โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อังกฤษ: Piyajat Pattana School under Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage) จังหวัดนครนายก จัดตั้งตามดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้บุตร หลานของข้าราชการทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและพื้นที่ใกล้เคียง
โรงเรียนปิยชาติพัฒนา เป็นโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2532 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงาน สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ บริเวณสนามหลวง อธิบดีกรมสามัญศึกษา (นายพะนอม แก้วกำเนิด) ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วยในวันนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริกับอธิบดีกรมสามัญศึกษา เรื่องปัญหาการไม่มีที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของบุตรหลานข้าราชการในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รวมทั้งบุตรหลานชาวบ้านในตำบลใกล้เคียง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อีกส่วนหนึ่ง.
จากพระราชดำริดังกล่าว กรมสามัญศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและจังหวัดนครนายก จึงร่วมศึกษาข้อมูลนักเรียนที่จะเข้าเรียน การจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างเป็นที่ดินของราชพัสดุในส่วนที่กองทัพบกดูแล อยู่หน้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสภาพเป็นป่าไผ่ค่อนข้างทึบมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 19 หลังคาเรือน มีตลาดนัดชาวบ้านชื่อว่า “ตลาดบุญส่ง” ซึ่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เตรียมแผนย้ายผู้คนเหล่านั้นไม่ให้เกิด ความเดือดร้อน โดยย้ายตลาดและชาวบ้านที่ใช้ที่ดินส่วนนั้นให้ไปอยู่ยัง ที่ดินจัดสรรให้เป็นหมู่บ้านใหม่ ที่ไม่ไกลจากที่เดิมนัก เพื่อเป็นสัดส่วนโดยตั้งชื่อหมู่บ้านที่ย้ายไปนี้ว่า “หมู่บ้านเทพประทาน” เพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งใหม่นี้
วันที่ 6 กันยายน 2532 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะของกรมสามัญศึกษาประกอบด้วยอธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองแผนงาน ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา ผู้อำนวยการกองออกแบบและก่อสร้าง หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์และคณะโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าฯ ที่ห้องประชุมตึกประวัติศาสตร์ ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงแนะนำว่าขอให้เป็นโรงเรียนขนาดกลาง อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น ควรเว้นที่ว่างติดกับทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ไว้ด้วยเพื่อความสวยงามและระบบความปลอดภัยของทหาร คณะผู้ออกแบบจึงได้จัดแบ่งพื้นที่โรงเรียนจำนวน 72 ไร่ ออกเป็น 3 ส่วน โดยกำหนดที่ดินด้านทิศใต้ คือ ส่วนที่มองเห็นก่อนเมื่อมองจาก ถนนสาย จ.ป.ร.- รังสิต เป็นส่วนของสนามกีฬาและบ้านพักครู ส่วนตรงกลางใช้เป็นที่ตั้งอาคารเรียนที่ต่อเชื่อมกันเป็นรูปก้างปลา โดยทางกรมสามัญศึกษากำหนดแผนชั้นเรียนไว้ทั้งสิ้น 42 ห้องเรียน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น 24 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 18 ห้องเรียนและต่อเชื่อมกับหอประชุม พร้อมโรงฝึกงานอีก 3 หลัง 6 หน่วย มีลานเอนกประสงค์อยู่ตรงกลาง ส่วนด้านทิศเหนือติดกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นพื้นที่แปลงเกษตรและแหล่งน้ำโดยการออกแบบของ นายกำธร บุญปาลิต สถาปนิกกองออกแบบกรมสามัญศึกษา
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 แผนการเรียนปกติ ตามหลักสูตรแกนกลาง ปี 2551
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีแผนการศึกษาดังนี้
บทความสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล