สำหรับสมเด็จพระราเมศวรพระองค์อื่น ดูที่
พระราเมศวร
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ[2] หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ มหามงกุฎเทพยมนุษย์ บริสุทธิสุริยวงศ์ องค์พุทธางกูรบรมบพิตร (พระนามตามกฎมณเฑียรบาล) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งอาณาจักรอยุธยา และพระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ระหว่าง พ.ศ. 1991 ถึง พ.ศ. 2031 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ 1 ในหลาย ๆ พระองค์ที่ได้รับพระราชสมัญญาเป็นพระเจ้าช้างเผือก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่มี "ช้างเผือก" ไว้ประดับพระบารมี ซึ่งตามความเชื่อของชาวฮินดูว่าเป็น "เครื่องหมายแห่งความรุ่งโรจน์และความสุข" รัชสมัยของพระองค์ยังเป็นที่รู้จักในด้านการปฏิรูประบบราชการไทยครั้งใหญ่และการต่อสู้กับอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชที่ประสบความสำเร็จ พระองค์ยังได้รับการเทิดทูนในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของประเทศไทย
พระนาม
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสืบคันในกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา พบว่าออกพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังนี้[6]
- ในกฎหมายลักษณะขบถศึก ออกพระนามว่า สมเด็จบรมนาถบพิตรสิทธิสุนทรธรรมเดชา มหาสุริยวงศ์ องค์บุรุโษดมบรมมหาจักรพรรดิศร บวรธรรมิกมหาราชาธิราช (เข้าใจกันว่า พระนามนี้ผูกขึ้นเพราะหมายความว่า พระเจ้าอยู่หัว เท่านั้น)
- กฎมณเฑียรบาล ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ มหามงกุฎเทพยมนุษย์ บริสุทธิสุริยวงศ์ องค์พุทธางกูรบรมบพิตร
- กฎหมายศักดินาในกรุง ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนายกดิลกผู้เป็นเจ้า
- กฎหมายศักดินาหัวเมือง ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนาถ
- กฎหมายลักษณะขบถศึก ออกพระนามว่า สมเด็จบรมมหาจักรพรรดิรามาธิบดี
- กฎหมายลักษณะขบถศึก ออกพระนามว่า สมเด็จบรมมหาจักรพรรดิศรรามาธิบดี
ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พบว่าออกพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังนี้[7]
- ในพระราชพงศาวดาร ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า
- พระราชพงศาวดาร ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลก
- จารึกวัดจุฬามณี ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีบรมไตรโลกนารถบพิตร
- จารึกวัดจุฬามณี ออกพระนามว่า สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารธรรมิกราชาธิราชเจ้าผู้ประเสริฐในภพ
- จารึกวัดจุฬามณี ออกพระนามว่าพระศรีสรรเพ็ชสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศวรราชาธิราชเมศวรธรรมิกราชเดโชชัยบรมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศรโลกเชษฐวิสุทธิมกุฏพุทธางกูรบรมจักรพรรดิศวรธรรมิกราชาธิราชอันประเสริฐ
พระราชประวัติ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระนามเดิมว่า พระราเมศวร (โปรดอย่าสับสนกับสมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ พ.ศ. 1912-1913) ประสูติเมื่อ พ.ศ. 1974 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่าพระราชมารดาของพระองค์เป็นเจ้าหญิงแห่งอาณาจักรสุโขทัย พระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ตามที่นักประวัติศาสตร์ Michael Vickery กล่าว สิ่งนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ในแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ อาจเป็นเพราะการอ่านพงศาวดารผิดหรือตีความผิด[8]
อาจเป็นไปได้ว่าพระราเมศวรประสูติในสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1955 เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา และสถาปนาพระราเมศวรพระราชโอรสของพระองค์เองซึ่งมีพระชนมายุ 7 พรรษาเป็นอุปราชแห่งสุโขทัย[9] เมื่อพระราเมศวรมีพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระราชบิดาได้ส่งพระองค์ไปยังเมืองพิษณุโลก (ซึ่งเป็นเมืองหลวงแทนที่สุโขทัยในราว พ.ศ. 1973) เพื่อปกครองดินแดนเดิมของสุโขทัยซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "หัวเมืองเหนือ"
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1974 พระราเมศวรมีพระชนมายุได้ 17 พรรษา ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทำให้พระองค์รวมสุโขทัยและอยุธยาเข้าด้วยกัน
พระราชกรณียกิจ
ด้านการปกครอง
พระราชกรณียกิจด้านการปกครองประกอบด้วยการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อันเป็นแบบแผนซึ่งยึดสืบต่อกันมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[11] และการตราพระราชกำหนดศักดินา ซึ่งทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิ
และหน้าที่ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป[12] โดยทรงเห็นว่ารูปแบบการปกครองนับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 มีความหละหลวม หัวเมืองต่าง ๆ เบียดบังภาษีอากร และปัญหาการแข็งเมืองในบางช่วงที่พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างชัดเจน ให้สมุหพระกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร และให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน รวมทั้งจตุสดมภ์ในราชธานี
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งงานทางการปกครองออกเป็น "ฝ่ายพลเรือน" และ "ฝ่ายทหาร" อย่างชัดเจน โดยมี "เจ้าพระยามหาเสนาบดี" ดำรงตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม มีหน้าที่ดูแลกิจการทหารทั่วอาณาจักร และ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ดำรงตำแหน่ง สมุหนายก รับผิดชอบงานพลเรือนทั่วอาณาจักร พร้อมกับดูแลหน่วยงานจตุสดมภ์[13] จากเดิมที่พื้นฐานการปกครองนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ได้แยกฝ่ายพลเรือนกับทหารออกจากกันชัดเจน ทั้งนี้ ในยามสงคราม ไพร่ทุกคนจะต้องรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่หลัก[11] อันเป็นลักษณะรูปแบบการปกครองของอาณาจักรขนาดเล็กที่ขาดการประสานงานระหว่างเมือง[11]
ในปี พ.ศ. 2006 การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง[13] แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้
- หัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น[14] จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
- หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ เมืองใหญ่อาจมีเมืองเล็กขึ้นอยู่ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง มีการจัดการปกครองเหมือนกับราชธานี คือ มีกรมการตำแหน่งพลและกรมการตำแหน่งมหาดไทย และพนักงานเมือง วัง คลัง นา[15] เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
- เมืองประเทศราช คงให้เจ้าเมืองปกครองกันเอง เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด และเกณฑ์ผู้คนและทรัพย์สินเพื่อช่วยราชการสงคราม
สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า
พระองค์ยังทรงแบ่งการปกครองในภูมิภาค ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล แขวง และเมือง[13]
ตราพระราชกำหนดศักดินา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม ทำให้มีการแบ่งประชากรออกเป็นหลายชนชั้น[12] เช่นเดียวกับหน้าที่และสิทธิของแต่ละบุคคล ศักดินาเป็นความพยายามจัดระเบียบการปกครองให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น อันเป็นหลักที่เรียกว่า การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง[12] ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าศักดินาจะเป็นการกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดิน แต่ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึงจำนวนไพร่พลที่สามารถครอบครอง เกณฑ์การปรับไหม และลำดับการเข้าเฝ้าแทน[16]
มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย
กฎมณเฑียรบาล
ในปี พ.ศ. 2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผน คือ[17]
- พระตำราว่าด้วยแบบแผนพระราชพิธีต่าง ๆ
- พระธรรมนูญว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ
- พระราชกำหนดเป็นข้อบังคับสำหรับพระราชสำนัก
ด้านวรรณกรรม
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย
พระบรมราชอิศริยยศและพระเกียรติยศ
พระบรมราชอิสริยยศ
- พระยาบรมราชาติโลก (บรมไตรโลก)[18]: 148
- พระราเมศวรบรมไตรโลกนารถบพิตร (พระราเมศวร)[19]: 64
- สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีบรมไตรโลกนารถ มหามงกุฏเทพมนุษ วิสุทธิสุริยวงษ องคพุทธางกูรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทรงทศพีธราชธรรมถวัลราชประเวนีศรีบรมกระษัตราธิราช พระบาทธดำรงภูมิมณฑล สกลสีมาประชาราฎร บรมนารถบรมบพิต[20]: 91 [21]: 63
- พระศรีสรรเพชญสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศรวรราชาธิราช ราเมศวรธรรมิกราชเดโชชัยพรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์โลกเชษฐวิสุทธิมกุฏพุทธางกูร บรม (จุล) จักรพรรดิศวร (ธร) ธรรมิกราชาธิราชอันประเสริฐ (พ.ศ. 2223)[22]: 203
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ "An Overview of Government and Politics in Thailand". Royal Thai Embassy, Seoul. 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
- ↑ อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี, หน้า 19-20
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. (2450). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทย. หน้า 4-7, 22-23.
