อิเล็กโตรเนกาติวิตี (อังกฤษ: electronegativity, , สภาพไฟฟ้าลบ[1]) เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถของอะตอมในการที่จะดึงอิเล็กตรอนเข้าหาตัวเองเมื่อเกิดพันธะเคมี (chemical bond) ทั้งนี้ มีการเสนอวิธีการแสดงอิเล็กโตรเนกาทิวิตีหลายวิธี อาทิ เพาลิง สเกล (Pauling scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1932 มูลลิเกน สเกล (Mulliken scale) ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1934 และ ออลล์เรด-โรโชสเกล (Allred-Rochow scale)
การคำนวณความต่างของอิเล็กโทรเนกาทิวิตีของ เพาลิง ระหว่างอะตอม A และอะตอม B
เมื่อพลังงานพันธะ, Ed ของพันธะ A–B, A–A และ B–B ในหน่วย อิเล็กตรอนโวลต์, ค่า (eV)–½ แสดงเพื่อเลี่ยงการพิจารณาหน่วย เช่น ความต่างของอิเล็กโทรเนกาทิวิตีโดยเพาลิงระหว่างไฮโดรเจนและโบรมีน เท่ากับ 0.73 (พลังงานพันธะ: H–Br, 3.79 eV; H–H, 4.52 eV; Br–Br 2.00 eV)
แนวโน้มของอิเล็กโตรเนกาทิวิตี
ธาตุเคมี แต่ละตัวจะมีคุณลักษณะที่มีค่า อิเล็กโตรเนกทิวิตี ระหว่าง 0 ถึง 4 เพาลิง สเกล โดยทั่วไประดับขั้นของ อิเล็กโตรเนกาทิวิตี จะลดลงตามหมู่ของธาตุในตารางธาตุ และเพิ่มขึ้นตามคาบในตารางธาตุ ดังตารางธาตุ
ดังแสดงข้างล่างนี้
- ↑ ไลนัส พอลิงได้ประมาณค่าอิเล็กโทรเนกาทิวิตีของแฟรนเซียมไว้คือ 0.7 ในพอลิงสเกล เหมือนกับอิเล็กโทรเนกาทิวิตีของซีเซียม ณ ตอนนั้น จากนั้นมีการคำนวณค่าอิเล็กโทรเนกาทิวิตีของซีเซียมใหม่ได้เท่ากับ 0.79; ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการทดลองใด ๆ ที่จะมาเป็นค่าของแฟรนเซียม ค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีของแฟรนเซียมคาดว่าน่าจะมีค่ามากกว่าซีเซียมเล็กน้อย ดู แฟรนเซียม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม.
- ↑ See Brown, Geoffrey (2012). The Inaccessible Earth: An integrated view to its structure and composition. Springer Science & Business Media. p. 88. ISBN 9789401115162.
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัญฑิตยสถาน ศัพท์วิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖)