บทความนี้เกี่ยวกับความขัดแย้งสมมติ สำหรับสื่อของ
สตาร์ วอร์ส ที่ตั้งชื่อจากความขัดแย้งนี้ ดูที่
สงครามโคลน
แฟนคอสเพลย์เป็น โคลนทรูปเปอร์ ผู้บัญชาการโคดี โคลนทรูปเปอร์เป็นทหารเดินเท้าหลักของสาธารณรัฐกาแลกติก ในช่วงสงครามโคลน
สงครามโคลน (อังกฤษ : Clone Wars ) เป็นความขัดแย้งสมมติต่อเนื่องในแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส ของ จอร์จ ลูคัส ถูกกล่าวถึงครั้งแรกสั้น ๆ ใน ภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส เรื่องแรก (ความหวังใหม่ , ค.ศ. 1977) แต่ตัวสงครามนั้นยังไม่ได้ปรากฏให้เห็น จนกระทั่งใน กองทัพโคลนส์จู่โจม (ค.ศ. 2002) และ ซิธชำระแค้น (ค.ศ. 2005) สงครามโคลนยังเป็นฉากหลังของ แอนิเมชันชุดสองมิติ (ค.ศ. 2003–2005), ภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ (ค.ศ. 2008) และ แอนิเมชันชุดสามมิติ (ค.ศ. 2008–2014, 2020) นอกจากนี้ก็ยังปรากฏในหนังสือและเกม สตาร์ วอร์ส อีกมากมาย
ภายในบริบทการบรรยายเรื่องของ สตาร์ วอร์ส สงครามโคลนเป็นสงครามที่ต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบดาวเคราะห์หลายพันดวงแยกตัวออกจาก สาธารณรัฐกาแลกติก และก่อตั้ง "สหภาพพิภพอิสระ " ซึ่งมักเรียกกันว่า "ฝ่ายแบ่งแยก " โดยสงครามกินเวลาทั้งหมดสามปี สาธารณรัฐใช้กองทัพของโคลนทรูปเปอร์ นำโดยนิกายเจได ต่อต้านหุ่นรบ ของฝ่ายแบ่งแยก ความขัดแย้งนี้เป็นแผนที่อยู่ภายใต้การบงการของ พัลพาทีน สมุหนายกของสาธารณรัฐ ซึ่งแท้จริงแล้วเขาเป็นซิธ ลอร์ด เขาแอบวางแผนที่มีมายาวนานของซิธ ในการกำจัดเจได ทั้งหมด และยึดครองกาแลกซี พัลพาทีนวางแผนนี้โดยการให้คำสั่งลับแก่โคลนทรูปเปอร์ ซึ่งรู้จักกันในนาม "คำสั่งที่ 66 " ซึ่งฝังอยู่ในสมองของพวกเขา ทำให้พวกเขามองเจไดเป็นผู้ทรยศและฆ่าพวกเขาในทันที เขาสามารถออกคำสั่งนี้ได้สำเร็จใน ซิธชำระแค้น นำไปสู่การตายของเจไดจำนวนมากทั่วกาแลกซี ทำให้พัลพาทีนได้อำนาจและในที่สุดเขาก็เปลี่ยนระบอบการปกครองจากประชาธิปไตยของสาธารณรัฐกาแลกติก มาเป็นเผด็จการของจักรวรรดิกาแลกติก ซึ่งปกครองโดยกลุ่มอุตสาหกรรมทหาร และปรากฏใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม
ลูคัสใช้การเรื่องราวของสงครามโคลนในการตอบคำถามเรื่องราวในไตรภาคเดิม เช่น จักรวรรดิกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไรและอนาคิน สกายวอร์คเกอร์กลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์ ได้อย่างไร เหตุการณ์ทางการเมืองและการทหารของสงครามโคลน ได้รับแรงบันดาลใจจากความขัดแย้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เช่น การเปลี่ยนผ่านจากสาธารณรัฐโรมัน เป็นจักรวรรดิโรมัน สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสอง รวมถึงเหตุการณ์ร่วมสมัย เช่น สงครามต่อต้านการก่อการร้าย และการบริหารของประธานาธิบดีบุช ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21
แนวคิดและการพัฒนา
