กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Bangkok Metropolitan Region |
---|
ภาพถ่ายดาวเทียมของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | แผนที่ประเทศไทย เน้นกรุงเทพมหานครด้วยสีแดงเข้ม และเน้นปริมณฑลด้วยสีแดงอ่อน | พิกัด: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.75250°N 100.49417°E / 13.75250; 100.49417 | ประเทศ | ไทย |
---|
ภูมิภาค | ภาคกลาง
|
---|
เมืองหลัก | กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร |
---|
พื้นที่ |
---|
• เขตเมือง | 1,568.7 ตร.กม. (605.7 ตร.ไมล์) |
---|
• รวมปริมณฑล | 7,761.60 ตร.กม. (2,996.77 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร |
---|
• เขตเมือง | 10,820,921[a] คน |
---|
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 3,622.20 คน/ตร.กม. (9,381.5 คน/ตร.ไมล์) |
---|
• รวมปริมณฑล | 15,624,700 คน |
---|
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,452.63 คน/ตร.กม. (3,762.3 คน/ตร.ไมล์) |
---|
จีดีพี | 2021 ประมาณการ |
---|
ตัวเงิน | 8,025,935 ล้านบาท[1][2] |
---|
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (อังกฤษ: Bangkok Metropolitan Region)[3] เป็นเขตเมืองของกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ตั้งอยู่โดยรอบ ("ปริมณฑล" หมายถึง วงรอบ) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7 พันตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน มีประชากรที่มีภูมิลำเนาจดทะเบียนตามหลักฐานทะเบียนราษฎรรวมกันประมาณ 10.6 ล้านคน (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555) แต่ยังมีจำนวนผู้อยู่อาศัย (residents) ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นภูมิลำเนาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเวลากลางวันจะมีประชากรถึง 16 ล้านกว่าคนที่อยู่ในเขตนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนับว่าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความเจริญที่สุด และเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การสาธารณสุข การบริหารราชการ พาณิชยกรรม และการเงินของประเทศ
การแบ่งเขตการปกครอง
การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 6 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด)
ตราประจำ จังหวัด
|
ชื่อจังหวัด อักษรไทย
|
ชื่อจังหวัด อักษรโรมัน
|
จำนวนประชากร (คน)
|
พื้นที่ (ตร.กม.)
|
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.)
|
|
กรุงเทพมหานคร
|
Bangkok
|
5,682,415
|
1,568.7
|
3,622.2
|
|
นครปฐม
|
Nakhon Pathom
|
911,492
|
2,168.3
|
420.37
|
|
นนทบุรี
|
Nonthaburi
|
1,229,735
|
622.3
|
1,976.11
|
|
ปทุมธานี
|
Pathum Thani
|
1,129,115
|
1,525.9
|
739.98
|
|
สมุทรปราการ
|
Samut Prakan
|
1,310,766
|
1,004.1
|
1,305.42
|
|
สมุทรสาคร
|
Samut Sakhon
|
568,465
|
872.3
|
651.69
|
สถิติประชากรแต่ละจังหวัด
พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลครอบคลุมเขตการปกครองดังนี้
เขตการปกครอง
|
เนื้อที่ (ตร.กม.)
|
จำนวนประชากร พ.ศ. 2559[4]
|
จำนวนประชากร พ.ศ. 2553[5]
|
จำนวนประชากร พ.ศ. 2547[6]
|
จำนวนประชากร พ.ศ. 2541[7]
|
ความหนาแน่นประชากร (คน/ตร.กม.) พ.ศ. 2559
|
ความหนาแน่นประชากร (คน/ตร.กม.) พ.ศ. 2555
|
จำนวน เขต/อำเภอ
|
จำนวน แขวง/ตำบล
|
กรุงเทพมหานคร |
1,568.737 |
5,686,646 |
5,701,394 |
5,634,132
|
5,647,799
|
3,624.98 |
3,616.64 |
50 |
180
|
จังหวัดนครปฐม |
2,168.327 |
905,008 |
860,246 |
798,016
|
765,425
|
417.38 |
403.36 |
7 |
106
|
จังหวัดนนทบุรี |
622.303 |
1,211,924 |
1,101,743 |
942,292
|
826,464
|
1,947.48 |
1,834.59 |
6 |
52
|
จังหวัดปทุมธานี |
1,525.856 |
1,111,376 |
985,643 |
769,998
|
616,636
|
728.36 |
677.55 |
7 |
60
|
จังหวัดสมุทรปราการ |
1,004.092 |
1,293,553 |
1,185,180 |
1,049,416
|
969,321
|
1,288.29 |
1,218.32 |
6 |
50
|
จังหวัดสมุทรสาคร |
872.347 |
556,719 |
491,887 |
442,687
|
416,393
|
638.19 |
583.27 |
3 |
40
|
รวม |
7,761.662 |
10,765,226 |
10,326,093 |
9,636,541
|
9,242,038
|
1,386.97 |
1,347.11 |
79 |
488
|
การศึกษา
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในช่วงแรกตั้งอยู่ในเมืองหลวง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงแรกๆเพื่อผลิตบัณฑิตรองรับการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปัญญาชนต่าง ๆ ของประเทศล้วนมาจากการบ่มเพาะทั้งศาสตร์และศิลป์จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ปูรากฐานให้นักคิดมาเกือบศตวรรษ กว่าทศวรรษที่ผ่านมา แนวโน้มของการใฝ่หาการศึกษาระดับปริญญาทำให้เกิดมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนไทย กรุงเทพมหานครไม่กลายเป็นเพียงสถานที่ที่ผู้อพยพและคนต่างจังหวัดแสวงหาโอกาสในการทำงาน แต่ยังเป็นโอกาสที่จะได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาเพียงแห่งเดียวในประเทศ แต่ก็มีการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ของไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในวิธีที่รัฐบาลไทยใช้จัดการกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการศึกษาระดับสูงได้นำไปสู่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่น ๆ ด้านคุณภาพและการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยในระดับโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นเพียงมหาวิทยาลัยแห่งเดียวของไทยที่ติดอันดับ top 400 ของการจัดอันดับ Times Higher Education World University Ranking อีกทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเพียง 2 มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ top 500 ของการจัดอันดับ QS World University Ranking
เศรษฐกิจ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[8]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 50 มาจากรุงเทพมหานครและปริมณฑล[9] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04
กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[10]
จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[11] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[12]
การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[13] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[9] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[14]
ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[15]
หมายเหตุ
- ↑ ประมาณจำนวนประชากรทั้งขึ้นทะเบียนราษฎร และไม่ขึ้นทะเบียนราษฎร
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
|