โรงเรียนบุญวัฒนา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทสหศึกษา และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2516 โดยมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นผู้พระราชทานชื่อโรงเรียน
ประวัติโรงเรียนบุญวัฒนา
โรงเรียนบุญวัฒนาก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีสถาปนา เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515 โดยได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ ว่า “บุญวัฒนา”
ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนถาวร หลังแรก
ซึ่งนายบุญธรรม และนางบุญพริ้ง ต.สุวรรณ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล สำหรับดำเนินการจัดสร้าง จำนวน 6 ล้านบาท บนที่ดินท่ได้รับบริจาคจากร้อยโทรส และนางลูกอินทร์ มาศิริ จำนวน 50 ไร่ และยกที่ดินบริเวณมุมถนนทางเข้าโรงเรียนด้านทิศตะวันออก ติดถนนสายนครราชสีมา-โชคชัย ประมาณ 30 ตารางวา ให้โรงเรียนบุญวัฒนาเพื่อสร้างศาลาและป้ายชื่อโรงเรียน นอกจากนี้สิบเอกสมศักดิ์ เจริญพจน์ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 32 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา สำหรับจัดสร้างโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งรวมจำนวนที่ดิน ทั้งหมดที่มีผู้บริจาคจัดสร้างโรงเรียน จำนวน 82 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ในการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวาง ศิลาฤกษ์อาคารเรียนถาวรหลังแรกนี้ จึงถือว่าวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นวันก่อตั้งโรงเรียนบุญวัฒนา
ในปี พ.ศ. 2517 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดโรงเรียนบุญวัฒนา พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยเสด็จในการนี้ด้วย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2517
ในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา โรงเรียนบุญวัฒนา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาโรงเรียนบุญวัฒนา เพื่อประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดถวาย ณ สนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงเรียนบุญวัฒนา เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ และนิทรรศการของ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ(อพ.สธ.) ณ พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช (อพ.สธ.) ตำบลหนองระเวียง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ศูนย์การศึกษาหนองระเวียงในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
รายชื่อครูใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญวัฒนา [2]
ลำดับที่
|
ชื่อและนามสกุล
|
ดำรงตำแหน่ง
|
1
|
นายเทิดศักดิ์ รัตนมณี
|
15 พฤษภาคม 2516
|
3 กุมภาพันธ์ 2519
|
2
|
นายไพรัตน์ สุวรรณแสน
|
4 กุมภาพันธ์ 2519
|
24 ตุลาคม 2519
|
3
|
นายครรชิต ตรานุชรัตน์
|
25 ตุลาคม 2519
|
31 มกราคม 2531
|
4
|
นายล้วน วรนุช
|
1 กุมภาพันธ์ 2532
|
25 ตุลาคม 2535
|
5
|
นายจารุ โรจนรังสิมันตุ์
|
26 ตุลาคม 2535
|
30 กันยายน 2542
|
6
|
นายธนศักดิ์ กระต่ายทอง
|
4 กุมภาพันธ์ 2543
|
22 กันยายน 2547
|
7
|
นายศิลปะสิทธิ์ ทับทิมธงไชย
|
23 กันยายน 2547
|
15 พฤศจิกายน 2549
|
8
|
นายมโน ศรีวัฒนพงศ์
|
16 พฤศจิกายน 2549
|
30 กันยายน 2556
|
9
|
นายสมัคร ไวยขุนทด
|
18 ตุลาคม 2556
|
17 มีนาคม 2557
|
10
|
นายลัดทา ชนะภัย
|
19 มีนาคม 2557
|
30 กันยายน 2557
|
11
|
นายอนันต์ เพียรเกาะ
|
20 ตุลาคม 2557
|
30 กันยายน 2561
|
12
|
นายวิลาศ ดวงเงิน
|
2 ตุลาคม 2561
|
1 ตุลาคม 2563
|
13
|
นายนิรมิตร ดวดกระโทก
|
8 ตุลาคม 2563
|
30 กันยายน 2565
|
14
|
นายสุพล จอกทอง
|
3 ตุลาคม 2565
|
30 กันยายน 2566
|
15
|
นายวิเชียร ทองคลี่
|
2 ตุลาคม 2566
|
ปัจจุบัน
|
หลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนโรงเรียนบุญวัฒนา[3]
โรงเรียนบุญวัฒนาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้น ดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ลำดับ
|
กลุ่มการเรียน
|
จำนวนห้องเรียน
|
ประเภทโครงการ
|
1
|
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)
|
1 ห้องเรียน
|
ร่วมกับ สสวท.