การอ้างอิงครั้งแรกถึงสงครามโคลนนั้นปรากฏอยู่ในบทร่างที่สามของ ภาพยนตร์เรื่องแรก โดยผู้สร้าง สตาร์ วอร์ส จอร์จ ลูคัส ซึ่งกล่าวถึง "ไดอารี่ของสงครามโคลน" ของนายพลเคโนบี[ 1] สงครามถูกกล่าวถึงเพียงสั้น ๆ สองครั้ง ในเวอร์ชันสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ กล่าวถึง โอบีวัน เคโนบี ทำหน้าที่เป็นนายพลที่รับใช้พ่อของ เลอา ออร์กานา (ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีชื่อ) เบล ออร์กานา ในช่วงระหว่างความขัดแย้ง[ 2] ในระหว่างการเขียนบทร่างของ จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ (ค.ศ. 1980) ลูคัสตัดสินใจแนะนำตัวละครโคลนที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโคลน[ 3] ในบทร่างแรกของ ลีห์ แบรกเกตต์ ได้พัฒนาตัวละคร แลนโด คาลริสเซียน ให้เป็นโคลนจากดาวเคราะห์โคลนที่เกี่ยวข้องกับสงครามโคลนที่กล่าวถึงใน ความหวังใหม่ และเกือบจะสูญพันธุ์จากสงคราม[ 4] นอกจากนี้ โบบา เฟทท์ ก็เคยได้รับการพิจารณาให้เป็นโคลนที่มาจากกลุ่ม ช็อกทรูปเปอร์ ที่เกือบจะถูกเจไดกวาดล้างจนหมดในช่วงสงครามโคลน[ 5] อย่างไรก็ตาม แนวคิดเหล่านี้ไม่รวมอยู่ในเวอร์ชันสุดท้ายของภาพยนตร์ ลูคัสปกปิดรายละเอียดของสงครามโคลนมากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ของ สตาร์ วอร์ส [ 6] ถึงขนาดว่า ไม่ให้เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในผลิตภัณฑ์และหนังสือที่ได้รับอนุญาต[ 7]
ลูคัสได้กล่าวถึงการขึ้นมามีอำนาจของพัลพาทีน ว่าเหมือนกับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในนาซีเยอรมนี ; ในฐานะของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้รับ "อำนาจฉุกเฉิน " ดังเช่นพัลพาทีน[ 8] นอกจากนี้ ลูคัสยังกล่าวว่าหนึ่งในอิทธิพลหลักที่มีต่อพื้นหลังทางการเมืองของสงครามโคลน รวมถึง สตาร์ วอร์ส ทั้งหมดนั้น คือช่วงยุคสงครามเวียดนาม และคดีวอเตอร์เกต ซึ่งผู้นำโอบรับการทุจริตคอรัปชัน โดยคิดว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด[ 9] [ 10] ในปี ค.ศ. 2002 ลูคัสกล่าวว่า:
ประชาธิปไตยทั้งหมดนั้นกลายเป็นเผด็จการ—แต่ไม่ใช่จากรัฐประหาร ผู้คนต่างมอบประชาธิปไตยของพวกเขาให้กับผู้เผด็จการ ไม่ว่าจะเป็น จูเลียส ซีซาร์ หรือ นโปเลียน หรือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในท้ายที่สุด ประชากรส่วนใหญ่ก็ตามน้ำไปกับแนวคิดนั้น และอะไรล่ะที่สามารถผลักดันผู้คนและสถาบันต่าง ๆ ให้ไปในทิศทางนี้? นั่นแหละคือปัญหา ผมกำลังสำรวจถึง: สาธารณรัฐกลายเป็นจักรวรรดิได้อย่างไร? ... เพราะเหตุใดคนดีถึงกลายเป็นคนชั่ว และประชาธิปไตยกลายเป็นเผด็จการได้อย่างไร?[ 11]
หน่วยโคลนซึ่งโผล่มาในบทสรุปของ กองทัพโคลนส์จู่โจม นั้นประกอบด้วยกองทัพในรูปแบบดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดสำหรับภาพยนตร์ ณ ตอนนั้น[ 12] ลูคัสเสนอต่อศิลปินภาพแนวคิดว่า ซิธชำระแค้น จะเปิดตัวด้วยการรวมของเจ็ดยุทธการ บนเจ็ดดาวเคราะห์[ 13] หลังจากนั้น ลูคัสจึงจัดระเบียบโครงเรื่องใหม่ตั้งแต่รากฐาน;[ 14] แทนที่จะเปิดฉากภาพยนตร์ด้วยยุทธการต่าง ๆ ในสงครามโคลน ลูคัสตัดสินใจที่จะโฟกัสที่อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ [ 15] การหายไปของ "เจ็ดยุทธการ บนเจ็ดดาวเคราะห์" ทั้งส่วนนั้น ทำให้ลูคัสตัดสินใจที่จะเปิดตัวแอนิเมชันชุดผ่านซีจีทางโทรทัศน์ สงครามมนุษย์โคลน ; ลูคัสกล่าวว่าการ์ตูนนี้สามารถ "ทำได้ดีกว่า" ในเรื่องของการบรรยายความขัดแย้ง[ 16]
