น้ำตา เกิดจากการหลั่งน้ำตา (Lacrimation หรือ lachrymation) ที่มีหน้าที่ทำความสะอาดและหล่อลื่นดวงตาเพื่อตอบสนองต่ออาการระคายเคืองตา[1] น้ำตาที่เกิดจากการร้องไห้มีผลมาจากความรู้สึกรุนแรงภายใน เช่น ความโศกเศร้า ความปิติยินดี อารมณ์ ความกลัวเกรง หรือความยินดี การหัวเราะและการหาวก็สามารถทำให้เกิดน้ำตาได้
ส่วนประกอบของน้ำตา
น้ำตาประกอบด้วยน้ำและสารต่างๆ ที่เป็นเสมือนอาหารให้เซลล์ผิวดวงตา ช่วยให้ผิวดวงตาแข็งแรง เช่น ออกซิเจน โดยปกติ กระจกตา เป็นอวัยวะที่ไม่มีเลือดมาเลี้ยงเหมือนกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ในดวงตา จึงต้องการออกซิเจนจากอากาศและน้ำตาเป็นหลัก นอกจากนี้ น้ำตา ยังมีสารอิเล็กโทรไลต์และวิตามินต่างๆ เช่นวิตามินเอ วิตามินอี มีสารต้านจุลชีพ (antimicrobial) และสารต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ที่จำเป็นต่อการคงสภาพที่ปกติของผิวดวงตา
ในภาวะปกติ น้ำตาสร้างมาจากต่อมน้ำตา ต่อมภายในเยื่อบุตา ต่อมบริเวณโคนขนตา ตลอดจนต่อมภายในหนังตา แต่ละต่อมสร้างน้ำตาต่างชนิดกัน โดยเรียงเป็น 3 ชั้น
ชั้นนอกเป็นชั้นไขมัน ชั้นกลางเป็นน้ำ และชั้นที่ชิดผิวตาเป็นชั้นเมือก น้ำตาจะหายไปโดยการระเหยร้อยละ 20 ที่เหลือจะไหลลงท่อบริเวณหัวตา
อวัยวะสำหรับหลั่งน้ำตา
- ต่อมน้ำตา อยู่ในเบ้าตาตรงมุมบนหัวตาไปถึงมุมหางตา มีท่อเล็กๆ ประมาณ 3-9 ท่อ เปิดสู่รอยพับบนเยื่อบุตา ทำให้ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ ช่วยชะล้างฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าตา
- หลอดน้ำตา เป็นหลอดเล็กๆ อยู่ในเปลือกตาบนและล่าง ตรงมุมหัวตา หลอดน้ำตายาวประมาณ 10 มิลลิเมตร ทอดไปสู่ถุงน้ำตา จึงเป็นทางระบายน้ำตาด้านหน้าของลูกตาไปสู่ถุงน้ำตา
- ถุงน้ำตา อยู่หลังผิวหนังบริเวณระหว่างมุมหัวตาของเปลือกตากับดั้งจมูก มีท่อยาวประมาณ 18 มิลลิเมตร กว้าง 3-4 มิลลิเมตร เปิดสู่ช่องจมูกส่วนหน้า[2]
ชนิดของน้ำตา
น้ำตาสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
อ้างอิง