|
2
|
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ แบบเข้ม
(Intensive Science Mathematics and English Program : ISMEP)
|
2 ห้องเรียน
|
โรงเรียนจัดระบบหลักสูตร
ควบคู่หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
|
3
|
การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแบบภาษาอังกฤษ
(English Program : EP)
|
1 ห้องเรียน
|
ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ
|
4
|
มาตรฐานสากล (ทั่วไป)
(General Program, World Class Standard School : GP)
|
12 ห้องเรียน
|
มาตรฐานสากล
|
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ลำดับ
|
กลุ่มการเรียน
|
จำนวนห้องเรียน
|
ประเภทโครงการ
|
1
|
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE)
|
1 ห้องเรียน
|
ร่วมของ สสวท.
|
2
|
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ แบบเข้ม
(Intensive Science Mathematics and English Program : ISMEP)
|
2 ห้องเรียน
|
โรงเรียนจัดระบบหลักสูตร
ควบคู่หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
|
3
|
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(Science and Mathematics Program : SMP)
|
6 ห้องเรียน
|
มาตรฐานสากล
|
4
|
คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
(Mathematics and English Program : MEP)
|
3 ห้องเรียน
|
มาตรฐานสากล
|
5
|
ภาษาไทย สังคมศึกษาและธุรกิจศึกษา
(Thai Language, Social Studies and Business Studies Program : TSBP)
|
2 ห้องเรียน
|
ร่วมกับสถาบันปัญญาภิวัฒน์
|
6
|
ภาษาศาสตร์
(Foreign Language Program : FLP)
ภาษาศาสตร์ เอกวิชาภาษาอังกฤษ
(Foreign Language Program, English : FLPEN)
ภาษาศาสตร์ เอกวิชาภาษาจีน
(Foreign Language Program, Chinese : FLPCN)
ภาษาศาสตร์ เอกวิชาภาษาญี่ปุ่น
(Foreign Language Program, Japanese : FLPJP)
|
รวม 3 ห้องเรียน
1 ห้องเรียน
1 ห้องเรียน
1 ห้องเรียน
|
ร่วมกับสถาบันปัญญาภิวัฒน์
|
อาคารและสถานที่ภายในโรงเรียนบุญวัฒนา
ลำดับ
|
ประกอบด้วย
|
หมายเหตุ
|
อาคาร 1
|
กลุ่มงานกิจการนักเรียน
กลุ่มงานอำนวยการ
กลุ่มงานบริหารทั่วไป
ห้องประชุม 40 ปี บุญวัฒนา
ห้องเรียนพิเศษ ISMEP
ห้องเรียนพิเศษ EP
ห้องศึกษาค้นคว้าอิสระ โครงการ ISMEP
ห้องศึกษาค้นคว้าอิสระ โครงการ EP
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
|
อาคาร 2
|
กลุ่มสาระการเรียนรู้แนะแนว
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
โครงการนักเรียนเรียนร่วม นักเรียนพิการทางสายตา
ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
|
อาคาร 3
|
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
โครงการ ทูบี นัมเบอร์วัน (To Be Number 1)
ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
|
อาคาร 4
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
|
