เจ้านายฝ่ายเหนือ

เจ้านายฝ่ายเหนือ ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2501

เจ้านายฝ่ายเหนือ หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรหัวเมืองเหนือ ซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ในอดีตเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ ถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราชเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตำแหน่งเจ้าประเทศราชก็ให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าผู้ครองนครนั้นถึงแก่พิราลัย

ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือยังคงมีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นโดยคำว่า "เจ้า" เป็นเพียงการยกย่องอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มคนภาคเหนือเพื่อเป็นการให้เกียรติตามธรรมเนียมล้านนาเท่านั้น ไม่ใช่คำนำหน้าชื่ออย่างเป็นทางการตามกฎหมายเหมือนสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้านายฝ่ายเหนือปัจจุบันยังมีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเมื่อปี 2501[1] ในนาม มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[2]

วงศ์เจ้านายฝ่ายเหนือ

  • สายนครเชียงตุง
  • สายนครลำปาง
  • สายนครเชียงใหม่
  • สายนครลำพูน
  • สายนครน่าน

เจ้าหลวงที่ได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าประเทศราช

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าประเทศราช มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้

ลำดับ พระฉายาลักษณ์
(พระนาม)
สถาปนาขึ้นเป็น
(พระเจ้าประเทศราช)
ครองราชย์ พิราลัย นคร
เริ่มรัชกาล สิ้นสุดรัชกาล รวมเวลา
1
พระบรมราชาธิบดี
พระเจ้านครเชียงใหม่
14 กันยายน
พ.ศ. 2345
(13 ปี 2 เดือน 7 วัน)
พ.ศ. 2325 21 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2358
33 ปี
(11 เดือน 21 วัน)
21 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2358
(73 ปี)
(11 เดือน 21 วัน)

นครเชียงใหม่
2
พระเจ้าดวงทิพย์
พระเจ้านครลำปาง
13 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2366
(3 ปี 1 เดือน 17 วัน)
พ.ศ. 2337 30 มีนาคม
พ.ศ. 2369
32 ปี
(3 เดือน 30 วัน)
30 มีนาคม
พ.ศ. 2369
(78 ปี)
(3 เดือน 30 วัน)

นครลำปาง
3
พระเจ้าบุญมา
พระเจ้านครลำพูน
20 พฤษภาคม
พ.ศ. 2369
(10 เดือน 5 วัน)
26 พฤษภาคม
พ.ศ. 2359
25 มีนาคม
พ.ศ. 2370
10 ปี
(9 เดือน 27 วัน)
25 มีนาคม
พ.ศ. 2370
(67 ปี)
(3 เดือน 25 วัน)

นครลำพูน
4
พระเจ้ามโหตรประเทศ
พระเจ้านครเชียงใหม่
16 พฤษภาคม
พ.ศ.2397
(5 เดือน 28 วัน)
28 พฤษภาคม
พ.ศ.2389
14 พฤศจิกายน
พ.ศ.2397
8 ปี
(5 เดือน 21 วัน)
14 พฤศจิกายน
พ.ศ.2397
(-)

นครเชียงใหม่
5
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
พระเจ้านครเชียงใหม่
3 กรกฎาคม
พ.ศ.2404
(8 ปี 11 เดือน 26 วัน)
16 ตุลาคม
พ.ศ.2399
29 มิถุนายน
พ.ศ.2413
13 ปี
(8 เดือน 13 วัน)
29 มิถุนายน
พ.ศ.2413
(-)

นครเชียงใหม่
6
พระเจ้าอินทวิชยานนท์
พระเจ้านครเชียงใหม่
14 กรกฎาคม
พ.ศ.2424
(16 ปี 4 เดือน 9 วัน)
8 พฤษภาคม
พ.ศ.2416
23 พฤศจิกายน
พ.ศ.2440
24 ปี
(6 เดือน 15 วัน)
23 พฤศจิกายน
พ.ศ.2440
(80 ปี)
(11 เดือน 23 วัน)

นครเชียงใหม่
7
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
พระเจ้านครเมืองน่าน
18 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2446
(14 ปี 4 เดือน 18 วัน)
21 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2437
5 เมษายน
พ.ศ. 2461
24 ปี
(1 เดือน 15 วัน)
5 เมษายน
พ.ศ. 2461
(87 ปี)
(2 เดือน 3 วัน)

นครน่าน

เจ้าผู้ครองนครพระองค์สุดท้ายของแต่ละนครแห่งหัวเมืองล้านนาประเทศราช

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของแต่ละนครแห่งหัวเมืองล้านนาประเทศราช มีรายพระนามเรียงตามการสิ้นสุดของแต่ละนคร ดังนี้

