจดีเอ็นเอในอุจจาระจนถึงปี 2008 ก็ยังไม่ได้ศึกษาพอสนับสนุนให้ใช้อย่างกว้างขวาง[ 68]
เชิงอรรถ
↑ 1.0 1.1 globin เป็นหมู่ใหญ่ (superfamily) ของโปรตีน รูปทรงกลม (globular protein) ที่มี heme เป็นองค์ประกอบและมีหน้าที่ในการจับกับหรือขนส่งออกซิเจน
โปรตีนทั้งหมดเหล่านี้มีรอยพับที่เรียกว่า globin fold ซึ่งเป็น alpha helical segment ต่อ ๆ กันแปดส่วน
สมาชิกในหมู่ที่สำคัญรวมทั้งไมโยโกลบิน และเฮโมโกลบิน
ซึ่งสามารถจับกับออกซิเจนอย่างผันกลับได้ผ่าน heme prosthetic group
เป็นหมู่โปรตีนที่กระจายไปทั่วในสิ่งมีชีวิต ต่าง ๆ[ 3]
↑ 2.0 2.1 2.2 heme หรือ haem (จากคำกรีกว่า αἷμα คือ haima แปลว่า เลือด) เป็นโคแฟ็กเตอร์ที่ประกอบด้วยไอออน Fe2+ (ferrous, เหล็ก) ตรงกลางของสารประกอบอินทรีย์ แบบ heterocyclic macrocycle ที่เรียกว่า porphyrin ซึ่งก็ประกอบด้วยหมู่ pyrrolic 4 ชุดที่ต่อกันด้วยสะพานคือ methine
ให้สังเกตว่า porphyrin ทั้งหมดไม่ได้มีเหล็ก แต่เมทัลโลโปรตีน จำนวนสำคัญที่ประกอบด้วย porphyrin จะมี heme เป็น prosthetic group
จึงเป็นโปรตีนที่เรียกว่า hemoprotein
heme มักจะรู้จักกันว่า เป็นองค์ประกอบของเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารรงควัตถุ ในเลือด แต่ก็พบด้วยใน hemoprotein ที่สำคัญทางชีวภาพต่าง ๆ เช่น ไมโยโกลบิน , cytochrome, catalase, heme peroxidase, และ endothelial nitric oxide synthase[ 4] [ 5]
↑ Diverticulosis เป็นภาวะที่ลำไส้ใหญ่ เกิดกระเป๋า/ช่อง/ซอก (คือ diverticula) หลายอันที่ไม่ได้อักเสบ
เป็นส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือก และชั้นใต้เยื่อเมือก ของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อ ผนังลำไส้ไม่แข็งแรง[ 11]
ซึ่งปกติจะไม่มีอาการอะไร ๆ[ 12]
จะเป็น diverticular disease ก็ต่อเมื่อช่องเหล่านี้อักเสบ คือเป็น diverticulitis หรือเมื่อเลือดออก[ 13]
↑ ในวิทยาการทางเดินอาหาร angiodysplasia เป็นสภาวะวิรูปของหลอดเลือดแดงเล็กในท้อง
เป็นเหตุสามัญของการเลือดออกในกระเพาะลำไส้และโลหิตจางที่ไม่มีสาเหตุอื่น ๆ
รอยโรค มักจะเป็นหลายจุด และบ่อยครั้งจะเป็นที่กระพุ้งไส้ใหญ่ (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งขึ้น แต่ก็เกิดที่อื่น ๆ ได้เหมือนกัน
↑ esophageal varices หรือ oesophageal varices เป็นเส้นเลือดดำ ใต้เยื่อเมือก ในหลอดอาหาร 1/3 ส่วนล่างซึ่งพองอย่างมาก[ 17]
บ่อยครั้งเป็นผลของ portal hypertension (ความดันในระบบหลอดเลือดดำที่วิ่งไปจากทางเดินอาหาร ไปยังตับ ) โดยปกติเนื่องจากตับแข็ง
คนไข้ที่มีอาการนี้มีความโน้มเอียงในการเลือดออกสูง
ปกติตรวจวินิจฉัยได้โดยส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD )[ 18]
↑ ACG แนะนำให้เลิกใช้การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย gFOBT โดยให้เลือกใช้ FIT แทน[ 22]
↑ ปี 2561-2565 มีเป้าหมายเช็คประชากรทั้งหมด 9,100,000 คน ใน 13 เขต[ 32]
จากกลุ่มประชากร 14,410,730 คน[ 33]
คิดเป็นอัตราร้อยละ 63
↑ ประชาชนใน "กลุ่มเสี่ยงสูง" คือ มีอาการผิดปกติและมีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก) ผู้เป็นมะเร็ง ก็ให้ปรึกษาแพทย์โดยตรง[ 34]
↑ เมื่อส่องกล้องแล้ว[ 35]
ถ้าพบผลลบ ให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 5-10 ปี และ/หรือแนะนำให้ตรวจด้วย FIT ทุก ๆ 2 ปีตามปกติ
ถ้าพบผลบวก
ถ้าเสี่ยงน้อย ให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 5 ปี
ถ้าเสี่ยงมาก ให้ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 3 ปี
↑ ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงประมาณ 3,000 ราย[ 36]
โปรแกรมอาจลดอัตราการตายได้ถึง 25-33%[ 37]