ห้องสมุดกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (ธุรกิจศึกษา)
ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ห้องเรียนพิเศษ GSMP และ SMTE
ห้องเรียน ISMEP
ห้องเรียนทางวิทยาศาสตร์
ห้องเรียนคอมพิวเตอร์
ห้องเรียนอาเซียนศึกษา
ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุท โทฺ
ห้องเรียนสื่อทางดาวเทียม
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
|
อาคารศิลปะ
|
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ห้องเรียนนาฏศิลป์
ห้องเรียนทัศนศิลป์
ห้องเรียนดนตรีศึกษา (ดนตรีสากล)
ห้องเรียนศิลปศึกษา
ห้องเรียนดนตรีพื้นเมือง (โปงลาง)
|
|
อาคาร 5 (อาคารวิบุลปัญญา)
|
กลุ่มงานวิชาการห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ห้องเรียนประจำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
|
อาคารเอกดวงเดือน
|
ห้องประชาสัมพันธ์
ห้องประชุมเอกดวงเดือน (สมาคมนักเรียนเก่าบุญวัฒนา)
สำนักงานผู้อำนวยการโรงเรียน
ห้องเกียรติยศ (พิพิธภัณฑ์โรงเรียนบุญวัฒนา)
|
|
อาคารพยาบาล
|
ห้องพยาบาล
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พยาบาล)
|
|
อาคารสระว่ายน้ำ
|
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สระว่ายน้ำ
|
|
หอประชุม 20 ปี บุญวัฒนา
|
สำนักงานสภานักเรียนโรงเรียนบุญวัฒนา
หอประชุม 20 ปี บุญวัฒนา
โรงอาหารกลาง
|
|
อาคารโครงการพิเศษ ตามพระราชดำริ
|
ห้องสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวัฒนา
|
|
อาคารอุตสาหกรรมและคหกรรม
|
ห้องเรียนอุตสาหกรรม
ห้องเรียนคหกรรม
ห้องเรียนเขียนแบบ
|
|
อาคารเกษตรกรรม
|
ห้องเรียนเกษตรกรรม
ลานเกษตรกรรม
|
|
อาคารโยธวาทิต
|
ห้องเรียนดนตรีสากล
ห้องเรียนโยธวาทิต
|
|
สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
|
อาคารอเนกประสงค์ 45 ปี บุญวัฒนา (โดมอนุสรณ์)
สนามกีฬาโรงเรียนบุญวัฒนา (สนามฟุตบอล)
ห้องราชพฤกษ์
ลานกีฬาโรงเรียนบุญวัฒนา
สระน้ำ (บ่อพักน้ำ)
|
|
สิ่งสักการะโรงเรียนบุญวัฒนา
- พระพุทธนิโรธมหามุนิทร
- พระพุทธสิริมงคลวัฒนา
- ศาลพระภูมิประจำโรงเรียนบุญวัฒนา
คำขวัญ คติธรรม อัตลักษณ์ เอกลักษณ์และสีประจำโรงเรียนบุญวัฒนา
คำขวัญประจำโรงเรียน
วินัยดี วิชาเด่น
คติธรรมประจำโรงเรียน
สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
อัตลักษณ์ประจำโรงเรียน
วินัยดี วิชาเด่น
เอกลักษณ์ประจำโรงเรียน
กิจกรรมเป็นเลิศ
สีประจำโรงเรียน
(#00B6FF) สีฟ้า หมายถึง ความรู้ ความใฝ่ฝันและความมุ่งหวังอันสูงสุด
(#C3002F) สีแดง หมายถึง ความมั่นคง พลัง ความพร้อมเพรียงและความเสียสละ
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนบุญวัฒนา
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนมีลักษณะเป็นองค์มงกุฎของโรงเรียนบุญวัฒนา โดยแบ่งออกเป็น
1) องค์มงกุฎ เปล่งรัศมีสีทอง โดยมีทั้งหมด 31 แฉก
2) อักษรย่อประจำโรงเรียนสีทองเป็นรูปเพชร บ.ว.น.
3) ป้ายข้อความมีลักษณะโค้งรับกับปลายรัศมีและอักษรย่อโรงเรียนบุญวัฒนา โดยมีป้าย สีฟ้าและข้อความระบุชื่อโรงเรียนบุญวัฒนา สีแดง ซึ่งเป็นสีประจำโรงเรียนบุญวัฒนา
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนบุญวัฒนา
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนบุญวัฒนา
โรงเรียนบุญวัฒนาเน้นการเรียนทางด้านวิชาการและการเรียนในรูปแบบของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีการแบ่งกิจกรรมต่าง ๆ ตามมารฐานสากลในการจัดการเรียนการสอน
1) กิจกรรมชุมนุม นักเรียนจะได้เลือกกิจกรรมชุมนุมอย่างอิสระที่มีทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามความ ต้องการของนักเรียน
2) กิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะผู้เรียน นักเรียนจะสามารถเข้าค่ายทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมตามความต้องการของนักเรียน ทั้งโครงการของโรงเรียนและหน่วยงานภายนอกโรงเรียน
3) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทางด้านกีฬา โรงเรียนได้จัดให้มีกิจกรรมกรีฑาและกีฬาปีการศึกษาละ 1 ครั้ง หรือที่เรียกว่า กีฬาสี เพื่อเป็นการฝึกทักษะการทำกิจกรรมร่วมกันและการเข้าสังคม โดยแบ่งการสังกัดคณะทั้งหมด 6 คณะ โดยสังกัด 3 ปี จนสำเร็จการศึกษา แบ่งออกเป็น
(#0C2EC3) คณะบุษกร (Budsakorn Group) สีน้ำเงิน ดอกไม้ประจำคณะ ดอกบัวน้ำเงิน
(#FF9D35) คณะทองกวาว (Thongkwao Group) สีแสด ดอกไม้ประจำคณะ ดอกทองกวาว
(#FF3535) คณะปัทมา (Pattama Group) สีแดง ดอกไม้ประจำคณะ ดอกบัวแดง
(#47F085) คณะการเวก (Karavek Group) สีเขียว ดอกไม้ประจำคณะ ดอกการเวก
(#FDFF95) คณะราชพฤกษ์ (Ratchaphruek Group) สีเหลือง ดอกไม้ประจำคณะ ดอกราชพฤกษ์ (ดอกคูน)
(#95F5FF) คณะราชาวดี (Rajawadee Group) สีฟ้า ดอกไม้ประจำคณะ ดอกราชาวดี
4) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสมัยใหม่[4] กิจกรรมตามการเปลี่ยนแปลงของโลก โรงเรียนคำนึงถึงการก้าวผ่านอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เช่น กิจกรรม B.W.N. E-Sports, กิจกรรม B.W.N. The Ambassador และกิจกรรมอื่น ๆ
อีกทั้งยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ให้นักเรียนได้เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งโรงเรียนเป็นผู้จัดหรือ คณะกรรมการนักเรียน สภานักเรียน เป็นผู้จัดกิจกรรมหรือหน่วยงานภายนอกในการจัดกิจกรรมเพื่อนักเรียน
กลุ่มโรงเรียนบุญวัฒนา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 มีการแบ่งกลุ่มโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยโรงเรียนบุญวัฒนามีกลุ่มโรงเรียนในการรับผิดชอบ ดังนี้
- โรงเรียนบุญวัฒนา (ศูนย์กลางกลุ่มโรงเรียนบุญวัฒนา [5])
- โรงเรียนบุญวัฒนา ๒
- โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจวิทยา
- โรงเรียนโนนสมบูรณ์วิทยา
- โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต
- โรงเรียนปากช่อง
- โรงเรียนมัธยมวชิราลงกรณวราราม
- โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี
- โรงเรียนเสิงสาง
- โรงเรียนหนองบุญมากประสงค์วิทยา
ศิษย์เก่าโรงเรียนบุญวัฒนาที่มีชื่อเสียง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์โรงเรียนบุญวัฒนา
- Youtube Official โรงเรียนบุญวัฒนา
- จดหมายข่าวโงเรียนบุญวัฒนา เก็บถาวร 2021-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วารสารโรงเรียนบุญวัฒนา เก็บถาวร 2021-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Facebook Fanpage Official โรงเรียนบุญวัฒนา
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา |
---|
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
สังกัด สพม. นครราชสีมา | |
---|
สังกัด สพป. นครราชสีมา | เขต 1 | |
---|
เขต 2 | |
---|
เขต 3 | |
---|
เขต 4 | |
---|
เขต 5 | |
---|
เขต 6 | |
---|
เขต 7 | |
---|
|
---|
สังกัด สศศ. | |
---|
สังกัด อปท. | |
---|
สังกัด สช. | |
---|
สังกัดอื่น ๆ | |
---|
|
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา |
---|
*อำเภอที่มีโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ของ 2 สหวิทยาเขตหรือมากกว่า |
กลุ่มโรงเรียนบุญวัฒนา | กลุ่มโรงเรียนราชสีมา |
|
|
|
| กลุ่มโรงเรียนสุรธรรม | กลุ่มโรงเรียนสุรนารี |
|
|
|
| |
|
|