เมืองทุ่งยั้ง |
---|
ที่ตั้ง | ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 53210 |
---|
ความพิเศษ | - |
---|
จุดสนใจ | ชมวัดโบราณ ไหว้พระบรมธาตุทุ่งยั้ง เยือนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ |
---|
กิจกรรม | - วันอัฐมีบูชา |
---|
หมายเหตุ | เป็นเมืองโบราณ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิล
ปากร |
---|
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
เมืองทุ่งยั้ง เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยและมีเมืองซ้อนกันอีกเมืองหนึ่งซึ่งเรียกว่า เวียงเจ้าเงาะ โดยเมืองทุ่งยั้งเดิมเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิชัยแต่ต่อมา แม่น้ำน่านเกิดเปลี่ยนเส้นทางน้ำทำให้เมืองทุ่งยั้งเกิดความแห้งแล้งชาวบ้านจึงอพยพออกจากพื้นที่ไปอาศัยในแถบ บางโพ-ท่าอิฐแทน จึงทำเมืองทุ่งยั้งกลายเป็นเมืองร้าง และพังทลายลงในที่สุดคงเหลือไว้แต่พระธาตุทุ่งยั้งเพียงอย่างเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ว่าเป็นเมืองโบราณ
เมืองทุ่งยั้งในอดีตมีเจ้าเมืองปกครองสืบทอดกันมา เจ้าเมืองคนสุดท้าย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระจงรณฤทธิ์ (พรม ศรีพันธุ์) ต้นตระกูลศรีพันธุ์ เป็นเจ้าเมืองซึ่งมีภรรยาหลายคน จึงมีลูกหลานหลายสายภรรยาเอกคือแม่สาย ศรีพันธุ์ สำหรับสายของแม่ใหญ่เนย ศรีพันธุ์ ภรรยารอง มีบุตรีชื่อแม่พัน(ศรีพันธุ์)กอนวงษ์ ได้แต่งงานกับกำนันบุญ กอนวงษ์ อดีตกำนันตำบลทุ่งยั้ง มีบุตร 5 คน หนึ่งในนั้นคือกำนันบรรจง กอนวงษ์ อดีตกำนันตำบลทุ่งยั้ง สายของแม่ผ่อง ศรีพันธุ์ มีบุตรชื่อพ่อพิศ ศรีพันธุ์ และแม่ทองพูล (ศรีพันธุ์) ภมรจันทร์ ปัจจุบันยังคงมีคนในรุ่นหลาน เหลนและโหลนบางสายอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองทุ่งยั้ง
ขนาดของเมือง
- เมืองทุ่งยั้งมีอาณาเขตกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณเนินเขานางทอง (วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จนถึงที่ราบลุ่มบ้านไผ่ล้อม) เมืองทุ่งยั้งมีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ มีคูน้ำและกำแพงเมือง 2–3 ชั้น[1]
ตำนานการก่อตั้งเมืองทุ่งยั้ง
- เมืองทุ่งยั้งมีตำนานเล่าขานกันว่า เจ้าเมืองสวรรคโลก นามว่าบาธรรมราช เป็นผู้สร้างเมืองทุ่งยั้ง และตั้งชื่อเมืองนี้ว่า กัมโพชนคร
หลักฐานการค้นพบเมืองทุ่งยั้ง
- พงศาวดารเหนือ
- กฎหมายลักษณะลักพา (กฎหมายโบราณสมัยพระเจ้าอู่ทองพระเจ้าอู่ทอง)
เมืองทุ่งยั้งในปัจจุบัน
- ปัจจุบันเมืองทุ่งยั้งยังคงหลงเหลือหลักฐานหลายอย่างในความเป็นเมืองโบราณ ในลักษณะคันคูน้ำกำแพงดิน3ชั้น และแทบจะเป็นแนวคันดินที่ทำมาจากศิลาแลงแห่งเดียวในประเทศไทย จนภายหลังทางราชการไม่เข้าใจ จึงได้นำพระราชนิพนธ์บทละครนอก ใน "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย" เรื่องสังทอง มาตั้งชื่อโบราณสถานที่ไม่เข้าใจ ว่า "เวียงเจ้าเงาะ" ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้งนั่นเอง
โบราณวัตถุที่ค้นพบ
- กรุพระบรมธาตทุ่งยั้ง
- กำไลหิน
- กำไลสำริด
- พร้าสำริด
- มีดสำริด
- เครื่องมือกระเทาะหิน
- สร้อยทำจากลูกปัด
- ลูกปัดหิน
การเดินทาง
- เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 102 (สวรรคโลก-อุตรดิตถ์) เวียนจากสวรรคโลกมา จะเห็นป้ายวัดพระบรมธาตุ
อ้างอิง
- หนังสือตำนานเมืองเหนือ
- หนังสือพระเมืองอุตรดิตถ์
- หนังสืออุตรดิตถ์บ้านเรา
- หนังสืออุตรดิตถ์ที่รัก
- หนังสือตำนานเมืองอุตรดิตถ์
- เมืองทุ่งยั้ง และเวียงเจ้าเงาะ เก็บถาวร 2009-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การศึกษาไทย เมืองทุ่งยั้ง[ลิงก์เสีย]