พลเอก เสริม ณ นคร (2 มีนาคม พ.ศ. 2464 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้อำนวยการรักษาพระนคร[1]และอดีตรองนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าของฉายา นายพลแก้มแดง
ประวัติ
ชีวิส่วนตัว
พล.อ. เสริม ณ นคร เป็นบุตรของพ.ท. ชุบ และนางละมุน ณ นคร จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พล.อ. เสริม ณ นคร สมรสกับ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร มีธิดา 2 คน
การทำงาน
เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นผู้บังคับหมวดกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 จากนั้นจึงเลื่อนขั้นและยศตามลำดับ อาทิ เสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการทหารบก[2] และผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3] โดยได้รับพระราชทานยศ พลเอก[4] พลเรือเอก และพลอากาศเอก นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิกุลโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นองครักษ์เวร และตุลาการศาลทหารสูงสุด ทั้งยังเคยปฏิบัติราชการพิเศษ อาทิ ราชการสนามกรณีพิพาทอินโดจีน, สงครามมหาเอเชียบูรพา, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม จนได้รับลีเจียนออฟเมอริต จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นระหว่างดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม ผลัดที่ 4
เขานับได้ว่าเป็นผู้พัฒนากองทัพบกทุกด้านตามพื้นฐานนโยบายแห่งชาติ โดยเสริมสร้างกำลังรบให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดจัดตั้งกองกำลังทหารพราน เพื่อเป็นกำลังสำรองเพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้การป้องกันการก่อการร้าย
งานการเมือง
เขาเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (คณะรัฐบาลชุดที่ 41)[5] และในรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ (คณะรัฐมนตรีชุดที่ 42)[6] เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการรักษาพระนครในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520
ในเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย ระหว่างวันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2524 และเหตุการณ์กบฏ 9 กันยา โดยเฉพาะในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยา ได้ถูกคณะผู้ก่อการประกาศชื่อให้เป็นหัวหน้าด้วย
การถึงแก่กรรม
พล.อ. เสริม ณ นคร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือดจากโรคมะเร็ง สิริอายุได้ 88 ปี มีการสวดพระอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้น ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. 2514 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นที่ 3
- พ.ศ. 2514 – เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2514 – แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาร์ม
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- สหรัฐอเมริกา :
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา ชั้นที่ 1[21]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2524 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1[22]
อ้างอิง
- ↑ ประกาศแต่งตั้ง ผู้อำนวยการรักษาพระนคร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 115 ง หน้า 2634 28 กันยายน พ.ศ. 2519
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอน 106 ง หน้า 1 1ตุลาคม พ.ศ. 2521
- ↑ ได้รับพระราชทานยศพลเอก
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๑๘๙๗, ๒๙ เมษายน ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๓, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๗, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 70 ตอนที่ 41 หน้า 2350 ง, 23 มิถุนายน 2496
- ↑ AGO 1976-02 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1979.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 98 ตอนที่ 184 ฉบับพิเศษ หน้า 25, 4 พฤศจิกายน 2524
แหล่งข้อมูลอื่น