โรงเรียนตราษตระการคุณ

โรงเรียนตราษตระการคุณ
จังหวัดตราด
Trattrakarnkhun School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.ค. / TK
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
สถาปนา14 มกราคม พ.ศ. 2442
ผู้ก่อตั้งพระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสาโร)
พระยาตราษบุรีศรีสมุทร์เขตต์ (ธน ณ สงขลา)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 17
สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายรักพงศ์ จุลเจริญ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
กัมพูชา ภาษาเขมร
สาธารณรัฐจีน ภาษาจีน
สี   สีเหลือง - สีฟ้า
คำขวัญนตฺถิ ปญฺญฺสมา อานา
เพลงมาร์ชตราษตระการคุณ
เว็บไซต์www.tkschool.ac.th

โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด (อังกฤษ: Trattrakarnkhun School Trat) เดิมเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดตราด ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษา

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ตราประจำโรงเรียน: ประกอบด้วยโล่ มีทะเลอันสงบ ซึ่งเหมือนวิถีชีวิตของชาวตราด พระอาทิตย์ฉายแสงรัศมีเป็นครึ่งวงกลมเหนือภูเขา ขอบล่างโล่มีข้อความ "โรงเรียนตราษตระการคุณ" ขอบบนปรากฏคติพจน์โรงเรียน "นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา" ใต้โล่เป็นรูปกิ่งของต้นไผ่และผูกด้วยริบบิ้น อันหมายถึงโรงเรียนนี้เกิดจากสำนักเรียนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม

ประวัติ

"จากกุฏิเล็ก ๆ ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ในวัดไผ่ล้อมมาสู่พื้นที่ซึ่งรกร้าง แต่หาได้รกร้างซึ่งน้ำใจและความเมตตาของผู้คนไม่ จึงกลายเป็นสถานศึกษาสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดตราดในวันนี้ ควรค่าแก่ความภูมิใจของบุคคลที่ร่วมสรรค์สร้าง"

ช่วงที่ 1 : สำนักเรียนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม สู่ เวฬุสุนทรการ

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ วัดไผ่ล้อม เมืองตราด ภิกษุเจ้ง อายุประมาณ 30 ปีเศษ เป็นพระสงฆ์ที่บวชมานานจนชาวบ้านเรียกว่า ขรัว ได้ทำหน้าที่ให้การศึกษาแกเยาวชน ความเข้มงวดกวดขันทำให้การสอนได้ผลดี เป็นที่นิยมชมชื่นของชาวบ้าน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ สำนักท่านขรัวเจ้ง วัดไผ่ล้อม

พ.ศ. 2442 สำนักเรียนของท่านขรัวเจ้งที่ตั้งขึ้นมาด้วยใจรัก เริ่มขยายใหญ่ขึ้น มีนักเรียนรวม 40 - 60 คน แต่ท่านก็ยังเป็นครูสอนเองแบบให้เปล่า ในปีการศึกษานี้มีการสอบวัดผลการเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรงในเมืองตราด เจ้าคณะมณฆล ซึ่งในเวลานั้นคือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ครั้งยังเป็น พระสุคุณคณาภรณ์เป็นเจ้าคณะมณฆลเป็นประธานในการสอบไล่นักเรียนได้มาเห็นสำนักของท่านขรัวเจ้งวัดไผ่ล้อมที่จัดการสอนมาก่อนวัดอื่น ๆ ในจังหวัดตราด จึงมีบัญชาให้จัดตั้งเป็น โรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดตราด ชื่อ สำนักสอนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อม การตั้งโรงเรียนแผนแบบใหม่อย่างเป็นทางการครั้งแรกในจังหวัดตราดนี้ พระอาจารย์เจ้งรับหน้าที่เป็นครูสอนเองดังเดิมได้รับนิตยภัตร (เงินเดือน) เดือนละ 25 บาท

พ.ศ. 2456 โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น สถานศึกษาบนกุฏิสองหลังจึงคับแคบ ประกอบกับจะได้ขยายเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ด้วยความร่วมมือจากผู้ว่าราชการเมืองตราด พระยาสุนทรทราธรธุรกิจ (หมี ณ ถลาง) จัดการบอกบุญเรี่ยไรเงินสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ให้ชื่อว่า โรงเรียนเวฬุสุนทรการ ซึ่งมัความหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัดไผ่ล้อมกับพระยาสุนทรทราธรธุรกิจผู้เป็นกำลังสำคัญในการจัดสร้างอาคารเรียนใหม่ปรากฏชื่อในสมุดโรงเรียนว่า โรงเรียนประจำจังหวัดเวฬุสุนทรการ เป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดตราด

ช่วงที่ 2 : เวฬุสุนทรการ สู่ ตราษตระการคุณ [1]

