โนล

โนล
บทความการผ่าตัดหัวเข่าบนเว็บไซต์โนล
ประเภทอ้างอิง
เลิกกิจการ1 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (2012-10-01)
เจ้าของกูเกิล
สร้างโดยกูเกิล
ยูอาร์แอลknol.google.com (ออฟไลน์)
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนใช่
เปิดตัว23 กรกฎาคม 2008; 16 ปีก่อน (2008-07-23)
สถานะปัจจุบันปิดบริการ

โนล (อังกฤษ: Knol) เป็นโครงการของกูเกิลที่มีจุดมุ่งหมายรวมบทความที่ผู้ใช้เขียนขึ้นหลากหลายหัวข้อ คำว่า knol ตัวพิมพ์เล็กที่กูเกิลนิยามเป็น "หน่วยความรู้"[1] สื่อถึงบทความในโครงการนี้ โนลมักถูกมองเป็นคู่แข่งของวิกิพีเดีย[2][3][4]

อูดี มันเบร์ รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของกูเกิล เป็นผู้นำโครงการนี้[5] โดยมีการประกาศในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2007 และเปิดรุ่นเบต้าในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2008[6] พร้อมบทความไม่กี่ร้อยบทความ ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดสุขภาพและการแพทย์[5][2]

โนลไม่ได้รับผู้เข้าชมจำนวนมากและถูกมองว่าล้มเหลว[3][4] โครงการนี้จึงปิดตัวลงในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2012 และเนื้อหาทั้งหมดจึงถูกลบหลังวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2012[7][8][4] อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์เก็บภาพจับหน้าจอโนลในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 ถึงพฤษภาคม ค.ศ. 2012[9]

การใช้งาน

ผู้มีส่วนร่วมสามารถสร้างและเป็นเจ้าของบทความโนลได้ และสามารถมีบทความหลายบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเดียวกันที่เขียนโดยผู้เขียนคนละคนได้[10][11]

ผู้เขียนสามารถเลือกเพิ่มโฆษณาผ่าน AdSense ของกูเกิลลงในหน้าของตนเอง การแบ่งปันรายได้นี้ถูกวิจารณ์ว่าสร้างแรงจูงใจในการโปรโมตตัวเองหรือสแปม[12][13][14]

ผู้มีส่วนร่วมในโครงการโนลทุกคนต้องลงชื่อเข้ากับบัญชีกูเกิลและต้องระบุชื่อจริง[5] การมีส่วนร่วมในเว็บไซต์นี้ตามค่าเริ่มต้นอนุญาตภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons CC-BY-3.0 (อนุญาตให้ใครก็ตามนำเนื้อหานั้นมาใช้ซ้ำได้ ตราบเท่าที่ระบุชื่อผู้เขียนเดิมไว้) แต่ผู้เขียนสามารถเลือกใบอนุญาต CC-BY-NC-3.0 (ห้ามใช้ใหม่ในเชิงพาณิชย์) หรือใช้การปกป้องลิขสิทธิ์แบบดั้งเดิมแทน[5][15] โนลใช้ลิงก์ออกนอกไซต์ "nofollow" ด้วยการใช้คำสั่ง HTML เพื่อป้องกันไม่ให้ลิงก์ในบทความมีอิทธิพลต่อการจัดอันดับของเครื่องมือค้นหา[16]

คำตอบรับ

การแข่งขัน

โนลได้รับการอธิบายเป็นทั้งคู่แข่งต่อเว็บไซต์สารานุกรมอย่างวิกิพีเดีย, ซิติเซนเดียม และสโกลาร์พีเดีย[17][18] และส่วนเสริมของวิกิพีเดีย โดยมีรูปแบบที่แก้ไขข้อบกพร่องหลายประการของวิกิพีเดีย[19][20][21] BBC News รายงานว่า "ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าแนวคิดริเริ่มนี้เป็นการโจมตีชุมชนสารานุกรมวิกิพีเดียที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย"[22] มูลนิธิวิกิมีเดียที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเป็นเจ้าของชื่อวิกิพีเดีย และเซิร์ฟเวอร์โฮสต์โครงการวิกิพีเดีย ให้การต้อนรับโครงการกูเกิล โนลโดยกล่าวว่า "ยิ่งมีเนื้อหาเสรีที่ดีมากขึ้นเท่าใด ยิ่งดีสำหรับโลกมากขึ้นเท่านั้น"[23] ในขณะที่บทความวิกิพีเดียเขียนรวมกันภายใต้นโยบาย "มุมมองที่เป็นกลาง" โนลมุ่งเน้นถึงความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลด้วยการเน้นที่ความเป็นผู้เขียน[11]

หลังเปิดตัวรุ่นเบต้า Cedric Dupont ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของกูเกิล ตอบถึงแนวคิดที่ว่า กูเกิลตั้งใจให้โนลเป็น "ผู้สังหารวิกิพีเดีย" โดยกล่าวว่า "ทางกูเกิลรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่วิกิพีเดียประสบความสำเร็จ ใครก็ตามที่พยายามจะฆ่าสิ่งนั้นจะทำให้พวกเราได้รับอันตราย"[2] The New York Times สังเกตเห็นการออกแบบที่คล้ายคลึงระหว่างโนลกับวิกิพีเดีย เช่น การใช้ฟอนต์เดียวกัน[2] Dupont ตอบว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องบังเอิญ เนื่องจากเป็นฟอนต์ที่ใช้งานกันทั่วไป[2]

