ตำบลโนนค้อ (อำเภอโนนคูณ)

องค์การบริหารส่วนตำบลโนนค้อ
ตราอย่างเป็นทางการขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนค้อ
ตรา
คำขวัญ: 
ตำบลน่าอยู่ เชิดชูการศึกษา ปลูกฝังภูมิปัญญา มีธรรมาภิบาล น้อมนำวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอโนนคูณ
การปกครอง
 • นายกกรีฑา เครือคุณ
พื้นที่
 • ทั้งหมด58 ตร.กม. (22 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด8,395 คน
 • ความหนาแน่น144.74 คน/ตร.กม. (374.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06331301
ที่อยู่ที่ทำการสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโนนค้อ 62 หมู่ที่ 7 ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ 33250
โทรศัพท์045659210
โทรสาร045659211
เว็บไซต์www.nonkho.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลโนนค้อ เป็นตำบลที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2520 โดยแยกจากอำเภอกันทรารมย์ และได้ก่อตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปี พศ. 2540 องค์การบริหารส่วนตำบลโนนค้อ เป็นองค์กรขนาดกลาง เป็นหน่วยงานการปกครองแห่งหนึ่งที่อยู่ใน อำเภอโนนคูณ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสาน นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีพื้นที่ 32,438 ไร่ หรือ 58 ตารางกิโลเมตร

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลโนนค้อ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอโนนคูณ โดยมีระยะทางห่างจากอำเภอโนนคูณประมาณ 5.5 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมที่สำคัญผ่านใจกลางตำบลและใช้ติดต่อระหว่างตำบลถึงอำเภอ คือทางหลวงแผ่นดินอุบลฯ – กันทรลักษณ์หมายเลข 2178และทางหลวงชนบทที่ศก.4006

ตำบลโนนค้อ มีเนื้อที่ประมาณ 32,438 ไร่ หรือประมาณ 58 ตารางกิโลเมตร

  • ทิศเหนือ ติดกับตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก ติดกับตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศใต้ ติดกับตำบลหนองงูเหลือ อำเภอเบญจลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • ทิศตะวันตก ติดกับตำบลบก, ตำบลโพธิ์ อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ

ภูมิประเทศ

  • สภาพอากาศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงและแห้งแล้ง
  • ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ สภาพป่าไม้โดยทั่วไปมีเพียงเล็กน้อย
  • แหน่งน้ำทางธรรมชาติไหลผ่าน ประกอบด้วย ลำห้วยเจิก ห้วยควร ห้วยโผ่น และห้วยไผ่ แต่ไม่มีน้ำในลำห้วยดังกล่าวตลอดทั้งปี จะมีน้ำเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น

ภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ตำบลโนนค้อ คือ ห้วย หนอง คลอง บึง ที่มีอยู่ตามธรรมชาติถึง 29 แห่ง สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ราบสูงแห้งแล้งมีพื้นที่ป่าไม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้สภาพของพื้นที่โดยทั่วไปแห้งแล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ได้ในเกือบทุกพื้นที่

หมู่บ้านและประชากร

องค์การบริหารส่วนตำบลโนนค้อ รับผิดชอบหมู่บ้านทั้ง 20 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่บริการ มีจำนวน 2,464 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งหมด 8,395 คน จากการสำรวจในปี 2557 ดังตารางดังต่อไปนี้

หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนเพศชาย จำนวนเพศหญิง จำนวนประชากรรวม
หมู่ 1 บ้านโนนค้อ 154 239 231 470
หมู่ 2 บ้านโนนคูณ 141 232 270 502
หมู่ 3 บ้านหนองมะเกลือ 74 156 131 287
หมู่ 4 บ้านหนองจิก 169 311 300 611
หมู่ 5 บ้านเท่อเล่อ 119 220 208 428
หมู่ 6 บ้านหนองสามขา 143 280 292 572
หมู่ 7 บ้านโปร่ง 122 230 228 458
หมู่ 8 บ้านหนองสำราญ 155 250 256 506
หมู่ 9 บ้านหนองคู 68 117 119 236
หมู่ 10 บ้านเหล่าเชือก 139 239 252 491
หมู่ 11 บ้านแสนตอ 176 196 194 390
หมู่ 12 บ้านร่องเก้า 125 219 211 430
หมู่ 13 บ้านโดด 141 251 275 526
หมู่ 14 บ้านโนนคำ 122 257 240 497
หมู่ 15 บ้านร่องเก้าเหนือ 93 171 153 324
หมู่ 16 บ้านโนนศรีทอง 97 170 177 347
หมู่ 17 บ้านร่มเย็น 176 200 187 387
หมู่ 18 บ้านโนนค้อใต้ 58 115 111 226
หมู่ 19 บ้านดอนแก้ว 131 231 229 460
หมู่ 20 บ้านหนองมะเกลือเหนือ 60 121 126 247
รวมทั้งหมด 2,464 4,205 4,190 8,395

เศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ตำบลโนนค้อ สามารถแยกประเภทการประกอบอาชีพออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้

1. เกษตรกร ประมาณ 80% ของประชากรทั้งตำบล
2. ข้าราชการ/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ประมาณ 1.5% ของประชากรทั้งตำบล
3. ลูกจ้างบริษัทเอกชน ประมาณ 1.5% ของประชากรทั้งตำบล
4. รับจ้างทั่วไป ประมาณ 7% ของประชากรทั้งตำบล
5. อื่น ๆ ประมาณ 10% ของประชากรทั้งตำบล
  • พืชเศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจสำคัญในตำบลโนนค้อที่ประชาชนในท้องถิ่นทำการเพาะปลูก สามารถเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ข้าว พริก ข้าวโพด ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ แตงโม และอื่น ๆ
  • สัตวเศรษฐกิจ สัตว์เศรษฐกิจสำคัญในตำบลโนนค้อที่ประชาชนทำปศุสัตว์ สามารถเรียงลำดับจากไปหาน้อย ได้แก่ โค สุกร ไก่ กระบือ และอื่น ๆ

การขนส่ง

ในเขตพื้นที่ตำบลโนนค้อ มีทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี–กันทรลักษณ์ (สาย 2178) วิ่งตัดผ่าน และถนนทางหลวงชนบทที่ (ศก.4006) เป็นเส้นทางสายหลัก ใช้ในการติดต่อระหว่างตำบลโนนค้อกับอำเภอโนนคูณ ไปยังจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งยังเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางไปติดต่อราชการของอำเภอ

ทางรถยนต์

  • การเดินทางระหว่างอำเภอและหมู่บ้าน โดยรถยนต์ส่วนตัวและรถรับจ้างทั่วไป ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะใช้รถจักรยานยนต์และรถจักรยานเป็นหลัก
  • การเดินทางเข้าจังหวัดศรีสะเกษ โดยรถรับจ้างหรือรถโดยสารประจำทางสาย โนนค้อ - กันทรลักษณ์ะ และต่อรถโดยสารสาย กันทรลักษณ์ - ศรีสะเกษ

การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี

  • รถโดยสารประจำทางสาย กันทรลักษณ์ - อุบลราชธานี
  • รถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี (สาย 98)
  • รถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา - อุบลราชธานี

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!