กูเกิลบอมบ์

ตัวอย่างกูเกิลบอมบ์ใน ค.ศ. 2006 ที่ทำให้การค้นหาคำว่า "miserable failure" (ความล้มเหลวน่าอนาถ) เชื่อมโยงกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และ ไมเคิล มัวร์

กูเกิลบอมบ์ (อังกฤษ: Google bomb) และ กูเกิลวอชชิง (Googlewashing) หมายถึง การทำให้เสิร์ชเอนจินของเว็บไซต์แสดงผลการค้นหาสำหรับคำค้นหาที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่ตรงประเด็น โดยการสร้างลิงก์จำนวนมาก ในทางกลับกัน การทำอันดับข้อมูลให้เด่นสุด (SEO) คือการปรับปรุงรายการเสิร์ชเอนจินของเว็บเพจสำหรับคำค้นหาที่ "เกี่ยวข้อง"

กูเกิลบอมบ์ทำขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางธุจกิจ การเมือง หรือตลกขบขัน (หรือปะปนกัน)[1] อัลกอริทึมเสิร์ชแรงก์ของกูเกิลจัดอันดับสำหรับวลีเฉพาะสูงกว่าถ้ามีหน้าอื่นเชื่อมมากพอ คล้ายกับข้อความแองคอร์ อย่างไรก็ตามในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 กูเกิลได้ปรับแต่งอัลกอริธึมการค้นหาเพื่อรับมือกับคำค้นหายอดนิยมของกูเกิลอย่าง "miserable failure" ที่เชื่อมเข้ากับจอร์จ ดับเบิลยู. บุชกับไมเคิล มัวร์ ปัจจุบัน การค้นหาเหล่านั้นนำไปสู่รายการหน้าเกี่ยวกับกูเกิลบอมบ์เอง[2] เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2015 ผลการค้นหาแรกในกูเกิลสำหรับ "miserable failure" คือบทความนี้[3] คำว่า "Google bombing" ทั้งในรูปกริยาและคำนามได้รับการบรรจุลงใน New Oxford American Dictionary เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005[4]

กูเกิลบอมบ์มีความเกี่ยวข้องกับสแปมเด็กซิงที่เป็นการจงใจดัดแปลง HTML เพื่อเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ตั้งอยู่ใกล้กับผลการค้นหาแรก หรือสร้างอิทธิพลต่อหมวดหมู่ที่ถูกกำหนดไว้ในหน้าเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไม่ซื่อสัตย์[5]

คำว่า Googlewashing ประดิษฐ์ขึ้นโดยแอนดรูว์ ออร์โลวสกีใน ค.ศ. 2003 เพื่ออธิบายการใช้วิธีควบคุมจัดการสื่อเพื่อเปลี่ยนการรับรู้คำศัพท์ หรือผลักดันการแข่งขันออกจากsearch engine results page (SERPs)[6][7]

ประวัติ

กูเกิลบอมบ์สืบต้นตอได้ถึง ค.ศ. 1999 เมื่อการค้นหาวลี "more evil than Satan himself" ทำให้ผลการค้นหาโฮมเพจไมโครซอฟท์อยู่ด้านบนสุด[8][9]

อ้างอิง

  1. Zeller, Tom Jr. (October 26, 2006). "A New Campaign Tactic: Manipulating Google Data". The New York Times (Late Edition (East Coast)). p. A.20. (Note: payment required, weblink goes to abstract.)
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ googlebomb halt
  3. "Miserable failure - Google Search". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2015.
  4. Price, Gary (พฤษภาคม 16, 2005). "Google and Google Bombing Now Included New Oxford American Dictionary". Search Engine Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 27, 2007. สืบค้นเมื่อ มกราคม 29, 2007..
  5. Gyöngyi, Zoltán; Garcia-Molina, Hector (2005), "Web spam taxonomy" (PDF), Proceedings of the First International Workshop on Adversarial Information Retrieval on the Web (AIRWeb), 2005 in The 14th International World Wide Web Conference (WWW 2005) May 10, (Tue)-14 (Sat), 2005, Nippon Convention Center (Makuhari Messe), Chiba, Japan., New York, NY: ACM Press, ISBN 1-59593-046-9
  6. Orlowski, Andrew (April 3, 2003). "Anti-war slogan coined, repurposed and Googlewashed ... in 42 days". The Register. สืบค้นเมื่อ January 6, 2007.
  7. Andrew A. Adams; Rachel McCrindle (15 February 2008). Pandora's Box: Social and Professional Issues of the Information Age. John Wiley & Sons. pp. 122–123. ISBN 978-0-470-06553-2. สืบค้นเมื่อ 30 September 2012.
  8. Sullivan, Danny (March 18, 2002). "Google Bombs Aren't So Scary". ClickZ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-11. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.
  9. "The 10 Most Incredible Google Bombs". November 9, 2010.

บทความข่าว

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!