เอ็ดเวิร์ด ฮีธ

เอ็ดเวิร์ด ฮีธ
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน 1970 – 4 มีนาคม 1974
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ก่อนหน้าฮาโรลด์ วิลสัน
ถัดไปฮาโรลด์ วิลสัน
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม 1965 – 11 กุมภาพันธ์ 1975
ก่อนหน้าเซอร์ อเล็ค ดักลาส-ฮูม
ถัดไปมาร์กาเรต แทตเชอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ด จอร์จ ฮีธ

9 กรกฎาคม ค.ศ. 1916(1916-07-09)
บรอดสแตร์ส, เคนต์, อังกฤษ
เสียชีวิต17 กรกฎาคม ค.ศ. 2005(2005-07-17) (89 ปี)
ซอลส์บรี, วิลต์เชอร์, อังกฤษ
ที่ไว้ศพอาสนวิหารซอลส์บรี
พรรคการเมืองพรรคอนุรักษนิยม
ศิษย์เก่าวิทยาลัยบัลลิออล ออกซ์ฟอร์ด
รางวัล
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกสหราชอาณาจักร
ยศพันโท
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

เซอร์เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ด จอร์จ ฮีธ (อังกฤษ: Edward Richard George Heath) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษที่ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง ค.ศ. 1974 และผู้นำของพรรคอนุรักษนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1975 เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 50 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 2001

ชีวิตวัยเด็ก

เอ็ดเวิร์ด ฮีธ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1916 ณ บ้านเลขที่ 54 ถนนอัลบิออน บรอดสแตร์ส ค.ศ. 1916 เป็นบุตรของวิลเลียม จอร์จ ฮีธ กับ อีดิธ แอนน์ ฮีธ เขาได้รับการศึกษาจาก โรงเรียนชาแธมเฮาส์ ในเมืองแรมส์เกต และในปี ค.ศ. 1935 เขาได้รับทุนการศึกษาในการเรียนต่อยังวิทยาลัยบัลลิออล เมืองออกซ์ฟอร์ด[1]

ฮีธ ได้รับรางวัลทุนการศึกษาออร์แกนของวิทยาลัยในเทอมแรก (ก่อนหน้านี้เขาเคยพยายามหาทุนศึกษาออร์แกนที่ วิทยาลัยเซนท์แคเทอรีนส์ และ วิทยาลัยเคเบิล) ซึ่งทำให้เขาสามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้จนถึงปีสี่ ในที่สุดเขาก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองในสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1939

การทำงาน

สมาชิกรัฐสภา (ค.ศ. 1950 - ค.ศ. 1965)

ฮีธได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ซึ่งเขาได้ยื่นเรียกร้องต่อรัฐบาลพรรคแรงงานให้เข้าร่วมปฏิญญาชูมาน ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเบ็กซ์ลีย์ เขาได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างกระตือรือร้นเพื่อสนับสนุนผู้สมัครรุ่นใหม่ของเขตดาร์ทฟอร์ดซึ่งอยู่ใกล้เคียง อย่างมาร์กาเรต รอเบิตส์ หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในนามมาร์กาเรต แทตเชอร์[2]

เขาได้รับการแต่งตั้งโดย วินสตัน เชอร์ชิล ให้เป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 เขายังดำรงตำแหน่งกรรมการประสานงานรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1951 ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 ในสมัยรัฐบาลของแอนโทนี อีเดน

ตามธรรมเนียมที่วิปไม่พูดในรัฐสภา ฮีธจึงสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเกี่ยวกับวิกฤตการณ์คลองสุเอซได้ ในการประกาศลาออกของอีเดน ฮีธได้ส่งรายงานเกี่ยวกับความคิดเห็นของส.ส.พรรคอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งของอีเดนที่เป็นไปได้ รายงานนี้สนับสนุน ฮาโรลด์ แมคมิลแลน และช่วยให้แมคมินแลนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 ต่อมาแมคมิลแลนได้แต่งตั้งให้ ฮีธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล ฮีธ ได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ หลังจากชนะการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 1959

ในปี ค.ศ. 1960 แมคมิลแลนได้แต่งตั้ง ฮีธ ลอร์ดผู้รักษาพระราชลัญจกร ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเจรจาเพื่อรักษาความพยายามแรกของสหราชอาณาจักรในการเข้าร่วมประชาคมยุโรป หลังจากการเจรจาอย่างกว้างขวาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อตกลงโดยละเอียดเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรของสหราชอาณาจักรกับประเทศในเครือจักรภพ เช่น นิวซีแลนด์ การเข้ามาของอังกฤษถูกคัดค้านโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล ในงานแถลงข่าวเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 ซึ่งทำให้ฮีธซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงานเป็นสมาชิกในตลาดร่วมของยุโรปสำหรับสหราชอาณาจักรผิดหวังเป็นอย่างมาก ก่อนที่เขาจะประสบความสำเร็จในการนำสหราชอาณาจักรเข้าร่วมประชาคมยุโรปเมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทศวรรษต่อมา[3][4]

หลังจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ความอัปยศครั้งใหญ่สำหรับนโยบายต่างประเทศของแมคมิลแลน ฮีธไม่ได้เป็นคู่แข่งในการเป็นผู้นำพรรคในการเกษียณอายุของมักมิลลันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1963 ภายใต้รัฐบาลของ เซอร์ อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์ เขาเป็นประธานหอการค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจ พลังงาน และ นโยบายอุตสาหกรรม และดูแลการยกเลิกการรักษาราคาขายปลีก

ผู้นำฝ่ายค้าน (ค.ศ. 1965 - ค.ศ. 1970)

หลังจากที่พรรคอนุรักษ์นิยมแพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1964 ฮิวม์ที่ได้พ่ายแพ้ได้เปลี่ยนกฎการเป็นผู้นำพรรคให้มีการลงคะแนนเสียงโดย ส.ส. แล้วจึงลาออก ในปีต่อมา ฮีธซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเงาในขณะนั้น และเพิ่งได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ดีจากการเป็นผู้นำในการต่อสู้กับร่างกฎหมายการเงินของแรงงาน ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคโดยไม่คาดคิด โดยได้รับคะแนน 150 คะแนน ชนะเรจินัลด์ เมาด์ลิง ซึ่งได้ 133 คะแนน และอีนอช โพเวลล์ซึ่งได้ 15 คะแนน[5] ทำให้ฮีธกลายเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมที่อายุน้อยที่สุดและดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากความพ่ายแพ้ของพรรคในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1966

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 อีนอช โพเวลล์ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "แม่น้ำแห่งเลือด" ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การอพยพไปยังสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นไม่นานฮีธได้โทรศัพท์หา มาร์กาเรต แทตเชอร์ เพื่อแจ้งเธอว่าเขากำลังจะไล่พาวเวลล์ออกจากรัฐบาลเงา เธอจำได้ว่าเธอ "คิดจริง ๆ ว่าควรปล่อยให้สิ่งต่างๆ เย็นลงในตอนนี้ แทนที่จะทำให้วิกฤติรุนแรงขึ้น" วันรุ่งขึ้น ฮีธไล่พาวเวลล์ออกไป ทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาหลายคนประท้วงคัดค้านการไล่โพเวลล์ออก[6] และฮีธก็ไม่เคยพูดกับโพเวลล์อีกเลย[7]

นายกรัฐมนตรี(ค.ศ. 1970 - ค.ศ. 1975)

การเลือกตั้ง ค.ศ. 1970

เมื่อการเลือกตั้งทั่วไปใกล้เข้ามาในปี ค.ศ. 1970 เอกสารนโยบายของพรรคอนุรักษ์นิยมก็หลุดออกมาจากโรงแรมเซลส์ดอนพาร์ก ว่าจะมีการเสนอนโยบายที่เน้นตลาดเสรีเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและปัญหาเงินเฟ้อของประเทศ[8] ฮีธกล่าวว่าสุดสัปดาห์ที่เซลส์ดอนเป็นเพียงการยืนยันนโยบายที่มีการพัฒนาจริงตั้งแต่เขากลายเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษ์นิยม ฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน ตอบโต้โดยคิดว่าเอกสารดังกล่าวเป็นผู้แพ้คะแนนเสียง และขนานนามว่าเป็นผลงานของเซลส์ดอน แมน ตาม พลิตดาวน์แมน มนุษย์ที่มีการคาดว่าเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์[9] หลังจากนั้นพรรคอนุรักษ์นิยมของฮีธก็ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1970 โดยได้จำนวนสมาชิกสภาไป 330 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคแรงงานได้จำนวนสมาชิกสภาไป 287 ที่นั่ง คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประกอบด้วย มาร์กาเรต แทตเชอร์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์) วิลเลียม ไวท์ลอว์(ประธานสภาผู้แทนราษฎร) และอดีตนายกรัฐมนตรี อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)[10]

