รัฐปะหัง

รัฐปะหัง

Negeri Pahang
เนอเกอรีปาฮังดารุลมักมูร์
Negeri Pahang Darul Makmur
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูPahang (รูมี)
ڤهڠ(ยาวี)
 • จีน彭亨
 • ทมิฬபகாங்
ธงของรัฐปะหัง
ธง
คำขวัญ: 
ยาลาติฟ
("ผู้ทรงมีความอ่อนโยน")[1]
เพลง: อัลละฮ์เซอลามัตกันซุลตันกามี
   รัฐปะหัง ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 3°45′N 102°30′E / 3.750°N 102.500°E / 3.750; 102.500
เมืองหลวงกวนตัน
เมืองเจ้าผู้ครองเปอกัน
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • สุลต่านสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ ชะฮ์
 • มุขมนตรีวัน รซดี วัน อิซมาอิล (BN-UMNO)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด35,965 ตร.กม. (13,886 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2015)[3]
 • ทั้งหมด1,623,200 คน
 • ความหนาแน่น45 คน/ตร.กม. (120 คน/ตร.ไมล์)
ประชากรศาสตร์ (2010)[4]
 • กลุ่มชาติพันธุ์
 • ภาษาย่อยมลายูปะหัง • กวางตุ้ง • ทมิฬ
ภาษาชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2017)0.796 (สูง) ((อันดับที่ 9)[5]
 • อัตราเจริญพันธุ์รวม (2017)2.2[2]
 • ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (2016)50,875 ล้านริงกิต[2]
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์25xxx ถึง 28xxx, 39xxx, 49000, 69000
รหัสโทรศัพท์09 (ยกเว้นที่ระบุเป็นอย่างอื่น)
05 (Cameron Highlands)
03 (Genting Highlands)
รหัส ISO 3166MY-06
ทะเบียนพาหนะC
รัฐสุลต่านสมัยใหม่ค.ศ. 1884
เข้าร่วมสหพันธรัฐมลายูค.ศ. 1895
ญี่ปุ่นยึดครองค.ศ. 1942
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายาค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย16 กันยายน ค.ศ. 1963
เว็บไซต์www.pahang.gov.my

ปะหัง[6] หรือ ปาฮัง[6] (มลายู: Pahang, ڤهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันออก

เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่เปอกัน เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิซ เตเมร์โละฮ์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงคาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์

ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ")

องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน

การแบ่งเขตการปกครอง

รัฐปะหังแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 เขต ได้แก่

  1. เบอรา
  2. เบ็นตง
  3. ที่สูงคาเมรอน
  4. เจอรันตุต
  5. กวนตัน
  6. กัวลาลีปิซ
  7. มารัน
  8. เปอกัน
  9. เราบ์
  10. รมปิน
  11. เตเมร์โละฮ์

ประชากร

ศาสนา

สถิติจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ของรัฐปะหังใน ค.ศ. 2010[7]
ศาสนา อัตราส่วน
อิสลาม
  
74.9%
พุทธ
  
14.4%
ฮินดู
  
4.0%
ไม่มีศาสนา
  
2.7%
คริสต์
  
1.9%
อื่น ๆ
  
1.2%
ศาสนาพื้นบ้านของจีน
  
0.5%

อ้างอิง

  1. "Constitution of Pahang" (PDF). www.dirajapahang.my. Portal Diraja Pahang. 2016. p. 30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Pahang @ a Glance". Department of Statistics, Malaysia. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  3. "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  4. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. p. 33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2013.
  5. "Subnational Human Development Index (2.1) [Pahang – Malaysia]". Global Data Lab of Institute for Management Research, Radboud University. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  7. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!