เตียวเอ๊ก

เตียวเอ๊ก (จาง อี้)
張翼
ประติมากรรมรูปเตียวเอ๊กในศาลอู่โหวในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน
ขุนพลทหารม้าและรถรบฝ่ายซ้าย
(左車騎將軍 จั่วเชอฉีเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 259 (259) – ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้าหลวงมณฑลกิจิ๋ว (冀州刺史 จี้โจวชื่อฉื่อ)
(ในนาม)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 259 (259) – ค.ศ. 263 (263)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
มหาขุนพลพิทักษ์ภาคใต้
(鎮南大將軍 เจิ้นหนานต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 255 (255) – ค.ศ. 259 (259)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
มหาขุนพลโจมตีภาคตะวันตก
(征西大將軍 เจิงซีต้าเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 259 (259)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ราชเลขาธิการ (尚書 ช้างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 238 (238) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ผู้บัญชาการทหารกองหน้า
(前領軍 เฉียนหลิ่งจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 238 (238)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เจ้าเมืองฝูเฟิง (扶風太守 ฝูเฟิงไท่โฉ่ว)
(ในนาม)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลราชองครักษ์สงบภาคใต้
(綏南中郎將 ซุนหนานจงหลางเจี้ยง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 231 (231) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
แม่ทัพภูมิภาคไหลเสียง
(庲降都督 ไหลเสียงตูตู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 231 (231) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ก่อนหน้าลิอิ๋น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เขตเผิงชาน นครเหมย์ชาน มณฑลเสฉวน
เสียชีวิต3 มีนาคม ค.ศ. 264[a]
นครเฉิงตู มฑลเสฉวน
บุตรจาง เวย์
ญาติเตียวเหลียง (บรรพบุรุษ)
อาชีพขุนพล, ขุนนาง
ชื่อรองปั๋วกง (伯恭)
บรรดาศักดิ์ตูถิงโหว (都亭侯)

เตียวเอ๊ก (เสียชีวิต 3 มีนาคม ค.ศ. 264)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง อี้ (จีน: 張翼; พินอิน: Zhāng Yì) ชื่อรอง ปั๋วกง (จีน: 伯恭; พินอิน: Bógōng) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เตียวเอ๊กเกิดในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เป็นทายาทรุ่นที่ 10 ของเตียวเหลียง เตียวเอ๊กเริ่มรับราชการเป็นผู้ช่วยอาลักษณ์ภายใต้ขุนศึกเล่าปี่ผู้ก่อตั้งจ๊กก๊กในภายหลัง และค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นสู้ตำแหน่งนายอำเภอและเจ้าเมือง ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 230 เตียวเอ๊กรับราชการเป็นแม่ทัพภูมิภาคทำหน้าที่รักษาความสงบของเมืองตอนใต้ของจ๊กก๊ก ในปี ค.ศ. 234 เตียวเอ๊กนำทัพหน้าจ๊กก๊กในยุทธการที่ทุ่งราบอู่จ้างในการรบกับวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก ในช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 238 ถึง ค.ศ. 259 เตียวเอ๊กค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นมาจนมีตำแหน่งสูงสุดเป็นหนึ่งในขุนพลชั้นนำของจ๊กก๊ก ในช่วงเวลานี้ แม้ว่าเตียวเอ๊กจะคัดค้านแนวทางแข็งกร้าวของเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กที่มีต่อวุยก๊ก แต่เตียวเอ๊กก็ยังคงติดตามเกียงในการรบกับวุยก๊กหลายครั้ง ในปี ค.ศ. 263 เตียวเอ๊กยอมจำนนต่อทัพวุยก๊กพร้อมด้วยเล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กเมื่อวุยก๊กบุกจ๊กก๊กครั้งใหญ่ ในปีถัดมา เตียวเอ๊กถูกสังหารโดยกลุ่มผู้ก่อการกำเริบที่ต่อต้านการก่อกบฏของจงโฮยขุนพลวุยก๊ก เตียวเอ๊กร่วมด้วยเลียวฮัวและจองอี้เป็นหนึ่งในข้าราชการเพียงไม่กี่คนที่รับราชการกับรัฐจ๊กก๊กตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนล่มสลาย[2]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 บทชีวประวัติจงโฮยในสามก๊กจี่บันทึกว่าเกิดการก่อการกำเริบในวันที่ 18 ของเดือน 1 ในศักราชเสียนซี (咸熙) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจฮวน[1] วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 ในปฏิทินกริกอเรียน

อ้างอิง

  1. ([咸熙元年正月]十八日日中, ... 姜維率會左右戰,手殺五六人,衆旣格斬維,爭赴殺[鍾]會。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
  2. de Crespigny (2007), p. 1086.

บรรณานุกรม

  • ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
  • ฉาง ฉฺวี (ป. ศตวรรษที่ 4). หฺวาหยางกั๋วจื้อ.
  • ฟ่าน เย่ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). โฮ่วฮั่นชู.
  • เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
  • ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
  • de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!