อาโซกา ทาโน (อังกฤษ : Ahsoka Tano ) เป็นตัวละครสมมติในแฟรนไชส์สตาร์ วอร์ส เธอได้รับการแนะนำตัวในฐานะเด็กหญิงอายุ 14 ปี ชาวโทกรูตา ผู้เป็นเจไดพาดาวันของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ในภาพยนตร์แอนิเมชัน สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน (ค.ศ. 2008) ก่อนที่จะปรากฏตัวในซีรีสแอนิเมชันโทรทัศนที่ตามมาหลังจากนั้น (ค.ศ. 2008–2014; 2020); แอนิเมชันชุดภาคต่อ สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ (ค.ศ. 2014–2018); ในภาพยนตร์คนแสดง สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ (ค.ศ. 2019) ในรูปแบบของเสียง; และในแอนิเมชันชุด เทลส์ออฟเดอะเจได (ค.ศ. 2022) โดยทั้งหมดได้รับการพากย์เสียงโดยแอชลีย์ เอกสไตน์ ในปี ค.ศ. 2020 อาโซกาได้มีการเปิดตัวตัวละครฉบับคนแสดงในซีซัน 2 ของละครชุดของดิสนีย์+ เดอะแมนดาลอเรียน ซึ่งแสดงโดย โรซาริโอ ดอว์สัน ดอว์สันกลับมารับบทของเธอในละครชุดภาคแยก ค.ศ. 2022 คัมภีร์แห่งโบบ้า เฟตต์ และละครชุด ค.ศ. 2023 อาโซกา
การสร้างและการพัฒนา
แนวคิด
อาโซกานั้นถูกสร้างโดยจอร์จ ลูคัส และเดฟฟิโลนี[ 2] ตัวละครนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อบรรยายว่าอนาคิน สกายวอล์คเกอร์นั้นสามารถพัฒนาจากพาดาวันผู้สะเพร่า ไร้ระเบียบวินัยใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม (ค.ศ. 2002) กลายเป็นอัศวินเจไดที่มีความสงบเสงี่ยม ใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น (ค.ศ. 2005) ได้อย่างไร[ 3] ลูคัส ซึ่งมีลูกสาวสองคนนั้น ก็ต้องการให้ตัวละครนี้ถูกใจเหล่าลูกสาวของเขา[ 4] ในช่วงต้นของการพัฒนานั้น ชื่อของอาโซกานั้นคือ "แอชลา"[ 5] [ a] ลูคัสตั้งชื่อใหม่ให้กับเธอตามจักรพรรดิอินเดียโบราณ อโศก ; หลังจากนั้นจึงมีการนำชื่อมาจัดเรียงตัวอักษรใหม่โดยผู้เขียนบท เฮนรี กิลรอย [ 7]
ฟิโลนีผู้เป็นผู้กำกับการดูแลและผู้เขียนบท เขียนเรื่องเล่าเกี่ยวกับช่วงวัยเด็กของอาโซกาเพื่อช่วยในการพัฒนาตัวละคร เขาจินตาการว่าการค้นพบว่าเธอมี "สิ่งที่กำลังพอดี" สำหรับการเป็นเจไดนั้นน่าจะทำให้เกิดการเฉลิมฉลองที่บ้านเกิดของเธอ[ 8] ฟิโลนีกล่าวว่าเขารู้สึกหวงแหนตัวละครของอาโซกา
การให้อนาคินรับผิดชอบพาดาวันนั้น เป็นความตั้งใจที่จะผลักดันตัวละครให้อยู่ในบทบาทที่บังคับให้เขาต้องระวังตัวและรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนี้ การทำเช่นนี้จะยังทำให้เขาเข้าใจถึงความสัมพันธ์กับอาจารย์ของเขา โอบีวัน เคโนบี และบรรยายว่าความสัมพันธ์ของพวกเขามีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้นได้อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างอาโวกาและอนาคินนั้นถูกมองว่าเป็นโครงเรื่องที่สำคัญ ทั้งในภาพยนตร์แอนิเมชัน สงครามโคลน และแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ เดอะ โคลน วอร์ส[ 9]
การเขียน
ในตอนแรกนั้น ฟิโลนีติดขัดกับการเขียนบทอาโซกาเพราะเขา "ไม่มีมุมมอง" ว่าการเป็นเด็กอายุ 14 ปีนั้นเป็นอย่างไร[ 10] ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนจุดโฟกัสของเขาและไปเขียนบทคร่าว ๆ แทน ว่าอาโซกาเป็นเจได ผู้บังเอิญเป็นวัยรุ่นหญิง[ 11] ฟิโลนีกล่าวว่าเขา "มีเรื่องเล่าในหัวมาโดยตลอด" สำหรับพัฒนาการโดยรวมของอาโซกา[ 12] เขาเริ่มคิดเกี่ยวกับการเผชิญหน้าครั้งสุดท้ายระหว่างอาโซกาและเวเดอร์ตั้งแต่ตอนที่เขาเริ่มเขียนบทเกี่ยวกับอาโซกา;[ 13] แค่ในแต่ละแบบนั้นมีการจบที่แตกต่างกัน[ 14] เช่น หนึ่งในนั้น ซึ่งเวเดอร์ฆ่าอาโซาในตอนที่เธอฟันหมวกของเขาและเปิดเผยใบหน้าที่เต็มไปด้วยแผลเป็น[ 15]
แอชลีย์ เอกสไตน์ผู้เป็นคนให้เสียงอาโซกานั้นกล่าวว่าเธอและเหล่านักเขียนรู้ตัวว่าผู้ชมรู้สึกว่าตัวละครในตอนเริ่มแรกน่ารำคาญและมีเพียง "เส้นบาง ๆ" ระหว่างการที่อาโซานั้นเป็นคนเจ้าเล่ห์และการกลายเป็นที่รัก ด้วยการสร้างที่เร็วกว่าการกำหนดฉายถึงหนึ่งปี โดยในระหว่างนั้นอาโซกามีพัฒนาการมากมาย เอกสไตน์จึงขอให้แฟน ๆ นั้นใจเย็น ๆ กับพัฒนาการของตัวละคร[ 16]
ถึงแม้ว่าอาโซกาจะจากนิกายเจไดไปในตอนจบของซีซันห้าของ เดอะ โคลน วอร์ส ในตอนแรกนั้นมีเส้นเรื่องที่จะให้เธอกลับมาที่นิกาย[ 17] ฟิโลนีกล่าวว่ามันคงเป็นเพียงแค่โครงเรื่อง "ธรรมดา" และเสนอลูคัสว่าเธอควรที่จะยังคงถูกไล่ออกไปซึ่งลูคัสเห็นด้วย[ 18] ลูคัสเชื่อว่าอาโซการอดจากคำสั่งที่ 66 ซึ่งเป็นการสังหารหมู่เจไดที่เห็นใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น [ 14]
ตัวละคร ฟัลครัม ซึ่งได้รับการแนะนำตัวในช่วงต้นของ สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ นั้นตั้งใจให้เป็นอาโซกาตั้งแต่แรก[ 19] ฟิโลนี ผู้เป็นผู้อำนวยการสร้างและผู้ร่วมสร้าง เรเบลส์ ร่วมมือกับลูคัสในการวิเคราะห์ว่าอาโซกาจะรู้อะไรบ้าวเกี่ยวกับชะตากรรมของอนาคิน[ 14] นอกจากนี้ฟิโลนียังทำงานร่วมกับผู้อำนวยการสร้าง ไซมอน คินเบิร์ก และผู้อำนวยการสร้างซีซันแรก เกร็ก ไวส์แมน เกี่ยวกับการพัฒนาบทบาทของอาโซกาในฐานะสายลับของกบฏ[ 14]