ลำดับที่ พระฉายาลักษณ์
(พระนาม)
พระราชสมภพ ครองราชย์ พิราลัย นคร
เริ่มรัชกาล สิ้นสุดรัชกาล รวมเวลา
1
เจ้าพิริยเทพวงษ์
เจ้าผู้ครองนครแพร่
17 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2379
5 เมษายน
พ.ศ. 2433
25 กันยายน
พ.ศ. 2445
12 ปี
(5 เดือน 20 วัน)
พ.ศ. 2455
(75 ปี)
(9 เดือน 13 วัน)

นครแพร่
2
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
6 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2400
3 มกราคม
พ.ศ. 2441
5 ตุลาคม
พ.ศ. 2465
24 ปี
(9 เดือน 2 วัน)
5 ตุลาคม
พ.ศ. 2465
(64 ปี)
(10 เดือน 29 วัน)

นครลำปาง
3
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา
เจ้าผู้ครองนครน่าน
17 ตุลาคม
พ.ศ. 2389
11 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2462
17 สิงหาคม
พ.ศ. 2474
11 ปี
(9 เดือน 6 วัน)
17 สิงหาคม
พ.ศ. 2474
(84 ปี)
(10 เดือน)

นครน่าน
4
เจ้าแก้วนวรัฐ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
29 กันยายน
พ.ศ. 2405
11 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2454
3 มิถุนายน
พ.ศ. 2482
27 ปี
(6 เดือน 23 วัน)
3 มิถุนายน
พ.ศ. 2482
(76 ปี)
(8 เดือน 5 วัน)

นครเชียงใหม่
5
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เจ้าผู้ครองนครลำพูน
19 พฤษภาคม
พ.ศ. 2418
11 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2454
5 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2486
31 ปี
(11 เดือน 25 วัน)
5 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2486
(68 ปี)
(5 เดือน 17 วัน)

นครลำพูน

ฐานันดรศักดิ์

บทบาท

มีบทบาทที่ชัดเจนแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475[3]

บทบาทก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

การปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ราชวงศ์ทิพย์จักร เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นกษัตริย์ปกครองมาตั้งแต่ยุคของพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งปกครองนครลำปางในฐานะนครรัฐอิสระในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในชั้นพระราชนัดดาหรือเจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้อง (เจ้าเจ็ดตน) ได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกองทัพสยามสู้รบกับกองทัพพม่า และช่วยขยายพระราชอาณาเขตทั้งในสมัยกรุงธนบุรีและสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2275 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยากาวิละเป็นพระเจ้ากาวิละ พระเจ้าเชียงใหม่ ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ในการนี้เจ้าเจ็ดพระองค์พี่น้องได้ทรงร่วมกันวางระบบการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือ โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2275 - 2442) ดังนี้

  1. เมืองนครประเทศราชล้านนา มี 5 หัวเมือง ได้แก่ (1) นครเชียงใหม่ (2) นครลำปาง (3) นครลำพูน (4) นครน่าน (5) นครแพร่
  2. หัวเมืองขึ้นชั้นที่หนึ่ง มี 8 หัวเมือง ได้แก่ (1) เมืองพะเยา -ขึ้นกับลำปาง (2) เมืองฝาง -ขึ้นกับเชียงใหม่ (3) เมืองเชียงราย -ขึ้นกับเชียงใหม่ (4) เมืองเชียงแสน -ขึ้นกับเชียงใหม่ (5) เมืองเชียงของ -ขึ้นกับน่าน (6) เมืองตาก -ขึ้นกับเชียงใหม่ (7) เมืองงาว -ขึ้นกับลำปาง (8) เมืองปาย -ขึ้นกับเชียงใหม่
  3. หัวเมืองขึ้นชั้นที่สอง[4] มี 10 หัวเมือง (1) เมืองสอง -ขึ้นกับแพร่ (2) เมืองเถิน -ขึ้นกับเชียงใหม่ (3) เมืองเงิน -ขึ้นกับน่าน (4) เมืองเทิง -ขึ้นกับน่าน (5) เมืองภูคา -ขึ้นกับน่าน (6) เมืองป่าเป้า -ขึ้นกับเชียงใหม่ (7) เมืองสา -ขึ้นกับน่าน (8) เมืองแม่ฮ่องสอน -ขึ้นกับเชียงใหม่ (9) เมืองขุนยวม -ขึ้นกับเชียงใหม่ (10) เมืองเชียงคำ -ขึ้นกับน่าน
  4. หัวเมืองขึ้นชั้นที่สาม มีเป็นร้อยหัวเมือง เดิมล้านนามี 57 หัวเมือง แต่ได้ขยายเพิ่มขึ้นอีกมาก