ปี พ.ศ. 2461 พระตราษบุรีศรีสมุทร์เขตต์ (ธน ณ สงขลา) ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดคนใหม่ได้พิจารณาเห็นว่าโรงเรียนเวฬุสุนทรการไม่เหมาะที่จะเป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดตราดจึงเรี่ยไรเงินจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ใกล้กับสโมสรเสือป่า (ปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอเมือตราดหลังเก่า)

พ.ศ. 2463 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีเศษ รวมค่าก่อสร้าง 4,670.50 บาท และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2463 โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) เป็นประธาน และให้นามโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนตราษตระการคุณ อันเป็นมงคลนาม และเป็นอนุสรณ์แด่พระตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ (ธน ณ สงขลา) ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างอาคารเรียนหลังนี้ อาคารเรียนที่สร้างขึ้นเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ภายในโล่ง จุนักเรียนได้ 160 คน การเรียนการสอนแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา คือ ป.1 - ป.4 กับระดับมัธยมศึกษา คือ ม.1 - ม.3 (เทียบเท่า ป.5 - ป.7 ในสมัยต่อมา)

พ.ศ 2479 มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตราดขึ้น คือ โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ในปัจจุบัน (ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนอนุบาลตราดในปัจจุบัน) โรงเรียนตราษตระการคุณได้ย้ายนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด กับนักเรียนหญิงไปเรียนที่โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ รวมทั้งครูสตรีก็ย้ายตามนักเรียนไปด้วย โรงเรียนตราษตระการคุณจึงมีแต่นักเรียนชายล้วนและมีการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น โรงเรียนตราษตระการคุณใช้สถานที่นี้เป็นที่เล่าเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2463 สืบจนถึง พ.ศ. 2484 เป็นเวลานานถึง 22 ปี

พ.ศ. 2483 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ตามแบบ ร.1 โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก พล.ร.ท.สินธุ์ กมลนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น มีพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่นี้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 โดยหลวงนรนิติผดุงการ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 14,475 บาท ส่วนอาคารหลังแรกนั้น ภายหลังได้รื้อถอน เพราะชำรุดทรุดโทรมมาก เครื่องก่อสร้างที่พอจะใช้ได้ ก็นำไปเป็นโรงพลศึกษาขึ้นอีกหลังหนึ่ง

พ.ศ. 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุเคราะห์ให้เงินจรมาสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกหลังหนึ่ง เป็นหลังที่ 2 เป็นเงิน 20,000 บาท

พ.ศ. 2506 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติเงิน 150,00 บาท มาสร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 เป็นอาคาร 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน

ช่วงที่ 3 : ตราษตระการคุณในทุ่งกว้าง

พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงินงบประมาณ 150,000 บาท และเงินบำรุงการศึกษา 15,000 บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด ได้จัดการเรียนการสอนเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ แต่การที่มีนักเรียนเพิ่มขึ้นมากทุกปี ประกอบกับพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงโรงเรียนไม่สามารถขยายตัวได้อีกเพราะติดสถานที่ราชการอื่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโรงเรียนในภายหน้า นายประจำ ประทีปฉาย ศึกษาธิการจังหวัดตราด และ นายลพ ชูแข อาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด มีความคิดตรงกันว่าต้องหาที่ดินผืนใหม่ให้โรงเรียนตราษตระการคุณ และที่ดินผืนนั้นน่าจะเป็นทุ่งเนินตาแมวอันรกร้างและกว้างใหญ่พอที่จะรองรับลูกหลานชาวตราดให้มีที่เรียนเพียงพอได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งที่ดินผืนนี้ห่างจากสถานที่ตั้งเดิมเพียง 1.5 กิโลเมตร จึงทำการจับจองได้เนื้อที่ 139 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา ด้วยความเห็นชอบและสนับสนุนจากนายสงัด รอดมั่น ที่ดินจังหวัด และนายจรัส เทศวิศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดในสมัยนั้น

พ.ศ. 2513 กรมสามัญศึกษา อนุมัติให้ย้ายโรงเรียน และได้จัดสรรเงินงบประมาณให้สร้างอาคารเรียน แบบ 318 (นับว่าเป็นอาคารโครงสร้างแบบตึกหลังแรกของจังหวัดตราด) จำนวน 1 หลัง บ้านพักครู 2 หลัง ส้วมนักเรียน 1 หลัง ระยะแรกมีปัญหามาก แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้นไปด้วยดีแม้จะเสียเวลาไปบ้างสิ้นเงินงบประมาณ 2,250,000 บาท

