|
ทั่วไป
|
ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม
|
อะเมริเซียม, Am, 95
|
อนุกรมเคมี |
แอกทิไนด์
|
หมู่, คาบ, บล็อก
|
?, 7, f
|
ลักษณะ |
สีขาวเงิน
|
มวลอะตอม |
(243) กรัม/โมล
|
การจัดเรียงอิเล็กตรอน |
[Rn] 5f7 7s2
|
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน |
2, 8, 18, 32, 25, 8, 2
|
คุณสมบัติทางกายภาพ
|
สถานะ |
ของแข็ง
|
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) |
12 ก./ซม.³
|
จุดหลอมเหลว |
1449 K (1176 °C)
|
จุดเดือด |
2880 K(2607 °C)
|
ความร้อนของการหลอมเหลว |
14.39 กิโลจูล/โมล
|
ความร้อนจำเพาะ |
(25 °C) 62.7 J/(mol·K)
|
ความดันไอ
P/Pa |
1 |
10 |
100 |
1 k |
10 k |
100 k
|
ที่ T K |
1239 |
1356 |
|
|
|
|
|
คุณสมบัติของอะตอม
|
โครงสร้างผลึก |
hexagonal
|
สถานะออกซิเดชัน |
6, 5, 4, 3 (amphoteric oxide)
|
อิเล็กโตรเนกาติวิตี |
1.3 (พอลิงสเกล)
|
พลังงานไอออไนเซชัน
|
ระดับที่ 1: 578 กิโลจูล/โมล
|
รัศมีอะตอม |
175 pm
|
อื่น ๆ
|
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก |
no data
|
การนำความร้อน |
(300 K) 10 W/(m·K)
|
เลขทะเบียน CAS |
7440-35-9
|
ไอโซโทปเสถียรที่สุด
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
อะเมริเซียม (อังกฤษ: Americium) เป็นธาตุสังเคราะห์ มีสัญลักษณ์ว่า Am และมีเลขอะตอม 95 เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี ธาตุอเมริเซียมเป็นธาตุแอกทิไนด์ ธาตุนี้ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นในปีค.ศ. 1944 โดย ระดมยิงธาตุพลูโตเนียมด้วยนิวตรอน และธาตุทรานยูเรเนียมตัวที่ 4 ก็ได้ถูกค้นพบ ชื่อของธาตุนี้ได้ถูกตั้งชื่อตามทวีปอเมริกาเหมือนกับธาตุยูโรเปียม ธาตุอเมริเซียมถูกใช้อย่างกว้างขวาง ในการค้าขายเครื่องตรวจจับควันชนิดไอออนไนเซชั่น
คุณสมบัติ
ธาตุอเมริเซียมบริสุทธิ์มีสีขาวเงินแวววาว ที่อุณหภูมิห้องธาตุนี้จะเกิดการหมองอย่างช้าในอากาศแห้ง ธาตุนี้มีสีเงินมากกว่าธาตุพลูโตเนียม หรือธาตุเนปจูเนียม และดูเหมือนว่าจะสามารถตีเป็นรูปร่างต่างๆได้ง่ายกว่าธาตุเนปจูเนียม หรือธาตุยูเรเนียม การปลดปล่อยอนุภาคอัลฟาจาก 241Am จะใช้เวลา 3 เท่าของธาตุเรเดียม 241Am หลายกรัม จะปล่อยรังสีแกมมาอย่างรุนแรง ซึ่งจะสร้างปัญหาอย่างรุนแรงสำหรับทุกคนที่สัมผัสกับธาตุนี้
ธาตุอเมริเซียมสามารถแตกตัวในปฏิกิริยานิวเคลียร์ 241Am แตกตัวได้อย่างไม่จำกัดขอบเขตในปริมาณ 60 กิโลกรัม ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะเอาธาตุอเมริเซียมไปเป็นเชื้อเพลิงอาวุธนิวเคลียร์ เพราะมันผลิตได้น้อยและได้รับความนิยมน้อยกว่าไอโซโทปของธาตุพลูโตเนียม หรือ ธาตุยูเรเนียม