ชุดไทยเดิม

ชุดไทยเดิมที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ชุดไทยเดิม เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย มีประวัติความเป็นมาและเอกลักษณ์อันยาวนาน โดยสามารถแต่งกายได้ทุกเพศทุกวัย โดยผู้ชายจะสวมเสื้อราชปะแตนหรือเสื้อพระราชทาน นุ่งโจงกระเบน และสวมรองเท้า ส่วนการแต่งกายของผู้หญิงจะห่มสไบหรือสวมเสื้อปัด และนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน

เครื่องแต่งกายแบ่งตามส่วนประกอบ

เป็นผ้าที่มีความกว้างและบาง ใช้สำหรับพาดจากไหล่ซ้ายเฉียงลงทางขวา[1]เพื่อปกปิดส่วนบนของร่างกาย มักจะนิยมใช้ในหมู่ผู้หญิงไทย และยังมีให้พบเห็นในผู้หญิงลาวและกัมพูชา

ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า[2] โดยมีการสวมใส่ในประเทศลาวและประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย[3]

เป็นเครื่องแต่งกายของเพศหญิง มีลักษณะคล้ายกระโปรงยาว ใช้ปกปิดส่วนล่างของร่างกาย ใช้ทั้งหญิงไทยและหญิง

เป็นเสื้อที่นิยมสวมใส่โดยสตรีในภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศลาว[4] และประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโดยมากมักนุ่งโดยผู้หญิงไทยวนล้านนา ไทลื้อ ลาวหลวงพระบาง และ ลาวเวียงจันทน์ เป็นต้น

เป็นผ้านุ่งที่ใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งใช้สวมใส่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก[5] วิธีการใส่คือ พาดชายผ้าแล้วตะเข็บไว้ที่ด้านข้าง เหนือน่องขาประมาณ 3 เมตร[6]

เป็นเครื่องแต่งกายชายไทย ประกอบด้วยเสื้อสูทสีขาว คอตั้งสูง และมีกระดุมห้าเม็ด โจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวถึงเข่า และรองเท้าหุ้มส้น ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[7]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Robyn J. Maxwell, Mattiebelle Gittinger, Textiles of Southeast Asia: Tradition, Trade and Transformation
  2. Dolly Brittan (1997). The People of Laos. New York: PowerKids Press. ISBN 082-3951-24-3.
  3. Edeltraud Tagwerker (2009). Siho and Naga--Lao Textiles: Reflecting a People's Tradition and Change. Frankfurt am Main: Peter Lang. ISBN 363-1586-89-2.
  4. ການນຸ່ງຖືຂອງແມ່ຍິງລາວກັບງານປະເພນີ[ลิงก์เสีย]
  5. http://neary-khmer.blogspot.com/2009/07/cen-tamil.html
  6. พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
  7. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!