ประเทศในแอฟริกาตะวันตก
11°N 10°W / 11°N 10°W / 11; -10
กินี (อังกฤษ: Guinea; ฝรั่งเศส: Guinée) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐกินี (อังกฤษ: Republic of Guinea; ฝรั่งเศส: République de Guinée) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนด้านทิศเหนือจรดกินีบิสเซา และเซเนกัล พรมแดนด้านทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศมาลี ตะวันออกเฉียงใต้จรดโกตดิวัวร์ ทิศใต้จรดไลบีเรีย และตะวันตกจรดเซียร์ราลีโอน เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำไนเจอร์ แม่น้ำเซเนกัล และแม่น้ำแกมเบีย ชื่อกินี (ในทางภูมิศาสตร์แล้วเป็นชื่อที่ใช้เรียกดินแดนในเขตชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา และตอนเหนือของอ่าวกินี) มีต้นกำเนิดจากภาษาเบอร์เบอร์สามารถแปลได้ว่า "ดินแดนของคนผิวดำ"
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจและสังคม
กินีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ โดยเฉพาะบอกไซต์ ซึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตแร่บอกไซต์รายใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก นอกจากนี้ยังมีทองคำและเพชรและแร่ธาตุอื่น ๆ นับแต่ปี 2547 ความต้องการแร่ธาตุและราคาซื้อขายในตลาดโลกได้ส่งผลให้กินีมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และภาคเหมืองแร่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออก
ภาคเกษตรกรรมยังคงเป็นหัวใจหลักของกินี โดยประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมูลค่าเพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออก
แม้ว่าประเทศกินีจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศกินียังคงประสบปัญหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงทางการเมือง การคอร์รัปชันที่มีอยู่สูง ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การขาดแรงงานมีฝีมือ ประกอบกับสถานการณ์การสู้รบในกินี - บิสเซา เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ซึ่งส่งผลให้มีการอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในกินี ทั้งนี้ กินียังถูกจัดไว้เป็นลำดับที่ 9 ในตารางประเทศล้มเหลว (failed states)
อย่างไรก็ตาม กีนีเริ่มพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อ รื้อฟื้นโครงการพัฒนาและความช่วยเหลือเพื่อการปลดหนี้ที่เคยถูกยกเลิกไป ตั้งแต่ปี 2546
สหประชาชาติจัดให้กินีอยู่ในอันดับที่ 178 จาก 189 ประเทศ ตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human development index - HDI) ในปี พ.ศ. 2562[7] ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นมาตรฐานสุขภาพที่ย่ำแย่ของชาวกินีและสาธารณูปโภค ที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานเหมืองแร่
ภายหลังการยึดอำนาจ ร้อยเอก Camara ได้ประกาศระงับการผลิต และส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะบ๊อกไซด์ ทองและเพชร ซึ่งจะได้มีการเจรจากับบริษัทที่รับสัมปทานเพื่อให้กินีได้รับผลประโยชน์ตอบ แทนมากที่สุด
นโยบายต่างประเทศ
ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Conte กินีเอนเอียงเข้าหาตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและ EU ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญต่อกินีทั้งในด้านการค้าและการให้ความช่วยเหลือ ความสัมพันธ์ระหว่างกินีและประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากรัฐบาลกินีมักเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไลบีเรียและเซียร์ราลีโอนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากการคลี่คลายของปัญหาทางการเมืองของทั้งสองประเทศ
กินีและแอฟริกาใต้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น หลังจากการเยือนกินีของประธานาธิบดี Thabo Mbeki ในเดือนกรกฎาคม 2548 โดยแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงโคนักรีของกินี รวมทั้ง บริษัทเพชร De Beers ได้เข้าไปดำเนินกิจการในกินีอีกครั้ง
กินีประสบปัญหาการอพยพเข้ามาของประเทศเพื่อนบ้าน นับแต่ปี 2543 มีจำนวนผู้อพยพจากเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินี - บิสเซา เข้ามาในกินีประมาณ 750,000 คน โดยกินีได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้ามาแก้ปัญหานี้ ในปัจจุบัน กินียังมีผู้อพยพอยู่ประมาณ 39,000 คน
ประชาคมระหว่างประเทศได้ออกมาประณามการยึดอำนาจของร้อยเอก Camara และเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Abdoulaye Wade แห่งเซเนกัลได้แถลงที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ว่าทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนร้อยเอก Camara โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไม่ควรแทรกแซงกิจการภายในของกินี แต่ควรให้เวลากินีผลัดเปลี่ยนอำนาจอย่างสันติ ซึ่งคำแถลงดังกล่าวเป็นที่ประหลาดใจของหลายฝ่าย เนื่องจากสวนทางกับการประณามการยึดอำนาจโดยสหภาพยุโรป สหรัฐ ฯ รวมทั้งสหภาพแอฟริกา ซึ่งได้ประกาศยุติสมาชิกภาพของกินีในสหภาพ แอฟริกาเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ รัฐบาลของร้อยเอก Camara ยังได้รับการสนับสนุนจากนาย Muammar AL Gaddafi ประธานาธิบดีลิเบียซึ่งได้เดินทางเยือนกินีเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2552 อีกด้วย
Galerie
-
atlas Guinea
-
-
-
-
Chimpanzé de Bossou
-
Plage sur les
Ile de Loos
ประชากร
- เชื้อชาติ ชนเผ่าฟูลา 40% ชนเผ่ามาลินเก้ 30% ชนเผ่าซูซู 20%
- ศาสนา อิสลาม 85% คริสต์ 8%
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
- Davidson, Basil. "Guinea, Past and Present" (ต้องสมัครสมาชิก). History Today (June 1959) vol. 9, no. 6. pp. 392–398. Covers 1800 to 1959.
แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง |
---|
|
---|
การเป็นสมาชิก | สมาชิก | | |
---|
สมาชิกภูมิภาค | |
---|
สมาชิกสมทบ | |
---|
ผู้สังเกตการณ์ | |
---|
ผู้ที่ถูกระงับ | |
---|
|
---|
องค์การ | |
---|
เลขาธิการ | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
|
|
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
ศิลปิน | |
---|
ประชาชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|