เนื่องจากรูปแบบของโนล ทำให้บางส่วนกล่าวว่าโนลดูเหมือนกับ About.com มากกว่าวิกิพีเดีย[18]

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ปิดตัว

ในไม่ช้า ความสนใจของสื่อที่กูเกิล โนลได้รับเมื่อเปิดตัวลดน้อยลง[4] เว็บไซต์นี้ไม่สามารถดึงดูดผู้อ่านได้มากนัก โดยในช่วงกลาง ค.ศ. 2009 โนลมีผู้เข้าชมโดยรวมเพียงประมาณ 175,000 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น[24] เมื่อเทียบกับวิกิพีเดียที่มียอดผู้เข้าชมเป็นพันล้านครั้ง ส่งผลให้โมเดลทางการเงินที่อยู่เบื้องหลังโนลไม่ได้สร้างขึ้น[25] กูเกิลหยุดให้การสนับสนุนโนล[4] และหลังเปิดตัวเพียง 2 ปี มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่รับรู้ถึงการมีตัวตนของโนล[3] เป็นที่ชัดเจนว่ากูเกิลเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุผลที่วิกิพีเดียประสบความสำเร็จอย่างมาก[3]

ในช่วง ค.ศ. 2010 เว็บไซต์โนลหยุดให้บริการเป็นเวลานาน แต่ดูเหมือนว่าทางกูเกิลไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโนลหยุดให้บริการ จนกระทั่งมีสื่อแห่งหนึ่งเข้ามาสอบถามถึงเว็บไซต์นี้[25][4] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าโนลกำลังจะปิดตัวลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "การทำความสะอาดช่วงใบไม้ผลินอกฤดูกาล" ที่กูเกิลกำลังทำสำหรับโครงการและแนวความคิดริเริ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จ[26] แต่นักเขียนจาก TechCrunch กล่าวว่า เมื่อมีการแจ้งเรื่องนี้ "ผมแปลกใจมาก เพราะคิดว่ากูเกิลได้ปิดเว็บไซต์นี้ไปแล้ว"[4]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Monaghan, Angela (2007-12-14). "Google's 'knol' may challenge Wikipedia". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Helft, Miguel (2008-07-23). "Wikipedia, Meet Knol". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-22. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Sarvary, Miklos (2011). Gurus and Oracles: The Marketing of Information. Cambridge, Massachusetts: MIT Press. pp. 139–140. ISBN 9780262300384.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Kincaid, Jason (2011-11-22). "Google Announces Plans To Shutter Knol, Friend Connect, Wave, And More". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Levy, Steven (2008-07-23). "Google Throws Open Rival for Wikipedia — Anon Authors Discouraged". Wired News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-26. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  6. Mills, Ellis (2008-07-23). "Google's Wikipedia rival, Knol, goes public". CNET News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  7. "15 amazing Google projects that failed". Rediff. 21 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 February 2016. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.
  8. Watson, Frank (2011-11-23). "Google Shutting Down Knol & 6 More Failed Products". Search Engine Watch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
  9. knol.google.com/k on the Internet Archive
  10. Schofield, Jack (2008-07-23). "Google opens up Knol, its Wikipedia-for-cash project". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2008-07-26.
  11. 11.0 11.1 Blakely, Rhys (2007-12-15). "Google to tackle Wikipedia with new knowledge service". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  12. Anderson, Nate (Jan 19, 2009). "Google Knol six months later: Wikipedia need not worry". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-01-21.
  13. Arthur, Chris (7 August 2008). "Google attacked over Knol's spam potential". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2009-01-21.
  14. Manjoo, Farhad (September 22, 2008). "Chuck Knol". Slate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2010. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.
  15. Mike Linksvayer, Google Code adds content licensing; Google Knol launches with CC BY default เก็บถาวร 2015-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Creative Commons Blog, July 23, 2008
  16. Lenssen, Philipp (2008-07-24). "Knol's Nofollowing Of Links". Google Blogoscoped. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-30.
  17. Riley, Duncan (2007-12-14). "Google Knol: A Step Too Far?". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
  18. 18.0 18.1 Frederick, Lane (2007-12-14). "Death Knell Sounds for Wikipedia, About.com". NewsFactor Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
  19. Masnick, Mike (2007-12-14). "Google Decides Organizing The World's Information Is Easier If That Info Is Online". Techdirt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-26. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
  20. Manjoo, Farhad (2007-12-14). "Truthiness showdown: Google's "Knol" vs. Wikipedia". Salon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
  21. Hof, Rob (2007-12-14). "Google's Knol: No Wikipedia Killer". Businessweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2007-12-14.
  22. "Google debuts knowledge project". BBC. 2007-12-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-17. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  23. Levy, Ari (2007-12-14). "Google Starts Web Site Knol to Challenge Wikipedia". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2007-12-15.
  24. Schonfeld, Erick (2009-08-11). "Poor Google Knol Has Gone From A Wikipedia Killer To A Craigslist Wannabe". TechCrunch.
  25. 25.0 25.1 Rao, Leena (2010-07-28). "Looks Like Even Google Forgot Knol Existed". TechCrunch.
  26. Foley, Stephen (November 24, 2011). "Google culls research projects to cut costs". The Independent. United Kingdom. p. 60 – โดยทาง Newspapers.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!