พ.ศ. 2515 ขนย้ายนักเรียนบางส่วนมาเรียนที่ท้องทุ่งเนินตาแมว

พ.ศ. 2518 ย้ายนักเรียนมาครบทั้งหมดทุกชั้น ทิ้งสถานที่ตั้งแห่งเก่าและอาคาร 3 หลัง ไว้เป็นสมบัติของโรงเรียนอนุบาลตราดสืบไป ซึ่งสมัยนั้นตรงกับนายสุรจิตร ภัทรคามินทร์ ผู้บริหารโรงเรียนคนที่ 14 เมื่อย้ายนักเรียนทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด ได้เข้าโครงการ คมภ. 2 รุ่นที่ 5 ซึ่งโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกและได้รับความช่วยเหลือในด้านผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนาคา เป็นโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนภูมิภาค กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ หอประชุม โรงฝึกงาน พร้อมอุปกรณ์ทางด้านงานอาชีพ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ครบถ้วน

รายนามผู้บริหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด

ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2454 จนถึง ปัจจุบันโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด มีผู้บริหาร จำนวน 25 ท่าน

ลำดับที่ รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ราชบุรุษ อ่อง ปัจฉิมาภิรมย์ ครูใหญ่ 02 มิ.ย. พ.ศ. 2454 31 พ.ค. พ.ศ. 2464
2 ขุนมงคลเวชศึกษากร ครูใหญ่ 01 มิ.ย. พ.ศ. 2464 30 ก.ย. พ.ศ. 2467
3 ราชบุรุษ จ๋วน สิงห์ขาว ครูใหญ่ 01 ต.ค. พ.ศ. 2467 18 ม.ค. พ.ศ. 2477
4 นายออม รัตนเพียร ครูใหญ่ 19 ม.ค. พ.ศ. 2477 31 ก.ค. พ.ศ. 2481
5 นายประจิม กมลศิลป์ ครูใหญ่ 01 ส.ค. พ.ศ. 2481 03 ก.ค. พ.ศ. 2483
6 นายวิจิตร หิรัญรัต ครูใหญ่ 18 พ.ย. พ.ศ. 2483 01 พ.ค. พ.ศ. 2486
7 นายชื้น เรืองเวช ครูใหญ่ 02 พ.ค. พ.ศ. 2486 11 มิ.ย. พ.ศ. 2491
8 นายบัญญัติ ศุภเสน ครูใหญ่ 12 มิ.ย. พ.ศ. 2491 31 พ.ค. พ.ศ. 2492
9 นายทรง วรสิงห์ ครูใหญ่ 01 มิ.ย. พ.ศ. 2492 31 พ.ค. พ.ศ. 2499
10 นายลพ ชูแข อาจารย์ใหญ่ 01 มิ.ย. พ.ศ. 2499 30 ก.ย. พ.ศ. 2513
11 นายบัญชา ดำรงพันธุ์ รักษาการอาจารย์ใหญ่ 01 ต.ค. พ.ศ. 2513 31 ส.ค. พ.ศ. 2514
12 นายวิศิษฐ์ ดวงสงค์ อาจารย์ใหญ่ 01 ก.ย. พ.ศ. 2514 30 ก.ย. พ.ศ. 2515
13 นายบัญชา ดำรงพันธุ์ รักษาการอาจารย์ใหญ่ 01 ต.ค. พ.ศ. 2515 17 พ.ค. พ.ศ. 2516
14 นายสุรจิตร ภัทรคามินทร์ ผู้อำนวยการ 18 พ.ค. พ.ศ. 2516 30 มิ.ย. พ.ศ. 2523
15 นายธำรง ธงวิจิตร ผู้อำนวยการ 01 ก.ค. พ.ศ. 2523 30 ก.ย. พ.ศ. 2529
16 นายสุทิพย์ ติงสรัตน์ ผู้อำนวยการ 01 ต.ค. พ.ศ. 2529 30 ก.ย. พ.ศ. 2535
17 นายสง่า รอดพิเศษ ผู้อำนวยการ 22 ต.ค. พ.ศ. 2535 30 ก.ย. พ.ศ. 2539
18 นายประดิษฐ์ ดวงนภา ผู้อำนวยการ 25 ต.ค. พ.ศ. 2539 30 ก.ย. พ.ศ. 2540
19 นายสุวรรณ เจริญสุข ผู้อำนวยการ ระดับ 9 26 พ.ย. พ.ศ. 2540 30 ก.ย. พ.ศ. 2543
20 นายมนตรี คุรุกิจโกศล ผู้อำนวยการ ระดับ 8 30 ต.ค. พ.ศ. 2543 30 ก.ย. พ.ศ. 2548
21 นายวิจิตร หอยสังข์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ 01 พ.ย. พ.ศ. 2548 30 ก.ย. พ.ศ. 2551
22 นายสุรศักดิ์ ศิลาอาศน์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 25 ธ.ค. พ.ศ. 2551 30 ก.ย. พ.ศ. 2557
23 นายพิริยะ เอกปิยะกุล ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ 20 พ.ย. พ.ศ. 2557 30 ก.ย. พ.ศ. 2564
24 นายสำเนา บุญมาก ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 05 ต.ค. พ.ศ. 2564 30 ก.ย. พ.ศ. 2566
25 นายรักพงศ์ จุลเจริญ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 01 ต.ค. พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