เหล่าผู้เขียนบทนั้นตื่นเต้นมาก ๆ ในการกลับมาของอาโซกาในซีซันสอง และฟิโลนีรู้สึกกังวลใจว่า เรเบลส์ จะกลายเป็น "รายการของอาโซกา ทาโน"[ 20] เพราะเหตุนี้ ฟิโลนีต้องการให้อาโซกาทำหน้าที่เป็นตัวละครที่ให้ความช่วยเหลือแค่ตัวละครของ เรเบลส์ เอซรา บริดเจอร์ และ เคนัน จาร์รัส ;[ 14] [ 19] เขามองว่าบทบาทใหม่ของอาโซกานั้นคล้ายคลึงกับสิ่งที่โอบีวันทำในภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส [ 21] ถึงแม้ว่าอาโซกาจะโตขึ้นใน เรเบลส์ ฟิโลนีต้องการให้ "มุมมองของเด็กคนนั้นที่อยู่ที่นั่นเพื่อเฉิดฉาย"[ 21] ในตอนแรกนั้น เขาคิดไว้ว่าอาโซกาจะเป็น "ผู้เล่นที่ไม่โต้ตอบ" มากกว่า โดยไม่ร่วมการต่อสู้ แต่ในตอนหลังนั้น เขาตัดสินใจว่าจะเหมาะสมกว่าถ้าให้อาโซกาเป็นนักรบในช่วงเวลาที่ผันผวน[ 14] การมีอยู่ของอาโซกานั้นสำคัญเพื่อให้ดาร์ธ เวเดอร์นั้นสามารถเผชิญหน้ากับตัวละครหลักในรายการนี้ได้ โดยตัวละครหลักเหล่านั้นไม่ตาย เพราะอาโซกานั้นสามารถต่อกรเวเดอร์ได้[ 22]
ฟิโลนีอ้างถึงความหลงใหลของแฟน ๆ ที่มีให้ต่อตัวละครนี้ ว่าเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาโซกานั้นโดดเด่นใน เดอะ โคลน วอร์ส และ เรเบลส์[ 12]
การพากย์เสียง
เอกสไตน์กล่าวว่าฟิโลนีต้องการให้เธอนำบุคลิกบางส่วนของเธอใส่เข้าไปในตัวละครของอาโซกา โดยเขากล่าวว่าการกระทำและคำพูดของเธอในระหว่างรอบการออดิชันทำให้เธอได้รับตำแหน่งมากกว่าการออดิชันจริง ๆ ซะด้วยซ้ำ เมื่อการสร้าง สงครามโคลน เริ่มต้นขึ้น เอกสไตน์และผู้เขียนบทใช้เวลาถึงหกเดือนเพื่อเข้าใจตัวละครอาโซกา ด้วยเหตุนี้บทพูดส่วนมากในครึ่งแรกของซีซันแรกนั้นจึงมีการอัดเสียงใหม่เพื่อให้สามารถบรรยายตัวละครได้ดีขึ้น นอกจากนี้เอกสไตน์ยังกล่าวว่าตัวละครอาโซกานั้นได้มั่นคงขึ้นเมื่อได้เลือก แมตต์ แลนเทอร์ มาเป็นอนาคินซึ่งเกิดขึ้นครึ่งทางหลังจากซีซันแรก[ 16]
เอกสไตน์กลับมารับบทเป็นอาโซกาใน เรเบลส์ ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้ให้เสียงฟัลครัมก็ตาม[ 18] เธอได้รู้ถึงการกลับมาของอาโซกาประมาณหนึ่งปีก่อนการฉายตอนจบของซีซันแรกและบอกว่ามันยากมากที่จะเก็บเป็นความลับ[ 23] เอกสไตน์กล่าวว่าอาโซานั้นได้พัฒนาความมั่นใจและความแข็งแกร่งซึ่งตัวละครของเธอในวัยเด็กนั้นไม่มี แต่บางทีเธอก็สวมบทบาทเป็นอาโซกามากเกินไป เธอชี้ให้เห็นว่า "ความอารมณ์ร้อน" และความมุ่งมั่นนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของอาโซกา[ 16] เอกสไตน์ปรับระดับเสียงของเธอลงนิดหนึ่งแต่ด้วยเหตุที่ว่าเธอและอาโซกานั้นอายุใกล้เคียงกับมากขึ้น เธอจึงพูดเสมือนเป็นตัวเธอเอง[ 24]
รูปลักษณ์ภายนอก
อาโซกาดังที่เธอปรากฏใน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ อาโซกาสวมเกราะ "ซามูไร เทียม" ใน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ และกระบี่แสงของเธอที่ไร้ซึ่งสี ซึ่งเป็นการระบุว่าเธอไม่ใช่เจได หรือ ซิธ[ 18] เครื่องหมายบนหน้าและความยาวจากหัวถึงหางของเธอนั้นต่างจากใน เดอะ โคลน วอร์ส เนื่องด้วยอายุของเธอ[ 20]
งานออกแบบตัวละครอาโซกานั้นค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงตลอดสามปีก่อนการแนะนะตัวละครของเธอในภาพยนตร์ สงครามโคลน[ 24] รูปลักษณ์ภายนอกของเธอนั้นได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครซัง ใน เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร [ 24] ในตอนแรกนั้นอาโซกามีรูปลักษณ์ในแบบที่ Wired เรียกว่า "ชุดเสื้อเกาะอกและกระโปรงสั้น" ในซีซันสามนั้นอาโซกาและตัวละครอื่น ๆ ได้รับชุดใหม่ ฟิโลนีกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีขึ้นเพื่อนำพาภาพลักษณ์โดยรวมของรายการให้ใกล้เคียงกับที่ปรากฏใน ซิธชำระแค้น มากขึ้น และเป็นไปได้ด้วยเทคนิคแอนิเมชันต่าง ๆ ที่ดีขึ้น[ 25] สำหรับซีซันที่เจ็ด ซึ่งเป็นซีซีนสุดท้ายของ เดอะ โคลน วอร์ส นั้น งานออกแบบอาโซกาได้มีการปรับอีกครั้งเนื่องด้วยเทคโนโลยีแอนิเมชันที่ดีขึ้น นอกจากนี้ชุดของเธอนั้นยังถูกเปลี่ยนให้มีสีออกเทาฟ้ามากขึ้นเพื่อให้คล้ายคลึงกับการปรากฏตัวของเธอใน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ ซึ่งฉายก่อนซีซันนี้[ 26] [ 27]
โดยบ่อยครั้งนั้น อาโซกาใช้ท่าจับกระบี่แสงแบบกลับด้าน (อังกฤษ : Reverse Lightsaber Grip ) ซึ่งคล้ายคลึงกับตัวละครซาโตอิจิ [ 28] อาโซกาได้รับกระบี่แสงอันที่สองพร้อมกับการเปลี่ยนชุดในซีซันสามของ เดอะ โคลน วอร์ส[ 25] ในซีซันที่เจ็ดซึ่งเป็นซีซีนสุดท้ายนั้น เธอได้รับกระบี่แสงคู่ใหม่ซึ่งมีใบดาบสีฟ้า[ 27]
