กูเกิล แผนที่
กูเกิล แผนที่ (อังกฤษ : Google Maps ) เป็นเว็บไซต์ค้นหาส่วนหนึ่งของกูเกิล ที่มีบริการภาพถ่ายดาวเทียม , ภาพถ่ายทางอากาศ , แผนที่ถนน, ภาพถนนพาโนรามา 360° (สตรีทวิว ), สภาพจราจรในเวลาจริง และวางแผนการเดินทาง ด้วยการเดิน, รถยนต์, จักรยาน, อากาศ (ในรุ่นเบตา ) และการขนส่งสาธารณะ ข้อมูลเมื่อ 2020[update] มีผู้ใช้งานกูเกิล แผนที่มากกว่า 1 พันล้านคนทุกเดือนทั่วโลก[ 1]
กูเกิล แผนที่เริ่มด้วยการเป็นโปรแกรมเดสก์ท็อปที่ใช้ภาษา C++ ซึ่งพัฒนาโดยพี่น้อง Lars และ Jens Rasmussen ในบริษัท Where 2 Technologies ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 กูเกิลซื้อบริษัทนี้ แล้วเปลี่ยนโปรแกรมนี้ไปเป็นแอปในเว็บ ภายหลังการเข้าซื้อกิจการบริษัทสร้างภาพข้อมูลเชิงพื้นที่และเครื่องมือวิเคราะห์จราจรตามเวลาจริงเพิ่มเติม ทำให้มีการเปิดตัวกูเกิล แผนที่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005[ 2] กูเกิล แผนที่มีส่วนเสริมหน้า ของบริการที่ใช้ JavaScript , XML กับ Ajax และยังนำเอพีไอ มาใช้งาน เพื่อทำให้แผนที่ของกูเกิลสามารถฝังตัวเข้าไปในเว็บไซต์บุคคลที่สามได้[ 3] และเสนอตัวระบุตำแหน่งธุรกิจและบริษัทอื่น ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก กูเกิลแมปเมกเกอร์ อนุญาตให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการขยายและอัปเดตแผนที่ทั่วโลก แต่ปิดบริการตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วมจำนวนมากในกูเกิล แผนที่ไม่ได้หยุดลง เนื่องจากบริษัทประกาศว่าคุณลักษณะเหล่านั้นจะถูกโอนไปยังโปรแกรม Google Local Guides แทน[ 4]
ภาพดาวเทียมของกูเกิล แผนที่เป็นภาพแบบ "บนลงล่าง" หรือวิวตานก ภาพเมืองคุณภาพสูงส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายทางอากาศ ที่ถ่ายบนอากาศยานที่บินในระดับความสูง 800 ถึง 1,500 ฟุต (240 ถึง 460 เมตร) ในขณะที่ภาพประเภทอื่น ๆ มาจากดาวเทียม[ 5] ภาพถ่ายดาวเทียมส่วนใหญ่มีอายุไม่มากกว่าสามปีและได้รับการอัปเดตบ่อยครั้ง[ 6] ในอดีต กูเกิล แผนที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้บริเวณขั้วโลกมีขนาดและพื้นที่ไม่ถูกต้อง[ 7] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 กูเกิล แผนที่บนเดสก์ท็อปอัปเดตเป็นโหมดลูกโลกสามมิติ ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับไปเป็นโหมดแผนที่สองมิติได้ที่ช่องตั้งค่า
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 มีรายงานว่ากูเกิล แผนที่เป็นแอปสมาร์ตโฟน ยอดนิยมที่สุดในโลก โดยมีผู้เป็นเจ้าของโทรศัพท์ใช้งานแอปนี้มากกว่า 54%[ 8]
แอปโทรศัพท์
มีบริการแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ ของกูเกิล แผนที่ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และไอโอเอส ตัวแอปในแอนดรอยด์เริ่มเผยแพร่ครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008[ 9] [ 10] แม้ว่าคุณสมบัติการทำให้เป็นเทศวิวัตน์ของจีพีเอส ยังคงอยู่ในระยะทดลองมาตั้งแต่ ค.ศ. 2007[ 11] [ 12] [ 13] แอปพลิเคชันแผนที่ในตัวของระบบปฏิบัติการไอโอเอส ขับเคลื่อนด้วยกูเกิลแผนที่จนถึงรุ่นไอโอเอส 6 อย่างไรก็ตาม ในวันประกาศไอโอเอส 6 เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 แอปเปิล ประกาศว่าตนได้สร้างบริการแผนที่แอปเปิลแมปส์ ของตนเอง[ 14] ซึ่งจะมาแทนที่กูเกิล แผนที่หลังออกจำหน่ายไอโอเอส 6 ในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2012[ 15] แต่หลังเผยแพร่ออกไป กลับได้เสียงวิจารณ์จากผู้ใช้ว่ามีความไม่ถูกต้อง, มีข้อผิดพลาด และเจอบั๊ก [ 16] [ 17] หนึ่งวันต่อมา เดอะการ์เดียน รายงานว่ากูเกิลเตรียมทำแอปกูเกิล แผนที่เป็นของตนเอง[ 18] ซึ่งเผยแพร่ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2012[ 19] [ 20] จากนั้น มีผู้ดาวน์โหลดแอปมากกว่าสิบล้านครั้งภายในสองวัน[ 21]
อ้างอิง
↑ "Google Maps Metrics and Infographics - Google Maps for iPhone" . sites.google.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-03-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-01 .
