หางล่าง

ในภาพนี้ หางล่างมีสีแดง

ในศิลปะการใช้ตัวพิมพ์และการเขียนด้วยลายมือ หางล่าง (อังกฤษ: descender) คือส่วนของตัวอักษรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นฐานของไทป์เฟซ

ตัวอย่างเช่น ในตัวอักษร y หางล่างคือ "หาง" หรือส่วนของเส้นทแยงซึ่งอยู่ใต้ v ที่เกิดจากเส้นสองเส้นมาบรรจบกัน ส่วนในตัวอักษร p หางล่างคือก้านที่ทอดยาวผ่าน ɒ

ในฟอนต์อักษรละตินโดยส่วนใหญ่ เฉพาะตัวพิมพ์เล็ก เช่น g, j, q, p, y และบางครั้ง f จึงจะมีหางล่าง อย่างไรก็ตาม ฟอนต์บางตัวมีตัวเลขบางตัวที่มีหางล่างด้วย (โดยทั่วไปคือ 3, 4, 5, 7 และ 9) ตัวเลขดังกล่าวเรียกว่าตัวเลขแบบเก่า (ฟอนต์ตัวเอียงแท้บางตัว เช่น Computer Modern italic จะมีเลข 4 ที่มีหางล่าง แต่ไม่มีส่วนดังกล่าวในตัวเลขอื่น ๆ ฟอนต์ดังกล่าวไม่ถือเป็นแบบเก่า) ฟอนต์บางตัวยังมีตัวพิมพ์ใหญ่บางตัว เช่น J และ Q ที่มีหางล่างด้วย[1]

ส่วนของอักขระที่ขยายเกินความสูงของตัวอักษรเอ็กซ์ ของฟอนต์นั้นเรียกว่าหางบน[2]

ไทป์เฟซขนาดเล็กมักจะลดขนาดหางล่างลง เช่นในหนังสือพิมพ์ ไดเร็กทอรี หรือคัมภีร์ไบเบิลแบบพกพา เพื่อให้สามารถพิมพ์ข้อความบนแผ่นกระดาษได้มากขึ้นในเนื้อที่เท่าเดิม ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2345 ฟิลิป รัชเชอร์ แห่งเมืองแบนบรี ได้จดสิทธิบัตรไทป์เฟซใหม่ โดยไทป์เฟซดังกล่าวตัดหางล่างออก และย่อหางบนให้สั้นลง[3] [4][5][6] ไทป์เฟซดังกล่าวไม่เป็นที่นิยม และเลิกใช้ไปหลังปี พ.ศ. 2395[7][8] ไทป์เฟซแสดงผล Art Nouveau Hobo และไทป์เฟซพาดหัว Permanent Headline ซึ่งกำจัดหางล่างนั้นได้รับความนิยมค่อนข้างมากตั้งแต่นั้นมา[9]

จอแสดงผลคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ บางจอ (เช่น Compukit UK101) และเครื่องพิมพ์ (เช่น Commodore 4022 [10]) มีข้อจำกัดในเรื่องระยะห่างในแนวตั้งของอักขระ ทำให้ไม่มีที่ว่างพอสำหรับการแสดงหางล่างอย่างถูกต้อง ตัวอักษรที่มีหางล่างจะถูกเลื่อนขึ้นตามแนวตั้งให้ส่วนล่างของตัวอักษรเสมอกับเส้นฐาน ระบบในปัจจุบัน อันไม่มีข้อจำกัดนี้ เคยถูกเรียกว่ารองรับ หางล่างที่แท้จริง (true descenders)

เทียบกับอักษรไทย

ตัวอักษรไทยบางตัวก็มีหางล่าง เช่น ฤ และ ฦ[11][12] ฐานของตัวอักษรบางตัวก็นับเป็นหางล่างด้วย เช่น ฎ, ฏ, ญ, และ ฐ)[13][14]

กายวิภาคศาสตร์ของไทป์เฟซไทย
กายวิภาคศาสตร์ของไทป์เฟซไทย

อ้างอิง

  1. Mcclam, Erin (2007-09-16). "Typeface designers mix art, engineering". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
  2. Snider, Lesa (2013-04-23). "Typography for all: Demystifying text for high-impact messages". Macworld. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
  3. English Patents of Inventions, Specifications. H.M. Stationery Office. 1856. pp. 14–15.
  4. Goudy, Frederic (1 January 1977). Typologia: Studies in Type Design & Type Making, with Comments on the Invention of Typography, the First Types, Legibility, and Fine Printing. University of California Press. pp. 141–142. ISBN 978-0-520-03308-5.
  5. Johnson, Samuel (1804). Rasselas, Prince of Abissinia. By Dr. Johnson. Printed with Patent Types in a Manner Never Before Attempted. Rusher's Edition. Banbury: P. Rusher. สืบค้นเมื่อ 11 August 2021.
  6. Johnston, Alastair (21 March 2012). "Weird And Wonderful Typography - Yet Still Illegible". Smashing Magazine. สืบค้นเมื่อ 11 August 2021.
  7. William White (of Shutford.) (1852). A Complete Guide to the Mystery and Management of Bees;. Simpkin, Marshall, and Company; and Hamilton, Adams, and Company: Oxford; H. Slatter: Reading; Rusher and Johnson: Banbury; J. G. Rusher.
  8. John Cheney and His Descendants: Printers in Banbury Since 1767. Banbury. 1936. pp. 26–31.
  9. Devroye, Luc. "Karlgeorg Hoefer". Type Design Information. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
  10. "Commodore 4022 Printer". The Centre For Computing History.
  11. Virunhaphol, Farida (2017). Designing Khom Thai Letterforms for Accessibility (doctoral thesis). University of Huddersfield. pp. 38–67.
  12. Rachapoom Punsongserm (2012). "ข้อสังเกตในการใช้แบบตัวพิมพ์ไทยเสมือนโรมัน: เอกลักษณ์และความชัดเจนที่หายไป" [Viewpoint of Using a Roman-like Typeface: Disappearance of Singularity and Legibility]. Manutsayasat Wichakan. 19 (1): 113–145. ISSN 2673-0502.
  13. Gunkloy, Sirin (2020). Tiga: A Latin-Thai type family for news media (PDF) (post-graduate dissertation). École supérieure d'art et de design d'Amiens. pp. 6–37. สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.
  14. Punsongserm, Rachapoom; Sunaga, Shoji; Ihara, Hisayasu (28 February 2017). "Thai Typefaces (Part 1): Assumption on Visibility and Legibility Problems". Archives of Design Research. 30 (1): 5–23. doi:10.15187/adr.2017.02.30.1.5.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • นิยามแบบพจนานุกรมของ หางล่าง ที่วิกิพจนานุกรม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!