โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมกันของโรงเรียน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนปรีชาพิทยากร และ โรงเรียนวัดประตูสาร[1] โดยกำหนดฐานะเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี" บริเวณที่ตั้งของโรงเรียนตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ระยะทางจากตัวเมืองสุพรรณบุรี ประมาณ 2.5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 48 ไร่ 2 งาน
ประวัติ
พ.ศ. 2441 ขุนปรีชานุศาสน์ (ปล้อง ธรรมารมณ์) ได้ใช้บ้านของท่านสอนหนังสือให้แก่ลูกหลานและเด็กในละแวกบ้าน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกนางพิมในปัจจุบันโดยไม่คิดค่าตอบแทน ประมาณปี พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2441 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ทรงเยี่ยมกิจการสอนหนังสือของนายปล้อง ธรรมารมณ์ มีความพอพระทัยมาก และทรงเห็นว่าสถานที่คับแคบ จึงโปรดให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นริมถนนสายหน้าที่ว่าการเมือง หลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดบริเวณสี่แยกนางพิม เป็นอาคารทรงปั้นหยาชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน จุนักเรียนห้องละ 10 - 15 คน ได้รับประทานนามว่า "โรงเรียนปรีชาพิทยากร" และทรงขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายปล้อง ธรรมารมณ์ เป็น "ขุนปรีชานุศาสน์"
พ.ศ. 2461 พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) เห็นว่าอาคารเรียนของโรงเรียนมีสภาพเก่าทรุดโทรม และอาณาบริเวรคับแคบ จึงย้ายไปก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ริมถนนพระพันวษา (ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งรวมโรงเรียนวัดประตูสารเข้ามาด้วย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี"กรรณสูตศึกษาลัย"
พ.ศ. 2481 นายทา พิมพ์พันธุ์ ครูใหญ่ เห็นว่าอาคารไม้ที่สร้างมา 20 ปี ทรุดโทรม และบริเวณคับแคบไม่สามารถพัฒนาและขยายพื้นที่ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ จึงติดต่อของบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 15,400 บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินริมถนนหมื่นหาญ (ด้านตะวันออกของวัดปราสาททอง) จำนวน 12 ไร่เศษ และติดต่อขอความร่วมมือจากประชาชนร่วมบริจาคอีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น มี 3 มุข 18 ห้องเรียน ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนและย้ายนักเรียน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2501 เปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ชั้น ม.7 และ ม.8) แผนกวิทยาศาตร์เป็นครั้งแรก มีนักเรียนจำนวน 800 คนเศษ
พ.ศ. 2506 นายพิณ โสขุมา ครูใหญ่ เห็นว่าบริเวณสถานที่เดิมคับแคบ จึงเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อปรึกษาหาที่ดินแห่งใหม่ ได้บริเวณวัดร้าง 2 วัด คือ วัดชุมนุมสงฆ์ และ วัดพริก ซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ของกรมการศาสนา มีเนื้อที่ 48 ไร่ 2 งาน ได้รับงบประมาณพิเศษจากกรมสามัญศึกษา เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 600,000 บาท และขอความร่วมมือจากประชาชนอีกประมาณ 700,000 บาท รวม 1,300,000 บาท เป็นอาคารเรียนแบบ 218 เป็นตึก 2 ชั้น 18 ห้องเรียน ยาว 80 เมตร ใต้ถุนโปร่ง เสร็จเรียบร้อยในวันที่ 30 สิงหาคม 2508 ปรับปรุงสนามกีฬาขนาด 400 เมตร สร้างกองอำนวยกีฬา 1 หลัง สนามบาสเกตบอล อัฒจันทร์เชียร์กีฬา 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2509
โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนถึงปัจจุบันมีอาคารเรียนถาวร 7 หลัง โรงฝึกงาน 6 หลัง อาคารประกอบ 8 หลัง
ผู้บริหาร
ที่ |
ชื่อ |
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
|
1 |
ขุนปรีชานุศาสน์ (ปล้อง ธรรมมารมณ์) |
พ.ศ. 2441 - 2451
|
2 |
ขุนโกศลเศรษฐ (อ่อน) |
พ.ศ. 2452 - 2453
|
3 |
นายสาย เขมะพรรค |
พ.ศ. 2453 - ?
