มนต์รักทรานซิสเตอร์ (อังกฤษ: Transistor Love Story) เป็นภาพยนตร์ไทยโดยผู้กำกับเป็นเอก รัตนเรือง ที่สร้างจากวรรณกรรมขายดีของ วัฒน์ วรรลยางกูร โดยผนวกภาพยนตร์หลายๆ แนวรวมเข้าด้วยกันทั้งตลก โรแมนติก สืบสวน และเป็นภาพยนตร์เพลงอีกด้วย ซึ่งอุทิศให้กับผลงานเพลงของ สุรพล สมบัติเจริญ
เนื้อเรื่องย่อ
แผน (รับบทโดย ต๊อก ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ) หนุ่มบ้านนอกชอบร้องเพลง ที่ชอบ เอ็นเตอร์เทนพ่อแม่พี่น้องร้องเพลงกับวง "กระเดือกทองคำ" ตามงานวัดอยู่เสมอๆ ได้พบ สะเดา (รับบทโดย อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส) ครั้งแรกก็ที่งานวัดในหมู่บ้านบางน้ำไหล แม้มีอุปสรรคแต่ทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกัน
วิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องเล็ก คือของขวัญแต่งงานที่ไอ้แผนให้เมียรัก ทำให้แผนนึกภาพตัวเองเป็น "สุรแผน เพชรน้ำไหล" นักร้องชื่อดังที่มีคนดูเป็นร้อยๆ ได้ชัดเจน สะเดาตั้งท้องได้ 5 เดือน ไอ้แผนก็ได้รับหมายเกณฑ์ ระหว่างเป็นทหาร ก็ไปประกวดร้องเพลง รายการ "ปั้นดินให้เป็นดาว" ได้รองอันดับหนึ่ง จึงตัดสินใจหนีทหารเข้ากรุง ไปฝึกเป็นนักร้องอย่างที่มันฝันใฝ่ สะเดาไม่เข้าใจว่าทำไมแผนเงียบหายไป วิทยุทรานซิสเตอร์ก็เริ่มรวน แล้วเธอก็คลอดลูกชาย
ฝ่ายไอ้แผน ได้เป็นเด็กประจำวง "เพลิน แพรสุพรรณ" ของคุณสุวัตร เตียงทอง หัวหน้าวงที่ใครๆ ในวงการเรียกว่า ป๋า (สมเล็ก ศักดิกุล) มีหน้าที่คอยวิ่งซื้อบุหรี่ เสิร์ฟน้ำ กวาดโรงซ้อม จน 2 ปีผ่านไป ชีวิตก็ยังเหมือนเดิม แต่ ดาว (พรทิพย์ ปาปะนัย) นักร้องสาวที่เข้ากรุงมาพร้อมกันกับมัน กำลังจะมีอัลบั้มและคอนเสิร์ตของตัวเอง "ดาว สาวสวนแตง"
สะเดาเฝ้ารอไอ้แผนอยู่นานหลายปี จนทนไม่ไหวที่จะรอต่อไป เลยชวนพ่อเข้ากรุงไปตามหาแผน และได้พบกับแผนเป็นชั่วเวลาสั้นๆ ในวันแรกที่แผนที่ได้ขึ้นเวทีร้องเพลงเป็นวันแรก คืนนั้น ป๋าสุวัตรพาไอ้แผนไปที่บ้าน เพื่อฉลองความสำเร็จด้วยกัน ป๋าชวนแผนดื่มเบียร์ ถ่ายแบบ และดูวิดีโอโป๊ ไอ้แผนช็อคอ้าปากค้าง เพราะนางเอกของเรื่องคือ ดาว และขณะเดียวกันนั่นเอง ป๋าก็เริ่มลวนลามมัน แผนถีบป๋ากระเด็น หัวฟาดมุมโต๊ะตายคาที่
ด้วยอารามตกใจ แผนรีบหนีออกมา และจับพลัดจับผลูหลงไปกับรถบรรทุกคนงานไร่อ้อย แถวภาคตะวันตก ต้องกลายไปเป็นคนงานตัดอ้อย มีเพื่อนสนิทชื่อ เสี่ยว (อำพล รัตน์วงศ์) มีหัวหน้าสุดโหดชื่อ หยอด (เสมอ แก้วชน หรือ แบล็ค ผมทอง) ซึ่งเอ็นดูไอ้แผนเหมือนลูก
เสี่ยวทะเลาะกับหยอด และกำลังจะถูกหยอดทำร้าย แผนเข้าไปช่วย ทั้งคู่จึงถูกตามล่า ต้องวิ่งหนีลูกปืนกระเซอะกระเซิงออกมาจากไร่ แผนกับเสี่ยวตกงาน มุ่งหน้าเข้ากรุง นอนข้างถนน คุ้ยของกินในขยะ
ชีวิตมันถึงจุดล่มสลาย เมื่อเสี่ยววางแผนกระชากสร้อยหาเงินค่ารถ ให้แผนกลับบ้านหมู่บ้านบางน้ำไหล แต่แผนถูกตำรวจจับ ต้องติดคุกหลายปีด้วยข้อหาชิงทรัพย์และหนีทหาร ตั้งแต่จากสะเดามาเป็นปีๆ แผนเริ่มคิดถึงชีวิตเรียบง่ายริมคลองร่มรื่น ชีวิตที่วิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องเล็กๆ เครื่องเดียว ก็ให้ความสุขได้เหลือเฟือ และที่มันคิดถึงมากที่สุดก็คือสะเดา และลูกของมันที่ไม่เคยเห็นหน้า
นักแสดง
เพลงประกอบภาพยนตร์
