การขาดธาตุเหล็ก [ 1]
หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก [ 2]
(อังกฤษ : Iron deficiency )
เป็นการขาดสารอาหาร ที่สามัญที่สุดในโลก[ 3] [ 4] [ 5]
ธาตุเหล็ก มีอยู่ในเซลล์ ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจน ไปยังอวัยวะ ต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบิน ในเลือด ,
การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอน ภายในเซลล์ในรูป cytochrome,
การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อ โดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน ,
และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ ในอวัยวะต่าง ๆ
การมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตาย ได้[ 6]
ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก. ในชาย และ 2.3 ก. ในหญิง
ส่วนในน้ำเลือด เหล็กจะเวียนไปกับเลือดโดยยึดกับโปรตีน transferrin อย่างแน่น
มีกลไกหลายอย่างที่ควบคุมเมแทบอลิซึม ของเหล็กในมนุษย์ และป้องกันไม่ให้ขาด
กลไกควบคุมหลักอยู่ในทางเดินอาหาร
แต่ถ้าการสูญเสียเหล็กไม่สามารถชดเชยได้จากการทานอาหาร ภาวะขาดเหล็กก็จะเกิดขึ้นในที่สุด
และถ้าไม่รักษา ก็จะลามไปเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia)
แต่ก่อนจะถึงภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดธาตุเหล็กโดยที่ยังไม่ถึงภาวะโลหิตจางเรียกว่า Latent Iron Deficiency (LID) หรือ Iron-deficient erythropoiesis (IDE)
การขาดธาตุเหล็กที่ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจากเหตุขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่สามัญ[ 7]
โดยมีเม็ดเลือดแดง (erythrocytes) หรือเฮโมโกลบิน ไม่พอ
คือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเหล็กไม่พอ มีผลลดการผลิตโปรตีนเฮโมโกลบิน
ซึ่งเป็นตัวจับออกซิเจนและทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
เด็ก หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และบุคคลที่มีอาหารไม่สมบูรณ์เสี่ยงต่อโรคมากที่สุด
กรณีโดยมากของภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเล็กไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาก็อาจสามารถสร้างปัญหาเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ปกติ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ การโตช้าสำหรับทารกหรือเด็ก[ 8]
การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อคนล้านคนในปี 2555 0–0
1–1
2–3
4–5
6–8
9–12
13–19
20–30
31–74
75–381
ภาระโรค (DALY) แสดงเป็นจำนวนปีที่เสียไปเพราะเหตุสุขภาพไม่ดี ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัย สำหรับภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กต่อคน 100,000 คนในปี 2547[ 9] ไม่มีข้อมูล
น้อยกว่า 50
50–100
100–150
150–200
200–250
250–300
300–350
350–400
400–450
450–500
500–1000
มากกว่า 1000
อาการ
อาการขาดธาตุเหล็กสามารถเกิดขึ้นก่อนลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก
แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะเจาะจงต่อการขาดธาตุเหล็กเท่านั้น
