เบ้งเฮ็ก

เบ้งเฮ็ก (เมิ่ง ฮั่ว)
孟获
ภาพวาดของเบ้งเฮ็กสมัยราชวงศ์ชิง
ผู้ช่วยขุนนางตรวจสอบ
(御史中丞)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตไม่ทราบ

เบ้งเฮ็ก มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เมิ่ง ฮั่ว (จีนตัวย่อ: 孟获; จีนตัวเต็ม: 孟獲; พินอิน: Mèng Huò) เป็นผู้นำท้องถิ่นในภูมิภาคหนานจงในรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ภาพลักษณ์ที่เป็นที่นิยมของเบ้งเฮ็กมาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊กซึ่งเล่าถึงเหตุการณ์ก่อนและระหว่างยุคสามก๊ก นวนิยายสามก๊กแสดงภาพลักษณ์ของเบ้งเฮ็กว่าเป็นผู้นำชนเผ่าอนารยชนทางใต้ และยังแต่งงานกับจกหยงซึ่งเป็นตัวละครสมมติผู้อ้างว่าสืบเชื้อสายจากเทพแห่งไฟจู้หรง

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์

เรื่องราวของเบ้งเฮ็กและบันทึกเกี่ยวกับการจับและปล่อยตัวเบ้งเฮ็กปรากฏทั้งในฮั่นจิ้นชุนชิวที่เขียนโดยสี จั้วฉื่อในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันออก และในพงศาวดารหฺวาหยาง (หฺวาหยางกั๋วจื้อ) ที่เขียนโดยฉาง ฉฺวีระหว่างปี ค.ศ. 348 ถึง ค.ศ. 354 ดังนั้นเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งสองที่มีที่มาต่างกันจึงเป็นบันทึกเกี่ยวกับเบ้งเฮ็กที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เผย์ ซงจือนักประวัติศาสต์ในยุคราชวงศ์หลิวซ่งขณะรวบรวมอรรถาธิบายของจดหมายเหตุสามก๊ก พบว่าบันทึกว่าสี จั้วฉื่อเชื่อถือได้และนำข้อความในบันทึกมาอ้างอิงในจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว โดยเผย์ ซงจือไม่ได้เขียนความเห็นเพิ่มเติ่ม นักประวัติศาสตร์ซือหม่า กวางขณะรวบรวมจือจื้อทงเจี้ยนก็บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเบ้งเฮ็กเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเผย์ ซงจือวิจารณ์งานเขียนส่วนอื่น ๆ ของสี จั้วฉื่อ นักประวัติศาสตร์ฟาง กั๋วยฺหวี (方國瑜) จึงใช้ข้อสงสัยของเผย์ ซงจือเกี่ยวกับความไม่น่าเชื่อถือของสี จั้่วฉื่อ ในการแสดงข้อกังขาของเรื่องราวการถูกจับและปล่อยเจ็ดครั้งของเบ้งเฮ็ก แต่ฟาง กั๋วยฺหวีก็ไม่ได้แสดงความสงสัยถึงการมีตัวตนของเบ้งเฮ็ก[1]

ความไม่สมเหตุสมผลของเรื่องที่เบ้งเฮ็กถูกจับและปล่อยตัว 7 ครั้งทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหริอไม่ รวมถึงเรื่องการมีตัวตนอยู่ของเบ้งเฮ็ก นักประวัติศาสตรในยุคสาธารณรัฐจีนชื่อจาง ฮฺว่าล่าน (張華爛) เขียนบทความชื่อว่า "อภิปรายเรื่องเบ้งเฮ็ก" (孟獲辯 เมิ่ง ฮั่ว เปี้ยน) กล่าวว่าเบ้งเฮ็กเป็นเพียงตัวละครสมมติที่สร้างขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ในยุคหลัง สังเกตว่าชื่อ "เฮ็ก" หรือในภาษาจีนกลางคือ "ฮั่ว" (獲) นั้นมีความหมายว่า "ถูกจับ" จึงเป็นเรื่องบังเอิญเกินเมื่อพิจารณาถึงชะตากรรมของเบ้งเฮ็กที่จะต้องถูกจับ[2] – มุมมองนี้เห็นร่วมกันโดยนักวิชาการหลายคน[3]