- เพลง ลืมไม่ลง แต่งโดย สุรพล สมบัติเจริญ
- เพลง น้ำค้างเดือนหก แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน
- เพลง มอง แต่งโดย สุรพล สมบัติเจริญ
- เพลง เป็นโสดทำไม แต่งโดย พยงค์ มุกดา
- เพลง อาทิตย์อุทัยรำลึก แต่งโดย สุรพล สมบัติเจริญ
- เพลง ใช่แล้วสิ แต่งโดย แผน พันธ์สาลี
- เพลง บอกรักฝากใจ แต่งโดย ทินกร ทิพยมาศ
- เพลง ลืมไม่ลง แต่งโดย สำเนียง ม่วงทอง
- เพลง บ้านนี้ฉันรัก แต่งโดย สุรพล สมบัติเจริญ
- เพลง นักร้องบ้านนอก แต่งโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
- เพลง ทหารเกณฑ์คนเศร้า แต่งโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
- เพลง นัดพบหน้าอำเภอ แต่งโดย ลพ บุรีรัตน์
- เพลง น้ำตาผัว แต่งโดย ไพบูลย์ ไก่แก้ว
- เพลง คิดถึงพี่ไหม แต่งโดย พยงค์ มุกดา
มนต์ฮักทรานซิสเตอร์ สะออนซอนเด
มนต์ฮักทรานซิสเตอร์ สะออนซอนเด เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวสืบสวนแฟนตาซี-แอ็คชั่น จากปลายปากกาของ ร่มแก้ว
การสร้างเป็นละครโทรทัศน์
ในปี พ.ศ. 2561 ผลิตโดย บริษัท CHANGE 2561 จำกัด เขียนบทโทรทัศน์โดย สตูดิโอ คำม่วน กำกับการแสดงโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย ภูศิลป์ วารินรักษ์,โฟกัส จีระกุล
รายชื่อนักแสดง
เพลงประกอบละคร
- เฮาบ่อยากมีหมู่คือโต - เต๋า ภูศิลป์
รางวัล
รางวัลที่ มนต์รักทรานซิสเตอร์ ได้รับมีดังต่อไปนี้[1]
ผู้มอบรางวัล
|
สาขารางวัล
|
ผล
|
Asia-Pacific Film Festival
|
นักแสดงชายยอดเยี่ยม (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ)
|
ได้รับรางวัล
|
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม
|
ได้รับรางวัล
|
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติซีแอตเทิล
|
Asian Trade Winds
|
ได้รับรางวัล
|
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวียนนา
|
Reader Jury of the Standard
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สิริยากร พุกกะเวส)
|
ได้รับรางวัล
|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
|
ได้รับรางวัล
|
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เป็นเอก รัตนเรือง)
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
|
นักแสดงชายยอดเยี่ยม (ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ)
|
ได้รับรางวัล
|
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (สิริยากร พุกกะเวส)
|
ได้รับรางวัล
|
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
|
ได้รับรางวัล
|
รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1[2]
|
ภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม
|
ได้รับรางวัล
|
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เป็นเอก รัตนเรือง)
|
ได้รับรางวัล
|
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม (สิริยากร พุกกะเวส)
|
ได้รับรางวัล
|
อ้างอิง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-22. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
- ↑ HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กำกับภาพยนตร์ | |
---|