เหล็กจำเป็นต่อการทำงานที่เป็นปกติของเอนไซม์ ดังนั้น อาจจะเกิดอาการต่าง ๆ มากมายในที่สุด โดยเป็นอาการทุติยภูมิจากภาวะโลหิตจาง หรือเป็นอาการปฐมภูมิจากการขาดธาตุเหล็ก
อาการขาดธาตุเหล็กรวมทั้ง
ความล้า
อาการเวียนศีรษะ
ซีด
ผมหลุด
กล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus)
หงุดหงิด
ความอ่อนเปลี้ยของกล้ามเนื้อ
การทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในเด็ก (pica)
เล็บเปราะหรือเล็บแบนหรือเล็บเว้า
Plummer-Vinson syndrome คือ เยื่อเมือก ของลิ้น คอหอย และของหลอดอาหาร ฝ่อลงจนเจ็บ
ภูมิต้านทานแย่ลง[ 10]
อาการชอบกินน้ำแข็ง (pagophagia)
restless legs syndrome คือความรู้สึกผิดปกติที่ทำให้ต้องขยับขา[ 11]
การขาดธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่องอาจลามเป็นภาวะโลหิตจางและความอ่อนเปลี้ยที่เพิ่มขึ้น
ภาวะเกล็ดเลือดมาก สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย
การขาดธาตุเหล็กในเลือดเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้บุคคลไม่สามารถให้เลือด
เหตุ
เลือดออกเป็นประจำ (เพราะเฮโมโกลบินมีธาตุเหล็ก)
การได้ธาตุเหล็กไม่พอ
สารที่อยู่ในอาหารหรือยาที่รบกวนการดูดซึมธาตุเหล็ก
การดูดซึมอาหารที่ผิดปกติ
การอักเสบ ซึ่งเป็นการปรับตัว ที่ดีเพื่อจำกัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เมื่อติดเชื้อ แต่ก็เกิดขึ้นด้วยกับโรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น Inflammatory bowel disease และโรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis)
การให้เลือด
การติดพยาธิ/ปรสิต
แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ที่เป็นเหตุการขาดธาตุเหล็กในหนู แต่ยังไม่ปรากฏกว่ามีโรคเมแทบอลิซึมของเหล็กสืบทางกรรมพันธุ์ในมนุษย์ ที่เป็นเหตุโดยตรงของการขาดเหล็ก
นักกีฬา
เหตุผลที่เป็นไปได้ว่าการเล่นกีฬาอาจมีบทบาททำให้ขาดธาตุเหล็ก รวมทั้งการสลายของเม็ดเลือดแดงเนื่องจากการกระทบกระแทกทางกาย การเสียเหล็กผ่านเหงื่อและปัสสาวะ การเสียเลือดทางเดินอาหาร และการเสียเลือดในปัสสาวะ (haematuria)[ 13] [ 14]
แม้ว่าจะมีเหล็กจำนวนหนึ่งที่ขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ
แต่ก็มองว่าไม่สำคัญแม้ว่านักกีฬาจะมีเหงื่อและปัสสาวะมากขึ้น
เมื่อพิจารณาด้วยว่าร่างกายของนักกีฬาดูเหมือนจะปรับเก็บเหล็กไว้ได้ดีกว่า[ 13]
ส่วนภาวะโลหิตจางเหตุการสลายเม็ดเลือดแดงโดยกล (Mechanical hemolytic anemia) มีโอกาสมากที่สุดในกีฬาที่ต้องกระทบกระแทกมาก โดยเฉพาะในการวิ่งทางไกล ที่เม็ดเลือดแดงสลายเนื่องจากแรงกระแทกที่เท้ากับพื้น
เลือดออกทางเดินอาหารที่เกิดจากการออกกำลังกายมีโอกาสมากที่สุดในนักกีฬาแบบอึด
นอกจากนักวิ่งแล้ว ผู้ที่กระทบกระแทกเท้า เช่น นักกีฬาเค็นโด หรือกระทบกระแทกมือ เช่น คนตีกลอง
นักกีฬาที่เน้นการคุมน้ำหนัก (เช่น บัลเลต์ ยิมนาสติก การวิ่งมาราธอน และมวยปล้ำ ) และกีฬาที่เน้นการทานอาหารมีคาร์โบไฮเดรต สูง มีไขมัน ต่ำ อาจมีโอกาสเสี่ยงขาดธาตุเหล็กสูงขึ้น[ 13] [ 14]
การวินิจฉัย
การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ สามารถตรวจพบภาวะโลหิตจางแบบมีเม็ดเลือดเล็ก (microcytic anemia)[ 15] แม้ว่านี้จะไม่แน่นอน – แม้กระทั่งเมื่อภาวะแย่ลงจนถึงเป็นโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กแล้ว