ตัวอย่างของข้อโต้แย้งในประเด็นนี้คือเรื่องชื่อตัวของเล่าปี่ (หลิว เป้ย์) และเล่าเสี้ยน (หลิว ช่าน) "ปี" หรือภาษาจีนกลางว่า "เป้ย์" (備) มีความหมายว่า "เตรียม" และ "เสี้ยน" หรือภาษาจีนกลางว่า "ช่าน" มีความหมายว่า "ให้" เป็นกรณีเดียวกันกับเบ้งเฮ็กที่ชื่อตัวเหล่านี้บ่งชี้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเจ้าของชื่อ เล่าปี่เตรียมอาณาจักรจ๊กก๊กและเล่าเสี้ยนมอบให้วุยก๊กตามที่เจียวจิ๋วแนะนำ แต่บุคคลทั้งสองนี้เป็นที่แน่ชัดว่าไม่ใช่ตัวละครสมมติ[4] นอกจากนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่าเบ้งเฮ็กมีเชื้อสายชาวจีนฮั่นหรือมาจากชนเผ่าต่างชาติ หากเป็นกรณีหลังก็อาจเป็นไปได้ว่าชื่อตัวของเบ้งเฮ็กอาจเป็นคำในภาษาอื่นที่ออกเสียงคล้ายคำว่า "ฮั่ว" (獲) ในภาษาจีนจึงถอดเสียงออกมาเช่นนั้น[5]

หฺวาง เฉิงจง (黃承宗) แห่งพิพิธภัณฑ์สังคมทาสชนชาติอี๋แห่งจังหวัดเหลียงชานเชื่อว่าเบ้งเฮ็กเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แม้จะแน่ใจว่าเรื่องราว "จับและปล่อยเจ็ดครั้ง" เป็นที่เรื่องที่แต่งขึ้นก็ตาม[6]

เหมียว เยฺว่ (繆鉞) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเสฉวนโต้แย้งว่าจูกัดเหลียงไม่อาจปล่อยตัวผู้นำศัตรูได้หากจับตัวได้จริง ถาน เหลียงเซี่ยว (譚良嘯) ผู้อำนวยการศาลจูกัดเหลียงในเฉิงตูยังกล่าวว่าเรื่องราว "จับและปล่อยเจ็ดครั้ง" เป็นเรื่อง "แปลกและเหลือเชื่อ" แต่ก็เชื่อว่าเบ้งเฮ็กมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับความเห็นของฟาง กั๋วยฺหวี และหฺวาง เฉิงจง[7]

ประวัติ

เบ้งเฮ็กขี่วัวแดงออกศึก

เมื่อเล่าปี่จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กสวรรคตในปี ค.ศ. 223 ผู้คนท้องถิ่นในภูมิภาคหนานจงจึงก่อกบฏต่อจ๊กก๊ก โดยให้เหตุผลว่าเวลานั้นมีผู้นำสามคนอ้างตนเป็นผู้ปกครองแผ่นดินอย่างชอบธรรมจึงไม่รู้อีกต่อไปว่าควรจะภักดีต่อใคร จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กจึงตอบโต้ด้วยการบุกภูมิภาคหนานจงและปราบปรามการจลาจลได้สำเร็จ

ในช่วงต้นของการก่อกบฏ ยงคี (雍闓 ยง ไข่) เห็นว่ายังมีหลายคนที่ยังคงไม่แน่ใจเรื่องที่จะก่อกบฏ จึงส่งเบ้งเฮ็กชาวเมืองเกียมเหลง (建寧 เจี้ยนหนิง) ไปเกลี้ยกล่อมชนเผ่าโสฺ่ว (叟) และชนเผ่าอื่น ๆ เบ้งเฮ็กประกาศกับทุกคนว่าราชสำนักจ๊กก๊กกำลังเรียกเอาทรัพยาการหายากมากจนเกินไป ยากที่จะจัดหาเป็นจำนวนมากได้ ชนเผ่าต่าง ๆ เชื่อคำของเบ้งเฮ็กจึงกลับมาเข้าร่วมกลุ่มกบฏของยงคี[8]

หลังจากยงคีเสียชีวิต เบ้งเฮ็กขึ้นแทนที่ยงคีในฐานะผู้นำกบฏ ในฤดูร้อน จูกัดเหลียงนำทัพข้ามแม่น้ำลกซุยและมุ่งเข้าเมืองเอ๊กจิ๋ว (益州 อี้โจฺว) จูกัดเหลียงจับตัวเบ้งเฮ็กได้และพามายังค่าย แล้วถามเบ้งเฮ็กว่าคิดอย่างไรกับทหารของตน เบ้งเฮ็กตอบว่า "ข้ารู้สึกเสียดายเพราะหากว่าข้ารู้เรื่องนี้เร็วกว่านี้ก็คงจะเอาชนะท่านได้อย่างง่ายดาย"[9]

