โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม
Teparak Ratchawittayakom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ร.ว.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ประเภทสหวิทยา สังกัด อบจ.นครราชสีมา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา10 มีนาคม พ.ศ. 2532
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้อำนวยการนายสุเทพ คงวิริยะวิทยา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
เพลงมาร์ชทรว

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม (อังกฤษ: Teparak Ratchawittayakom School) (อักษรย่อ ท.ร.ว., MT) เป็นโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอของอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำอำเภอในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

  • คติธรรมประจำโรงเรียน = สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
  • คำขวัญของโรงเรียน = เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
  • ปรัชญาโรงเรียน = ลูกเขียวเหลือง เป็นคนเก่งและคนดี
  • สีประจำโรงเรียน = เขียว-เหลือง
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน = ต้นราชพฤกษ์
  • อักษรย่อโรงเรียน = ท.ร.ว.
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน = พระพุทธรูปปัญญาราชวิทยาคมประวัติโรงเรียน

ประวัติ

โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา เดิมชื่อ โรงเรียนสำนักตะคร้อวิทยาคม ตั้งอยู่ที่ตำบลสำนักตะคร้อ จังหวัดนครราชสีมา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 10 มีนาคม 2532

ก่อนที่จะมีการจัดตั้งโรงเรียน กรมสามัญศึกษาได้อนุญาตให้เป็นหน่วยเรียนขึ้นตรงต่อโรงเรียนมัธยมด่านขุนทด และได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยรับนักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 49 คน โดยมีนายสะอาด นาคาเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมด่านขุนทดในสมัยนั้น ได้มาดำเนินการเรื่องสถานที่ เนื่องจากจัดหาที่ดินเพื่อเตรียมขออนุญาตเปิดโรงเรียนในปีการศึกษา 2532 และได้จัดครูโรงเรียนมัธยมศึกษามาช่วยสอน 1 คน คือ นายชิด ไพเราะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนวังไม้แดงพิทยาคม[1]

ในปีการศึกษา 2532 กรมสามัญศึกษาได้รับเป็นโรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่เนื่องจากในระยะแรกยังไม่มีผู้บริหาร กรมสามัญศึกษาจึงได้แต่งตั้งให้นายชวลิต ตัณฑเสรณีวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ สมัยนั้น มาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารและได้จัดครูจากโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ จำนวน 9 คน โดยมีรถรับ - ส่ง จากตัวเมืองนครราชสีมาเพื่อมาทำการสอน เช้าไปเย็นกลับ ตั้งแต่วันที่ 15 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา โดยครั้งแรกทำการสอนที่โรงเรียนบ้านสำนักตะคร้อ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา

ต่อมาโรงเรียน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา ได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ห้องน้ำ ห้องส้วม 1 หลัง 4 ที่ บ้านพักครู 1 หลัง บ้านพักนักการ 1 หลัง สนามบาสเกตบอล ในการก่อสร้างอาคารชั่วคราวสมัยแรก ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านพระครูวิภัชธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดสำนักตะคร้อ นายภุชงค์ เชษฐ์ขุนทด ซึ่งเป็นกำนันตำบาลสำนักตะคร้อ ในสมัยนั้นได้เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา นายบุญไหล กาศขุนทด อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านสำนักตะคร้อ นายสามารถ โชติขุนทด อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้าสำนักตะคร้อ และชาวบ้านสำนักตะคร้อเป็นอย่างดี และในการก่อสร้างครั้งนี้ได้รับการบริจาคที่ดินจากนายเพ้ง เชาว์ขุนทด ข้าราชการบำนาญ และนางอ๋วง ชิวขุนทด เนื้อที่ประมาณ 46 ไร่ 3 งาน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2532 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายยิ่งยศ ดอกสันเทียะ มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนสำนักตะคร้อวิทยาคม เป็นคนแรก

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2537 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายวิทยา โพธิ์แสง ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ 2 และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ได้แต่งตั้งนางกฤษณา มือขุนทด เป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2538 คณะครู - อาจารย์ นำโดยนายวิทยา โพธิ์แสง ได้เข้ากราบนมัสการพระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) เพื่อขอประทานสมณศักดิ์ของท่าน คือ พระราชวิทยาคม ให้เป็นชื่อของโรงเรียน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2540 กรมสามัญศึกษา ประกาศให้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสำนักตะคร้อวิทยาคม เป็นโรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งให้นายสุเทพ คงวิริยะวิทยา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเทพารักษ์ราชวิทยาคม เป็นคนที่ 3[2]

อ้างอิง

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!