ระดับ ferritin ในเลือดต่ำ ระดับ ferritin เป็นการตรวจที่ไว ต่อภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมากที่สุด แต่ว่า ระดับ ferritin ในเลือดก็ยังสามารถสูงขึ้นเนื่องจากการอักเสบ ดังนั้น ระดับ ferritin ปกติจะไม่สามารถกันการขาดเหล็กออกได้ และผลที่ได้จะชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าตรวจระดับ C-reactive protein (CRP) พร้อมกันไปด้วย ระดับ ferritin ที่พิจารณาว่า สูง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ในโรค inflammatory bowel disease เกณฑ์อยู่ที่ 100 แต่ในภาวะหัวใจวาย เรื้อรัง (CHF) เกณฑ์อยู่ที่ 200
ระดับเหล็กในเลือดต่ำ
ระดับ TIBC (total iron binding capacity) สูง แม้ว่านี้ก็จะสูงขึ้นด้วยในกรณีที่เป็นโลหิตจางเนื่องจากการอักเสบเรื้อรัง
อาจจะตรวจเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood) เจอด้วย ถ้าการขาดเหล็กมีเหตุเป็นเลือดออกในทางเดินอาหาร แม้ว่าการทดสอบจะไม่ค่อยไวเพราะว่าในบางกรณีที่มีเลือดออก ก็จะไม่พบอยู่ดี
เหมือนกับอย่างอื่น ค่าที่ได้ต้องเทียบกับค่าอ้างอิงของแล็บเมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางคลินิกของบุคคลทุกอย่าง
การรักษา
ก่อนเริ่มรักษา ควรจะวินิจฉัย ให้ชัดเจนถึงเหตุขาดธาตุเหล็ก
นี่สำคัญเป็นพิเศษในคนสูงอายุ ผู้เสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้เลือดออกในทางเดินอาหาร
ในผู้ใหญ่ 60% ของคนไข้ที่มีภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กอาจมีโรคในทางเดินอาหารที่เป็นเหตุให้เลือดออกอยู่เรื่อย ๆ[ 16]
เพราะว่า เป็นไปได้ว่าเหตุของการขาดธาตุเหล็กจำเป็นต้องรักษาด้วย
เมื่อได้วินิจฉัยที่สมควรแล้ว อาการสามารถรักษาได้ด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริม
วิธีการเสริมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความจำเป็นให้หายเร็ว (เช่น ถ้ากำลังรอการผ่าตัด) และโอกาสที่วิธีการรักษาจะมีประสิทธิผล
(เช่น ถ้าเหตุของอาการมาจาก Inflammatory bowel disease, กำลังล้างไต อยู่, หรือว่ากำลังรักษาโดย erythropoiesis-stimulating agent อยู่)
ตัวอย่างของยาทานที่เสริมเหล็กรวมทั้ง ferrous sulfate, ferrous gluconate, และเหล็กที่ยึดกับกรดอะมิโน (amino acid chelate tablets)
งานวิจัยปี 2548 แสดงว่า การทดแทนธาตุเหล็ก อย่างน้อยในผู้สูงอายุที่ขาด อาจน้อยแพียงแค่ 15 มก. ต่อวันของธาตุเหล็ก[ 17]
แบบจำลองแบบแสดงปริภูมิของ heme B เหล็ก มีสีเทา (ตรงกลาง) ไนโตรเจน สีน้ำเงิน คาร์บอน มีสีดำ ไฮโดรเจน มีสีขาว ออกซิเจน มีสีแดง
แหล่งอาหาร
การขาดธาตุเหล็กเล็กน้อยสามารถป้องกันและแก้ไขโดยทานอาหารที่สมบูณ์ด้วยเหล็กและการทำอาหารในกระทะเหล็ก
เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นต่อสัตว์และพืชโดยมาก จึงมีอาหารมากมายที่มีเหล็ก
แต่แหล่งที่ดีของธาตุเหล็กจะเป็นแบบ heme-iron (cofactor ที่มีไอออนเหล็ก [Fe2+ ] อยู่ตรงกลางวงแหวนอินทรีย์แบบ heterocyclic ที่เรียกว่า porphyrin ดูรูป) เพราะว่านี่ดูดซึมได้ง่ายที่สุด และยาและสารอาหารอื่น ๆ จะไม่สามารถขัดขวางการดูดซึมได้
ตัวอย่างอาหารที่มีเหล็กแบบนี้คือ เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบ (เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ) เป็ดไก่ และแมลง[ 18] [ 19]
