สมเด็จพระอาทิตยวงศ์[1] เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 23 แห่งอาณาจักรอยุธยาและยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ 3 แห่งอาณาจักรอยุธยา
พระราชประวัติ
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ มีพระนามเดิมว่าพระอาทิตยวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราชและพระพันปีศรีสิน[2]
เมื่อเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์สำเร็จโทษสมเด็จพระเชษฐาธิราชแล้ว ได้อัญเชิญพระอาทิตยวงศ์ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษาให้สืบราชสมบัติ ตรงกับปี พ.ศ. 2172[1] แต่ด้วยความที่ทรงพระเยาว์จึงไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ ทรงโปรดเที่ยวประพาสจับแพะจับแกะเล่น เจ้าพนักงานต้องคอยนำเครื่องทรงและเครื่องเสวยตามเสด็จอยู่ตลอด ผ่านไปได้ประมาณ 6 เดือน เหล่ามุขมนตรีก็เห็นว่าสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ยังทรงพระเยาว์เกินไป ไม่รู้จักว่าราชการจนเสียการแผ่นดิน[3] จึงถอดพระองค์จากราชสมบัติ ถวายราชสมบัติแก่เจ้าพระยากลาโหมให้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[4]
หลังจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระอาทิตยวงศ์ยังคงประทับอยู่ภายในพระราชวังหลวงกับพระนมพี่เลี้ยง[5] ถึงปี พ.ศ. 2176 ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จไปนมัสการพระศรีสรรเพชญดาญาณ ทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตยวงศ์ขึ้นนั่งห้อยเท้าอยู่บนหลังกำแพงแก้ว ชี้พระหัตถ์ตรัสว่า "อาทิตยวงศ์องอาจ มิได้ลงจากกำแพงแก้วให้ต่ำ" จึงโปรดให้ลดพระยศ ให้อยู่เรือนเสาไม้ไผ่ 2 ห้อง 2 หลังริมวัดท่าทราย และให้คนรับใช้ไว้ 2 คนแต่พออยู่ตักน้ำหุงข้าว[6]
ถึงปีฉลู จ.ศ. 999 พระอาทิตยวงศ์กับขุนนางที่ถูกออกจากราชการได้พวกกว่า 200 คน ร่วมกันก่อกบฏบุกเข้าพระราชวังสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จหนีลงเรือแล้วโปรดให้ขุนนางเร่งปราบกบฏ จนจับพระอาทิตยวงศ์ได้[7] ก็ให้สำเร็จโทษตามราชประเพณี
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระอาทิตยวงศ์
|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 140
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 264
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 269
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 271
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 272
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 274
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 277-8
- บรรณานุกรม
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 1. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
ดูเพิ่ม
|
---|
รายพระนาม |
1800
|
18
|
10
|
18
|
20
|
18
|
30
|
18
|
40
|
18
|
50
|
18
|
60
|
18
|
70
|
18
|
80
|
18
|
90
|
1900
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รามา1ฯ |
|
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม | |
---|
รายพระนาม |
2300
|
23
|
10
|
23
|
20
|
23
|
30
|
23
|
40
|
23
|
50
|
23
|
60
|
23
|
70
|
23
|
80
|
23
|
90
|
2400
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
l |
เอกทัศ |
|
|
---|
คำอธิบายสัญลักษณ์ | |
---|