หรือลดผู้ป่วยใหม่แต่ละปี ซึ่งในปี 2555 พบ 10,624 รายและคาดว่าในปี 2578 จะมี 20,419 รายถ้าไม่มีการคัดกรองโรค[ 38]
↑ 11.0 11.1 porphyrin เป็นหมู่สารประกอบอินทรีย์ แบบ heterocyclic macrocycle โดยประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ pyrrole แบบแปรที่เชื่อมกันที่อะตอมคาร์บอน α ผ่านสะพานคือ methine
อ้างอิง
↑ "occult blood", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕ , (แพทยศาสตร์) เลือดแฝง
↑ Beg, M; และคณะ (2002). "Occult Gastrointestinal Bleeding: Detection, Interpretation, and Evaluation" (PDF) . JIACM . 3 (2): 153–58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2010-11-22.
↑ "A model of globin evolution". 2007. PMID 17540514 .
↑
"Structure-function relationships in heme-proteins". 2002. PMID 12042067 .
↑
"Nitric oxide synthases: structure, function and inhibition". 2001. PMID 11463332 .
↑ Harewood, GC; Ahlquist, DA (2000). "Fecal occult blood testing for iron deficiency: a reappraisal". Dig Dis . 18 (2): 75–82. doi :10.1159/000016968 . PMID 11060470 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Bardhan, PK; Beltinger, J; Beltinger, RW; Hossain, A; Mahalanabis, D; Gyr, K (2000-01). "Screening of patients with acute infectious diarrhoea: evaluation of clinical features, faecal microscopy, and faecal occult blood testing". Scand. J. Gastroenterol . 35 (1): 54–60. doi :10.1080/003655200750024533 . PMID 10672835 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Fecal Occult Blood Test (FOBT)" . สืบค้นเมื่อ 2007-07-18 .
↑ Rockey, DC (2005-12). "Occult gastrointestinal bleeding". Gastroenterol. Clin. North Am . 34 (4): 699–718. doi :10.1016/j.gtc.2005.08.010 . PMID 16303578 .
↑ Walleser, S; Griffiths, A; Lord, SJ; Howard, K; Solomon, MJ; Gebski, V (2007-12). "What is the value of computerized tomographic colonography in patients screening positive for fecal occult blood? A systematic review and economic evaluation". Clin. Gastroenterol. Hepatol . 5 (12): 1439–46, quiz 1368. doi :10.1016/j.cgh.2007.09.003 . PMID 18054752 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Diverticulosis and Diverticulitis". 2016. PMID 27156370 .
↑ "Diverticular Disease" . niddk.nih.gov. 2013-09.
↑ "Review article: the pathophysiology and medical management of diverticulosis and diverticular disease of the colon". 2015-07. PMID 26202723 . ;
↑ 14.0 14.1 14.2 Bevan, R; Lee, TJ; Nickerson, C; Rubin, G; Rees, CJ (2014-06). "Non-neoplastic findings at colonoscopy after positive faecal occult blood testing: data from the English Bowel Cancer Screening Programme". J. Med. Screen . 21 (2): 89–94. doi :10.1177/0969141314528889 . PMID 24644029 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Endo, M; Sakakibara, N; Suzuki, H (1972). "Observation of esophageal lesions with the use of endoscopic dyes". Progress of Digestive Endoscopy . 1 : 34. {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Endo, M; Takeshita, K; Yoshida, M (1986-09). "How can we diagnose the early stage of esophageal cancer? Endoscopic diagnosis". Endoscopy . 18 Suppl 3: 11–8. doi :10.1055/s-2007-1018435 . PMID 2428607 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rubin's Pathology: Clinicopathologic Foundations of Medicine . p. 612.