เจ้านายเชื้อพระวงศ์เจ้าเจ็ดตนได้แยกย้ายกันเข้าปกครองหัวเมืองประเทศราช ในส่วนเมืองประเทศราชและเมืองบริวารหัวเมืองขึ้นชั้น 1 และ ชั้น 2 ที่โปรดให้เจ้านายราชวงศ์เดิมปกครองหรือตั้งสามัญชนขึ้นปกครองก็มักจะส่งพระธิดาหรือเจ้านายสตรีไปเสกสมรสหรือทูลขอพระธิดาและเจ้านายสตรีฝ่ายนั้นมาผูกสัมพันธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติเและผดุงความมั่นคงในราชอาณาจักรฝ่ายเหนือ [5]

ในการปกครองอาณาจักรฝ่ายเหนือในช่วงแรกตอนที่เจ้าเจ็ดพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ราชสำนักล้านนายังได้รับความเกรงพระทัยจากราชสำนักสยามอยู่มาก เนื่องจากเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระอนุชาธิราช การตั้งเจ้าฟ้า เจ้าเมือง พระราชทานยศบรรดาศักดิ์ พระยา ท้าว อำมาตย์ เป็นไปตามที่พระเจ้าประเทศราชเห็นควร ไม่มีการเข้าแทรกแซงจากราชสำนักสยามทั้งสิ้น นอกจากบางครั้งราชสำนักล้านนาเห็นควร จะทูลเสนอราชสำนักสยามเพื่อขอให้พระราชทานสัญญาบัตรในกรณีตั้งเมืองใหม่ซึ่งไม่ใช้ข้อบังคับแต่อย่างใด การปกครองล้านนาเป็นไปโดยเอกสิทธิ์ความเป็นพระเจ้าประเทศราชนั้น แต่ต่อมาด้วยความขัดแย้งภายในราชสำนักล้านนาเอง โดยเฉพาะเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครประเทศราชเอง มักขออ้างอาญาสิทธิ์จากราชสำนักสยามเข้ามาเป็นเครื่องชี้ขาด จึงเป็นเหตุหนึ่งให้ราชสำนักล้านนาอ่อนแอลง กอปรกับในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเจ้าประเทศราช คิดการกบฎ ทำให้ราชสำนักสยามเริ่มหวั่นเกรงพระทัยในราชสำนักล้านนา จึงพยายามทรงลดบทบาทของราชสำนักล้านนาลง ได้ทรงให้มีการจารึกราชอาณาเขตสยามขึ้น อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเห็นถึงคุณูปการณ์ของราชวงศ์ฝ่ายเหนือตั้งแต่อดีตกาลจึงทรงโปรดเกล้าฯ ถวายพระเกียรติสูงสุดอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงยุคล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทุกประเทศรอบสยามล้วนโดนคุกคาม พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ปฏิรูปการปกครองสยามขึ้นใหม่ กอปรกับความทราบถึงพระเนตรพระกรรณที่พระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษจะมาทูลขอเจ้าดารารัศมีราชธิดาในพระเจ้าเชียงใหม่ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เพื่อแทรกแซงอาณาจักรฝ่ายเหนือของสยาม จึงทรงทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ มารับราชการฝ่ายใน เมื่อเจ้าดารารัศมี ได้เข้ามาถวายตัวแล้ว ได้ทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราช ถือให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าประเทศราชพระองค์นั้นถึงพิราลัย กล่าวได้ว่าเจ้านายฝ่ายเหนือและกลุ่มพระประยูรญาติดำรงตนอยู่ในสถานะชนชั้นปกครองตลอดมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2442 นครเชียงใหม่ให้รัฐบาลสยามได้เข้ามาบริหารจัดการการปกครองอย่างเต็มรูปแบบ โดยดำเนินนโยบายผนวกดินแดนและปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล เจ้านายฝ่ายเหนือจึงดำรงสถานะเป็นเสมือนข้าราชการที่มีเงินประจำตำแหน่งเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้น ล้านนาจะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า จากลัทธิจักรวรรดินิยม[3]