- ↑ Michael Vickery (1978). "A Guide through some Recent Sukhothai Historiography". Journal of the Siam Society. 66 (2): 182–246, at pp. 189–190.
- ↑ David K. Wyatt (2004). Thailand: A Short History (Second ed.). Silkworm Book. pp. 58–59.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 ดนัย ไชยโยธา. หน้า 157.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 ดนัย ไชยโยธา. หน้า 159.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 ดนัย ไชยโยธา. หน้า 158.
- ↑ ดนัย ไชยโยธา. หน้า 307.
- ↑ ดนัย ไชยโยธา. หน้า 307-308.และ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,2545:232
- ↑ ดนัย ไชยโธยา. หน้า 342.
- ↑ ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 340.
- ↑ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2513). ยวนพ่ายโคลงดั้น : ฤๅยอพระเกียรติพระเจ้าช้างเผือกกรุงเก่า พร้อมด้วยข้อวินิจฉัยทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ประเพณี วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม. 350 หน้า.
- ↑ วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2555). พจนานุกรมคําเก่าในภาษาไทย ฉบับชะเลยสัก. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน). 341 หน้า. ISBN 978-616-7-15409-1
- ↑ หมอบลัดเล. (2424). "กฎมณเทียรบาล เล่ม ๑", ใน หนังสือเรื่องกฏหมายเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ริมป้อมปากคลองบางกอกใหญ่.
- ↑ วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2548). กฎมณเทียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ: โครงการวิจัยเมธีอาวุโส สกว กฏหมายตราสามดวง: ประมวลกฏหมายไทยในฐานะมรดกโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 339 หน้า. ISBN 978-974-6-19138-8
- ↑ สายชล สัตยานุรักษ์ และนิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒). กรุงเทพฯ: มติชน. 310 หน้า. ISBN 974-322-884-5 อ้างใน ศิลาจารึกวัดจุฬามณี พิษณุโลก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓.
- บรรณานุกรม
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2468. 35 หน้า.
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- Becker, Benjawan Poomsan; Thongkaew, Roengsak (2008). Thai law for foreigners. Paiboon Publishing. ISBN 978-1-887521-57-4.
- Chirapravati, M. L. Pattaratorn; McGill, Forrest (26 January 2005). The Kingdom of Siam: The Art of Central Thailand, 1350-1800 (ภาษาอังกฤษ). Asian Art Museum. ISBN 978-0-939117-27-7.
- Chunlachakkraphong (1967). Lords of Life: A History of the Kings of Thailand. Alvin Redman.
- Schober, Juliane (2002). Sacred Biography in the Buddhist Traditions of South and Southeast Asia. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-1812-5.
ดูเพิ่ม
ลำดับผู้ปกครองเมืองสุโขทัย, พระมหากษัตริย์แห่ง อาณาจักรสุโขทัย และผู้ปกครองเมืองพิษณุโลก เรียงตามปีพุทธศักราช |
---|
พุทธศตวรรษที่ 18 รายพระนาม/รายนาม | |
---|
พุทธศตวรรษที่ 19 รายพระนาม/รายนาม | |
---|
พุทธศตวรรษที่ 20 รายพระนาม/รายนาม | |
---|
พุทธศตวรรษที่ 21 รายพระนาม/รายนาม | |
---|
พุทธศตวรรษที่ 22 รายพระนาม/รายนาม |
2100
|
21
|
10
|
21
|
20
|
21
|
30
|
21
|
40
|
21
|
50
|
21
|
60
|
21
|
70
|
21
|
80
|
21
|
90
|
2200
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
มหาธรรมราชา |
ว่าง |
นเรศวร |
ยกเลิกตำแหน่ง |
|
---|
คำอธิบายสัญลักษณ์ | |
---|
|
---|
รายพระนาม |
1800
|
18
|
10
|
18
|
20
|
18
|
30
|
18
|
40
|
18
|
50
|
18
|
60
|
18
|
70
|
18
|
80
|
18
|
90
|
1900
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รามา1ฯ |
|
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม |
2300
|
23
|
10
|
23
|
20
|
23
|
30
|
23
|
40
|
23
|
50
|
23
|
60
|
23
|
70
|
23
|
80
|
23
|
90
|
2400
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
l |
เอกทัศ |
|
|
---|
คำอธิบายสัญลักษณ์ | |
---|