↑ "The role of endoscopy in portal hypertension". 2005. PMID 15920321 .
↑ Rex, DK; Johnson, DA; Anderson, JC; Schoenfeld, PS; Burke, CA; Inadomi, JM (2009-03). "American College of Gastroenterology guidelines for colorectal cancer screening 2009 [corrected]" . Am. J. Gastroenterol . 104 (3): 739–50. doi :10.1038/ajg.2009.104 . PMID 19240699 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Levin, B.; Lieberman, D. A.; McFarland, B.; Smith, R. A.; Brooks, D.; Andrews, K. S.; Dash, C.; Giardiello, F. M.; Glick, S.; Levin, T. R.; Pickhardt, P.; Rex, D. K.; Thorson, A.; Winawer, S. J. (2008). "Screening and Surveillance for the Early Detection of Colorectal Cancer and Adenomatous Polyps, 2008: A Joint Guideline from the American Cancer Society, the US Multi-Society Task Force on Colorectal Cancer, and the American College of Radiology". CA: A Cancer Journal for Clinicians . 58 (3): 130–60. doi :10.3322/CA.2007.0018 . PMID 18322143 .
↑ * USPSTF Agency for Healthcare Research and Quality (2008). "Screening for colorectal cancer: U.S. Preventive Services Task Force recommendation statement". Ann Intern Med . 149 : 627–37. {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rex, DK; Johnson, DA; Anderson, JC; Schoenfeld, PS; Burke, CA; Inadomi, JM; American College of, Gastroenterology (2009-03). "American College of Gastroenterology guidelines for colorectal cancer screening 2009 [corrected]". The American Journal of Gastroenterology . 104 (3): 739–50. doi :10.1038/ajg.2009.104 . PMID 19240699 .
↑ Bretthauer, M (2010-08). "Evidence for colorectal cancer screening". Best Pract Res Clin Anaesthesiol . 24 (4): 417–25. doi :10.1016/j.bpg.2010.06.005 . PMID 20833346 .
↑
Mandel, JS; Bond, JH; Church, TR และคณะ (1993-05). "Reducing mortality from colorectal cancer by screening for fecal occult blood. Minnesota Colon Cancer Control Study". N. Engl. J. Med . 328 (19): 1365–71. doi :10.1056/NEJM199305133281901 . PMID 8474513 . ; CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Hardcastle, JD; Chamberlain, JO; Robinson, MH และคณะ (1996-11). "Randomised controlled trial of faecal-occult-blood screening for colorectal cancer". Lancet . 348 (9040): 1472–7. doi :10.1016/S0140-6736(96)03386-7 . PMID 8942775 . ; CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Kronborg, O; Fenger, C; Olsen, J; Jørgensen, OD; Søndergaard, O (1996-11). "Randomised study of screening for colorectal cancer with faecal-occult-blood test". Lancet . 348 (9040): 1467–71. doi :10.1016/S0140-6736(96)03430-7 . PMID 8942774 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Kewenter, J; Brevinge, H; Engarås, B; Haglind, E; Ahrén, C (1994-05). "Results of screening, rescreening, and follow-up in a prospective randomized study for detection of colorectal cancer by fecal occult blood testing. Results for 68,308 subjects". Scand. J. Gastroenterol . 29 (5): 468–73. doi :10.3109/00365529409096840 . PMID 8036464 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Screening for colorectal cancer" . Canadian Cancer Society . Canadian Cancer Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-10-09. สืบค้นเมื่อ July 14 .
