อาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์

ताम्ब्रलिङ्ग
พุทธศตวรรษที่ 7–พ.ศ. 1830
เมืองหลวงพระเวียง นครศรีธรรมราช
ภาษาทั่วไปภาษาไทยถิ่นใต้
ภาษาบาลี/สันสกฤต (ในทางศาสนาและพิธีกรรม) ภาษามลายูโบราณ
ศาสนา
พุทธเถรวาท
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
ยุคประวัติศาสตร์ปลายยุคโบราณ-ยุคกลาง
• ก่อตั้งอาณาจักรตามพรลิงค์
พุทธศตวรรษที่ 7
• เป็นหนึ่งในรัฐของอาณาจักรศรีวิชัย
พ.ศ. 1318
• แยกตัวออกจากอาณาจักรศรีวิชัย
พ.ศ. 1773
พ.ศ. 1830
ถัดไป
อาณาจักรนครศรีธรรมราช

อาณาจักรตามพรลิงค์ [ตาม-พฺระ-ลิง][1] หรือ ตามฺพฺระลิงฺคะ[1] (สันสกฤต: ताम्ब्रलिङ्ग, ตามฺพฺรลิงฺค) เป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่ 7[2] ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน[3] จากการพบเมืองโบราณและวัตถุโบราณบริเวณบ้านพระเวียง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และศิลาจารึกจากเมืองไชยา ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี[4] มีอาณาเขตทางทิศเหนือถึงบริเวณจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน ทิศใต้คลอบคลุมถึงบางส่วนบริเวณตอนบนของประเทศมาเลเซีย และด้านทิศตะวันออก ตะวันตกจรดทะเลทั้งสองฝั่ง โดยฝั่งทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลนอก ซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน ช่วงยุครุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 จนถึงต้นศตวรรษที่ 14 อาณาจักรตามพรลิงค์ ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่บนคาบสมุทรมลายูและกลายเป็นหนึ่งในรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โดดเด่นในเวลานั้น[5] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1318 อาณาจักรตามพรลิงค์ถูกควบรวมโดยอาณาจักรศรีวิชัยและกลายเป็นเพียงรัฐหนึ่งในศรีวิชัย จนได้แยกตัวออกมาในปี พ.ศ. 1773 โดยพระเจ้าจันทรภานุ โดยชื่อ ตามพรลิงค์ นั้น ได้มาจากคำสันสกฤต "ตามฺร" ปนกับคำบาลี "ตมฺพ" ทั้งคู่แปลว่า ทองแดง ส่วน "ลิงค์" เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บอกเพศ เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Tambralinga หรือ Tanmaling หรือ Tamballinggam จีนเรียก ตันเหมยหลิง อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กับ พระเจ้าจันทรภาณุ

พัฒนาการของการเกิดเมืองสำคัญต่าง ๆ ในอาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์มีเมืองรองที่สำคัญอยู่ 2 เมือง เมืองแรก คือ เมืองไชยา ตั้งอยู่ถัดไปทางด้านใต้ ศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับเมืองตามพรลิงค์ ในระยะแรกต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ต่อมาในยุคหลังเมืองไชยากลับขึ้นกับอาณาจักรตามพรลิงค์ในฐานะเมืองอุปราช และคงจะอยู่ในฐานะดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองที่สอง คือ เมืองสทิง คือ บริเวณโดยรอบทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลาและพัทลุง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยอยุธยา เมืองบริวาร ได้แก่ เมืองสิบสองนักษัตร ที่ปรากฏในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันตราสิบสองนักษัตรได้เป็นตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่

ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
  1. เมืองสายบุรี ปีชวด ถือตราหนู
  2. เมืองปัตตานี ปีฉลู ถือตราวัว
  3. เมืองกะลันตัน ปีขาล ถือตราเสือ
  4. เมืองปะหัง ปีเถาะ ถือตรากระต่าย
  5. เมืองไทรบุรี ปีมะโรง ถือตรางูใหญ่
  6. เมืองพัทลุง ปีมะเส็ง ถือตรางูเล็ก
  7. เมืองตรัง ปีมะเมีย ถือตราม้า
  8. เมืองชุมพร ปีมะแม ถือตราแพะ
  9. เมืองไชยา (บันไทยสมอ) ปีวอก ถือตราลิง
  10. เมืองท่าทอง (สะอุเลา) ปีระกา ถือตราไก่
  11. เมืองตะกั่วป่า-ถลาง ปีจอ ถือตราสุนัข
  12. เมืองกระบุรี ปีกุน ถือตราหมู

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น

อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาใน พ.ศ. 1318 อาณาจักรตามพรลิงค์และเมืองไชยาได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย และ พ.ศ. 1568 ได้ถูกอาณาจักรโจฬะยกกองทัพเรือเข้ายึดครอง ในปี พ.ศ. 1658 ได้มีการส่งคณะทูตไปเฝ้าฮ่องเต้ฮุ่ยจงแห่งราชวงศ์ซ้อง ที่เมืองไคฟง

อาณาจักรขอม

อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ส่งไพร่พลไปช่วยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างเมืองนครธม พ.ศ. 1813 อาณาจักรลังกาสุกะตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรตามพรลิงค์ และ พ.ศ. 1893 เมืองนครศรีธรรมราชได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

เมืองนครศรีธรรมราชในระยะแรก ประกอบด้วยเมืองสำคัญ 12 เมือง คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สงขลา ตะกั่วป่า และครหิหรือกระบุรี ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราประจำเมือง เช่น สายบุรีใช้ตราหนู ปัตตานีใช้ตราวัว กลันตันใช้ตราเสือ ปาหังใช้ตรากระต่าย เรียงลำดับไป สำหรับเมืองบันไทสมอ ซึ่งใช้ตราลิงนั้น นักโบราณคดีบางท่าน เช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี สันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองกระบี่ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อเมืองกระบี่ในปัจจุบัน

จีน

ในจดหมายเหตุจีน ระบุว่า นครโฮลิง(ตามพรลิงค์) ส่งทูตไปเฝ้าฮ่องเต้จีน ใน พ.ศ. 1291, 1310, 1311, 1356, 1358 และ พ.ศ. 1361

ต่อมาได้มีการเรียกชื่อ อาณาจักรตามพรลิงค์ ใหม่ว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์ทางการฑูตทางด้านวัฒนธรรมและศาสนากับอาณาจักรสุโขทัย จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราช ได้เผยแผ่ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาทที่นับถือกันมากที่สุดไปยังสุโขทัยและอาณาจักรอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กนกวรรณ ทองตะโก (27 กุมภาพันธ์ 2562). ตามพรลิงค์ (PDF). เดลินิวส์. p. 25.
  2. "อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-24.
  3. อาณาจักรตามพรลิงค์ เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย
  4. ศิลาจารึกจากเมืองไชยา[ลิงก์เสีย]
  5. Tambralinga

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!