|
4 |
นายเตียน เหมะสกุล |
?
|
5 |
นายผาด สุนทรปักษิณ |
?
|
6 |
นายคลาย สุวรรณาคร |
? - 2470
|
7 |
นายวัลย์ พูนสวัสดิ์ |
พ.ศ. 2470 - 2471
|
8 |
ขุนวิเศษดรุณกิจ (เรือง ปรีชานนท์) |
พ.ศ. 2472 - 2479
|
9 |
นายผล กาญจนวาหะ |
รักษาการแทน
|
10 |
นายฑา พิมพันธุ์ |
พ.ศ. 2480 - 2484
|
11 |
ยานประสิทธิ์ พิมล |
พ.ศ. 2485 - 2486
|
12 |
นายอาคม ชาติกำแหง |
พ.ศ. 2487 - 2490
|
13 |
นายสุคนธ์ คันฑสิงห์ |
พ.ศ. 2491 - 2496
|
14 |
นายรัตน์ ชีรเวทย์ |
พ.ศ. 2497 - 2502
|
15 |
นายสะอาด บุญสืบสาย |
พ.ศ. 2502 - 2504
|
16 |
นายสนอง มณีภาค |
พ.ศ. 2504 - 2506
|
17 |
นายพิณ โสขุมา |
พ.ศ. 2506 - 2525
|
18 |
นายปลองพล อินทพันธุ์ |
พ.ศ. 2525 - 2528
|
19 |
นายสำราญ แก้วแกมเสือ |
พ.ศ. 2528 - 2535
|
20 |
นายวิบูลย์ จันทร์ฉาย |
พ.ศ. 2535 - 2540
|
21 |
ดร.ชาญชัย ทิพเนตร |
พ.ศ. 2540 - 2554
|
22 |
นายประชอบ หลีนุกูล |
พ.ศ. 2554 - 2556
|
23 |
นายประเสริฐ สุนทรเนตร |
พ.ศ. 2556 - 2560
|
24 |
นายราชันย์ ทิพเนตร |
พ.ศ. 2560 - 2563
|
25
|
ดร.นิติกรณ์ ฉันท์วงศ์ชนะ
|
พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน
|
อาคาร สถานที่ภายในโรงเรียน
- อาคาร 1 เป็นอาคารอำนวยการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริหารของโรงเรียน ศูนย์รวมใจ หอเกียรติยศ ห้องปฏิรูปการศึกษา และงานคอมพิวเตอร์
- อาคาร 2 เป็นอาคารที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องสมุดภาษาไทย ห้องดนตรีไทย ห้องนาฏศิลป์ ห้อง Multi-media และห้องพระ
- อาคาร 3 เป็นอาคารที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องสมุดวิทยาศาสตร์ และห้องพยาบาล
- อาคาร 4 เป็นอาคารที่ตั้งของกล่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ห้อง Multi-media ห้อง Sear ห้อง Eric และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- อาคาร 5 เป็นอาคารที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แหล่งเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้อง World Bank ห้อง E-classroom ห้องพิมพ์ดีด และงานธุรกิจ
- อาคาร 6 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องสมุดสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ระดับช่วงชั้นที่ 3 (มัธยมต้น) ห้องประชุม ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องสมุดรวม
- อาคาร 7 เป็นอาคารที่ตั้งของกลุ่มการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี รวมถึง เป็นที่ตั้งของส่วนต่อขยายในวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาการงาน และกลุ่มวิชาดนตรีและสุนทรียศิลป์
- อาคารฝึกงาน 1 และ 2 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คหกรรม งานช่าง ทัศนศิลป์ และงานประดิษฐ์)
- เรือนเกษตร เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร)
- หอประชุม 1 (โรงยิมเนเซียม) เป็นที่สำหรับการประชุมใหญ่ เช่น ไหว้ครู ส่วนกลางใช้เป็นสนามวอลเลย์บอล ทิศตะวันตกใช้เป็นสนามตะกร้อ