จูกัดเหลียงคิดว่าหากตนต้องการทุ่มกำลังในการรบทางเหนือ จะต้องหากกลวิธีในการสยบชนเผ่าในหนานจง เพราะชนเผ่าเหล่านี้มักก่อกบฏและก่อความวุ่นวาย จูกัดเหลียงจึงให้อภัยเบ้งเฮ็กและส่งตัวกลับไปยังกองกำลังของเบ้งเฮ็ก หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็รบกันทั้งหมดเจ็ดครั้ง เบ้งเฮ็กถูกจูกัดเหลียงจับตัวทุกครั้ง จูกัดเหลียงก็ให้อภัยและปล่อยตัวไปทุกครั้ง ด้วยเหตุนี้เบ้งเฮ้กและเหล่าชนเผ่ารวมถึงราษฎรชาวฮั่นในหนานจงจึงพิจารณาเรื่องการก่อกบฏใหม่ ในที่สุดจึงยอมสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กอย่างจริงใจ เมื่อจูกัดเหลียงเห็นเบ้งเฮ็กมาถึงจึงถามเบ้งเฮ็กถึงเจตนา เบ้งเฮ้กตอบว่าตนถือว่าจูกัดเหลียงเป็น "พลังอำนาจจากฟ้า" ผู้คนทางใต้จึงจะไม่กล้าก่อกบฏอีกต่อไป[10]

หลังการกบฏสิ้นสุด คนผู้มีความสามารถหลายคนของภาคใต้ได้เข้าร่วมในราชสำนักจ๊กก๊ก เบ้งเฮ้กเป็นหนึ่งในนั้นและกลายเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจูกัดเหลียง มีตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้ช่วยขุนนางตรวจสอบ (御史中丞 ยฺหวี่ฉื่อจงเฉิง).[11]

ในนิยายสามก๊ก

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Fang, Guoyu (方國瑜) (1984). Draft History of the Yi People (彝族史稿) (ภาษาจีน). Sichuan Nationalities Publishing House. p. 118.
  2. Zhang, Hualan (張華爛). "Discussion on Meng Huo (孟獲辯)". Nanqiang Magazine (南強雜誌) (ภาษาจีน). 陳壽志于南中叛黨雍闿高定之徒,大書特書,果有漢夷共服之孟獲,安得略而不載?其人身被七擒,而其名即為‘獲’,天下安有如此湊巧之事?
  3. Zhang, Xinghai (张星海). "Zhuge Liang's "Seven Captures of Meng Huo" – Real or Fake? (诸葛亮"七擒孟获"真耶假耶?)". Beijing Sci-Tech Report (北京科技报) (ภาษาจีน). 张华烂的观点其实代表了许多学者的观点。
  4. (充闻之曰:“吾闻谯周之言,先帝讳备,其训具也,后主讳禅,其训授也,如言刘已具矣,当授与人也。今中抚军名炎,而汉年极於炎兴,瑞出成都,而藏之於相国府,此殆天意也。”) อรรถาธิบายจากเซียงหยางจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
  5. "Foreign Names in Chinese".
  6. Huang, Chengzhong (黃承宗) (2000). Discussion on the Historicity of Meng Huo of Shu Han (蜀漢孟獲史實瑣談) (ภาษาจีน). Vol. 1. Sichuan Research Institute on Yi Studies (四川彝學研究). ISBN 7-5409-2672-4.
  7. Tan, Liangxiao (譚良嘯). "Suspicions about Zhuge Liang's "Seven Captures of Meng Huo" (諸葛亮"七擒孟獲"質疑)". Journal of Yunnan Normal University (ภาษาจีน). 七擒一事,實近乎離奇,諸葛亮俘孟獲不殺當是有的,但“七擒七縱”則令人難以置信。
  8. (益州夷復不從闓,闓使建寧孟獲說夷叟曰:「官欲得烏狗三百頭、膺前盡黑,蚊䴘無腦,毒蛇則有腦,而難致也。斷斲木構三丈者三千枚,汝能得不?」夷以為然,皆從闓。斷斲木堅剛,性委曲,高不至二丈,故獲以欺夷。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 4.
  9. (亮欲俟定元軍眾集合,并討之,軍卑水。定元部曲殺雍闓及士庶等,孟獲代闓為主。亮既斬定元,而馬忠破牂柯,而李恢敗於南中。夏五月,亮渡瀘,進征益州。生虜孟獲,置軍中,問曰:「我軍如何?」獲對曰:「恨不相知,公易勝耳。」) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 4.
  10. (亮以方務在北,而南中好叛亂,宜窮其詐。乃赦獲,使還合軍,更戰。凡七虜、七赦。獲等心服,夷、漢亦思反善。亮復問獲,獲對曰:「明公,天威也!邊民長不為惡矣。」秋,遂平四郡。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 4.
  11. (亮收其俊傑建寧爨習,朱提孟琰及獲為官屬,習官至領軍,琰,輔漢將軍,獲,御史中丞。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 4.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!