อำนวยการสร้าง ภาพยนตร์ | |
---|
ละครโทรทัศน์ | |
---|
|
---|
ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554) | |
---|
ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555) | |
---|
ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556) | |
---|
ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557) | |
---|
ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558) | |
---|
ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559) | |
---|
ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560) | พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๔๖๙ (พ.ศ. 2469) • การเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นของคณะทูตไทยในการไปเจรจาตกลง การเรียกร้องดินแดนคืนจากรัฐบาล อินโด-จีน ของฝรั่งเศส ถึงกรุงเทพพระมหานคร (พ.ศ. 2484) • ทะเลรัก (พ.ศ. 2496) • พิธีเปิดป้าย พรรคเสรีมนังคศิลา ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ (พ.ศ. 2499) • ไทยไดมารู (พ.ศ. 2507) • ศึกบางระจัน (พ.ศ. 2509) • กองพันจงอางศึก [พ.ศ. 2510] • ชุมแพ (พ.ศ. 2519) • เพลงรักเพื่อเธอ (พ.ศ. 2521) • บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2523) • หลวงตา (พ.ศ. 2523) • มือปืน (พ.ศ. 2526) • ข้างหลังภาพ (พ.ศ. 2528) • ฉลุย (พ.ศ. 2531) • เกรซแลนด์ GRACELAND (พ.ศ. 2549) |
---|
ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561) | |
---|
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562) | |
---|
ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563) | |
---|
ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564) | |
---|
ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565) | กิจการในกระทรวงพาณิชย์ แล คมนาคม THE ACTIVITIES OF THE MINISTRY OF COMMERCE AND COMMUNICATIONS [2470 - 2472] • [ตัดหัวต่อหัว] [2470 - 2473] • ดรรชนีนาง (2496) • [งานอภิเษกพระสังฆราชมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต] (2496) • [การประกวดการจัดบ้านและบริเวณ] (2497) • [จอมพลสฤษดิ์ไปอเมริกา] (2501) • เด็กกับหมี The Children and the Bear (2502) • มันมากับความมืด (2514) • แหวนทองเหลือง (2516) • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) • ส.อ.ว.ห้อง 2 รุ่น 44 (2533) • October Sonata รักที่รอคอย (2552) |
---|
ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566) | |
---|
ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567) | Compte-rendu de Mission Archéologique…au SIAM ~ NOV-DEC 1929 ~ (รายงานการสำรวจทางโบราณคดี ณ กรุงสยาม พฤศจิกายนถึงธันวาคม 2472) (2472) • WEDDING TRIP TO BANGKOK 1938-1939 (2481-2482) • PRINCE PARIBATRA OF SIAM (2491) • [สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิ ร.7 จากลอนดอนกลับประเทศไทย] (2492) • สามพราน (2503) • น้อยไจยา (2509) • บ๊าย..บาย ไทยแลนด์ (ไม่ปรากฏวันออกฉาย) • คนกราบหมา (2540 / ฉบับ Director’s Cut 2567) • Birth of Seanéma (2547) • กระเบนราหู (2562) |
---|
|