สตรีเหล็ก (อังกฤษ: The Iron Ladies) เป็นภาพยนตร์ไทย ตลก ที่สร้างจากมาเรื่องจริงของทีมวอลเลย์บอล ชาย ที่ผู้เล่นในทีมส่วนใหญ่
เป็นกะเทย ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ยงยุทธ ทองกองทุน เขียนบทโดย วิสุทธิชัย บุณยะกาญจน และจิระ มะลิกุล มี ปนัดดา โพธิวิจิตร และศศิวิมล ชินเวชกิจวานิชย์ เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ออกฉายเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ไป 98.70 ล้านบาท
ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จด้านรายได้เป็นอย่างดี และก่อให้เกิดกระแสสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับกีฬา และเกี่ยวกับเพศที่สาม ติดตามมาอีกหลายเรื่อง ภาพยนตร์ได้ออกไปฉายในต่างประเทศ และได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างดี ไปฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่ Pusan International Film Festival ปูซาน เกาหลีใต้ , San Francisco Asian American Film Festival ซานฟรานซิสโก , Miami Gay and Lesbian Film Festival ไมอามี , Los Angeles Asian Pacific Film Festival ลอสแอนเจลิส , Seattle International Film Festival ซีแอตเทิล และ San Francisco International Lesbian and Gay Film Festival.
ภาพยนตร์ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัลทั้งสิ้น 12 รางวัล และได้รางวัลมา 10 รางวัล ทั้งรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโต และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน
สตรีเหล็กได้รับรางวัลรองชนะเลิศ Discovery Award ในงาน Toronto International Film Festival ปี 2000 และรางวัลชนะเลิศ Reader Jury of the "Siegessäule" และ Teddy - Special Mention ในงาน Berlin International Film Festival ปี 2001
เนื้อเรื่องย่อ
เมื่อครูบี๋ (สิริธนา หงส์โสภณ ) โค้ชคนใหม่ก้าวเข้ามา การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ก็เกิดขึ้นกับทีมวอลเล่ย์บอลชายประจำจังหวัดลำปาง ซึ่งยังไม่เคยรู้รสชาติของชัยชนะมาก่อนแม้แต่ครั้งเดียว โค้ชคนใหม่พยายามทุกวิถีทาง ที่จะสร้างทีมให้แข็งแกร่ง มล (สหภาพ วีระฆามินทร์ ) และ จุง (ชัยชาญ นิ่มพูลสวัสดิ์ ) นักตบลูกยางฝีมือก๋ากั่น เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ แต่กลับสร้างความอึดอัดให้กับคนอื่นๆ จนพากันลาออกไป เพราะทั้งคู่เป็นกะเทย คงเหลือแต่ ชัย (เจษฎาภรณ์ ผลดี ) มือเซ็ตตัวฉกาจ ที่พยายามทำใจ แต่ผู้เล่นแค่ 3 คน ไม่สามารถเป็นทีมได้ วิทย์ (เอกชัย บูรณผานิต ), โหน่ง (โจโจ้ ไมอ๊อกชิ ) และเปีย (กกกร เบญจาธิกุล ) เพื่อนร่วมทีมของมลและจุงสมัยเรียน จึงต้องเข้ามาช่วยเสริมกำลัง ภายใต้ชื่อทีมสตรีเหล็ก
เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาแห่งชาติที่ปากน้ำโพเกมส์ คือเป้าหมายของทีม วิบากกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดเส้นทางของการเป็นแชมป์ เหมือนจะทดสอบความแข็งแกร่งของกำลังกาย และกำลังใจของทีมสตรีเหล็ก ทีมที่มีเป้าหมายเหมือนกัน โดยคนที่แตกต่างกันสุดขั้ว
กิตติผู้มีอำนาจในแวดวงกีฬา เมืองแมน อดีตสมาชิกทีมลำปาง ที่กลายมาเป็นหัวหน้าทีมคู่แข่งตัวเก็ง ต่างเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของด่านทดสอบที่จะพิสูจน์ใจ จนกว่าจะถึงวันแห่งการเผชิญหน้าครั้งสุดท้าย โดยมีเหรียญทองเป็นเดิมพัน
สตรีเหล็ก พ.ศ.2543
สตรีเหล็ก 2 พ.ศ.2546
สตรีเหล็กตบโลกแตก พ.ศ.2557
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
กำกับภาพยนตร์ บทภาพยนตร์ กำกับภาพ อำนวยการสร้าง
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) •
ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) •
ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] •
ชุมแพ (พ.ศ. 2519) •
เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) •
บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) •
หลวงตา (พ.ศ. 2523) •
มือปืน (พ.ศ. 2526) •
ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) •
ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549)
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) •
มันมากับความมืด (2514) •
แหวนทองเหลือง (2516) •
เทพธิดาบาร์ 21 (2521) •
ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) •
October Sonata รักที่รอคอย (2552)
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) •
สามพราน (2503) •
น้อยไจยา (2509) •
บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) •
คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) •
กระเบนราหู (2562)
↑ "ถึงเวลา... สตรีเหล็ก รีเทิร์น !!" . www.sanook.com/movie .