- หอประชุม 2 (101ล) หอประชุมปรับอากาศขนาดใหญ่ เป็นที่สำหรับประชุมประจำสัปดาห์แต่ละช่วงชั้น ประชุมผู้ปกครอง นิทรรศการ เป็นต้น
- โรงอาหาร แบ่งออกเป็น3ส่วน ปีกซ้าย ร้านอาหารจำนวน 23 ร้าน และโต๊ะยาวขนาดกลางจำนวน3แถว ส่วนกลาง อยู่ใต้หอประชุม 2 มีห้องอาหารสำหรับครู อาจารย์ ร้านค้าจำนวน 3ร้าน และ โต๊ะยาวขนาดใหญ่จำนวน 4 แถว ปีกขวา โต๊ะอาหารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
- อาคารกิจกรรมนักเรียน ส่วนกลางเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ เช่น แสงหนึ่งคือรุ้งงาม และห้องเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านข้างเป็นร้านถ่ายเอกสาร ธนาคารโรงเรียน (โดยธนาคารออมสิน) ร้านขายขนม เครื่องดื่ม และอุปกรณ์การเรียน
- ศูนย์กีฬา กรมสามัญศึกษา ด้านล่างเป็นสนามเทเบิลเทนนิสและแบดมินตัน ห้องเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา ห้องเกียรติยศ ชั้นลอยมีห้องออกกำลังกาย ห้องพักนักกีฬา ด้านบนเป็นสนามบาสเกตบอล หรือ ฟุตซอล หรือ วอลเลย์บอล และเป็นที่ทำการกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
- อัฒจรรย์ เป็นที่สำหรับทำกิจกรรมเชียร์กีฬารวม ที่ฝึกซ้อมกิจกรรมบางประเภท ด้านใต้เป็นห้องซ้อมดนตรีของวงโยธวาทิตและห้องพักนักกีฬา
- สนามกีฬา เป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่ มีลู่วิ่งล้อมรอบสนาม
- อาคารสมาคม ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และศิษย์เก่าโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ใช้เป็นห้องรับรอง และเป็นห้องเรียนบางวิชา
- สำนักงานกิจการนักเรียนและสถานีตำรวจภูธรเมืองสุพรรณบุรี (ส่วนแยก) เป็นที่ทำการของฝ่ายกิจการฯ (ฝ่ายปกครอง) และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์สแกนรายงานตัวในตอนเช้า
- สำนักงานบริหารทั่วไป เป็นที่ทำการของรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั่วไป
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับมัธยมศึกษา |
---|
กรุงเทพมหานคร | |
---|
ภาคกลางตอนบน | |
---|
ภาคกลางตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน | |
---|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคเหนือตอนบน | |
---|
ภาคเหนือตอนล่าง | |
---|
ภาคตะวันออก | |
---|
ภาคใต้ตอนบน | |
---|
ภาคใต้ตอนล่าง | |
---|
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี |
---|
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
สังกัด สพม. สุพรรณบุรี | |
---|
สังกัด สพป. สุพรรณบุรี | |
---|
สังกัด สศศ. | |
---|
สังกัด อปท. | |
---|
สังกัด สช. | |
---|
สังกัดอื่น ๆ | |
---|
|
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี |
---|
จังหวัดสุพรรณบุรี | สหวิทยาเขตทวารวดี | สหวิทยาเขตนเรศวร |
|
|
|
| สหวิทยาเขตพุเตย | สหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา |
|
|
|
|
|
---|
|