ความสัมพันธ์กับราชสำนักสยาม

การที่ไทยในสยามประเทศสามารถรวมกันได้ เพราะอาศรัยพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จฯพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทราชอนุชาเปนต้นเค้า ก็เปนความจริง แต่สมควรจะยกย่องผู้เปนหัวหน้าของชาวมณฑลพายัพในสมัยนั้นด้วย คือเจ้าเจ็ดตนอันเปนต้นตระกูลวงศ์ของเจ้านายเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปางและเมืองลำพูน กับทั้งเจ้าเมืองน่านที่ได้เปนบรรพบุรุษของเจ้านายในเมืองนั้น ที่ได้สามิภักดิ์แล้วช่วยรบพุ่งข้าศึกเปนกำลังอย่างสำคัญ...จึงทรงพระกรุณาโปรดยกย่องวงศ์สกุลเจ้าเจ็ดตนและสกุลเจ้าเมืองน่านให้มียศเปนเจ้าสืบกันมา ด้วยเปนสกุลคู่พระบารมีของพระบรมราชจักรีวงศ์มาตั้งแต่ปฐมกาล[6]

— พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมณฑลพายัพ พ.ศ. 2469

สายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทิพจักรกับราชวงศ์จักรี มีมาตั้งแต่ครั้งสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพราะได้ช่วยขยายพระราชอาณาเขต และเจ้าศรีอโนชา พระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีบทบาทสำคัญยิ่งครั้งยังเป็นท่านผู้หญิง ในการช่วยหงายเมือง โดยได้ช่วยพระยาสุริยอภัยปราบพระยาสรรค์ช่วงเกิดความไม่สงบในปลายสมัยกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปสู้รบกับเขมรปี พ.ศ. 2324 ในการปราบพระยาสรรค์ เจ้าศรีอโนชาได้เกณฑ์ชาวลาวที่ปากเพรียว สระบุรี[7] เข้าผสมกับกองกำลังของพระยาสุริยอภัยจากนครราชสีมา รวมประมาณ 1,000 คน[8] ยกเข้ามาต่อสู้กับฝ่ายพระยาสรรค์ที่ธนบุรี การปะทะกันครั้งแรกฝ่ายพระยาสุริยอภัยได้เพลี่ยงพล้ำ เจ้าศรีอโนชาจึงบัญชากองทัพเรือชาวมอญเข้าช่วยตีขนาบจนฝ่ายพระยาสรรค์พ่ายแพ้[9] และในตำนานเจ้าเจ็ดตนเองก็กล่าวถึงบทบาทของเจ้าศรีอโนชาว่า "เจ้าครอกศรีอโนชาหงายเมืองได้ไว้แล้ว ก็ใช้ไปเชิญเอาเจ้าพระยาจักรี พระยาสุรสีห์ 2 องค์พี่น้องเข้ามาผ่านพิภพขึ้นเสวยราชย์ เจ้าพระยาจักรีเป็นพี่กษัตริย์องค์หลวง... พระยาสุรสีห์ คนน้องปรากฏว่า ล้นเกล้าล้นกระหม่อมกรมพระราชวังบวรสถานมงคลวังหน้า"[7]

สายสัมพันธ์ระหว่างสองราชสำนักแน่นแฟ้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเจ้าทิพเกสร ณ เชียงใหม่ มารับราชการฝ่ายในประสูติพระราชโอรส คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี และที่สำคัญคือการทรงทูลขอเจ้าดารารัศมี พระราชธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์[10] มารับราชการฝ่ายในต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระราชชายา ซึ่งเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองราชสำนัก นอกจากนั้นยังมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือหลายท่าน ได้สมรสกับเจ้านายเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน จึงทำให้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือเข้าไปมีบทบาทในราชสำนักสยามและราชการส่วนกลาง มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ

ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับสยาม จึงไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศราชกับเจ้าประเทศราชที่ล้านนาถูกบีบบังคับ แต่เป็นความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ

การกำหนดศักดินา

แต่เดิมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินและแผ่นดินทั้งหมดถืออยู่ในพระราชอำนาจของเจ้าหลวง หรือ เจ้าผู้ครองนคร, พระเจ้าผู้ครองนคร ที่จะพระราชทานให้เจ้านายหรือราษฎรใดก้ได้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ราชสำนักสยามได้พยายามเข้ามามีบทบาทเพื่อควบคุมการปกครองหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานศักดินาแก่เจ้านายพระยาท้าวแสน หัวเมืองประเทศราช ให้มีกำหนดในกรมศักดิ์สืบไป ดังนี้[11]