↑ Collins, JF; Lieberman, DA; Durbin, TE; Weiss, DG (2005-01). "Accuracy of screening for fecal occult blood on a single stool sample obtained by digital rectal examination: a comparison with recommended sampling practice". Ann. Intern. Med . 142 (2): 81–85. doi :10.7326/0003-4819-142-2-200501180-00006 . PMID 15657155 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 30.0 30.1 Tonus, C; Sellinger, M; Koss, K; Neupert, G (2012-08-14). "Faecal pyruvate kinase isoenzyme type M2 for colorectal cancer screening: a meta-analysis" . World Journal of Gastroenterology . 18 (30): 4004–11. doi :10.3748/wjg.v18.i30.4004 . PMC 3419997 . PMID 22912551 .
↑ "Bowel cancer screening" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 2013-07-04 .
↑ การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (2018) , p. 47
↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017) , p. 31
↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017) , p. 12
↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017) , p. 27
↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017) , สถิติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, p. 3
↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017) , p. 7
↑ การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (2017) , p. 6
↑ Halvorsen, FA; Lyng, J; Ritland, S (1986-05). "Gastrointestinal bleeding in marathon runners" . Scand. J. Gastroenterol . 21 (4): 493–97. doi :10.3109/00365528609015168 . PMID 3487825 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ de Oliveira, EP; Burini, RC (2009-09). "The impact of physical exercise on the gastrointestinal tract". Curr Opin Clin Nutr Metab Care . 12 (5): 533–38. doi :10.1097/MCO.0b013e32832e6776 . PMID 19535976 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Peters, HP; De Vries, WR; Vanberge-Henegouwen, GP; Akkermans, LM (2001-03). "Potential benefits and hazards of physical activity and exercise on the gastrointestinal tract" . Gut . 48 (3): 435–39. doi :10.1136/gut.48.3.435 . PMC 1760153 . PMID 11171839 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Weaver, LT (1984). "Do some marathon runners bleed into the gut? (letter response to a previous article)" (PDF ) . BMJ . 288 (6410): 65. doi :10.1136/bmj.288.6410.65-b . PMC 1444190 .
↑ 43.0 43.1 Brouns, F; Beckers, E (1993-04). "Is the gut an athletic organ? Digestion, absorption and exercise". Sports Med . 15 (4): 242–57. doi :10.2165/00007256-199315040-00003 . PMID 8460288 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Venkatraman, JT; Pendergast, DR (2002). "Effect of dietary intake on immune function in athletes". Sports Med . 32 (5): 323–37. doi :10.2165/00007256-200232050-00004 . PMID 11929359 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Moses, FM; Baska, RS; Peura, DA; Deuster, PA (1991-10). "Effect of cimetidine on marathon-associated gastrointestinal symptoms and bleeding" . Dig. Dis. Sci . 36 (10): 1390–4. doi :10.1007/BF01296804 . PMID 1914760 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Baska, RS; Moses, FM; Deuster, PA (1990-08). "Cimetidine reduces running-associated gastrointestinal bleeding. A prospective observation" . Dig. Dis. Sci . 35 (8): 956–60. doi :10.1007/BF01537243 . PMID 2384041 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Quintero, E. (2009). "¿Test químico o test inmunológico para la detección de sangre oculta en heces en el cribado del cáncer colorrectal?". Gastroenterología y Hepatología . 32 (8): 565–576. doi :10.1016/j.gastrohep.2009.01.179 . PMID 19577340 .
↑ 48.0 48.1 Rex, Douglas K.; Johnson, David A.; Anderson, Joseph C.; Schoenfeld, Phillip S.; Burke, Carol A.; Inadom, John M. (2009-02-24). "American College of Gastroenterology Guidelines for Colorectal Cancer Screening 2008" (PDF) . Am J Gastroenterol (advance online publication). 104 : 739–50. doi :10.1038/ajg.2009.104 . PMID 19240699 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14 .
↑ "Colorectal Cancer" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-04-19. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14 .
↑
Young, GP; Cole, SR (2009-03). "Which fecal occult blood test is best to screen for colorectal cancer?". Nat Clin Pract Gastroenterol Hepatol . 6 (3): 140–41. doi :10.1038/ncpgasthep1358 . PMID 19174764 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Quintero, E (2009-10). "Chemical or immunological tests for the detection of fecal occult blood in colorectal cancer screening?". Gastroenterol Hepatol (ภาษาสเปน). 32 (8): 565–76. doi :10.1016/j.gastrohep.2009.01.179 . PMID 19577340 .
