|
ทั่วไป
|
ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม
|
กำมะถัน, S, 16
|
อนุกรมเคมี |
แชลโคเจน
|
หมู่, คาบ, บล็อก
|
6, 3, p
|
ลักษณะ |
สีเหลือง
|
มวลอะตอม |
32.065(5) กรัม/โมล
|
การจัดเรียงอิเล็กตรอน |
[Ne] 3s2 3p4
|
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน |
2, 8, 6
|
คุณสมบัติทางกายภาพ
|
สถานะ |
ของแข็ง
|
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) |
(alpha) 2.08 ก./ซม.³
|
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) |
(beta) 1.96 ก./ซม.³
|
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) |
(gamma) 1.92 ก./ซม.³
|
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. |
1.819 ก./ซม.³
|
จุดหลอมเหลว |
388.36 K (115.21 °C)
|
จุดเดือด |
717.8 K(444.6 °C)
|
ความร้อนของการหลอมเหลว |
(mono) 1.727 กิโลจูล/โมล
|
ความร้อนของการกลายเป็นไอ |
(mono) 45 กิโลจูล/โมล
|
ความร้อนจำเพาะ |
(25 °C) 22.75 J/(mol·K)
|
ความดันไอ
P/Pa |
1 |
10 |
100 |
1 k |
10 k |
100 k
|
ที่ T K |
375 |
408 |
449 |
508 |
591 |
717
|
|
คุณสมบัติของอะตอม
|
โครงสร้างผลึก |
orthorhombic
|
สถานะออกซิเดชัน |
−1, ±2, 4, 6 (ออกไซด์เป็นกรดแก่)
|
อิเล็กโตรเนกาติวิตี |
2.58 (พอลิงสเกล)
|
พลังงานไอออไนเซชัน (เพิ่มเติม)
|
ระดับที่ 1: 999.6 กิโลจูล/โมล
|
ระดับที่ 2: 2252 กิโลจูล/โมล
|
ระดับที่ 3: 3357 กิโลจูล/โมล
|
รัศมีอะตอม |
100 pm
|
รัศมีอะตอม (คำนวณ) |
88 pm
|
รัศมีโควาเลนต์ |
102 pm
|
รัศมีวานเดอร์วาลส์ |
180 pm
|
อื่น ๆ
|
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก |
no data
|
ความต้านทานไฟฟ้า |
(20 °C) (amorphous) 2×1015 Ω·m
|
การนำความร้อน |
(300 K) (amorphous) 0.205 W/(m·K)
|
โมดูลัสของแรงบีบอัด |
7.7 GPa
|
ความแข็งโมส |
2.0
|
เลขทะเบียน CAS |
7704-34-9
|
ไอโซโทปเสถียรที่สุด
|
|
แหล่งอ้างอิง
|
กำมะถัน (อังกฤษ: Sulfur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่ารา
การนำไปใช้ประโยชน์
เราใช้ประโยชน์กำมะถันในอุตสาหกรรมได้มากมาย ผ่านทางอนุพันธ์ของมันคือ กรดซัลฟิวริก (H2SO4), กำมะถันถูกจัดให้เป็นหนึ่งในธาตุที่มีความสำคัญในการเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรมมาก อาจจะกล่าวได้ว่ามันมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจโลก
การผลิตกรดซัลฟิวริก ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ปลายทางหลักของธาตุกำมะถัน และการบริโภคกรดซัลฟิวริก ถือเป็นดรรชนีชี้วัดที่ดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมของชาติ ในสหรัฐอเมริกามีการผลิตกรดซัลฟูริกมากกว่าสารเคมีอื่น ประโยชน์ของมันพอสรุปได้ดังนี้
สารประกอบของกำมะถัน (S)
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) หรือ ก๊าซไข่เน่า มีกลิ่นเหม็นมาก ตัวมันเองมีฤทธิ์เป็นกรด ทำปฏิกิริยากับโลหะได้โลหะซัลไฟด์ ถ้าเป็นซัลไฟด์ของเหล็กเรียก ไพไรต์ (FeS2) หรือ ทองของคนโง่ (fool's gold) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ
กลิ่นเหม็นที่ไม่พึงปรารถนาของสารประกอบอินทรีย์ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น
- เอตทิล และ เมตทิล เมอร์แคปแทน ใช้ผสมในก๊าซธรรมชาติเพื่อการตรวจสอบว่ามีก๊าซรั่วหรือไม่
- กลิ่นของกระเทียม และตัวสกังก์ ก็เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่
สารประกอบอื่นของกำมะถันที่สำคัญมีดังนี้
- สารประกอบประเภทอนินทรีย์
- ซัลไฟด์ (S2-) เป็นสารประกอบอย่างง่ายที่สุดของธาตุกำมะถันกับธาตุอื่น
- ซัลไฟต์ (SO32-), เป็นเกลือของ กรดซัลฟิวรัส, H2SO3, ได้จากการละลาย SO2 ในน้ำ, กรดซัลฟิวรัสและสารประกอบซัลไฟต์เป็นรีดิวซิ่งเอเจนต์อย่างแรง สารประกอบอื่นที่เป็นอนุพันธ์ของ SO2 ประกอบด้วย ไพโรซัลไฟต์ (pyrosulfite) หรือ เมต้าไบซัลไฟต์ ( metabisulfite) ไอออน (S2O52−)
- ซัลเฟต (SO42-), เกลือของ กรดซัลฟิวริก เมื่อกรดซัลฟูริกทำปฏิกิริยากับ SO3 ในสัดส่วนโมเลกุลที่เท่ากันจะได้ กรดไพโรซัลฟิวริก (H2S2O7)
- ไทโอซัลเฟต (บางครั้งเรียก ไทโอซัลไฟต์ หรือ ไฮโปซัลไฟต์ (thiosulfites or "hyposulfites") (S2O32−) ใช้ในงานถ่ายรูป
- โซเดียมไดไทโอไนต์, Na2S2O4 จากกรดไทโอซัลฟูรัส/ไดไทโอรัส (hyposulfurous/dithionous acid), เป็นรีดิวซิ่งเอเจนต์อย่างแรง* โซเดียมไดไทโอเนต (Na2S2O6)
- กรดพอลิไทโอนิก (H2SnO6), ตัวอักษร n สามารถมีค่าจาก 3 ถึง 80.
- กรดเปอร์ออกซิโมโนซัลฟิวริก (Peroxymonosulfuric acid-H2SO5) และ กรดเปอร์ออกซิไดซัลฟิวริก (peroxydisulfuric acid-H2S2O8), ได้จากปฏิกิริยาของ SO3 กับสารละลายเข้มข้นของ H2O2, และ H2SO4 กับสารละลายเข้มข้นของ H2O2 ตามลำดับ
- โซเดียมพอลิซัลไฟด์ (Sodium polisulfide-Na2Sx)
- ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (Sulfur hexafluoride) SF6, เป็นก๊าซโพพิแลนต์ไม่มีพิษไม่ไวต่อปฏิกิริยา
- เตตร้าซัลเฟอร์เตตร้าซัลไนไตรด์ (Tetrasulfur tetranitride) S4N4.
- ไทโอไซยาเนต (Thiocyanate) เป็นสารประกอบที่มีไทโอไซยาเนตไอออน, SCN- เกี่ยวข้องกับ ไทโอไซยาโนเจน, (thiocyanogen-SCN)2.
- สารประกอบอินทรีย์
- ไดเมตทิลซัลโฟไนโอโพรพิโอเนต (dimethylsulfoniopropionate-DMSP; ((CH3 )2S+CH2CH2COO-) ซึ่งเป็นส่วนประกอบกลางของวงจรของกำมะถันอินทรีย์ในทะเล
- ไทโออีเทอร์ (thioether) เป็นโมเลกุลที่มี R-S-R, ที่ซึ่ง R และ R เป็นหมู่อินทรีย์ที่กำมะถันสมมูลกับ อีเทอร์
- ไทโอล (thiol หรือเรียกอีกอย่างว่า mercaptan) เป็นโมเลกุลที่มี หมู่ฟังก์ชัน-SH มีกำมะถันสมมูลกับ แอลกอฮอล์
- ไทโอเลตไอออน (thiolateion) มี หมู่ฟังก์ชัน -S- มีกำมะถันสมมูลกับ อัลคอกไซด์ไอออน (alkoxideions)
- ซัลฟอกไซด์ (sulfoxide) เป็นโมเลกุลที่มี R-S(=O)-R หมู่ฟังก์ชัน R และ R เป็นหมู่อินทรีย์ ตัวอย่างของซัลฟอกไซด์คือ DMSO (dimethyl sulfoxide)
- ซัลโฟน (sulfone) เป็นโมเลกุลที่มี R-S(=O)-R หมู่ฟังก์ชัน R and R เป็นหมู่อินทรีย์
- รีเอเจนต์ของลอวีสสัน (Lawesson's reagent) เป็นรีเอเจนต์ที่สามารถนำอะตอมของกำมะถันไปแทนออกซิเจนได้
- แนพทาเลน-1,8-ไดอิล 1,3,2,4-ไดไทอะไดฟอสฟีเทน 2,4-ไดซัลไฟด์ (Napthalen-1,8-diyl 1,3,2,4-dithiadiphosphetane 2,4-disulfide)