  1. เจ้าหลวง หรือ เจ้าผู้ครองนคร, พระเจ้าผู้ครองนคร แบ่งออกเป็น 3 ชั้น
    • พระเจ้าประเทศราช  ศักดินา 15,000 ไร่
    • เจ้าประเทศราช  ศักดินา 10,000 ไร่
    • พระยาประเทศราช  ศักดินา 8,000 ไร่
  2. เจ้าอุปราช ศักดินา 5,000 ไร่
  3. เจ้าราชวงศ์ ศักดินา 3,000 ไร่
  4. เจ้าบุรีรัตน์ ศักดินา 2,400 ไร่
  5. เจ้าราชบุตร ศักดินา 2,400 ไร่
  6. เจ้าราชภาคินัย ศักดินา 2,000 ไร่
  7. เจ้าราชภาติกวงษ์ ศักดินา 2,000 ไร่
  8. เจ้าราชสัมพันธวงศ์ ศักดินา 2,000ไร่
  9. เจ้าสุริยวงศ์ ศักดินา 2,000 ไร่
  10. เจ้าอุตรการโกศล ศักดินา 1,600 ไร่
  11. เจ้าไชยสงคราม ศักดินา 1,600 ไร่
  12. เจ้าทักษิณนิเกตน์ ศักดินา 1,600 ไร่
  13. เจ้านิเวศอุดร ศักดินา 1,600 ไร่


การพระราชทานนามสกุล

ในปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราบัญญัติใช้นามสกุลขึ้น[12] แล้วได้พระราชทานนามสกุลให้กับเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เจ้าผู้ครองนครลำพูน เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเจ้าผู้ครองนครน่าน ให้ทายาทผู้สืบสกุลในเจ้าผู้ครองนครใช้นามสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน ตามลำดับ ส่วนการใช้นามสกุลในพระญาติวงศ์ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของเจ้าผู้ครองนครเอง ต่อมาเจ้าผู้ครองนครได้อนุญาตให้ผู้มีเชื้อสายเจ้าในขณะนั้นเกือบทั้งหมดได้ใช้นามสกุลพระราชทานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตราบัญญัติให้ใช้นามสกุลมีขึ้นภายหลัง 180 ปี จึงทำให้ปรากฏเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือโดยเฉพาะเชื้อสายเจ้านายที่ไปปกครองเมืองบริวารใช้นามสกุลนอกเหนือจากพระราชทานอีกหลายนามสกุล[13]

ลำดับการพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าผู้ครองนครประเทศราชล้านนา ดังนี้

  1. ณ ลำภูน - (อักษรโรมัน: na Lambhûn) นามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 866 โดยพระราชทานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2456 แด่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพจักร และผู้สืบสกุลวงศ์มาจากพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ทิพจักร[14]
  2. ณ เชียงใหม่ - (อักษรโรมัน: na Chiengmai) นามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,161 โดยพระราชทานเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 แด่ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพจักร และผู้สืบสกุลวงศ์มาจากพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 พระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2 และพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ทิพจักร[15]
  3. ณ น่าน - (อักษรโรมัน: na Nân) นามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,162 โดยพระราชทานเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 แด่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ และผู้สืบสกุลวงศ์มาจากพระเจ้าหลวงติ๋นมหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 51 และปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์[16]
  4. ณ ลำปาง - (อักษรโรมัน: na Lampâng) นามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,166 โดยพระราชทานเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 แด่เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ทิพจักร และผู้สืบสกุลวงศ์มาจากพระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 พระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 5 และพระยาอุปราชหมูล่า พระยาอุปราชนครลำปาง แห่งราชวงศ์ทิพจักร[17]

บทบาทหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ด้านการเมือง

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทตามสถานการณ์บ้านเมือง หลายท่านได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยเกื้อกูลเครือญาติ อาทิ

- ในส่วนของสายนครเชียงใหม่มีเชื้อสายหลายท่านได้เข้าสู่การเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น[3] ส่งผลให้ตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นตระกูลที่มีบทบาททางการเมืองของไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อาทิเช่น เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่

- ในส่วนของสายนครน่านมีเชื้อสายที่เข้าสู่การเมือง คือ คำรณ ณ ลำพูน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ สมรสกับเจ้าสุกัญญา ณ น่าน (ธิดาในเจ้าผู้ครองนครน่าน) ทั้งสองท่านมีบทบาทสำคัญในฐานะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในส่วนที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อาทิเช่น พลเอกจิรพงศ์ วรรณรัตน์ (ณ เชียงใหม่) พลเอกเลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ (เชื้อเจ็ดตน) พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ (ณ ลำพูน)

- ในส่วนของสายเมืองแพร่ได้เชื้อสายหลายท่านที่เข้าสู่การเมืองทั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเมืองท้องถิ่น อาทิ เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์ (ราชบุตรในพระวิไชยราชา (หนานขัติ แสนศิริพันธุ์) พระวิไชยราชานครแพร่) คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ (ธิดาในรองอำมาตย์ตรีเผือก (เจ้าเผือก ไชยประวัติ) ดุสิต รังคสิริ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (บุตรในคุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ) ณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร และรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง (บุตรในเจ้าแสน วงศ์วรรณ) อนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (บุตรของณรงค์ วงศ์วรรณ) ประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (บุตรในเจ้าตาวคำ ศรุตานนท์ ราชนัดดาเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่) โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (หลานในเจ้าฟอง บรรเลง ราชนัดดาพระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่) ศาสตราจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร (หลานในเจ้ามหาชัย วังซ้าย) เกรน ประชาศรัยสรเดช อดีตนายกเทศมนตรีเมืองแพร่ (บุตรในคุณหญิงทิพย์เกษร เตมียานนท์ ราชนัดดาในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่) อนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ด้านสังคม

เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้มาเข้ามีบททางสังคมและทางวัฒนธรรม ในฐานะชนชั้นนำ[3] อาทิ การสืบสานศิลปวัฒนธรรมฝ่ายเหนือในนามของมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ[18] และการเข้าร่วมกิจกรรมกับจังหวัดเชียงใหม่ และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน[19] รวมถึงงานรัฐพิธี ราชพิธีต่างๆ ด้วย การจัดตั้งกองทุนเจ้าหลวงเชียงใหม่ในการส่งเสริมการศึกษาและการค้นคว้าวิจัย การบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่ อาทิ การสร้างห้องรักษาผู้ป่วยโรงพยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ การบริจาคสิ่งของจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่[20] และบทบาทในสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

นอกจากบทบาททางสังคมในเมืองเชียงใหม่ ยังมีบทบาทในสังคมชั้นนำซึ่งมีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายหลายคนเข้าไปมีบทบาทในวงธุรกิจ และวงสังคมชนชั้นนำในระดับชาติ อาทิ เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี หม่อมศรีนวล ณ เชียงใหม่ คุณหญิงระวีพันธุ์ สุจริตกุล เจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน คุณหญิงวิจันทรา บุนนาค คุณหญิงจิราภา สูตะบุตร และเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่[21]

เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้รับการยกย่องจากระบบราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ตลอดจนการรับเสด็จเพื่อแสดงความจงรักภักดี โดยเฉพาะการผูกข้อพระกรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีบายศรีทูลพระขวัญ นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเจ้านายฝ่ายเหนือ โปรดให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์เมื่อเสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ รวมทั้งพระราชทานดอกไม้เยี่ยมไข้เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปเสวยพระกระยาหารที่คุ้มวงศ์ตวัน ของพลตรี เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) และฉายพระรูปร่วมกับเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเป็นการส่วนพระองค์[22] ในครานั้นเองทรงรับสั่งว่า “ถึงแม้บ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรให้สามัคคีกัน ให้รวมกลุ่มกันรักษาความดีไว้ ในฐานะทายาทผู้ครองนคร” นับเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ แต่นั้นมา

ด้านเศรษฐกิจ

มีเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายเข้าไปมีบทบาทหลายคนในด้านเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่ อดีตรองประธานกรรมการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และ นายรพี สุจริตกุล อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ นายไชยณรงค์ ณ ลำพูน ประธานบริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด เป็นต้น ในส่วนเมืองเชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสายได้ริเริ่มธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่หลายประเภท อาทิ ธุรกิจโรงแรมแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ ของเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ [23]

เจ้านายฝ่ายเหนือในพระราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

รายนามเจ้านายฝ่ายเหนือที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีบทบาททางสังคม[24][25]

ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์

สายสกุลวงศ์ ณ เชียงใหม่

สายสกุลวงศ์ ณ ลำพูน

สายสกุลวงศ์ ณ ลำปาง

  • เจ้าไชยแก้ว ณ ลำปาง ราชบุตรของพระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง) (หลานของ เจ้าหลวงพรหมาภิพงษ์ธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปาง)
  • เจ้าจุฑารัตน์(ณ ลำปาง) ธิดาในเจ้าญาณรังษี ณ ลำปาง(ราชบุตรในพันเอกพระเพชรคีรีศรีราชสงคราม เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ. ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง)และคุณอารีย์ ณ ลำปาง
  • เจ้าธนพัฒ เกียรติเลิศพงศา(ณ ลำปาง) บุตรในเจ้าจุฑารัตน์(ณ ลำปาง) หลานชายคนโตในเจ้าญาณรังษี ณ ลำปางและคุณอารีย์ ณ ลำปาง เป็นหลานชายคนโตในสายครอบครัวของพันเอกพระเพชรคีรีศรีราชสงคราม เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ. ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปางและเจ้าจำรัสศรี ณ ลำปาง
  • เจ้าศรีสุดา(ณ ลำปาง) ธิดาในเจ้าญาณรังษี ณ ลำปาง(ราชบุตรในพันเอกพระเพชรคีรีศรีราชสงคราม เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง ท.จ. ผู้สืบสกุลเจ้าผู้ครองนครลำปาง)และคุณอารีย์ ณ ลำปาง
  • เจ้าวรรดา มันประเสริฐ(ณ ลำปาง) ธิดาในเจ้าศรีสุดา(ณ ลำปาง) หลานในเจ้าญาณรังษี ณ ลำปางและคุณอารีย์ ณ ลำปาง
  • เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง บุตรของพระเพชรคีรี (เจ้าแก้วเมืองไท ณ ลำปาง)

ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. สัมพันธ์ล้านนา-สยามในนาม “มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ
  2. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง "มูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ"
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 เบญจวรรณ บุญโทแสง. พัฒนาการการปรับตัวทางการเมืองของกลุ่มอำนาจท้องถิ่นภายหลังการผนวกดินแดนของสยาม (พ.ศ. 2442-2547): กรณีศึกษาตระกูล ณ เชียงใหม่. เก็บถาวร 2011-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550
  4. ตำแหน่งเจ้าเมืองขึ้น "หัวเมืองขึ้นชั้นที่สอง" ของราชสำนักล้านนา เรียกว่า "พญา" หรือ "อาชญา" ชาวเมืองนิยมเรียกว่า "เจ้าพญา" หรือ "เจ้าหลวง" เช่น พญาขัณฑเสมาบดี -เจ้าเมืองป่าเป้า อาชญามหาวงศ์ -เจ้าเมืองเชียงคำ ส่วนเมืองที่มีชาวไทใหญ่เป็นจำนวนมาก จะเรียกว่า "เจ้าฟ้า" เช่น เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม เมืองปาย เช่น พญาเทพบำรุงรัตนาเขตร (เจ้าฟ้าวงศ์)-เจ้าเมืองขุนยวม.-(น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์)
  5. การส่งเจ้านายพระประยูรญาติไปครองยังหัวเมืองประเทศราชและหัวเมืองชั้น 1 และ ชั้น 2 ต่างๆ นั้น เจ้านายเหล่านั้นจะได้รับการเทิดพระเกียรติจากราษฎรว่า "เจ้าหลวง" และชายาก็จะถูกเรียกขานว่า "แม่เจ้า" ส่วนการปกครองนครนั้น มีการตั้งข้าราชการหรือขุนเมืองทั้ง 8 เพื่อช่วยราชการแผ่นดินเหมือนห้วงราชวงศ์มังรายปกครองอาณาจักรล้านนา คือ (1) พญา เช่น พญาจ่าบ้าน พญาเด็กชาย พญาสามล้าน และพญาแสนหลวง (2) อาชญา (3) แสนหลวง (4) แสน (5) ท้าว (6) หาญ (7) หมื่น ดังนั้นคำว่า พระยาหรือพญาที่ถูกพระราชทานไปจากราชสำนักสยาม จึงมีความหมายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงสำหรับราชสำนักล้านนา.-(น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์)
  6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๓ น่า ๔๐๗๓ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙
  7. 7.0 7.1 สงวน โชติสุขรัตน์ (ปริวรรต). ตำนานเจ้าเจ็ดตน ฉบับสิงฆะ วรรณสัย. เชียงใหม่:สงวนการพิมพ์, 2511, หน้า 35
  8. พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี และจดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี. ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๐. พระนคร:องค์การค้าคุรุสภา, หน้า 12
  9. นรินทรเทวี, กรมหลวง. จดหมายเหตุความทรงจำ, กรุงเทพฯ:องค์การค้าคุรุสภา, หน้า 16
  10. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ถวายแด่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ซึ่งนับว่าเป็นการถวายพระเกียรตินับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี และเป็นพระเจ้าประเทศราชเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้รับพระราชทานและยกย่องพระเกียรติยศดังกล่าว.-(น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์)
  11. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/016/197.PDF พระราชบัญญัติศักดินาเจ้านาย พระยาท้าวแสนเมืองประเทศราช ประกาศมา ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๘
  12. ราชวงศ์ทิพจักรและราชวงศ์ติ๋นมหาวงษ์ มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ทำให้มีการกระจัดกระจายเชื้อสาย โดยเฉพาะราชวงศ์ทิพจักรนั้น ได้สถาปนาขึ้นในปี 2275 แต่การตราพระราชบัญญัตินามสกุลมีขึ้นในปี 2455 จากการศึกษาค้นคว้าจึงพบว่ามีเชื้อสายหลายท่านขอพระราชทานในคราเดียวกัน และหลายท่านมีความสับสนในการเลือกใช้นามสกุลอยู่บ้าง เพราะ (1) เจ้าหลวงบางพระองค์ขึ้นครองสองนคร (เช่น เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน ก่อนขึ้นครองนครเชียงใหม่) (2) มีการสมรสในหมู่เจ้านายพระประยูรญาติข้ามนครทั้งสามมาอย่างยาวนาน (3) เจ้านายบุตรหลานได้ถูกส่งไปเป็นเจ้าขันห้าใบตามนครอื่น และเป็นเจ้าหลวงปกครองเมืองบริวารต่างๆ เชื้อสายเจ้านายในเมืองบริวารจึงปรากฏใช้นามสกุลต่างออกไปอีกหลายนามสกุล.-(น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์)
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ "ณ" นำหน้านามสกุล, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๓๙๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล เล่มที่ ๓๐, ตอน ๐ ง, วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๕๖, หน้า ๒๑๒๒
  15. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 14 (ลำดับที่ 1156 ถึงลำดับที่ 1182)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 วันที่ 5 เมษายน 2457 หน้า 10
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล วันที่ 5 เมษายน 2457
  17. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 14 (ลำดับที่ 1156 ถึงลำดับที่ 1182)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 วันที่ 5 เมษายน 2457 หน้า 10
  18. [1]
  19. ต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ร่วมจุฬาฯ ทำบุญคล้ายวันประสูติ "พระราชชายาเจ้าดารารัศมี" เสวนา-ฟ้อนเล็บยิ่งใหญ่
  20. ชาวเชียงใหม่แห่ร่วมถวายดอกไม้จันทน์ “เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ”[ลิงก์เสีย]
  21. อาลัย เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือ จัดพิธีศพแบบล้านนา
  22. หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
  23. เจ้าไชยสุริวงศ์ในสายตระกูลเจ้าเจ็ดตน
  24. เจ้านายฝ่ายเหนือ. ทำเนียบส่วนราชการของจังหวัดเชียงใหม่ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 21 มิถุนายน 2555
  25. การแบ่งออกเป็นเจ้านายสายเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นครลำพูน หรือนครลำปาง เป็นเรื่องยากเพราะมีความสัมพันธ์สมรสกันไปมาทั้ง 3 นคร รวมทั้งราชวงศ์มังราย สายนครเชียงตุง ซึ่งมีสายสัมพันธ์เครือญาติแนบแน่นกับราชวงศ์ทิพจักรแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินท์.-(น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์)
  26. "เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน...ลมหายใจแห่งนครน่าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-04-23.
  27. วิชญดา ทองแดง (7 พฤษภาคม 2552). "คุ้มเจ้าหมอกฟ้า ณ น่าน". วารสารเมืองโบราณ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [2] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังน่า. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2462. [พิมพ์แจกในงานศพนางสุ่น ชาติโอสถ ปีมะแม พ.ศ. 2462]
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 496 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
  • ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505.
  • เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่.
  • วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0
  • เจ้าวรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช ที่ระลึกในการบูรณะกู่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนครลำพูน ชายา และเจ้านายสกุล ณ ลำพูน ณ เชียงใหม่ ณ สุสานหลวงลำพูน. (ครั้งที่1) :บ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จก. (มหาชน), 15 เมษายน 2549
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้านายฝ่ายเหนือ
  • บรรดาศักดิ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือและประเด็นน่ารู้บางประการ

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!