↑ "Google Company: Our history in depth" . google.co.uk . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 6, 2016. สืบค้นเมื่อ June 13, 2016 .
↑ "What is the Google Maps API?" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2012.
↑ Perez, Sarah. "Google to shut down Map Maker, its crowdsourced map editing tool | TechCrunch" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 11, 2017. สืบค้นเมื่อ June 23, 2017 .
↑ "Blurry or Outdated Imagery" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2013. สืบค้นเมื่อ January 12, 2014 .
↑ "How Often is Google Maps and Google Earth Updated?" . Technicamix.com . October 18, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 3, 2013. สืบค้นเมื่อ November 24, 2013 .
↑ "Map Types – Google Maps JavaScript API v3 — Google Developers" . Google Inc. July 27, 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2013. สืบค้นเมื่อ January 3, 2013 .
↑ "Google+ Smartphone App Popularity" . Business Insider . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2013. สืบค้นเมื่อ September 6, 2013 .
↑ Vanlerberghe, Mac (September 23, 2008). "Google on Android" . Google Mobile Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2017. สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Tseng, Erick (September 23, 2008). "The first Android-powered phone" . Official Google Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2017. สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ "Google Announces Launch of Google Maps for Mobile With "My Location" Technology" . News from Google . November 28, 2007. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 25, 2017 .
↑ Marshall, Matt (November 28, 2007). "Google releases useful "my location" feature for cellphones" . VentureBeat . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2017. สืบค้นเมื่อ April 25, 2017 .
↑ Schonfeld, Erick (November 28, 2007). "Google Mobile Maps PinPoints Your Location Without GPS" . TechCrunch . AOL . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2017. สืบค้นเมื่อ April 25, 2017 .
↑ Gates, Sara (June 11, 2012). "Apple Maps App Officially Debuts, Google Maps Dropped (PHOTOS)" . HuffPost . AOL . สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Chen, Brian X.; Wingfield, Nick (September 19, 2012). "Apple's iPhone Update Leaves Out Google's Maps" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ "New Apple maps app under fire from users" . BBC . September 20, 2012. สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Patel, Nilay (September 20, 2012). "Wrong turn: Apple's buggy iOS 6 maps lead to widespread complaints" . The Verge . Vox Media . สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Arthur, Charles (September 20, 2012). "Apple's self-inflicted maps issue is a headache – but don't expect an apology" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Olanoff, Drew (December 12, 2012). "Google Launches Native Maps For iOS, And Here's The Deep Dive On Navigation, Info Sheets And More" . TechCrunch . AOL . สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Bohn, Dieter (December 12, 2012). "Google Maps for iPhone is here: how data and design beat Apple" . The Verge . Vox Media . สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
↑ Keizer, Gregg (December 18, 2012). "Google Maps snares 10M downloads on iOS App Store" . Computerworld . International Data Group . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-10-22. สืบค้นเมื่อ April 30, 2017 .
แหล่งข้อมูลอื่น
บุคลากรหลัก โฆษณา การสื่อสาร ซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม เครื่องมือพัฒนา เผยแพร่สารสนเทศ สืบค้น (เพจแรงก์ ) ยุติการให้บริการ อื่น ๆ