เทศบาลตำบลศรีรัตนะ |
---|
|
ตรา |
คำขวัญ: เมืองน่าอยู่ มีความรู้ คู่คุณธรรม นำเศรษฐกิจ พิชิตความจน |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
---|
อำเภอ | ศรีรัตนะ |
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | สนธิ์ ห่อทรัพย์ |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 12.08 ตร.กม. (4.66 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร |
---|
• ทั้งหมด | 4,892 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 382.00 คน/ตร.กม. (989.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัส อปท. | 05331401 |
---|
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลศรีรัตนะ บ้านสำโรงระวี หมู่ที่ 15 ถนนสายศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221) ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 33240 |
---|
โทรศัพท์ | 0 4567 7643 |
---|
เว็บไซต์ | www.srirattana.org |
---|
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เทศบาลตำบลศรีรัตนะ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ มีสำนักงานตั้งอยู่บ้านสำโรงระวี หมู่ที่ 15 ถนนสายศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221) ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 37 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเขาพระวิหารมาทางทิศเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสะพุง อำเภอศรีรัตนะ
- ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีแก้วและตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ
ประวัติ
เทศบาลตำบลศรีรัตนะ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2535[2] มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลศรีแก้วและตำบลสะพุง ชื่อ"สุขาภิบาลศรีรัตนะ" ตามชื่ออำเภอ ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ในปี พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 [3] [4]
โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติราชการ
- ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (นายสนธิ์ ห่อทรัพย์),ที่ปรึกษายายกเทศมนตรี 1 คน, รองนายกเทศมนตรี 2 คน, เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
- ฝ่ายนิติบัญญัติ (ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน
- การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และกองประปา
ตราสัญลักษณ์
พระพุทธรูปปางสมาธิอยู่ตรงกลาง มีรัศมีแผ่อยู่รอบพระพุทธรูป ล้อมรอบด้วยกรอบนอกรูปวงกลม
พระพุทธรูป หมายถึง หมายถึง ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของชาวเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ซึ่งส่วนใหญ่มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธ มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีพื้นเมืองของตนเองอย่างเหนียวแน่น มีความสมัครสมานสามัคคี รักสงบ ยึดมั่นในศีลธรรม การทำความดี ตลอดจนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
รัศมี หมายถึง การสร้างชื่อเสียง ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของราษฎร ให้เลื่องลือไปทั่วสารทิศ
ข้อมูลทั่วไป
สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่เขตเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบลอนลูกคลื่น ซึ่งต่อเนื่องจากเขตที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่านคือลำห้วยตามาย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสายใหญ่
ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์
ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 4,892 คน [5] กลุ่มชาติพันธุ์หลักในเขตเทศบาลได้แก่ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย) ซึ่งพูดภาษากูย รองลงไปคือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมรซึ่งพูดภาษาเขมรสูงหรือขแมร์เลอ, ชาวเยอซึ่งพูดภาษากูยเยอ และชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว
เขตการปกครอง
ภายในพื้นที่เทศบาลจำแนกเป็น 8 ชุมชน ได้แก่ชุมชนหมู่ต่างๆในบางส่วนของตำบลสะพุงและตำบลศรีแก้ว ได้แก่
- ตำบลศรีแก้ว
- บ้านหนองเทา หมู่ที่ 3
- บ้านหนองถ่ม หมู่ที่ 6
- บ้านหนองแคน หมู่ที่ 7
- บ้านตระกาจ หมู่ที่ 8
- บ้านหนองบัว หมู่ที่ 13
- บ้านสำโรงระวี หมู่ที่ 15
|
- ตำบลสะพุง
- บ้านจอก หมู่ที่ 2
- บ้านทุ่งระวี หมู่ที่ 12
|
การคมนาคมและขนส่ง
- เส้นทางหลักคือการคมนาคมทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 (ศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร) เส้นทางเชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษ-อำเภอพยุห์-อำเภอศรีรัตนะ-อำเภอกันทรลักษ์-อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ระยะทางจากเขตเทศบาลศรีรัตนะตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษทั้งสิ้น 37 กิโลเมตร, ระยะทางจากเทศบาลศรีรัตนะถึงตัวอำเภอกันทรลักษ์ ประมาณ 23 กิโลเมตร, และระยะทางจากเขตเทศบาลศรีรัตนะถึงเขาพระวิหารและอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประมาณ 60 กิโลเมตร
- เส้นทางรอง คือเส้นทางเชื่อมโยงไปยังอำเภอต่างๆ ใกล้เคียงในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งใช้ทางหลวงชนบท ได้แก่ ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก 3014 และ ศก 4014 (ไพรบึง-ศรีรัตนะ) เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอไพรบึง (เขตเทศบาลตำบลไพรบึง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจ
- เขตอนุรักษ์พันธุ์สนสองใบ : ครอบคลุมพื้นที่สองฝั่งถนนของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 บริเวณก่อนถึงตัวอำเภอศรีรัตนะและเขตเทศบาลตำบลศรีรัตนะ
อ้างอิง
- เทศบาลตำบลศรีรัตนะ.รายงานสรุป ประจำปีงบประมาณ 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลศรีรัตนะ
แหล่งข้อมูลอื่น