อาคาร-สถานที่ภายในโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด

  • หอพระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จันทสโร)
  • อาคาร ๑ พระวิมลเมธาจารย์ - ศูนย์อาเซียนศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์)
  • อาคาร ๒ เวฬุสุนทรการ - กลุ่มงานบริหาร ห้องเรียนแนะแนว ธนาคารโรงเรียน และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • อาคาร ๓ พระตราษบุรีศรีสมุทรเขตต์ - ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ และ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • อาคาร ๔ พระบุรเขตต์คณาจารย์ - หอสมุดกลางฯ และ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • อาคาร ๕ - อาคารเรียนแบบ 318 ล./38 พิเศษ - ห้องโสตทัศนศึกษา และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร SMaRT School BAE SYSTEMS - สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตราด และ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
  • อาคารฝึกงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ - 2 หลัง (ห้องเขียนแบบ ห้องช่างยนต์ ห้องช่างไม้ และ ห้องคหกรรม)
  • อาคารฝึกงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (เกษตร)
  • อาคารฝึกงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี และ นาฏศิลป์) - 2 หลัง
  • อาคารตราษฯสามัคคี - โรงอาหารโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
  • อาคารเทิดพระเกียรติ (ตึกส้ม) - กลุ่มงานกิจการนักเรียน
  • หอสมุดกลางโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด - ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ห้องสมุดนันทนาการ ห้องสมุดวารสาร ห้องสมุดศึกษาค้นคว้า (ปัจจุบันอยู่ที่ชั้น 1 อาคาร ๔)
  • หอประชุม ๑ และ โดมอเนกประสงค์ ๑ - สนามกีฬาแบดมินตัน สนากีฬาเซปักตะกร้อ สนามกีฬาเทเบิลเทนนิส และ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  • หอประชุม ๒ (พื้นยางสังเคราะห์) - สนามกีฬาวอลเล่ย์บอล สนามกีฬาบาสเก็ตบอล และ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  • อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด (หอประชุม ๓) - แบบ 101 ล. /27 (อาคารเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตราด (ชั้นล่าง)
  • โดมอเนกประสงค์ ๒ - สนามกีฬาฟุตซอล สนามกีฬาบาสเก็ตบอล สถานที่พักผ่อน และ จุดนัดพบรวมในการทำกิจกรรม
  • ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น (TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER) โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด และ เรือนพยาบาล
  • สนามกีฬาฟุตบอลโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด
  • สนามกีฬาฟุตบอลหญ้าเทียม คิง พาวเวอร์
  • สวนนวราช - สวนหย่อมบริเวณหน้าอาคารเวฬุสุนทรการ
  • ห้องน้ำชาย - 4 หลัง
  • ห้องน้ำหญิง - 4 หลัง
  • บ้านพักครู - 11 หลัง
  • บ้านพักนักเรียน - 3 หลัง
  • โรงจอดรถ - 3 หลัง
  • ศาลาชิดชอบ
  • ศาลาชายชล
  • ศาลาพอเพียง
  • ศาลาริมน้ำ
  • ศาลาทรงไทย
  • เรือนกันเกรา - ห้องประชุม
  • ลานจามจุรี - สถานที่พักผ่อน และ จุดนัดพบรวมในการทำกิจกรรม
  • ลานไทร - สถานที่พักผ่อน
  • ป้อมยาม
  • cover way

จำนวนห้องเรียนของโรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด

  • ปีการศึกษา 2562

แผนการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับชั้น ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (โครงการ สสวท. - Gifted) ห้องเรียนโปรแกรมภาษาอังกฤษ(EP) ห้องเรียนทั่วไป รวม
มัธยมศึกษาปีที่ 1 1 1 7 9
มัธยมศึกษาปีที่ 2 1 1 7 9
มัธยมศึกษาปีที่ 3 1 1 7 9

แผนการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระดับชั้น ห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (โครงการ สสวท. - Gifted)
วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ ห้องเรียนอังกฤษ-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนอังกฤษ-จีน รวม
มัธยมศึกษาปีที่ 4 1 4 1 1 1 1 9
มัธยมศึกษาปีที่ 5 1 4 1 1 1 1 9
มัธยมศึกษาปีที่ 6 1 4 1 1 1 1 9

ศิษย์เก่าเกียรติภูมิ โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด

อ้างอิง

  1. [1] เก็บถาวร 2023-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.เรียกข้อมูลวันที่ 25 ต.ค. 2553.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!