เกราะของอาโซกาใน เรเบลส์ นั้นมีต้นแบบมาจาก "หน้าตาแบบซามูไร เทียม" ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาพถ่ายของซามูไรหญิง[ 8] [ 18] เกราะนี้มีลักษณะที่ตั้งใจให้ดูเหมือนว่าเธอพบเกราะนั้นในวิหารโบราณของเจไดและกระบี่แสงที่มีใบดาบไร้สีนั้นเป็นการระบุว่าเธอไม่ใช่เจไดหรือซิธ[ 8] [ 18] ฟิโลนีกล่าวว่ากระบี่แสงสีขาวนั้นมีลักษณะที่ดีกว่าที่เขาคาดหวังไว้[ 18] เครื่องหมายบนหน้าเธอนั้นถูกเปลี่ยนเพื่อแสดงว่าเธอมีอายุที่มากขึ้น[ 20] สิ่งนี้เป็น "พื้นฐานใหม่" สำหรับฝ่ายผลิตในการปรับรูปแบบแอนิเมชันของอาโซกาเพื่อให้สอดคล้องกับอายุของเธอที่มากขึ้น[ 17]
การบรรยายตัวละคร
ภาพยนตร์
สงครามโคลน (ค.ศ. 2008)
อาโซกาได้รับการแนะนำตัวในภาพยนตร์แอนิเมชันปี ค.ศ. 2008 สงครามโคลน (ซึ่งทำหน้าที่เป็นตอนแรกของแอนิเมชันชุด เดอะ โคลน วอร์ส ) ในฐานะเด็กอายุ 14 ปี[ 29] โดยเป็นพาดาวันที่ได้รับการมอบหมายโดยโยดา ให้เป็นศิษย์ของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ เพื่อสอนให้อนาคินนั้นมีความรับผิดชอบ ในตอนแรกนั้นอนาคินรู้สึกหงุดหงิดกับการตัดสินใจนี้ ปฏิสัมพันธ์เริ่มแรกของพวกเขานั้นเป็นการ "โต้เถียงกันเล่น ๆ" ด้วยการที่อนาคินเรียกเธอว่า "สนิปส์" สำหรับทัศนคติที่ "อารมณ์ร้อน" ของเธอ และอาโซกาเรียกเขาว่า "สกายกาย" เพื่อเป็นการเล่นคำในนามสกุลของเขา[ 29] อาโซกาได้แสดงความตั้งใจในการเข้าเป็นศิษย์ของอนาคินอย่างแรงกล้า ทาโนมีส่วนร่วมในการเอาชนะฝ่ายแบ่งแยก ในยุทธการคริสทอปซิส และรอดชีวิตจากการเผชิญหน้ากับเจไดมืด อาซาจ เวนเทรส ในช่วงยุทธการเทธ อาโซกามีบทบาทร่วมกับอนาคินในการจัดเส้นทางปลอดภัยผ่านจักรวาลถิ่นฮัทท์ ให้กับสาธารณรัฐกาแลกติก ด้วยการร่วมช่วยเหลือรอตตา บุตรชายของแจบบา เดซิลิจิก ทิอูเร เป็นการสมานสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐกับพวกฮัทท์เอาไว้
กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ (ค.ศ. 2019)
อาโซกาได้ปรากฏตัวในรูปแบบของเสียงใน สตาร์ วอร์ส: กำเนิดใหม่สกายวอล์คเกอร์ ในฐานะหนึ่งในอดีตเจไดที่ช่วยเรย์ ต่อกรกับ จักรพรรดิพัลพาทีน/ดาร์ธ ซิเดียสยสที่ฟื้นคืนชีพ เอกสไตน์กลับมาให้เสียงตัวละครในภาพยนตร์[ 30]
โทรทัศน์
แอนิเมชันชุด
เดอะ โคลน วอร์ส (ค.ศ. 2008–2014; 2020)
อาโซกาเป็นตัวละครหลักในหกจากเจ็ดซีซันของ สตาร์ วอร์ส: เดอะ โคลน วอร์ส เธอเป็นพาดาวันและผู้บัญชาการของกองพันที่ 501 ของกองทัพแห่งสาธารณรัฐและเรียนรู้วิธีแห่งเจไดในฐานะลูกศิษย์ของอนาคินอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองได้พัฒนาความใกล้ชิดโดยในบางครั้งแบกรับความเสี่ยงเพื่อปกป้องหรือช่วยเหลืออีกคน บางการกระทำของอนาคินที่ทำด้วยความเป็นห่วงอาโซกานั้นเปิดเผยถึงแนวโน้มที่จะเข้าสู่ด้านมือของเขา เช่น การทรมานนักโทษที่อาจรู้ตำแหน่งของเธอหลังจากที่เธอหายไป[ 31] ในขณะที่ร่วมปฏิบัติงานกับอาจารย์ของตน อาโซกาได้เข้าช่วยเหลืออาจารย์เจไดโพล คูน และทหารในสังกัดระหว่างยุทธการโบธาวุย ต่อมาอาโซกาจะได้ต่อสู้กับนายพลกรีวัส และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ในเนบิวลากาลีดา นอกจากนี้อาโซกายังได้รับคำปรึกษาจากกัปตันเร็กซ์ โคลนทรูปเปอร์ซึ่งเธอและอนาคินร่วมงานด้วยตลอดระยะเวลาของสงคราม ในโครงเรื่องสุดท้ายของซีซันห้า อาโซกาถูกจัดฉากและติดคุกในฐานลอบวางระเบิดและฆาตกรรมซึ่งทั้งสองอย่างนี้นั้นก่อโดยเพื่อของเธอ แบริส ออฟฟี ถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดเธอจะพ้นผิด เธอรู้สึกผิดหวังกับสภาเจไดและออกจากนิกายเจไดไปในตอนสุดท้ายของซีซันห้า[ 32] การถอนตัวจากนิกายของเธอจึงทำให้อนาคินยังคงติดอยู่ที่สถานะอัศวินเจไดโดยไม่ได้เลื่อนขั้นเป็นอาจารย์เจได
ฟิโลนีกล่าวว่าแนวคิดแรกของตอนจบของ เดอะ โคลน วอร์ส จะมีเร็กซ์ซึ่งหนีจากคำสั่งที่ 66 และการมีอยู่ของเขาและอาโซกา ณ สถานที่อื่นนั้นจะสามารถอธิบายการหายไปของตัวละครทั้งสองใน ซิธชำระแค้น ได้[ 14] อาโซกากลับมาในซีซันที่เจ็ดซึ่งเป็นซีซีนสุดท้ายของ เดอะ โคลน วอร์ส โดยเธอเป็นจุดโฟกัสในสองจากสามโครงเรื่องที่มีในซีซันนี้ซึ่งฉายในปี ค.