กูเกิล สตรีตวิว |
|
วันที่เปิดตัว | 25 พฤษภาคม 2007; 17 ปีก่อน (2007-05-25) |
---|
|
รุ่นเสถียร | ครั้งที่ 194 ( ลำดับเวลา)
/ 9 พฤษภาคม 2016 ; 8 ปีก่อน (2016-05-09) |
---|
|
ภาษา | ใช้งานได้หลายภาษา |
---|
เว็บไซต์ | Google Street View |
---|
กูเกิล สตรีตวิว (อังกฤษ: Google Street View) เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำหรับ กูเกิล แผนที่ และ กูเกิล เอิร์ธ ที่ให้มุมมองภาพแบบพาโนรามาจากตำแหน่งต่าง ๆ ตามถนนหลายแห่งบนโลก โปรแกรมนี้ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ในหลายเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา และขยายตัวสำหรับเมืองต่าง ๆ และชนบททั่วโลก
สำหรับสถานที่ที่มีให้บริการ รูปของ สตรีตวิว จะปรากฏหลังจากขยายภาพจากมุมที่สูงในแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียม และโดยการลากไอคอน "เพ็กแมน" ลงบนสถานที่ในแผนที่ การใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์ทำให้ทิศทางการดูทั้งแนวนอนและแนวตั้ง รวมถึงระดับการขยาย สามารถเลือกได้ เส้นทึบหรือเส้นประในภาพ แสดงให้เห็นเส้นทางตัวอย่าง.....และมีลูกศรช่วยเชื่อมโยงไปยังภาพถัดไปในแต่ละทิศทางบริเวณทางแยกและจุดตัดของเส้นทาง..., ลูกศรมากมายถูกแสดงขึ้น ในการใช้แผนที่ของ กูเกิล ผู้ใช้สามารถเปิดสเตโรสโกปิก โหมด 3 มิติ โดยการคลิกขวาบนพื้นถนนเพื่อให้แสดงผลเป็นมุมมองระบบภาพสามมิติของภาพพื้นถนน อย่างไรก็ตามโหมดนี้แนะนำให้ผู้ใช้สวมใส่แว่นตาสีแดง หรือสีเขียวอมน้ำเงินเพื่อให้การแสดงภาพระบบ 3 มิติมีประสิทธิภาพ
วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 มุมมองภาพบนพื้นถนน ถูกบันทึกอยู่ในโปรแกรมแผนที่ที่ติดตั้งบนไอโฟน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551 มุมมองภาพบนพื้นถนน ถูกบันทึกอยู่ในโปรแกรมแผนที่สำหรับS60 3rd Edition ซึ่งณ ปัจจุบันนี้มุมมองภาพพื้นถนน เพิ่มโปรแกรมกูเกิล แมปส์ เพื่อให้สามารถติดตั้งบนเครื่อง และมือถือระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้ โดยมุมมองภาพพื้นถนนของโปรแกรมกูเกิล แมปส์ ทุกรุ่น ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อใช้กับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อยู่แล้ว ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีเข็มทิศดิจิตอลที่ใช้ในการมองไปยังรอบ ๆ สถานที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2011 กูเกิล ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำสตรีตวิวในประเทศไทย โดยความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) [1] โดยใช้รถในการเก็บภาพทั้ง 15 คัน และต่อมาในปี ค.ศ. 2012 ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทยพร้อมกับลงภาพของ 3 จังหวัดแรก คือกรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่ และภูเก็ต [2] และจะมีการทยอยถ่ายทำและอัปเดตเรื่อย ๆ จนครบ 77 จังหวัด
การสำรวจ
-ตัวหนา ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ -ตัวไม่หนา ครอบคลุมเฉพาะพิพิธภัณฑ์
|
- Notes
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
บุคลากรหลัก | |
---|
โฆษณา | |
---|
การสื่อสาร | |
---|
ซอฟต์แวร์ | |
---|
แพลตฟอร์ม | |
---|
เครื่องมือพัฒนา | |
---|
เผยแพร่สารสนเทศ | |
---|
สืบค้น (เพจแรงก์) | |
---|
ยุติการให้บริการ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|