↑ Berchi, C; Bouvier, V; Réaud, JM; Launoy, G (2004-03). "Cost-effectiveness analysis of two strategies for mass screening for colorectal cancer in France" . Health Econ . 13 (3): 227–38. doi :10.1002/hec.819 . PMID 14981648 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Kuriyama, M; Kato, J; Takemoto, K; Hiraoka, S; Okada, H; Yamamoto, K (2010-03). "Prediction of flare-ups of ulcerative colitis using quantitative immunochemical fecal occult blood test" . World J. Gastroenterol . 16 (9): 1110–14. doi :10.3748/wjg.v16.i9.1110 . PMC 2835788 . PMID 20205282 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Rockey, DC (1999-07). "Occult gastrointestinal bleeding". N. Engl. J. Med . 341 (1): 38–46. doi :10.1056/NEJM199907013410107 . PMID 10387941 .
↑ "Diagnostic Tests — Fecal Occult Blood Test" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-07-07. สืบค้นเมื่อ 2007-07-18 .
↑ Sheng, JQ; Li SR; Wu ZT; และคณะ (2009-08). "Transferrin dipstick as a potential novel test for colon cancer screening: a comparative study with immuno fecal occult blood test" . Cancer Epidemiol. Biomarkers Prev . 18 (8): 2182–85. doi :10.1158/1055-9965.EPI-09-0309 . PMID 19661074 .
↑ Sheng, JQ; Li SR; Su H; และคณะ (2010-06). "Fecal cytology in conjunction with immunofecal occult blood test for colorectal cancer screening". Anal. Quant. Cytol. Histol . 32 (3): 131–5. PMID 20701065 .
↑
Ahlquist, DA; McGill, DB; Schwartz, S; Taylor, WF; Owen, RA (1985-05). "Fecal blood levels in health and disease. A study using HemoQuant". N. Engl. J. Med . 312 (22): 1422–8. doi :10.1056/NEJM198505303122204 . PMID 3873009 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Dybdahl, JH; Daae, LN; Larsen, S (1981). "Occult faecal blood loss determined by chemical tests and a 51 Cr method" . Scand. J. Gastroenterol . 16 (2): 245–52. doi :10.3109/00365528109181963 . PMID 7313535 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
DJ, St John; Young, GP (1978-04). "Evaluation of radiochromium blood loss studies in unexplained iron-deficiency anaemia". Aust N Z J Med . 8 (2): 121–6. doi :10.1111/j.1445-5994.1978.tb04496.x . PMID 307949 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Schiff, L; Stevens, RJ; Shapiro, N และคณะ (1942). "Observations on the oral administration of citrate blood in man". Am J Med Sci . 203 : 409. CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "What Does a Positive Fecal Occult Blood Test Mean? - B01" . สืบค้นเมื่อ 2007-07-18 .
↑ van Rossum, LG; van Rijn AF; van Oijen MG; และคณะ (2009-08). "False negative fecal occult blood tests due to delayed sample return in colorectal cancer screening". Int. J. Cancer . 125 (4): 746–50. doi :10.1002/ijc.24458 . PMID 19408302 .
↑ "Screening average risk patients for colorectal cancer - B01" . สืบค้นเมื่อ 2007-10-25 .
↑ Harewood, GC; McConnell, JP; Harrington, JJ; Mahoney, DW; Ahlquist, DA (2002-01). "Detection of occult upper gastrointestinal tract bleeding: performance differences in fecal occult blood tests". Mayo Clin. Proc . 77 (1): 23–28. doi :10.4065/77.1.23 . PMID 11794453 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ "Test ID: HQ: HemoQuant, Feces: Specifman" . Mayo Clinic. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-04. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26 .
↑ Schwartz, S; Dahl, J; Ellefson, M; Ahlquist, D (1983-12). "The "HemoQuant" test: a specific and quantitative determination of heme (hemoglobin) in feces and other materials". Clin. Chem . 29 (12): 2061–67. PMID 6640900 . CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Whitlock, EP; Lin, J; Liles, E; Beil, T; Fu, R; O'Connor, E; Thompson, RN; Cardenas, T (2008). "Screening for Colorectal Cancer: An Updated Systematic Review". Agency for Healthcare Research and Quality (US) . PMID 20722162 . Report No.: 08-05-05124-EF-1. {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
อื่น ๆ
แหล่งข้อมูลอื่น