อำเภอพิชัย |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Phichai |
---|
คำขวัญ: ถิ่นกำเนิดพระยาพิชัย ไส้กรอกใหญ่รสเด็ด แกงรสเผ็ดหอยขม รื่นรมย์ดนตรีมังคละ หลวงพ่อโตพระคู่เมือง |
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอพิชัย |
พิกัด: 17°17′13″N 100°5′15″E / 17.28694°N 100.08750°E / 17.28694; 100.08750 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | อุตรดิตถ์ |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 736.7 ตร.กม. (284.4 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 74,554 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 101.20 คน/ตร.กม. (262.1 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 53120 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 5307 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพิชัย หมู่ที่ 3 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 53120 |
---|
|
พิชัย เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พิชัยเป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เคยเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นตัวจังหวัดเก่าอีกด้วย
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอพิชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ตามทางรถไฟไปทางทิศใต้ประมาณ 38 กิโลเมตร ตัวเมืองพิชัยเก่าอยู่ทางทิศเหนือของสถานีรถไฟขึ้นไปไม่ไกล
ประวัติ
เมืองพิชัยในอดีตได้ปรากฏในพงศาวดารเหนือและพงศาวดารหลายตอน สำหรับในพงศาวดารเหนือปรากฏอยู่ในเรื่องพระยาแกรกตอนหนึ่งว่า เจ้าไวยยักษาเป็นผู้ได้สร้างเมืองพิชัย แต่ทว่าเรื่องพระยาพิชัยในพงศวาดารเหนือเป็นตำนานเล่าต่อกันมาเท่านั้น ซึ่งเชื่อกันว่าเหตุการณ์ในเรื่องคงจะตรงกับสมัยสุโขทัยหรือก่อนสุโขทัยก็ได้ ซึ่งในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 ปรากฏว่ามีเมืองขึ้นด้วยกันถึง 16 เมือง ในจำนวน 16 เมืองนั้นมี "เมืองพิชัย" รวมอยู่ด้วย แสดงว่าเมืองพิชัยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาแล้ว
ต่อมา พ.ศ. 2033 ได้มีการก่อกำแพงเมืองขึ้นซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในปี พ.ศ. 2127 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพ พระองค์ทรงขับไล่กองทัพพม่าทางหัวเมืองเหนือ ปรากฏว่าพระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัยแข็งเมือง ไม่ยอมเกณฑ์กำลังไปช่วย พระองค์จึงยกกองทัพเข้าตีเมืองสวรรคโลกและเมืองพิชัย จับพระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัย มีรับสั่งให้ประหารชีวิตทั้งสองคนและกวาดต้อนพลเมืองลงมายังเมืองพิษณุโลกจนสิ้น
ต่อมาในสมัยธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจะเสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2314 พระองค์ได้ไปตั้งประชุมทัพหลวงที่เมืองพิชัย ต่อมา พ.ศ. 2315 โปสุพาลา แม่ทัพพม่าไปตีได้เมืองหลวงพระบาง ให้ซิกชิงโบนายทัพพม่ายกมาตีเมืองลับแลแล้วเลยมาตีเมืองพิชัย พม่าตั้งค่ายอยู่ที่วัดเอกา ขณะนั้นเมืองพิชัยมีรี้พลน้อย พระยาพิชัยได้ตั้งมั่นรักษาเมืองแล้วขอกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วย กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์) เสด็จยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วยได้รบกับพม่าเป็นสามารถ พระยาพิชัยถือดาบสองมือคุมพลทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหักจึงได้สมญาว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" แต่นั้นมา ทำให้กองทัพพม่าแตกพ่ายหนีไป
จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพิชัยได้เป็นเมืองสำคัญขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพราะเมื่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นขบถ กองทัพจากกรุงเทพฯ ยกขึ้นไปปราบปราม และโปรดให้เลิกอาณาเขตศรีสัตนาคนหุตไม่ให้มีดังแต่ก่อน เมืองพิชัยได้หัวเมืองขึ้นหลายเมือง ขยายเขตแดนออกไปถึงแม่น้ำโขง ต้องตรวจตรารักษาการทางเมืองแพร่ เมืองน่าน ตลอดจนเมืองหลวงพระบาง
ต่อมาเมืองพิชัยเสื่อมลง เนื่องจากราษฎรอพยพไปอยู่ตำบลท่าอิฐ (ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้) จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำบลท่าอิฐเป็นเมืองขึ้นเรียกว่า เมืองอุตรดิตถ์ และโปรดให้เป็นเมืองขึ้นของอำเภอพิชัย ซึ่งในตอนนั้นเมืองพิชัยแบ่งการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองอุตรดิตถ์ เมืองตรอน เมืองลับแล และเมืองน้ำปาด ต่อมาเมืองพิชัยถูกลดเป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอพิชัยเก่า มาถึงรัชกาลที่ 6 ให้เรียกนามเมืองพิชัยเก่าเป็น อำเภอพิชัย จนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอพิชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ
|
อักษรไทย
|
อักษรโรมัน
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[1]
|
1.
|
ในเมือง
|
Nai Mueang
|
9
|
8,307
|
2.
|
บ้านดารา
|
Ban Dara
|
9
|
6,222
|
3.
|
ไร่อ้อย
|
Rai Oi
|
11
|
6,549
|
4.
|
ท่าสัก
|
Tha Sak
|
10
|
6,829
|
5.
|
คอรุม
|
Kho Rum
|
12
|
9,230
|
6.
|
บ้านหม้อ
|
Ban Mo
|
8
|
5,639
|
7.
|
ท่ามะเฟือง
|
Tha Mafueang
|
10
|
5,803
|
8.
|
บ้านโคน
|
Ban Khon
|
8
|
4,913
|
9.
|
พญาแมน
|
Phaya Maen
|
7
|
5,893
|
10.
|
นาอิน
|
Na In
|
7
|
5,923
|
11.
|
นายาง
|
Na Yang
|
7
|
8,701
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอพิชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าสัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าสัก
- เทศบาลตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลในเมือง
- องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมือง (นอกเขตเทศบาลตำบลในเมือง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดารา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดาราทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไร่อ้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่อ้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสัก (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าสัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอรุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหม้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเฟือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะเฟืองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโคนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพญาแมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพญาแมนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาอิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาอินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายางทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดนายาง วัดเก่าสมัยอยุธยา
- วัดหน้าพระธาตุ
- พิพิธภัณฑ์บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก ที่ห้วยคา
- คูปราสาท
- ปรางค์
- วัดเอกา
- วัดมหาธาตุ
- วัดขวางชัยภูมิ
- กำแพงเมืองพิชัย
- วัดบึงสัมพันธ์
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม พิชัย
- วัดเขาบันไดม้า ฟากบึง
- พระพุทธเมตตาชัยมงคล วัดบุพพาราม(บ้านโคน)
- ถนนต้นคูน(หาดกรวด)
- วัดป่ากะพี้(หลวงพ่อกล่อม พระปิดตาเนื้อคลุกรัก เมตตามหานิยม)
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | คมนาคม | |
---|
ธุรกิจ | |
---|
การท่องเที่ยว | |
---|
|
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
กีฬา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
การเมืองและการทหาร | |
---|
|
---|
|