อำเภอแก้งสนามนาง |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Kaeng Sanam Nang |
---|
คำขวัญ: ปรางค์กู่คู่บ้าน ชมดอกจานสุขใจ สะพานไม้ร้อยปี ปลาลำชีอร่อยหลาย น้ำตาลทรายคุณภาพ |
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอแก้งสนามนาง |
พิกัด: 15°45′0″N 102°15′17″E / 15.75000°N 102.25472°E / 15.75000; 102.25472 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | นครราชสีมา |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 308.00 ตร.กม. (118.92 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 36,754 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 119.33 คน/ตร.กม. (309.1 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 30440 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3023 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอแก้งสนามนาง ถนนนิเวศรัตน์ ตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา 30440 |
---|
|
แก้งสนามนาง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา
ประวัติศาสตร์
คำว่า “แก้ง” เป็นภาษาท้องถิ่น ที่ใช้กันของอีสาน หมายถึง “แก่งหินกลางลำน้ำ” ชุมชนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นอำเภอแก้งสนามนางในทุกวันนี้ มีความสำคัญในฐานะที่ในอดีต อาณาบริเวณนี้ใช้เป็นท่าสำหรับข้ามแม่น้ำชี เพื่อเดินทางไปติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเขตการปกครองเมืองชัยภูมิ กับผู้คนในเขตบัวใหญ่ (สมัยนั้น) ของเมืองโคราช ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อหรือไปมาหาสู่ ค้าขายหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ชุมชนที่เป็นท่าข้ามลำน้ำชีดำเนินความสำคัญเรื่อยมา จนมาถึงยุคที่มีรถไฟวิ่งมาถึงกลางภาคอีสาน
การนำสินค้าจากจังหวัดชัยภูมิเข้าสู่เมืองหลวง ก็จะลำเลียงข้ามแม่น้ำชีมาขึ้นรถไฟที่อำเภอบัวใหญ่ (ในปัจจุบัน) เพื่อส่งเข้ากรุงเทพฯ ต่อมา รัฐบาลเข้าไปพัฒนาสร้างถนนลูกรัง และ สร้างสะพานเหล็กข้ามลำน้ำชีให้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่าง จังหวัดชัยภูมิกับอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2480 และ ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าจากชัยภูมิสู่กรุงเทพฯ ด้วยโดยนำมาบรรทุกรถไฟที่สถานีรถไฟบัวใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2513 ก็รื้อสะพานเหล็กสร้างใหม่เป็นสะพานคอนกรีตปัจจุบันถนนสายนี้กลายเป็นทางหลวงหมายเลข 202
ท่าที่ใช้ข้ามแม่น้ำนี้มักมีชื่อตามแก่งหินน้ำตื้นที่ขวางอยู่กลางลำน้ำในอาณาบริเวณชุมชนนั้น ดังเช่น ท่าข้าม “แก้งโก” (แก่งต้นตะโก) จึงเป็นข้อสังเกตให้เห็นว่า ที่ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแก่งทั้งสองนี้จะมีชื่อตามชื่อแก่งว่า หมู่บ้าน "แก้งขาม"และหมู่บ้าน "แก้งโก"
บ้านแก้งขามถือเป็นตลาดการค้าขนาดย่อมทีเดียว และยังเป็นตลาดรับซื้อปอจากฝั่งชัยภูมิเพื่อส่งไปบรรทุกรถไฟที่บัวใหญ่ด้วย ฉะนั้นจึงเป็นท่าข้ามที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มาแต่อดีตและ ยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ ห่างจากตลาดแก้งขามเพียง 13 กิโลเมตร ยังมีชุมชนขนาดใหญ่ริมฝั่งน้ำชีอยู่อีกชุมชนหนึ่งที่มีความสำคัญ ในฐานะท่าข้ามที่สำคัญไม่แพ้กันมาแต่อดีต ที่นี่ คือที่ตั้งของ “บ้านแก้งสนามนาง” หมู่บ้านหรือชุมชนแห่งนี้เรียกขนานนามตามชื่อของแก่งหินเหมือนชุมชนอื่น ๆ แต่ด้วยเหตุที่เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางลำน้ำชีที่ยามหน้าแล้งน้ำลด สาว ๆ หนุ่ม ๆ มักพากันลงเล่นน้ำที่แก่งนี้เป็นที่สนุกสนาน จึงเรียกชื่อชุมชนนี้ว่า “แก้งสนามนาง”
ปัจจุบันเกาะแก่งต่างๆ ที่กล่าวมา ไม่มีให้เห็นกันแล้ว เนื่องจากลำน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงและตื้นเขินในบางช่วง อำเภอแก้งสนามเดิมมีฐานะเป็นตำบลอยู่ในความปกครองของอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา[1]
- วันที่ 7 มกราคม 2529 ได้แยกพื้นที่ตำบลแก้งสนามนาง ตำบลโนนสำราญ ตำบลบึงพะไล และตำบลสีสุก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ [2]
- วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลบึงสำโรง แยกออกจากตำบลบึงพะไล ตำบลแก้งสนามนาง และ ตำบลสีสุก [3]
- วันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะเป็น อำเภอแก้งสนามนาง [4]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอแก้งสนามนางตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอแก้งสนามนางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอแก้งสนามนางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบึงสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสำโรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งสนามนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก้งสนามนางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสำราญทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงพะไลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสีสุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีสุกทั้งตำบล
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
การทหาร | |
---|
|
---|
|