ศ. 2020 บนดิสนีย์+ [ 33] ในสี่ตอนสุดท้ายซึ่งดำเนินเหตุการณ์พร้อมกันกับ ซิธชำระแค้น นั้น ได้เห็นอาโซกากลับมารวมกลุ่มกับอนาคินและโอบีวันชั่วขณะหนึ่งก่อนที่พวกเขาจะเดินทางไปดาวคอรัสซังเพื่อช่วยสมุหนายกพัลพาทีน ผู้เป็นซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียสยสอย่างลับ ๆ ก่อนเดินทางไปดาวแมนดาลอร์นั้น เร็กซ์ได้รับการเลื่อนขั้นเป็นผู้บัญชาการของกองร้อยที่ 332 (แบ่งออกมาจากกองพันที่ 501) และมีอาโซกาเป็นที่ปรึกษา เพื่อจับกุมตัวอดีตซิธลอร์ด มอล ในระหว่างการล้อมแมนดาลอร์ อาโซกาเผชิญหน้ามอลโดยเขาเปิดเผยแผนของซิเดียสยสที่ต้องการจะแต่งตั้งให้อนาคินเป็นลูกศิษย์คนใหม่ของเขาและเสนอที่จะร่วมแรงในการป้องการไม่ให้เกิดขึ้น แต่เธอไม่เชื่อเขา อาโซกาเอาชนะและจับกุมมอล แต่ในระหว่างทางไปดาวคอรัสซัง เธอรู้สึกได้ว่าอดีตอาจารย์ของเธอนั้นมีปัญหาแต่ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าเขาได้ตกสู่ด้านมืด ในตอนที่มีการออกคำสั่งที่ 66 โคลนทรูปเปอร์ของอนาคินรวมถึงเร็กซ์หักหลังให้เธอ แต่เธอหนีมาได้และสามารถที่จะนำชิพที่ควบคุมสมองของเร็กซ์ออกไปได้ รวมถึงปล่อยมอลออกมาเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ อาโซกาและเร็กซ์สามารถหนีออกจากยานพิฆาตดารา วีเนเตอร์ -คลาส ที่พบเขาอยู่ก่อนที่จะตกลงบนดวงจันทร์ขนาดเล็กซึ่งพวกเขาฝังโคลนทรูปเปอร์ทุกนายที่ตายไป อาซาโกยังทิ้งหนึ่งในกระบี่แสงของเธอก่อนที่จะแยกทางกับเร็กซ์ ฉากสุดท้ายบรรยายภาพดาร์ธ เวเดอร์นำทีมสำรวมไปบนดวงจันทร์และเดินไปยังเศษซากของยาน เขาสังเกตเห็นกระบี่ของอาโวกาตกอยู่บนพื้น เขาหยิบขึ้นมาและเปิดกระบี่แสงนั้น ก่อนที่จะจากไปพร้อมกับกระบี่แสงด้วยความเงียบสงัด
เรเบลส์ (ค.ศ. 2014–2018)
อาโซกาเป็นสายลับของกบฏ ในซีซันแรกของ สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ ซึ่งดำเนินเรื่อง 14 ปีหลังเหตุการณ์ใน เดอะ โคลน วอร์ส สิ้นสุดลง[ 34] เธอปฏิบัติการภายใต้โค้ดเนม "ฟัลครัม" โดยเธอให้ข้อมูลและเสบียงแก่ลูกเรือกบฏของยานโกสต์ ในขณะที่ปลอมแปลงโดยใช้เสียงดัดและปรากฏตัวในรูปแบบของโฮโลแกรมที่ใส่สวมหมวกคลุม ตัวตนของเธอนั้นถูกเปิดเผยในตอนสุดท้ายของซีซัน
เธอกลายเป็นตัวละครสมทบในซีซันสอง โดยให้ความช่วยเหลือในการนำกลุ่มกองกำลังกบฏและทำงานร่วมกับลูกเรือยานโกสต์ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นเจไดอย่างเอซรา บริดเจอร์ และเคนัน จาร์รัส ด้วยการที่เธอคาดว่าอนาคินตายไปแล้วเหมือนกับเจไดคนอื่น ๆ ในตอนจบของสงครามโคลน เธอรู้สึกหวาดกลัวเมื่อได้สังเกตเห็นที่ปรึกษาของเธอภายใต้ "ชั้นของความเกลียดชัง" ในตัวของดาร์ธ เวเดอร์[ 14] ในตอนหลัง ๆ ของซีซัน เธอมีนิมิตว่าอนาคินโทษเธอเรื่องที่เธอทิ้งเขาไปและทำให้เขาตกสู่ด้านมืด ในตอนจบของซีซัน อาโซกาสู้กับดาร์ธ เวเดอร์ในวิหารซิธ บนดาวมาลอคอร์ซึ่งเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ของเธอบนยานโกสต์ หนีจากการพังทลายลงของวิหารได้ ในตอนจบของตอน ดาร์ธ เวเดอร์สามารถออกจากวิหารได้พร้อมอาการบาดเจ็บ โดยเขาถูกมองโดยนกฮูกสีขาวเขียวซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเพื่อนคู่ใจของอาโซกาในรายการและเป็นอวตารของพระธิดาแห่งมอร์ทิส และบินกลับเขาไปในวิหารเพื่อเฝ้าดูอาโซกาที่ดูเหมือนจะเดินลึกเข้าไปในวิหาร ฟิโลนีกล่าวว่าชะตาของอาโซกานั้นไม่เป็นที่ชัดเจนและเป็น "ปลายเปิดเล็กน้อย" แต่กระนั้น เอกสไตน์เชื่อว่าตัวละครนี้ยังมีชีวิตอยู่[ 8] [ 35] [ 36] [ 37]
ในซีซันสี่ ตอน "A World Between Worlds" ชะตาของอาโซกานั้นถูกเปิดเผยในที่สุด เอซราซึ่งได้มายังดินแดน "ระหว่างโลกต่าง ๆ และเวลา" ภายในวิหารเจไดบนดาวโลธาลและถูกนำโดยเพื่อนนกฮูกคู่ใจของอาโซกา มอไร ดึงเธอออกมาจากจังหวะก่อนที่เวเดอร์จะฟันเธอและจึงเปลี่ยนชะตาของเธอ อาโซกาได้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกเรือยานโกสต์ และพยายามโน้มน้าวเอซราไม่ให้เปลี่ยนชะตะกรรมของเคนันเพราะเขานั้นเสี่ยงที่จะเสียชีวิตของตนเองไป จักรพรรดิพัลพาทีน/ดาร์ธ ซิเดียสยสจึงปรากฏตัวออกมา ในตอนที่เขาพยายามบังคับเอซราให้พาเขาเข้าไปยังดินแดนนี้โดยใช้เวทของซิท อาโซกาช่วยเอซราหนีออกไปพร้อมกับกลับ (พร้อมมอไร) ไปยังเส้นเวลาของเธอในจังหวะหลังจากวิหารซิธถล่มลง โดยสัญญาว่าจะหาเอซราและลูกเรือนั้นอีกครั้ง อาโซกากลับมาปรากฏตัวในบทส่งท้ายของตอนจบซีรีส์ "Family Reunion and Farewell" โดยกลับมายังดาวโลธาลหลังเหตุการณ์ยุทธการเอนดอร์ เพื่อร่วมมือกับซาบีน เวร็น ในการตามหาเอซราผู้หายตัวไปในช่วงการปลดปล่อยโลธาล
เทลส์ออฟเดอะเจได (ค.ศ. 2022)
อาโซกาปรากฏตัวในสามตอนของแอนิเมชันชุด เทลส์ออฟเดอะเจได : หนึ่งตอนบรรยายถึงการเกิดของเธอและชีวิตของเธอในวัยเด็ก, หนึ่งตอนแสดงถึงเธอที่เป็นพาดาวันภายใต้อนาคิน สกายวอล์คเกอร์, และหนึ่งตอนที่ดัดแปลงเรื่องมาจากเหตุการณ์ในนวนิยาย ค.ศ. 2016 เรื่อง อาโซกา ที่แสดงถึงชีวิตเธอหลังจากคำสั่งที่ 66 และก่อน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์
โดยในตอนสุดท้ายที่กล่าวถึงไปนั้น อาโซกายังคงใช้กระบี่แสงคู่เป็นอาวุธ แต่กระบี่แสงนั้นมีใบดาบสีขาวเนื่องจากคริสตัลที่เธอใช้สร้างนั้นมาจากการที่เธอเอาชนะอินควิซิเตอร์ได้แล้วนำเอาคริสตัลสีแดงมาชำระด้วยพลังด้านสว่าง นอกจากนี้กระบี่แสงของเธอยังมีด้ามโค้ง โดยมีใบดาบขนาดยาวและสั้น อย่างละเล่ม ทำให้สามารถโจมตีได้หลากหลายมุม และแม้ว่าเธอจะยังคงใช้พลังและกระบี่แสง แต่เธอไม่เคยประกาศตัวว่าเป็นเจได
ละครชุดคนแสดง
โรซาริโอ ดอว์สัน เป็น อาโซกา ทาโน ใน เดอะแมนดาลอเรียน ซึงเป็นการปรากฏตัวในรูปแบบคนแสดงเป็นครั้งแรกของตัวละครนี้
โรซาริโอ ดอว์สัน แสดงความสนใจในการแสดงเป็นอาโซกา ทาโน ในต้นปี ค.ศ. 2017 พร้อมกับความสนับสนุนโดยแฟน ๆ[ 38] [ 39] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 มีการรายงานว่าดอว์สันจะมีการปรากฏตัวเป็นตัวละครนี้ในซีซัน 2 ของละครชุดของดิสนีย์+ เดอะแมนดาลอเรียน [ 39] อาโซกาปรากฏตัวในตอน "Chapter 13: The Jedi " ซึ่งเป็นตอนที่ห้าของซีซันสอง[ 40] ดอว์สันกลับมารับบทเป็นอาโซกาในตอน "Chapter 6: From the Desert Comes a Stranger " ของ คัมภีร์แห่งโบบ้า เฟตต์ [ 41]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ลูคัสฟิล์มประกาศว่าอาโซกาจะมีละครชุดของเธอเองซึ่งจะมีเพียงซีซันเดียวบนดิสนีย์+ ชื่อว่า อาโซกา โดยละครชุดนี้ได้รับการพัฒนาโดยจอน แฟฟโรว์และเดฟ ฟิโลนี[ 42] โดยดำเนินเรื่องพร้อม ๆ กับ เดอะแมนดาลอเรียน และ คัมภีร์แห่งโบบ้า เฟตต์ ผ่านเรื่องราวที่เชื่อมต่อกันโดยรวมเป็น "เหตุการณ์เรื่องราวที่สำคัญ"[ 42] [ 43] ดอว์สันกลับมารับบทเป็นอาโซกา ทาโนในปี ค.ศ. 2023[ 43] [ 44]
เดอะแมนดาลอเรียน (ค.ศ. 2020)
ในระหว่างที่เธอตามหา จอมพลธรอว์น เธอพยายามที่จะปลดปล่อยเมืองแห่งคาลิดานบนดาวคอร์วัสจากการครอบครองของจักรวรรดิและพบกับตัวละครที่โด่งดัง ผู้ที่โบ-คาทาน ครีซ บอกให้มาตามหาเธอ เพื่อให้เธอสามารถฝึก "เด็กทารก " ได้ ในระหว่างที่สื่อสารกับเขาผ่านพลัง เธอได้เรียนรู้ว่าชื่อของทารกนี้คือโกรกู และเขาถูกเลี้ยงดูในวิหารเจไดบนดาวคอรัสซังก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือในช่วงการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ และซ่อนเขาเพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงปิดกั้นพลัง ด้วยรู้ถึงความกลัวในตัวโกรกู และความเกี่ยวพันธ์ที่ลึกซึ่งต่อแมนดาลอเรียน อาโซกาปฏิเสธที่จะรับเขาเป็นลูกศิษย์โดยกลัวว่าโกรกูสามารถตามรอยด้านมืดแบบอดีตอาจารย์ของเธอ หลังจากที่แมนดาลอเรียนช่วยปลดปล่อยเมืองคาลิดาน อาโซกาบอกเขาให้พาโกรกูไปยังวิหารเจไดบนดาวไทธอน ที่ซึ่งเขาอาจจะสามารถที่จะเชื่อมถึงเจไดอีกคนผ่านพลังได้
คัมภีร์แห่งโบบ้า เฟตต์ (ค.ศ. 2022)
ในระหว่างที่ไปเยี่ยมโรงเรียนเจไดของลุค สกายวอล์คเกอร์ ซึ่งเป็นที่ที่โกรกูเริ่มการฝึกเจไดของเขา อาโซกาได้พบกับแมนดาลอเรียนผู้มาเยี่ยมโกรกูและมอบของขวัญให้เขา ซึ่งคือชุดเกราะโซ่ถักที่ทำจากเบสการ์ที่ตีโดยช่างตีเกราะ อาโซกาแนะนำไม่ให้แมนดาลอเรียนพบกันโกรกูด้วยเหตุที่ว่าอาจจะทำให้การฝึกของเขานั้นช้าลงเพราะกฏที่เข้มงวดของเจไดที่ห้ามมีความผูกพันส่วนตัว แมนดาลอเรียนก็ทำตามคำแนะนำของอาโซกาอย่างไม่เต็มใจ โดยอาโซกาเสนอที่จะมอบของขวัญแทนเขา หลังจากแมนดาลอเรียนจากไป อาโซกามอบชุดเกราะโซ่ถักให้กับลุคผู้กล่าวว่าเขาไม่แน่ใจว่าโกรกูจะเต็มที่ให้กับวิถีแห่งเจไดหรือไม่และไม่แน่ใจว่าเขาจะรับมือกับข้อเท็จจริงอย่างไร อาโซกาบอกลุคว่าลักษณะนั้นของเขานั้นคลับคล้ายคลับคลากับพ่อของเขาในช่วงที่เธอเป็นลูกศิษย์ของเขาและแนะนำเขาให้ตามสัญชาตญานของเขาในประเด็นนั้นก่อนที่เธอจะออกจากดาวไป
อาโซกา (ค.ศ. 2023)
ดอว์สันกลับมารับบทในละครชุด อาโซกา ซึ่งเป็นภาคแยกของเดอะแมนดาลอเรียน และเนื้อเรื่องหลักจะโฟกัสที่ภารกิจของอาโซกาในการตามหาจอมพลธรอว์น และเอซรา บริดเจอร์ โดยครั้งนี้เธอทำภารกิจไปพร้อมกับซาบีน เวร็น (แสดงโดย นาตาชา ลิว บอร์ดิซโซ ), เฮรา ซินดูลลา (แสดงโดย แมรี อลิซาเบ็ธ วินเสต็ด ) และฮูแยง (ให้เสียงโดย เดวิด เทนนันต์ ) และในภาคนี้อาโซกาได้ฝึกสอนซาบีนในวิถีของเจได เพื่อให้เธอสามารถใช้กระบี่แสงที่เอซร่ามอบไว้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งซาบีนสามารถใช้พลังได้ และกลายเป็นเจไดในที่สุด โดยซาบีนนับเป็นชาวแมนดาลอเรี่ยนคนที่ 2 ที่ได้เป็นเจได ต่อจาก ทาร์ วิสล่า ในอดีต
สื่ออื่น ๆ
ฟิโลนีกล่าวว่าเขาไม่ต้องการให้คนคิดว่าอาโซกาเป็นเพียงตัวละครแอนิเมชัน แต่ต้องการให้เธอเป็นตัวละคร สตาร์ วอร์ส ที่โผล่ได้ใน "ทุกรูปแบบของสื่อ"[ 8]
อาโซกาปรากฏตัวในแอนิเมชันชุดบนเว็บไซต์ สตาร์ วอร์ส ฟอซส์ออฟเดสตินี ,[ 45] ในตอน Touching Darkness ของแฟนคอมิก สตาร๋ วอร์ส: เทลส์ฟรอมฟาร์, ฟาร์, อเวย์,[ 46] และในรูปแบบของสะสม ที่เป็นตัวละครในวิดีโอเกม ดิสนีย์ อินฟินิตี้ 3.0 [ 47]
ในงาน Star Wars Celebration ยุโรป ปี ค.ศ. 2016 ฟิโลนี, เอกสไตน์, และหนึ่งในสมาชิกของลูคัสฟิล์มสตอรีกรุ๊ป พาโบล ไฮดาลโก เป็นผู้จัดแผงเกี่ยวกับ "เรื่องราวที่ยังไม่ถูกกล่าว" ของอาโซกา ที่เกิดขึ้นระหว่าง เดอะ โคลน วอร์ส และ เรเบลส์[ 8]
อาโซกา (ค.ศ. 2016)
สตาร์ วอร์ส: อาโซกา เป็นนวนิยายสำหรับวัยรุ่น โดย อี. เค. จอห์นสตัน ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 นวนิยายนี้ดำเนินเรื่องระหว่างเหตุการณ์ของ เดอะ โคลน วอร์ส และ เรเบลส์ โดยมีการอ้างถึง "เรื่องราวที่ยังไม่ถูกกล่าว" หลายเรื่องของอาโซกาซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ถูกนำมาดัดแปลงในซีซันเจ็ดของ เดอะ โคลน วอร์ส[ 8] [ 48] ฟิโลนีเกี่ยวข้องในการพัฒนานวนิยายเป็นอย่างมากและภาพวาดปกโดย เจสัน พี. วอจโทวิกซ์ นั้นมีได้รูปแบบมาจากภาพสเกตช์ของฟิโลนีที่ทำขึ้นมาก่อนหน้านั้นหลายปี[ 8] เอกสไตน์ให้เสียงบรรยายฉบับหนังสือเสียง[ 49] นวนิยายนี้อยู่บนรายชื่อขายดีของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ และเป็นอันดับหนึ่งในหมวดหนังสือปกแข็งสำหรับวัยรุ่นไม่นานหลังจากการวางขาย[ 50] ถึงแม้ว่าซีซันเจ็ดของ เดอะ โคลน วอร์ส จะเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบหลาย ๆ ส่วนที่มาจากนวนิยายก็ตาม แต่นวนิยายนี้ก็ยังถือว่าเป็นฉบับแท้ เป็นส่วนใหญ่ และในท้ายที่สุดนั้นเหตุการณ์ในนวนิยายนี้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นตอน "Resolve" ซึ่งเป็นตอนจบของซีซันแรกของ เทลส์ออฟเดอะเจได
การตอบรับของนักวิจารณ์
หลังจากการแนะนำตัวละครของเธอ บางสื่อวิจารณ์บอกว่าอาโซกาน่ารำคาญและคาดไว้ว่าตัวละครของเธอจะตายก่อนแอนิเมชันชุด เดอะ โคลน วอร์ส จะจบเพราะเธอไม่ได้ปรากฏตัวใน ซิธชำระแค้น[ 31] [ 51] เดอะลอสแองเจลิสไทมส์ กล่าวว่าอาโซกานั้นเป็นตัวละครที่ "ถูกคำนวณไว้อย่างพิถีพิถันว่าจะน่ารัก" ในภาพยนตร์ สงครามโคลน [ 52] Wired วิจารณ์ลักษณะ "โป๊ครึ่งตัว" ของอาโซกาในสองซีซันแรกของ เดอะ โคลน วอร์ส โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนชุดของเธอในซีซันสามนั้น "ค่อยเหมาะสม"[ 25] Blastr กล่าวว่าความไม่โตของอาโซกาในตอนแรกนั้นทำให้ตัวละครนี้มีพื้นที่ให้โตและบอกว่าเธอจะกลายเป็น "ตัวละครที่ตีแผ่ออกมาดีและซับซ้อนในทุกสัมผัส"[ 51] ความเด็กของอาโซกานั้นช่วยให้เธอเป็นตัวละครที่เป็นมุมมองของผู้รับชมที่อายุน้อย[ 31] io9 กล่าวว่าโครงเรื่องที่พัฒนาตัวละครอาโซกานั้นเป็นแง่มุมที่ดีที่สุดของ เดอะ โคลน วอร์ส โดยเจาะจงถึงบทบาทของตัวละครในการสำรวจความปั่นป่วนของสงครามและความบกพร่องในนิกายเจได[ 31] เทคไทมส์ กล่าวว่าการโตเป็นผู้ใหญ่และพัฒนาการของอาโซกานั้นสะท้อนถึงพัฒนาการของรายการ และเหล่าผู้สร้างเลือกอย่างประณีตในการทำให้อาโซกาเป็น "จุดเข้า" เดอะ โคลน วอร์ส ของผู้รับชม[ 53] คริสต์ เทเลอร์กล่าวว่าการตัดสินใจให้อาโซกาออกจากนิกายเจไดนั้นเป็น "ฉากที่น่าตื่นเต้นและคาดเดาไม่ได้มากที่สุดของรายการ"[ 4] แอชลีย์ เอกสไตล์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล "งานแสดงนำเสียงหญิงยอดเยี่ยมในซีรีส์โทรทัศน์ – โลดโผน/ดรามา" จากบีวีทีเอ ประจำปี ค.ศ. 2012 และ 2013[ 54] [ 55]
เดอะแมรีซู กล่าวว่าความสัมพันธ์ของอาโซกาและอนาคินนั้นจำเป็นต่อการเข้าใจพัฒนาการของเขาระหว่าง กองทัพโคลนส์จู่โจม และ ซิธชำระแค้น และสำนักพิมพ์นี้ยังบอกอีกว่าอาโซกาเป็นสิ่งขัดเกลาให้อนาคินเติบโต[ 56] Blastr ออกความเห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างอนาคินและอาโซกาช่วยแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นเจไดที่แข็งแกร่งและเป็นฮีโร่ในสงคราม นอกจากนี้ Blastr ยังตั้งสมมติฐานว่าความรู้สึกผิดหวังของอนาคินต่อการที่อาโซกาจากนิกายเจไดไปนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาตกสู่ด้านมืด[ 51] io9 บอกว่าอนาคินอาจจะปฏิรูปนิกายเจไดสำเร็จหากอาโซกายังอยู่กับเขา[ 31] io9 กล่าวว่าอาโซกาเป็นผู้ชี้แนะแนวทางทางศีลธรรมใน เดอะ โคลน วอร์ส โดยมากกว่าอนาคินด้วยซ้ำ[ 31]
Blastr ระบุไว้ว่าอาโซกาเป็นหนึ่งในตัวละครที่สำคัญใน สตาร์ วอร์ส โดยเฉพาะสำหรับเด็กผู้หญิงผู้ที่ ณ ขณะนั้น ไม่เคยเห็นเจไดหญิงที่มีความสามารถเพียงพอเฉิดฉายบนโทรทัศน์[ 51] เอริกา เทรวิสจาก California Baptist University กล่าวว่าอาโซกานั้น "มีความเห็นอกเห็นใจและมีความเป็นผู้หญิง แต่ไม่ถูกนำมาตีความทางเพศมากเกินไป"[ 57] มารา วูดบอกว่าอาโซกานั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งสตรี และเพิ่มเติมว่าอาโซกาเป็นหนึ่งในหลายตัวละครที่ทำให้ เดอะ โคลน วอร์ส นั้นดีกว่าไตรภาคเดิมและไตรภาคต้นในการแสดงถึงหญิงแกร่ง[ 58] วูดเพิ่มเติมว่าอาโซกาคงเป็นผู้หญิงแสดงถึงการเติบโตมากที่สุดในฉบับแท้ของสตาร์ วอร์ส[ 58]
หมายเหตุ
↑ ตามฟิโลนีกล่าว "ผมคิดว่ามันเป็นชื่อที่ตั้งให้หนึ่งใน [เจไดเด็ก ] ใน กองทัพโคลนส์จู่โจม ซึ่งเป็นเด็กหญิงชาวโทกรูตาด้วย เราจึงใช้ไอเดียจากตรงนั้นว่า..ตัวละครเดียวกัน [แต่] เธอยังเด็กเกินไปสำหรับภาพยนตร์"
[ 6]
อ้างอิง
↑ Patches, Matt (April 28, 2020). "See Ray Park back in action for Darth Maul's last big Clone Wars saber fight" . Polygon . สืบค้นเมื่อ November 21, 2020 .
↑ "Explore Ahsoka Tano's Transformation in Star Wars: The Mandalorian: Guide to Season Two - Exclusive Excerpt" . StarWars.com . October 11, 2022.
↑ TV Guide Article August 11, 2008
↑ 4.0 4.1 Taylor, Chris (2014). How Star Wars Conquered the Universe: The Past, Present, and Future of a Multibillion Dollar Franchise (eBook). Basic Books . pp. 377, 380. OCLC 889674238 .
↑ "Legends of the Lasat Trivia Gallery" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Breznican, Anthony (24 April 2020). "Ahsoka Tano—A Star Wars Oral History" . Vanity Fair . สืบค้นเมื่อ 27 April 2020 .
↑ Gilroy, Henry (17 กรกฎาคม 2018). "Henry Gilroy on Twitter" . Twitter.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2019 . When we met with George to discuss the [series] bible, he changed Anakin's Padawan from "Ashla" to "Ashoka", after the Indian emperor of the Maurya Dynasty. I later tweaked it to "Ahsoka" to make her unique.
↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 "Ahsoka's Untold Tales Panel | Star Wars Celebration Europe 2016" . YouTube . July 15, 2016. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ July 15, 2016 .
↑ Minkel, JR (August 11, 2008). "When Clones Attack: Q&A with Clone Wars Director David Filoni" . Scientific American . Springer Nature . สืบค้นเมื่อ May 26, 2016 .
↑ Dave Filoni Speaks at the National Center for Women & Information Technology . May 24, 2016. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11m, 38 s. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ May 26, 2016 .
↑ Dave Filoni Speaks at the National Center for Women & Information Technology . May 24, 2016. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11m, 38 s. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ May 26, 2016 .
↑ 12.0 12.1 "Ashley Eckstein and Dave Filoni Interview | Star Wars Celebration Europe 2016" . YouTube . July 15, 2016. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21. สืบค้นเมื่อ July 15, 2016 .
↑ Goldman, Eric (26 August 2016). "Star Wars Rebels Blu-ray Clip Explores the Darth Vader vs. Ahsoka Tano Duel" . IGN . สืบค้นเมื่อ 27 January 2024 .
↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 Brooks, Dan (August 30, 2016). "Fates Fulfilled: Dave Filoni Reflects on Star Wars Rebels Season Two, Part 1" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ September 16, 2016 .
↑ Whitbrook, James (September 14, 2016). "The Art That Inspired Ahsoka and Darth Vader's Epic Duel in Star Wars Rebels" . io9.com . Univision Communications . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016 .
↑ 16.0 16.1 16.2 Brooks, Dan (March 30, 2016). "From The Clone Wars to Rebels: Ashley Eckstein on Ahsoka Tano's Journey" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ 17.0 17.1 Brooks, Dan (March 5, 2015). "Interview: Dave Filoni on Star Wars Rebels, Part 3" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 19, 2016 .
↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 Brooks, Dan (March 5, 2015). "Interview: Dave Filoni on Star Wars Rebels, Part 3" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 19, 2016 .
↑ 19.0 19.1 "Rebels Recon: Inside "Fire Across the Galaxy" - Star Wars Rebels" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 19, 2016 .
↑ 20.0 20.1 20.2 Brooks, Dan (August 30, 2016). "Fates Fulfilled: Dave Filoni Reflects on Star Wars Rebels Season Two, Part 1" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ September 16, 2016 .
↑ 21.0 21.1 Truitt, Brian (March 3, 2015). "A Jedi returns in 'Star Wars Rebels' finale" . USA Today . Gannett Company . สืบค้นเมื่อ May 19, 2016 .
↑ Gross, Ed (September 30, 2016). "Star Wars: Dave Filoni talks Rebels as well as Rogue One connections" . Empire Online . Bauer Consumer Media . สืบค้นเมื่อ October 10, 2016 .
↑ Parrish, Robin (June 19, 2015). "Ahsoka Tano Returns: Ashley Eckstein Talks 'Star Wars Rebels' Season 2" . Tech Times . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ 24.0 24.1 24.2 Parrish, Robin (June 19, 2015). "Ahsoka Tano Returns: Ashley Eckstein Talks 'Star Wars Rebels' Season 2" . Tech Times . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ 25.0 25.1 25.2 Thill, Scott (November 16, 2010). "Jedi Cover-Up: Clone Wars' Ahsoka Gets Less-Revealing Costume" . Wired . Condé Nast . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Keane, Sean (April 14, 2019). "Star Wars: The Clone Wars season 7 trailer, Siege of Mandalore reveals Ahsoka, Anakin, Maul and the Bad Batch will be the focus of the upcoming Disney Plus season" . CNET . สืบค้นเมื่อ December 4, 2020 .
↑ 27.0 27.1 Vargas, Alani (December 25, 2019). "Star Wars: The Clone Wars season 7 trailer, Siege of Mandalore reveals Ahsoka, Anakin, Maul and the Bad Batch will be the focus of the upcoming Disney Plus season" . Showbiz Cheat Sheet . สืบค้นเมื่อ December 4, 2020 .
↑ Anders, Charlie Jane (July 29, 2008). "Clone Wars' Baby Jedi Scampers Like A Cartoon Animal" . io9 . Gizmodo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-15. สืบค้นเมื่อ September 17, 2019 .
↑ 29.0 29.1 "Ahsoka Tano" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Warner, Sam (8 April 2020). "Star Wars' Ahsoka Tano actor discusses Rise of Skywalker cameo" . Digital Spy . สืบค้นเมื่อ 27 April 2020 .
↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 31.4 31.5 Davis, Lauren (December 16, 2015). "Why Ahsoka Tano Is the Best Thing to Happen to Star Wars in 20 Years" . io9 . Gawker Media . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Eckstein, Ashley (March 6, 2013). "E-Mails Between Master & Padawan About Ahsoka's Decision" . StarWars.com . Lucasfilm . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Breznican, Anthony (January 3, 2019). "Here are all the 'Star Wars' projects coming in 2019" . EW.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 25, 2019 .
↑ Fowler, Matt (October 2, 2014). "Everything You Need To Know About Star Wars Rebels" . IGN . Ziff Davis . สืบค้นเมื่อ August 25, 2016 .
↑ Goldman, Eric (April 30, 2016). "Star Wars Rebels: Dave Filoni on Ahsoka's Fate, Maul's Return and Much More" . IGN . Ziff Davis . สืบค้นเมื่อ May 19, 2016 .
↑ Dickson, Kieran (April 8, 2016). "Star Wars Rebels: Ashley Eckstein Reveals Her Theory on Ahsoka's Fate" . Outer Places . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 12, 2016. สืบค้นเมื่อ May 19, 2016 .
↑ Siegel, Lucas (January 8, 2017). "Star Wars: Ahsoka Tano Actress Ashley Eckstein Teases a Future for the Character" . Comicbook . สืบค้นเมื่อ February 25, 2017 .
↑ Wood, Matt (April 21, 2017). "Star Wars: Watch Rosario Dawson Campaign To Play Ahsoka In Live-Action" . Cinema Blend . สืบค้นเมื่อ April 21, 2017 .
↑ 39.0 39.1 Sciretta, Peter (March 20, 2020). "Star Wars Exclusive: 'The Mandalorian' Season 2 Casts Rosario Dawson as Ahsoka Tano" . /Film . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2020. สืบค้นเมื่อ March 20, 2020 .
↑ "The Mandalorian season 2 episode 5 review: Ahsoka lives!" . Radio Times . November 27, 2020. สืบค้นเมื่อ November 27, 2020 .
↑ Hunt, James (February 2, 2022). "Who Plays Cad Bane In The Book Of Boba Fett" . Screen Rant . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2022. สืบค้นเมื่อ February 2, 2022 .
↑ 42.0 42.1 Anderton, Ethan (December 10, 2020). "Lucasfilm Announces 'The Mandalorian' Spin-Offs 'Ahsoka' and 'Rangers of the New Republic' " . /Film . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 11, 2020. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020 .
↑ 43.0 43.1 Gartenberg, Chaim (December 10, 2020). "Disney Plus is getting two new Mandalorian spinoffs: Rangers of the New Republic and Ahsoka" . The Verge . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2020. สืบค้นเมื่อ December 10, 2020 .
↑ "Lucasfilm Confirms 'Ahsoka' To Release on Disney+ in 2023" . Disney Plus Informer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-05-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-11 .
↑ Breznican, Anthony (April 13, 2017). "Star Wars highlights female heroes in Forces of Destiny — first look" . Entertainment Weekly . สืบค้นเมื่อ April 13, 2017 .
↑ Moreci, Sevy, Michael, Phillip (2016). Star Wars: Tales From The Far, Far, Away — "Touching Darkness" .
↑ Robertson, Andy (May 8, 2015). "Everything We Know About 'Disney Infinity 3.0' 'Star Wars' " . Forbes . สืบค้นเมื่อ March 22, 2020 .
↑ Ratcliffe, Amy (มีนาคม 31, 2016). "New Star Wars Novel Featuring Ahsoka Tano Announced (Exclusive)" . Nerdist . Nerdist Industries . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ พฤษภาคม 13, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 19, 2016 .
↑ Floyd, James (November 1, 2016). "Commentary Track: Behind the Scenes of Ahsoka with E.K. Johston" . StarWars.com . สืบค้นเมื่อ March 24, 2020 .
↑ Whitten, Sarah (4 May 2019). "The hottest ' Star Wars ' collectible is a character you've probably never heard of — Ahsoka Tano" . CNBC .
↑ 51.0 51.1 51.2 51.3 Granshaw, Lisa (March 31, 2016). "From Snips to Fulcrum: Why Ahsoka Tano is one of the most important characters ever created for Star Wars" . Blastr . Comcast . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ May 24, 2016. สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Ordona, Michael (August 15, 2008). "It's a weak Jedi mind trick". Los Angeles Times .
↑ Parrish, Robin (July 31, 2015). "Why 'Rebels' And 'The Clone Wars' Are The Best Star Wars Material In 30 Years" . Tech Times . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ "2012 BTVA Voice Acting Awards" . Behind The Voice Actors . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ "2013 BTVA Voice Acting Awards" . Behind The Voice Actors . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Chen, Mike (April 4, 2016). "How Ahsoka Tano Completed the Arc of Anakin Skywalker" . The Mary Sue . Dan Abrams . สืบค้นเมื่อ May 20, 2016 .
↑ Travis, Erika (2013). "From Bikinis to Blasters: The Role of Gender in the Star Wars Community". ใน Elovaara, Mika (บ.ก.). Fan Phenomena: Star Wars . Intellect Books. p. 52. ISBN 9781783200979 . OCLC 855504258 .
↑ 58.0 58.1 Lee, Peter W. (January 15, 2016). A Galaxy Here and Now: Historical and Cultural Readings of Star Wars . McFarland & Company . pp. 64, 74. ISBN 9781476662206 .
ดูเพิ่ม
สื่อ ตอน ตัวละคร
ตัวละครออริจินัล ตัวละครที่กลับมามีบทบาท
ที่เกี่ยวข้อง