การบรรยาย
สงครามโคลนถูกบรรยายภาพเป็นครั้งแรกใน กองทัพโคลนส์จู่โจม ซึ่งเป็นการเปิดตัวที่นำไปสู่การจบลงของการปิดบังของลูคัส เรื่องสินค้าต่าง ๆ ที่ยึดตามยุคนั้น โดยนวนิยาย หนังสือการ์ตูน และวิดีโอเกมจำนวนมากนั้นได้รับการอนุมัติโดยลูคัสไลเซนซิง
ภาพยนตร์
สงครามโคลนถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกใน ความหวังใหม่ ในระหว่างที่โอบีวินอธิบายให้ลุคฟังว่าพ่อของเขาเคยสู้ในสงครามนี้ ซึ่งลุคแสดงท่าทีสงสัย สงครามนี้ถูกกล่าวถึงอีกครั้งโดยเลอาในข้อความของเธอที่บอกว่าโอบีวันรับใช้พ่อของเธอ ผู้ซึ่งภายหลังถูกระบุตัวว่าเป็นเบล ออร์กานา ในสงครามโคลน[ 2]
กองทัพโคลนส์จู่โจม ซึ่งดำเนินเรื่องในช่วงต้นของสงครามโคลน เปิดฉากด้วยความกังวลของสาธารณรัฐกาแลกติก เกี่ยวการการแยกตัวของระบบดาวนับพันระบบ เพื่อรวมตัวเป็นสหภาพพิภพอิสระ ซึ่งถูกนำอย่างเปิดเผยโดยเคานต์ดูกู สมุหนายกพัลพาทีนชักใยให้ จาร์ จาร์ บิงคส์ และสมาชิกวุฒิสภากาแลกติกคนอื่น ๆ มอบอำนาจฉุกเฉินให้แก่เขา ในตอนที่กำลังสืบสวนเรื่องการพยายามลอบสังการสมาชิกวุฒิสภา แพดเม่ อมิดาลา โอบีวันพบว่าดูกูสวมรอยเป็นปรมาจารย์เจไดซึ่งตายไปแล้ว เพื่อจัดการสร้างกองทัพโคลนในนามของสาธารณรัฐอย่างลับ ๆ โยดา นำกองทัพโคลนเพื่อช่วยเหลือโอบีวัน แพดเม่ และอนาคิน สกายวอร์คเกอร์จากฝ่ายแบ่งแยก บนดาวจีโอโนซิส และจึงเกิดเป็นยุทธการแรกของสงครามนี้ ณ บทสรุปของศึกนี้ โยดาประกาศว่า:"ได้เริ่มต้นขึ้น สงครามโคลนนั้น" ในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ อนาคิน และแพดเม่ได้แต่งงานกันอย่างลับ ๆ ขัดต่อคำสาบานของเจได[ 18]
ซิธชำระแค้น นั้นแสดงถึงช่วงสุดท้ายของสงครามโคลนซึ่งกินระยะเวลาถึงสามปี ที่ซึ่งโคลนทรูปเปอร์และนายพลเจไดของพวกเขาต่อสู้กับกองทัพดรอยด์ของฝ่ายแบ่งแยก หลังจากฆ่าดูกูและช่วยเหลือพัลพาทีนจากฝ่ายแบ่งแยกในระหว่างการโจมตีของฝ่ายแบ่งแยกบนดาวคอรัสซัง อนาคินได้เรียนรู้ว่าแพดเม่ตั้งครรภ์ เขารู้สึกทุกข์ใจหลังจากมีนิมิตว่าเธอตายในตอนคลอดลูก และพัลพาทันหลอกล่อให้อนาคินเข้าสู่ด้านมืดแห่งพลัง โดยการสัญญาว่าจะสอนเขาให้สามารถป้องการการตายก่อนเวลาอันควรของเธอได้ ในระหว่างนั้น โยดา ถูกส่งตัวไปที่ดาวคาชีค เพื่อไล่การรุกรานของฝ่ายแบ่งแยก และโอบีวันถูกส่งตัวไปที่ดาวยูทาเปา ที่ซึ่งเขาสังหารนายพลกรีวัส อนาคินค้นพบว่าพัลพาทีนเป็นซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียส แต่เขาปกป้องพัลพาทีนจากเมซ วินดู เพราะเขาต้องการความรู้จากซิเดียสในการช่วยแพดเม่ หลังจากซิเดียสสังหารวินดู ซิเดียสแต่งตั้งให้อนาคินเป็นลูกศิษย์คนใหม่ของเขา นามว่า ดาร์ธ เวเดอร์ ซีเดยสออกคำสั่งที่ 66 ให้แก่โคลนทรูปเปอร์ และโคลนเหล่านั้นสังหารนายพลเจไดทั่วทั้งกาแลกซี หลังจากนั้น ซิเดียสจึงส่งเวเดอร์ไปยังวิหารเจได พร้อมกับกลุ่มโคลนทรูปเปอร์เพื่อสังหารเจไดและพาดาวันที่เหลืออยู่ในวิหาร ก่อนที่จะส่งเวเดอร์ไปสังหารเหล่าผู้นำฝ่ายแบ่งแยกบนดาวมุสตาฟาร์ และออก "คำสั่งปิด" กองทัพดรอยด์ของพวกเขา ด้วยการตายของพวกเขานั้น ซิเดียสประกาศยุติสงครามโคลน และการปฏิรูปสาธารณรัฐเป็นจักรวรรดิกาแลกติก [ 19]
แอนิเมชัน
สงครามมนุษย์โคลน
แอนิเมชันชุดสองมิติ สงครามมนุษย์โคลน (ค.ศ. 2003–2005) บรรยายภาพยุทธการต่าง ๆ ในสงครามโคลน และตั้งใจให้เป็นสิ่งสร้างความสนใจใน ซิธชำระแค้น นอกจากนี้ แอนิเมชันชุดนี้ยังบรรยายภาพเหตุการณ์ที่นำไปสู่ยุทธการในฉากเปิดของ ซิธชำระแค้น และการที่พัลพาทีนถูกจับตัวโดยนายพลกรีวัส แอนิเมชันชุดนี้ถูกปล่อยในรูปแบบโฮมวิดีโอที่มีสองตอน
ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2014 นั้น แอนิเมชันชุดดั้งเดิม สงครามมนุษย์โคลน ไม่ถูกจัดอยู่ในจักรวาลหลัก บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ ประกาศว่างานทั้งหมดของ สตาร์ วอร์ส และสินค้า ยกเว้นภาพยนตร์ในไตรภาคเดิม และไตรภาคต้น และ เดอะ โคลน วอร์ส ในภายหลังนั้น เป็นส่วนหนึ่งของตำนานสตาร์ วอร์ส ที่แยกออกไปต่างหาก
เดอะ โคลน วอร์ส
หลายปีต่อมา ลูคัสตัดสินใจที่จะสร้างซีรีส์เกี่ยวการสงครามโคลนใหม่ ในรูปแบบของแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งพัฒนาโดยเดฟ ฟิโลนี หลังจากสร้างแอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ใหม่นี้มาหลายปี ลูคัสตัดสินใจที่จะแยกสี่ตอนแรกออกมาเป็นภาพยนตร์เดี่ยว [ 20] ภาพยนตร์นี้ ซึ่งฉายในปี ค.ศ. 2008 นั้น แนะนำอาโซกา ทาโน ในฐานะลูกศิษย์ของอนาคิน และบรรยายภาพเกี่ยวกับสาธารณรัฐและฝ่ายแบ่งแยกสู้กันและพยายามที่จะได้รับอนุญาตในการเดินทางผ่านดินแดนของแจบบา เดอะ ฮัทท์
แอนิเมชันชุดทางโทรทัศน์ที่ตามมาหลังจากนั้น (ค.ศ. 2008–2014, 2020) ได้ดำเนินเรื่องโดยมีฉากหลังเป็นสงครามโคลนเช่นเดียวกัน ด้วยซีซันสุดท้ายของแอนิเมชันชุดที่ดำเนินเรื่องพร้อมกับช่วงจุดสำคัญของ ซิธชำระแค้น รายการนี้ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างกองทัพโคลน, ทำให้โคลนแต่ละนายเป็นตัวละครที่แตกต่างกัน, บรรยายภาพการเผชิญหน้ามากมายและพัฒนาการจากความขัดแย้ง, และแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างโคลนทรูปเปอร์และผู้บัญชาการเจไดของพวกเขา ยกตัวอย่าง เช่น แอนิเมชันชุดนี้เปิดเผยว่าโคลนแต่ละนายมี "ชิพยับยั้ง" ในร่างของเขาซึ่งทำให้พวกเขาเชื่อฟังต่อคำสั่งที่ 66
ทีมโคตรโคลนมหากาฬ
ทีมโคตรโคลนมหากาฬ เริ่มต้นไม่นานหลังจากจุดจบของสงครามโคลน ด้วยการออกคำสั่งที่ 66 ซึ่งระบุไว้ว่าเจไดเป็นผู้ทรยศและนำไปสู่การกำจัดพวกเขาอย่างกว้างขวางโดยโคลนทรูปเปอร์ของพวกเขาเอง ซึ่งได้รับการโปรแกรมให้เชื่อฟังคำสั่งนี้ แบดแบทช์ซึ่งมีพันธุกรรมที่แตกต่างและได้พัฒนาการต้านทานต่อโปรแกรมนี้ พบว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับตัวตนของพวกเขาและความภักดี หลังจากรู้ถึงจุดจบของสาธารณรัฐ
แอนิเมชันชุดนี้สำรวจถึงผลกระทบของคำสั่งที่ 66, การขึ้นมามีอำนาจของจักรวรรดิกาแลกติก, และกาแลกซีว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรภายใต้การปกครองของจักรพรรดิพัลพาทีน นอกจากนี้ แอนิเมชันชุดนี้ยังสำรวจการเปลี่ยนผ่านจากโคลนทรูปเปอร์สู่สตอร์มทรูปเปอร์ในจักรวาลสตาร์ วอร์ส ด้วยจักรวรรดิเปลี่ยนจากการผลิตโคลนไปเป็นการเกณฑ์ทหารแทน[ 21] [ 22]
คนแสดง
เดอะแมนดาลอเรียน
ละครชุด เดอะแมนดาลอเรียน มีทั้งฉากย้อนของกองทัพดรอยด์ของฝ่ายแบ่งแยกในช่วงสงครามโคลน รวมถึงความทรงจำของโกรกูเกี่ยวกับคำสั่งที่ 66 บนดาวคอรัสซัง[ 23] [ 24]
อาโซกา
สงครามโคลนนั้นมีอยู่ในตอนที่ 5 ของ อาโซกา ซึ่งมีภาพย้อนหลังที่น่าจะเกิดบนดาวไรลอธ โดยอ้างถึงประสบการณ์ของอาโซกาใน เดอะ โคลน วอร์ส ในรูปแบบคนแสดง นอกจากนี้ยังมีฉากเกี่ยวกับการล้อมแมนดาลอร์อันโด่งดังอีกด้วย[ 25] [ 26]
นวนิยาย
นวนิยายปี ค.ศ. 2008 เรื่อง สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน โดยคาเรน เทรวิส [ 27] นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของนวนิยายชุดที่ประกอบไปด้วยนวนิยายห้าภาค ซึ่งเขียนโดยเทรวิสและคาเรน มิลเลอร์ และถูกตีพิมพ์โดย เดล เรย์ บุ๊กส์ ระหว่างปี ค.ศ. 2008 ถึง 2010 นิยายเรื่อง สงครามโคลน: ไวลด์สเปซ (ค.ศ. 2008) นั้นเขียนโดยมิลเลอร์ และโฟกัสในเรื่องของโอบีวันและเบล ออร์กานา [ a] หลังจากนั้น เทรวิสกลับมาเพื่อเขียน สงครามโคลน: โนพริซันเนอร์ส (ค.ศ. 2009) ที่ซึ่ง อาโซกาถูกสั่งให้อยู่ใต้บังคับบัญชากัปตันเร็กซ์ แบบชั่วคราว สุดท้าย มิลเลอร์เขียนนิยายสองตอนเรื่อง สงครามโคลน: แกมบิท (ค.ศ. 2010) โดยมีชื่อเรื่องรองชื่อ สเตลธ์ และ ซีจ ซึ่งดำเนินเรื่องเกี่ยวกับอาวุธชีวภาพจากนายพลชาวเนมอยเดียน ล็อก เดิร์ด[ 28] [ b]
นวนิยายเรื่อง ดาร์ก ดิสซิเพิล (ค.ศ. 2015) เป็นการนำโครงเรื่องที่เกี่ยวกับอาซาจ เวนเทรส และควินแลน วอส จากตอนของ เดอะ โคลน วอร์ส ที่ทำไม่เสร็จ มาทำเป็นนวนิยายแทน[ 29] แคทาลิสท์: อะ โร้ค วัน โนเวล (ค.ศ. 2016) นั้นดำเนินเรื่องในช่วงสงครามโคลนและสองสามปีถัดมา[ 30] ธรอว์น: อัลไลแอนซ์ (ค.ศ. 2018) มีฉากย้อนหลังถึงปีสุดท้ายของสงครามโคลน โดยมีอนาคิน, แพดเม่, และธรอว์น [ 31] บราเธอร์ฮูด (ค.ศ. 2022) ดำเนินเรื่องในช่วงสงครามโคลน โดยโฟกัสที่โอบีวัน และอนาคิน
หนังสือการ์ตูน
ดาร์กฮอสคอมิกส์ ตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนต่าง ๆ ที่ดำเนินเรื่องในยุคนี้ ซึ่งหลาย ๆ เล่มนั้นถูกรวมมาเป็นชุดของหนังสือปกอ่อน ที่มี 9 เล่ม นอกจากนี้ ดาร์กออสยังตีพิมพ์นวนิยายพร้อมภาพประกอบ แบบชุดที่มี 10 เล่ม ชื่อ โคลน วอร์ส –แอดเวนเทอร์ส (ค.ศ. 2004–2007) โดยใช้รูปแบบจากแอนิเมชันชุดสองมิติ และบรรยายถึงเรื่องราวดั้งเดิมที่ดำเนินในยุคนี้[ 32] ชุดของหนังสือการ์ตูนที่เชื่อมโยงกับแอนิเมชันชุดสามมิติ ถูกตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2008 ถึง 2010 โดยมีสามเล่ม และมีการเสริมเนื้อหาโดยชุดของหนังสือนวนิยายที่มีภาพ 11 เล่ม ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 2008 และ 2013
หนังสือการ์ตูนชุดของมาร์เวล เคนัน (หรือบางครั้งมีชื่อรองว่า เดอะลาสต์พาดาวัน ) บรรยายตัวละครใน สตาร์ วอร์ส เรเบลส์ เคนัน จาร์รัส ในฐานะเจไดพาดาวัน เคเลป ดูม ในช่วงของความขัดแย้ง
วิดีโอเกม
นอกจากนี้ ลูคัสอารทส์ ยังสร้างเกมต่าง ๆ เช่น รีพับลิก คอมมานโด และ เดอะ โคลน วอร์ส ซึ่งบรรยายถึงความขัดแย้งนี้
บทวิเคราะห์
มีการเปรียบเทียบเกิดขึ้นมากมายระหว่างมุมมองด้านการเมืองของสงครามโคลน และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ในบทความของนักจัดรายการวิทยุ ไคลดด์ ลูอีส ได้กล่าวถึงความเหมือนทางประวัติศาสตร์ในสตาร์ วอร์ส ว่าแผนการของ พัลพาทีน นั้นคล้ายคลังกับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และนาซีเยอรมนี ; ผู้นำทั้งสองใช้สงครามและสร้างแพะรับบาป ขึ้นเพื่อชักจูงฐานะทางอารมณ์ของสังคม ทำให้ผู้นำได้รับทั้งแรงสนับสนุนและอำนาจ[ 33] ผู้เขียนอีกรายหนึ่งเปรียบเทียบสงครามโคลนกับสงครามโลกครั้งที่สองโดยทั่วไป โดยการตั้งคำถามโดยทั่วไปของเขานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าลูคัสเป็นเบบี้บูมเมอร์ และช่วงยุคมืดที่ถูกแสดงในไตรภาคเดิมนั้นคล้ายคลึงกับช่วงที่มืดมืนและไม่แน่นอน ของสงครามเย็น [ 34] โดยยึดถามคำกล่าวของลูคัสที่ว่าความขัดแย้งในสตาร์ วอร์ส นั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากพื้นหลังทางวัฒนธรรมของสงครามเวียดนาม นักข่าว คริสต์ เทเลอร์ กล่าวว่าสงครามโคลนนั้นเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่สอง[ 6] แอน แลนคาเชียร์ จากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ยังชี้ให้เห็นถึงการให้ชื่อที่คล้ายคลึงระหว่างสงครามโคลนและสงครามกลางเมืองอเมริกา [ 35]
หลายสำนักพิมพ์ได้เปรียบเทียบบริบททางการเมืองของสงครามโคลนกับสงครามอิรัก โดยอ้างว่ากาแลกซีสตาร์ วอร์ส ภายตายการปกครองของพัลพาทีนผู้ลวงโลกนั้น เปรียบเทียบได้กับปัญหาสมัยใหม่ของสหรัฐ บทบรรณธิการหนึ่งบนเว็บไซต์ Antiwar.com ได้กล่าวว่า สตาร์ วอร์ส "สร้างหลักฐานที่เห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปก่อนว่า การโค่นล้มรัฐบาลที่กดขี่นั้นถูกต้อง ก่อนที่จะพูดถึงบางสิ่งที่น่าอึดอัดใจมากกว่า – นั่นคือเผด็จการคอรัปชันที่อ้างถึงนั้นคือพวกเราเองมากกว่า"[ 36] นอกจากนี้ บทความจาด ไวร์แท็ป อ้างว่า "ดังเช่นพัลพาทีนนั้น การบริหารของประธานาธิบดีบุช นั้นสามารถสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้คน เพื่อให้สามารถได้รับอำนาจที่มากขึ้นได้"[ 37] ลูคัสกล่าวว่าสงครามอิรักนั้น "ไม่มีตัวตน" ในตอนที่เขาพัฒนาสงครามโคลน[ 38] แต่เขานั้นก็เห็นถึงความเหมือนระหว่างสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นแบบอย่างให้ สตาร์ วอร์ส และสงครามที่เกิดขึ้นในอิรัก[ 39] หนึ่งในผู้สร้างสตาร์ วอร์ส ริก แม็คคอลลัม ออกมายืนยันว่าสงครามโคลนนั้นพัฒนามาก่อนสงครามอิรัก และยังเพิ่มเติมว่าลูคัส "เป็นผลิตผลที่เกิดจากเวียนนาม"[ 40]
ผลกระทบและการตอบรับของนักวิจารณ์
คริส เทย์เลอร์ ผู้แต่งหนังสือ ฮาวสตาร์ วอร์สคองเคอรด์เดอะยูนิเวิร์ส เรียกสงครามโคลนว่า "เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตำนานในสตาร์ วอร์ส"[ 41] ในความพยายามที่จะรักษาสายผลิตภัณฑ์ของเล่นของ สตาร์ วอร์ส ให้ยังคงอยู่ หลังจาก ชัยชนะของเจได (ค.ศ. 1983) เคนเนอร์คิดค้นเส้นเรื่องราวที่จะเกี่ยวข้องกับการกลับมาของ "ผู้ก่อการร้ายทางพันธุกรรม" ที่โดยเนรเทศไป และเหล่านักรบโคลนของเขา[ 42]
ทิโมธิ ซาห์น กล่าวว่าการปรากฏตัวเพื่อต่อสู้เพื่อ "เหล่าคนดี" ที่พวกเขาคาดไม่ถึง ใน กองทัพโคลนส์จู่โจม นั้น—ถึงจะมีความคาดหมายจากแฟน ๆ มาหลายปีว่าโคลนเป็นกลุ่มกำลังรุกราน—เป็นสิ่งที่ "น่าอัศจรรย์"[ 13] หลังจากเห็นรายการโทรทัศน์ซีจีเรื่อง เดอะ โคลน วอร์ส แล้ว ซานห์รู้สึกรู้สึกยินดีที่ลูคัสฟิล์ม ตีกลับบทร่างแรกเรื่อง แอร์ทูดิเอมไพร์ ของเขา ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับโคลนที่บ้าบิ่นของโอบีวันที่สร้างขึ้นในช่วงของความขาดแย้ง
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
เชิงอรรถ
↑ บทเริ่มต้นนั้นกล่าวถึงผลกระทบหลังยุทธการจีโอโนซิส; ส่วนที่เหลือของหนังสือดำเนินเหตุการณ์ต่อจากเหตุการณ์ในภาพยนตร์แอนิเมชัน
↑ แสดงโดย จอร์จ เทเค ในภาพยนตร์ชุด ค.ศ. 2008[ 28]
อ้างอิง
↑ Taylor 2014 , p. 122
↑ 2.0 2.1 "What are the Clone Wars?" . StarWars.com . LucasFilm . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 17, 2006. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015 .
↑ Taylor 2014 , p. 231
↑ Bouzereau, Laurent (1997). Star Wars: The Annotated History . Ballantine Books . p. 196 . ISBN 978-0345409812 .
↑ Kaminski 2007 , p. 171 harvnb error: no target: CITEREFKaminski2007 (help )
↑ 6.0 6.1 Taylor 2014 , p. 124
↑ Taylor 2014 , pp. 288–289
↑ Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith DVD commentary featuring George Lucas, Rick McCallum, Rob Coleman, John Knoll and Roger Guyett, [2005]
↑ Germain, David (May 16, 2005). " 'Wars' Raises Questions on US Policy" . Backstage . Backstage, LLC. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Burns, Chris (May 16, 2005). "Lucas on Iraq war, 'Star Wars' " . CNN. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Corliss, Richard; Cagle, Jess; Ressner, Jeffrey (April 29, 2002). "Dark Victory" . Time . Vol. 159 no. 17. ISSN 0040-781X . สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 – โดยทาง EBSCOhost .
↑ Taylor 2014 , p. 338
↑ 13.0 13.1 Rinzler 2005 , pp. 13–15
↑ Rinzler 2005 , p. 36
↑ Kaminski 2008 , pp. 380–384
↑ Taylor 2014 , p. 375
↑ "Confederacy of Independent Systems" . StarWars Databank . สืบค้นเมื่อ 20 December 2022 .
↑ Lucas, George, director. Star Wars: Episode II – Attack of the Clones . Lucasfilm Ltd., 2002.
↑ Lucas, George, director. Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith . Lucasfilm Ltd., 2005.
↑ Taylor 2014 , p. 470
↑ " 'Star Wars' finally reveals the switch from clones to stormtroopers" . EW.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19 .
↑ Gullickson, Brad (2021-08-06). " 'The Bad Batch' Puts the Final Nail in the 'Clone Wars' Coffin" . Film School Rejects (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19 .
↑ Horton, Cole; Hidalgo, Pablo; Zehr, Dan (2020). The Star Wars Book: Expand your knowledge of a galaxy far, far away . DK (ตีพิมพ์ 2020-10-20). ISBN 9781465497901 .
↑ Horton, Cole; Hidalgo, Pablo; Zehr, Dan (2020). The Star Wars Book: Expand your knowledge of a galaxy far, far away . DK (ตีพิมพ์ 2020-10-20). ISBN 9781465497901 .
↑ Glazebrook, Lewis (2023-09-13). " "I Am Not Okay": Star Wars Fans Mind-Blown By Ahsoka Episode 5 Flashback Scenes" . ScreenRant (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19 .
↑ Stevenson, Rick (2023-09-14). "Ahsoka Episode 5: Where Does THAT Flashback Take Place?" . Looper (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-03-19 .
↑ "Del Rey & LucasBooks announce Clone Wars Novels" . StarWars.com . June 25, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ August 3, 2008. สืบค้นเมื่อ October 21, 2019 .
↑ 28.0 28.1 "Books – Reviews | The Clone Wars: Gambit: Stealth" . TheForce.net . สืบค้นเมื่อ November 14, 2019 .
↑ "Ventress and Vos' Greatest Hits: A Dark Disciple Refresher" . StarWars.com . Lucasfilm . July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2016 .
↑ Hall, Jacob (November 23, 2016). "Everything You Need to Know About Star Wars Catalyst" . /Film . สืบค้นเมื่อ November 24, 2019 .
↑ Liptak, Andrew (July 25, 2018). "Star Wars author Timothy Zahn on Thrawn: Alliances and toxic fandom" . The Verge . สืบค้นเมื่อ November 21, 2019 .
↑ "Search :: Dark Horse Comics" . Dark Horse . สืบค้นเมื่อ October 30, 2019 .
↑ Lewis, Clyde (2005). "The Sith Sense" . Ground Zero. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ August 9, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Chambers, Stephen (April 18, 2006). "Star Wars As Baby Boomer Script" . Radical Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 17, 2007. สืบค้นเมื่อ July 6, 2006 . [ลิงก์เสีย ]
↑ Lancashire, Anne (2002). "Attack of the Clones and the Politics of Star Wars" . The Dalhousie Review . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ February 6, 2012. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Horton, Scott (May 23, 2005). "Star Wars and the American Empire" . AntiWar.com . Randolph Bourne Institute . สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Fanelli, Brian (June 21, 2005). "U.S. Politics in "A Galaxy Far, Far Away" " . AlterNet . Independent Media Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 12, 2017. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Germain, David (May 16, 2005). " 'Wars' Raises Questions on US Policy" . Backstage . Backstage, LLC. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Burns, Chris (May 16, 2005). "Lucas on Iraq war, 'Star Wars' " . CNN. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Lammers, Tim (November 2, 2005). "DVD Is Hardly End For 'Sith' Producer McCallum" . KIROTV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 17, 2007. สืบค้นเมื่อ June 30, 2016 .
↑ Taylor 2014 , p. 123
↑ Taylor 2014 , p. 280
บรรณานุกรม
อ่านเพิ่มเติม
Sword Fighting in the Star Wars Universe: Historical Origins, Style and Philosophy by Nick Jamilla (McFarland & Company , 2008)
Star Wars and History by Nancy Reagin & Janice Liedl (John Wiley & Sons , 2012)
The Science Fiction Reboot: Canon, Innovation and Fandom in Refashioned Franchises by Heather Urbanski (McFarland & Company , 2013)
Star wars: the essential chronology by Kevin J. Anderson & Daniel Wallace (Ballantine Books , 2000)
Culture, identities, and technology in the Star wars films: essays on the two trilogies by Carl Silvio & Tony M. Vinci (McFarland & Company , 2007)
The Star Wars Heresies by Paul F. McDonald (McFarland & Company , 2013)
แหล่งข้อมูลอื่น