เกี้ยว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณสวมพระเกี้ยวพวงมาลัย

เกี้ยว สำหรับเจ้านายเรียก พระเกี้ยว เป็นเครื่องประดับศีรษะของไทยชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัย ใช้สำหรับรัดผมหรือรัดจุก[1] เพราะ "เกี้ยว" หากเป็นคำนามจะหมายถึงเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก[2] หากเป็นคำกริยาจะมีความหมายว่าผูกหรือมัด[3] เดิมใช้ดอกไม้หรือพวงมาลัยมาสวมรัดผมที่เกล้าให้สวยงาม เรียกว่ามาลา หรือพระมาลา แปลว่าดอกไม้[4] ในระยะหลังจึงพัฒนาเป็นวงดอกไม้ที่ทำจากโลหะ เช่น เงิน ทองคำ หรือนาค ตามฐานานุศักดิ์ของเจ้าของ[5] คำว่า "พระมาลา" สำหรับเจ้านายจึงแปรความหมายเป็นหมวกไป[4] เกี้ยวมีหลายประเภท เช่น เกี้ยวธรรมดา เกี้ยวดอกไม้ไหว เกี้ยวแซม เป็นอาทิ[3][6] ต่อมาชั้นสูงของไทยที่ไว้ผมยาวรวบผมที่ยาวให้สูงขึ้น ไม่ให้ดูรกรุงรัง และนำเงินหรือทองมาทำเป็นเกี้ยวให้ดูงามกว่าปรกติ และทำกระบังหน้ากันผมปรกลง ส่วนผู้ชายก็หาผ้ามาโพก เกี้ยวจึงวิวัฒนาการเป็นเครื่องประดับศีรษะคือลอมพอกและชฎา[4]

เกี้ยวอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า สนองเกล้า คือเกี้ยวที่มีสาแหรกคลุมมวยผม[6] เป็นศิราภรณ์ของเจ้านายฝ่ายในตั้งแต่ยุคอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา สนองเกล้ามีสาแหรกสี่ก้าน ประดับด้วยลายรักร้อยและลายพรรณพฤกษาทำจากเส้นทอง ขดเป็นกระเปาะฝังอัญมณีและรัตนชาติ บนสุดเป็นดอกดาราประดับมุกดาหารเป็นเม็ดยอด[3]

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระเกี้ยวเป็นพิจิตรเรขาประจำรัชกาล ครั้นเมื่อจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน หรือโรงเรียนมหาดเล็ก จึงโปรดเกล้าพระราชทานรูปพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก ต่อมาโรงเรียนมหาดเล็กได้สถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ก็ได้รับพระราชทานและใช้มาจนถึงปัจจุบัน[2]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "เครื่องทองโบราณ เครื่องประดับของไทย". Matichon Academy. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "พระเกี้ยว". จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 อนุชา ทีรคานนท์, ดร. (16 สิงหาคม 2562). "เปิดประวัติการเดินทางของศิราภรณ์ดึกดำบรรพ์ สู่เครื่องประดับชั้นสูงของราชสำนักไทย". Vogue Thailand. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 "เครื่องประดับเศียรหรือศิราภรณ์". ศิลปะไทย. 15 ตุลาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-27. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เครื่องราชศิราภรณ์พระมหากษัตริย์". ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-26. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 ปรีดี พิศภูมิวิถี, ผศ. ดร. (21 กันยายน 2563). "ตามหารูปหล่อสัมฤทธิ์ เจ้านายสตรีสมัยอยุธยาที่หายไป". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!