รัฐสวัสดิการ

ในช่วงปีแรกที่ดำรงตำแหน่งของฮีธ มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของรัฐสวัสดิการ เช่น อาหารกลางวันในโรงเรียน แว่นตา ทันตกรรม และยา มีการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิค่ารักษาพยาบาลโดยจะมีการจ่ายให้หลังจาก เจ็บป่วยไป 3 วันแล้ว [11] และจากการบีบงบประมาณการศึกษา การจัดหานมโรงเรียนฟรีสำหรับเด็กอายุ 8 ถึง 11 ปีจึงสิ้นสุดลง (ฮาโรลด์ วิลสันได้ตัดารจัดหานมโรงเรียนฟรีสำหรับวัยรุ่นไปแล้ว) หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ขนานนามว่า มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นว่า "มาร์กาเร็ต แทตเชอร์: ผู้ฉกฉวยนม"[12] แม้จะมีมาตรการเหล่านี้ รัฐบาลของฮีธก็สนับสนุนให้การใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอย่างมาก

บทบัญญัติจัดทำขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันแห่งชาติ พ.ศ. 2513 (บำเหน็จบำนาญและเบี้ยเลี้ยงของผู้สูงอายุและหญิงม่าย) สำหรับเงินบำนาญที่จะจ่ายให้กับคนชราที่ได้รับการยกเว้นจากโครงการบำเหน็จบำนาญก่อนปี ค.ศ. 1948 และได้รับการยกเว้นจากโครงการที่ครอบคลุมซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1948 ผู้คนประมาณ 100,000 คนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยครึ่งหนึ่งได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมภายใต้โครงการประกันสังคม พระราชบัญญัติยังได้ปรับปรุงโครงการเงินบำนาญของแม่ม่ายด้วยการแนะนำอัตราเริ่มต้นที่ 30 ชิลลิงต่อสัปดาห์สำหรับผู้หญิงที่เป็นม่ายเมื่ออายุ 40 ปี และเพิ่มขึ้นเป็นอัตราเต็ม 5 ปอนด์เมื่ออายุ 50 ปี[13]

มีการให้การสนับสนุนสำหรับการสร้างโรงเรียนอนุบาลและได้มีการเปิดตัวโครงการลงทุนในอาคารเรียนระยะยาว และมีการจัดตั้งกองทุนครอบครัวขึ้นเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีเด็กที่มีภาวะพิการแต่กำเนิด[14] ในขณะที่มีนำเสนอสิทธิของผู้พิการหลายแสนคนที่มีความทุพพลภาพซึ่งไม่ได้เกิดจากสงครามหรือจากการบาดเจ็บทางอุตสาหกรรม มีการเสนอเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่ต้องการการดูแลที่บ้าน สิทธิกรณีทุพพลภาพสำหรับผู้ป่วยระยะยาว การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรที่สูงขึ้นกรณีทุพพลภาพ สิทธิของหญิงม่ายสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 - 50 ปี เงินอุดหนุนที่มีการปรับสำหรับการกวาดล้างในสลัมก็มีให้ ในขณะที่มีการแนะนำค่าเช่าสำหรับผู้เช่าส่วนตัว [41] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 การให้สิทธิ์ในการศึกษาแก่เด็กทุกคนที่มีกลุ่มอาการดาวน์เป็นครั้งแรก[15] และปรับการศึกษาภาคบังคับจากจนถึงเมื่ออายุครบ 15 ปี เป็นจนถึงเมื่ออายุครบ 16 ปี[16]

อ้างอิง

  1. Ziegler, Edward Heath (2010) ch. 1
  2. Ziegler, Edward Heath (2010) ch. 5
  3. "BBC - History - Historic Figures: Edward Heath (1916 - 2005)". www.bbc.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  4. Ziegler, Edward Heath (2010) ch. 7
  5. "1965: Heath is new Tory leader" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1965-07-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-23.
  6. Heffer, Simon (1999). Like the Roman: The Life of Enoch Powell. p. 466.
  7. Heath, Edward. The Course of My Life (1998), p. 293
  8. Young, Hugo. One Of Us London: MacMillan, 1989
  9. Green, Jonathon (1987). Dictionary of jargon. London: Routledge & Kegan Paul, in association with Methuen. ISBN 0-7100-9919-3. OCLC 15488674.
  10. Ziegler, Edward Heath (2010) ch. 12
  11. The Five Giants: A Biography of the Welfare State by Nicholas Timmins
  12. "How Margaret Thatcher became known as 'Milk Snatcher' - Telegraph". web.archive.org. 2012-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. Britannica Book of the Year 1971, (Encyclopædia Britannica, 1972)
  14. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-05-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-11-24.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. Lorenz, Stephanie (2012-10-12). Children with Down's Syndrome: A guide for teachers and support assistants in mainstream primary and secondary schools (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-136-61241-1.
  16. Sally Tomlinson, Education in a post-welfare society (2005) p 24

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!