ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ

ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525
ก่อนหน้าศาสตราจารย์ ระพี สาคริก
ถัดไปผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก ปรีชานนท์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ก่อนหน้ารองศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ ยอดเศรณี
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 (93 ปี)
ประเทศไทย
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2566
คู่สมรสจารุวรรณ อิงคสุวรรณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เป็นนักวิชาการ อาจารย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 8 (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2523-2525) และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คนที่ 2 (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2542-2543) เป็นศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับรางวัล Emil M. Mrak International Award for Outstanding Alumni จากสถาบัน Universty of California at Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับเป็นคนไทย

ประวัติ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2474 เป็นบุตรของนายแทน อิงคสุวรรณ กับนางประไพ อิงคสุวรรณ (สกุลเดิม สุทธิรัชม์) โดยทางฝ่ายบิดา รับราชการเป็นอาจารย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ มีพี่น้องรวมทั้งหมด 6 คน ได้แก่

  1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทัศนีย์ โรจนไพบูลย์
  3. นางทัศนา แสวงผล
  4. นางทัศนัย ทองอุทัยศรี
  5. นางสาวทัศนะ อิงคสุวรรณ
  6. นายทวีวัฒน์ อิงคสุวรรณ

การศึกษา

ในตอนนั้น นายแทน อิงคสุวรรณ บิดาของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ รับราชการเป็นครูสอนวิชาเกษตร ทำให้มีการย้ายครอบครัวไปอยู่ยังจังหวัดต่างๆ ทำให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ ต้องย้ายโรงเรียนไปถึง 9 แห่ง อาทิ

ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้เข้ารับการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษา ณ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เหตุที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก บิดาได้ย้ายมาเป็นผู้ช่วยในโครงการการพัฒนาการเลี้ยงไก่ ของหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น และมีบ้านพักอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ สนใจวิชาเกษตร และวิชาสัตวบาล จากการที่เคยเลี้ยงไก่และแพะด้วยตนเอง หลังจากที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อพุทธศักราช 2492 จนจบชั้นปีที่ 2 และได้รับทุนจากรัฐบาลไทย ไปศึกษาต่อ ณ University of California at Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ภาควิชาสัตวบาล กระทั่งจบระดับปริญญาเอก ทางด้านสรีรวิทยาของสัตว์

การทำงาน

หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2503 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาสัตวบาลและการเลี้ยงไก่ รวมทั้งวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพให้คณะวิทยาศาสตร์ และคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชาที่ ศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ จำเป็นต้องให้ความสนใจมาก และรับสอนเป็นวิชาแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ วิชาภาษาอังกฤษทางเทคนิคสำหรับการเกษตร โดยมีความเห็นว่า เป็นวิชาที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเรียนจบออกไปทำงาน และจำเป็นต้องรับสอน เพราะอาจารย์มีไม่พอในขณะนั้น ในระหว่างที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสัตวบาลอยู่ 4 ปี (พ.ศ. 2511 - 2515) แต่เนื่องจาก ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ เป็นผู้ที่มีความคิดความอ่านกว้างไกล ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน คุณสมบัติเหล่านี้ จึงทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยในสมัยนั้น ได้เชิญไปช่วยงานบริหารในฐานะผู้ช่วยรองอธิการบดี และต่อมาเป็นรองอธิการบดีอยู่อีก 8 ปี (พ.ศ. 2515 - 2523) ก่อนที่จะเป็นอธิการบดีอีก 2 ปี ในช่วงนั้นเป็นระยะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญคือ ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ทำโครงการเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย และการก่อตั้งวิทยาเขตแห่งแรกคือ วิทยาเขตกำแพงแสน ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยงานอย่างสำคัญคนหนึ่งของอธิการบดีในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์อินทรี จันทรสถิตย์ จนถึงสมัยของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และสืบเนื่องมาตลอดสมัยของศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปัญหาอุปสรรคมากมายหลายเรื่องในระยะนั้น จึงได้ผ่านพ้นไปด้วยดี ในด้านงานวิจัยนั้น ศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ให้ทัศนะว่า


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ ได้ทำงานให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการในปีพุทธศักราช 2535

รางวัลที่ได้รับ

ในปีพุทธศักราช 2531 สถานศึกษาเดิม คือ University of California at Davis ได้มอบรางวัล Emil M. Mrak International Award for Outstanding Alumni แก่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ นับว่าเป็นเกียรติอย่างสูงที่ศิษย์เก่าคนแรกที่ได้รับเป็นคนไทย

ครอบครัว

ทางด้านครอบครัว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไพฑูรย์ อิงคสุวรรณ สมรสกับ นางจารุวัณณ์ อิงคสุวรรณ(สกุลเดิม ถิระวัฒน์) มีบุตร-ธิดา 2 คน ได้แก่

  1. นางสาวสุขุมาล อิงคสุวรรณ
  2. พลตรีนิธิ อิงคสุวรรณ สมรสกับ นางวรรณวิไล อิงคสุวรรณ(สกุลเดิม เจริญลาภ) มีบุตร 3 คน คือ
  • นายหัสชัย อิงคสุวรรณ
  • นายภัทรกร อิงคสุวรรณ
  • ด.ช.ศรัณ อิงคสุวรรณ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓๘, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๔๑๓, ๒๗ เมษายน ๒๕๒๕

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!