แหล่งอาหารแบบไม่ใช่ heme มีเหล็กเหมือนกัน แต่ร่างกายเอาไปใช้ได้ไม่เท่ากัน (คือมี reduced bioavailability)
ตัวอย่างแหล่งเหล็กที่ไม่ใช่ heme รวมทั้งถั่ว ผักใบเขียว พิสตาชีโอ เต้าหู้ ขนมปัง เสริมสารอาหาร และธัญพืช เสริมสารอาหาร
แต่ร่างกายจะดูดซึมและปฏิบัติต่อเหล็กจากอาหารต่าง ๆ ต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น เหล็กในเนื้อแดง (คือ เหล็กแบบ heme) สามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าเหล็กในธัญพืชและผักใบเขียว (เหล็กที่ไม่ใช่ heme)[ 20]
แร่ธาตุและสารเคมีจากอาหารชนิดหนึ่งยังอาจยับยั้งการดูดซึมเหล็กจากอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ทานในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย[ 21]
ยกตัวอย่างเช่น กรดออกซาลิก และกรดไฟเตต จะรวมเป็นสารประกอบที่ยึดกับเหล็กในท้องก่อนเกิดการดูดซึม
และเพราะว่าเหล็กจากพืชดูดซึมได้ยากกว่าเหล็กแบบ heme จากสัตว์ คนทานเจหรือทานเจแบบวีแกน ควรจะได้อาหารที่มีเหล็กสูงกว่าบุคคลที่ทานเนื้อแดง ปลา และเป็ดไก่[ 22]
พืชวงศ์ถั่ว และผักใบเขียวเช่น บรอกโคลี ผักวงศ์กะหล่ำปลี และอื่น ๆ เป็นแหล่งเหล็กที่ดีสำหรับคนที่ทานอาหารเจ
แต่ว่า ผักโขมฝรั่ง (spinach) และบีตรูต มีกรดออกซาลิกซึ่งเข้ายึดกับเหล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมเหล็กไม่ได้
แต่เหล็กแบบไม่ใช่ heme จะดูดซึมได้ดีกว่าถ้าทานพร้อมกับอาหารที่มีเหล็ก heme หรือวิตามินซี [ 23]
ตารางสองตารางต่อไปนี้แสดงอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กแบบ heme และแบบไม่ใช่ heme มากที่สุด[ 24]
ในตารางทั้งสอง ปริมาณอาหารทานต่อครั้งอาจแตกต่างจาก 100 ก.
เกณฑ์ปริมาณที่ต้องการตั้งที่ 18 มก.
ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรสหรัฐ แนะนำให้หญิงอายุระหว่าง 19-50 ปีทานทุกวัน[ 25]
การขาดเหล็กอาจมีผลรุนแรงพอที่การทานอาหารจะช่วยแก้ไม่ทัน
ดังนั้น การทานธาตุเหล็กบ่อยครั้งจะจำเป็นถ้าการขาดเหล็กออกอาการแล้ว
การถ่ายเลือด
การถ่ายเลือด บางครั้งใช้รักษาการขาดเหล็กที่คนไข้มีปัญหาทางเลือดบางอย่าง[ 26]
บางครั้งการถ่ายเลือดก็พิจารณาในบุคคลที่ขาดเหล็กเรื้อรังหรือว่าจะเข้าผ่าตัดเร็ว ๆ นี้ แต่แม้บุคคลเช่นนี้จะมีเฮโมโกลบินที่ต่ำ ก็ควรจะได้เหล็กทางปากหรือทางเส้นเลือดด้วย[ 26]
สภาพพร้อมใช้งานและการติดเชื้อ
แบคทีเรียจะเติบโตได้ต้องอาศัยเหล็ก และดังนั้น การไม่มีเหล็กในสภาพพร้อมใช้งานทางชีวภาพ (bioavailability) เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการติดเชื้อ [ 27]
ดังนั้น น้ำเลือด จึงส่งเหล็กยึดกับโปรตีน transferrin ที่เข้าไปในเซลล์โดยกระบวนการ endocytosis ระบบจึงสามารถกันไม่ให้เหล็กต่อแบคทีเรียได้[ 28]
ประมาณ 15-20% ของโปรตีนนมมนุษย์ประกอบด้วย lactoferrin ซึ่งเป็นโปรตีนในตระกูล transferrin[ 29]
ซึ่งยึดกับเหล็ก
และโดยเปรียบเทียบ มี lactoferrin ในนมวัวเพียงแค่ 2%
ดังนั้น การที่มารดาให้นมลูกจึงมีการติดเชื้อน้อยกว่า[ 28]
ยังมี lactoferrin ในน้ำตา น้ำลาย และที่แผลเพื่อช่วยเข้ายึดกับเหล็กเพื่อจำกัดการเติบโตของแบคทีเรียด้วย[ 28] : 29
เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระดับความเข้มข้นของเหล็กจะลดลงในภาวะการอักเสบเป็นระบบ เนื่องจากการผลิต hepcidin มากขึ้นโดยหลักปล่อยมาจากตับ เป็นการตอบสนองต่อ cytokine ที่สนับสนุนสภาวะอักเสบ เช่น Interleukin-6
แต่การขาดเหล็กโดยหน้าที่ของร่างกายเช่นนี้จะหายไปเองถ้ากำจัดแหล่งก่อความอักเสบ
แต่ว่า ถ้าไม่แก้ไข นี่อาจจะลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุการอักเสบเรื้อรัง (Anaemia of Chronic Inflammation)
การอักเสบอาจจะมาจากการมีไข้ [ 30]
Inflammatory Bowel Disease, การติดเชื้อ , หัวใจวาย เรื้อรัง (CHF), มะเร็งเยื่อบุ , หรือจากการผ่าตัด
เมื่อพิจารณาการจำกัดไม่ให้เหล็กกับแบคทีเรียเช่นนี้ การทานธาตุเหล็กเสริมก็จะเป็นเหตุให้มีระดับเหล็กสูงขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งอาจเปลี่ยนชนิดแบคทีเรียที่มีอยู่ในท้อง
เคยกังวลกันว่าการให้เหล็กผ่านเส้นเลือด (parenteral iron) ในระหว่างภาวะเลือดมีแบคทีเรีย แต่ว่า ในการรักษาจริง ๆ นี่กลับไม่เป็นปัญหา
การขาดเหล็กระดับพอสมควร สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบฉับพลัน โดยเฉพาะต่อสิ่งมีชีวิต ที่อยู่ในเซลล์ตับ (hepatocyte) และที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวแบบ macrophage เช่น มาลาเรีย และวัณโรค
ซึ่งเป็นประโยชน์ในเขตโลกที่มีโรคเหล่านี้แพร่หลายและการรักษาไม่ดี
เชิงอรรถและอ้างอิง
↑ "deficiency", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕ , การขาด, ความพร่อง
↑ "vitamin deficiency" , Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6 , หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ภาวะขาดวิตามิน . 2546.
↑
Centers for Disease Control and Prevention (2002). "Iron deficiency - United States, 1999-2000". MMWR . 51 : 897–9.
↑
Hider, Robert C.; Kong, Xiaole (2013). "Chapter 8. Iron: Effect of Overload and Deficiency". ใน Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland KO (บ.ก.). Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases . Metal Ions in Life Sciences. Vol. 13. Springer. pp. 229–294. doi :10.1007/978-94-007-7500-8_8 .
↑
Dlouhy, Adrienne C.; Outten, Caryn E. (2013). "Chapter 8.4 Iron Uptake, Trafficking and Storage". ใน Banci, Lucia (บ.ก.). Metallomics and the Cell . Metal Ions in Life Sciences. Vol. 12. Springer. doi :10.1007/978-94-007-5561-1_8 . ISBN 978-94-007-5560-4 . electronic-book ISBN 978-94-007-5561-1 ISSN 1559-0836 electronic-ISSN 1868-0402
↑ Centers for Disease Control and Prevention (3 เมษายน 1998). "Recommendations to Prevent and Control Iron Deficiency in the United States" . Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR) . 47 (RR-3): 1.
↑ CDC Centers for Disease Control and Prevention (3 เมษายน 1998). "Recommendations to Prevent and Control Iron Deficiency in the United States" . Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR) . 47 (RR3): 1. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 .
↑ Centers for Disease Control and Prevention. "Iron and Iron Deficiency" . สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2014 .
↑ "Mortality and Burden of Disease Estimates for WHO Member States in 2002" (xls) . World Health Organization . 2002.
↑ Wintergerst, E. S.; Maggini, S.; Hornig, D. H. (2007). "Contribution of Selected Vitamins and Trace Elements to Immune Function". Annals of Nutrition and Metabolism . 51 (4): 301–323. doi :10.1159/000107673 . PMID 17726308 .
↑ Rangarajan, Sunad; D'Souza, George Albert (เมษายน 2007). "Restless legs syndrome in Indian patients having iron deficiency anemia in a tertiary care hospital". Sleep Medicine . 8 (3): 247–51. doi :10.1016/j.sleep.2006.10.004 . PMID 17368978 .
↑ "Nonantibiotic Effects of Fluoroquinolones in Mammalian Cells". J Biol Chem . 290 : 22287–97. กันยายน 2015. doi :10.1074/jbc.M115.671222 . PMID 26205818 .
↑ 13.0 13.1 13.2 Nielson, Peter; Nachtigall, Detlef (ตุลาคม 1998). "Iron supplementation in athletes: current recommendations" . Sports Med . 26 (4): 207–216. doi :10.2165/00007256-199826040-00001 . PMID 9820921 . สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 .
↑ 14.0 14.1 Chatard, Jean-Claude; Mujika, Iñigo; Guy, Claire; Lacour, Jean-René (เมษายน 1999). "Anaemia and Iron Deficiency in Athletes Practical Recommendations for Treatment" (PDF) . Sports Med . 4. 27 (4): 229–240. doi :10.2165/00007256-199927040-00003 . PMID 10367333 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 20 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 .
↑ Longmore, Murray; Wilkinson, Ian B; Rajagoplan, Supaj (2004). Oxford Handbook of Clinical Medicine (6th ed.). Oxford University Press. pp. 626 –628. ISBN 0-19-852558-3 .
↑ Rockey, D; Cello, J (1993). "Evaluation of the gastrointestinal tract in patients with iron-deficiency anemia". N Engl J Med . 329 (23): 1691–5. doi :10.1056/NEJM199312023292303 . PMID 8179652 .
↑ Rimon E, Kagansky N, Kagansky M, Mechnick L, Mashiah T, Namir M, Levy S (2005). "Are we giving too much iron? Low-dose iron therapy is effective in octogenarians". Am J Med . 118 (10): 1142–7. doi :10.1016/j.amjmed.2005.01.065 . PMID 16194646 .
↑
Defoliart, G (1992). "Insects as Human Food" . Crop Protection . 11 : 395–99.
↑
Bukkens, SGF (1997). "The Nutritional Value of Edible Insects". Ecol. Food. Nutr . 36 (2–4): 287–319.
↑ "Iron deficiency" . Food Standards Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 8 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 .
↑ "Iron in diet" . MedlinePlus.
↑ Mangels, Reed. "Iron in the vegan diet" . The Vegetarian Resource Group.
↑ "Iron" . The Merck Manuals Online Medical Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 17 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 .
↑ "iron rich foods" . Rich Foods. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 .
↑ "Dietary Reference Intakes: Recommended Intakes for Individuals" (PDF) . National Academy of Sciences. Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 6 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 .
↑ 26.0 26.1 American Association of Blood Banks (24 เมษายน 2014), "Five Things Physicians and Patients Should Question" , Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation , American Association of Blood Banks, สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 , which cites
↑ Kluger, M. J.; Rothenburg, B. A. (1979). "Fever and reduced iron: Their interaction as a host defense response to bacterial infection". Science . 203 (4378): 374–376. doi :10.1126/science.760197 . PMID 760197 .
↑ 28.0 28.1 28.2 Nesse RM, Williams GC. Why We Get Sick: The New Science of Darwinian Medicine . New York. p. 30. ISBN 0-679-74674-9 .
↑ Hutchens, T William; Lönnerdal, Bo (1997). Lactoferrin: Interactions and Biological Functions . p. 379.
↑ Weinberg, E. D. (1984). "Iron withholding: A defense against infection and neoplasia". Physiological reviews . 64 (1): 65–102. PMID 6420813 .
แหล่งข้อมูลอื่น