ราชวงศ์มังราย

ราชวงศ์มังราย
พระราชอิสริยยศ
  • พระมหากษัตริย์ล้านนา
  • สามนตราชเชียงใหม่
  • เจ้าหอคำเชียงตุง
ปกครอง
เชื้อชาติไทยวน
ประมุขพระองค์แรกพญามังราย
ประมุขพระองค์สุดท้าย
ช่วงระยะเวลา
  • ล้านนา
    • ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1835–2089
    • ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 2094–2121
  • เชียงตุง : ราวพุทธศตวรรษที่ 19–พ.ศ. 2502
สถาปนาพ.ศ. 1835
ล่มสลายพ.ศ. 2502

ราชวงศ์มังราย[1] (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่รัชสมัยพญามังรายจนถึงพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี จนถึงยุคเสื่อม เมื่ออุปนิกขิต (สายลับ) ที่พระเจ้าบุเรงนองส่งมาฝังตัวเพื่อรายงานสถานการณ์ในเชียงใหม่ แจ้งกลับไปบอกว่าเชียงใหม่ถึงยุคเสื่อมสุดแล้ว ให้ยกทัพหงสาวดีมาชิงเมือง ดังนั้น ใน พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนอง จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ โดยทัพพม่าใช้เวลาเพียงสามวันก็สามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้โดยง่าย กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้หลบหนีไปยังเมือง"ปาไป่น้อย"หรือเมืองเชียงแสน ตามหลักฐานของจักรพรรดิจีนราชวงศ์หมิง อีกหกปีต่อมาพม่าก็ปลดพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ออกจากราชบัลลังก์ในข้อหาแข็งเมืองก่อการกบฏพระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งพระนางวิสุทธิเทวี อันเป็นเชื้อสายราชวงศ์มังรายอีกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พระนางครองเมืองเชียงใหม่ได้ 14 ปี ก็สวรรคต และสิ้นสุดราชวงศ์มังรายสายพญาแสนพู [2] แต่ราชวงศ์มังรายยังคงเหลือเชื้อสายในราชวงศ์ที่ปกครองเมืองเชียงตุง ซึ่งเป็นสายของพระราชบุตรอีกพระองค์ของพญาไชยสงคราม ซึ่งภายหลังที่อังกฤษเข้ายึดครองพม่า ราชวงศ์มังรายสายเชียงตุงได้อพยพเข้ามาอยู่ในอาณาจักรล้านนาภายใต้การปกครองของราชวงศ์ทิพย์จักร (ตระกูลเจ้าเจ็ดตน)

ลำดับกษัตริย์ราชวงศ์มังราย

1 พญามังราย พ.ศ. 1835 - 1854 (19 ปี)
2 พญาไชยสงคราม พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
3 พญาแสนพู พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
4 พญาคำฟู พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
5 พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
6 พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
7 พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
8 พญาสามฝั่งแกน พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
9 พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
10 พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
11 พญาแก้ว พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
12 พระเมืองเกษเกล้า พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งที่ 1
13 ท้าวซายคำ พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
พระเมืองเกษเกล้า พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
14 พระนางจิรประภาเทวี พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
15 สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
16 พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า
17 พระนางวิสุทธิเทวี พ.ศ. 2107 - 2121 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า

แผนผังราชวงศ์มังราย

 
 
 
 
(1)
พญามังราย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(2)
พญาไชยสงคราม

ขุนเครือ (เจ้าฟ้าเมืองนาย)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(3)
พญาแสนพู
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(4)
พญาคำฟู
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(5)
พญาผายู
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(6)
พญากือนา
(7)
พญาแสนเมืองมา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(8)
พญาสามฝั่งแกน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(9)
พระเจ้าติโลกราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ท้าวบุญเรือง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พญายอดเชียงราย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(11)
พญาแก้ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(12)
พระเมืองเกษเกล้า
 
(13)
พระนางจิรประภา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนางยอดคำทิพย์
 

พระยาโพธิสาลราช แห่งล้านช้าง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(13)
สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช
ขณะเป็นเจ้าชายแห่งหลวงพระบาง
(15)
พระนางวิสุทธิเทวี
(พระราชมารดาโดยสันนิฐาน)
 

พระราชชนก
เจ้าฟ้าเมืองนาย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(14)
พระเมกุฏิสุทธิวงศ์
เจ้าชายเมืองนาย

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์

ลำดับ พระนาม พระชาติกำเนิด พระราชสวามี/พระมหาเทวี หมายเหตุ
1 พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย[3] สืบเชื้อสายมาจากเวียงไชยปราการ[4] พญามังราย
2 ไม่ปรากฏพระนาม[5] ไม่ทราบ พญาไชยสงคราม
3 นางซีมคำ (จีมคำ) ไม่ทราบ พญาแสนพู
4 ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบ พญาคำฟู
5 พระนางจิตราเทวี[5] ธิดาเจ้าเมืองเชียงของ พญาผายู
6 พระนางยสุนทราเทวี[6] หลานเจ้าเมืองเชียงของ พญากือนา
7 พระนางติโลกจุฑาเทวี[7] ไม่ทราบ พญาแสนเมืองมา
8 แม่พระพิลก[8] พญาสามฝั่งแกน
9 ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบ พระเจ้าติโลกราช
10 พระนางสิริยศวดีเทวี ธิดาขุนนางนครเขลางค์ พญายอดเชียงราย
11 ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบ พญาแก้ว
12 พระนางจิรประภาเทวี ไม่ทราบ พระเมืองเกษเกล้า
13 ไม่ปรากฏพระนาม ไม่ทราบ ท้าวซายคำ
14 พระเมืองเกษเกล้า โอรสพญาแก้ว พระนางจิรประภาเทวี
15 พระนางตนทิพย์
พระนางตนคำ
ธิดาพระเมืองเกษเกล้า พระไชยเชษฐา
16 ไม่ทราบ ไม่ทราบ พระเมกุฏิสุทธิวงศ์
17 ไม่ทราบ ไม่ทราบ พระนางวิสุทธิเทวี

อ้างอิง

  1. ประเสริฐ ณ นคร. (2549, กุมภาพันธ์). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 270.
    และดูคำอธิบายที่ "มังราย" กับ "เม็งราย" อย่างไหนถูก
  2. สกุลไทย ฉบับที่ 2389 ปีที่ 46 ประจำวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2543
  3. "ตำนาน 700 ปี คนแห่"ขอลูก-ความรัก"สมหวัง ต้นโพธิ์พญามังราย เวียงกุมกาม". www.thairath.co.th. 2019-12-30.
  4. เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555). "คลีโอพัตราแห่งล้านนา "นางพญาอั้วเชียงแสน"". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1642, หน้า 76
  5. 5.0 5.1 เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555). "ใครคือ “มหาเทวีแม่ลูกสอง” ผู้มิใช่ “มหาเทวีสองแม่ลูก”". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1667, หน้า 76
  6. "พระนางยสุนทราเทวี", วิกิพีเดีย, 2017-08-18, สืบค้นเมื่อ 2022-01-09
  7. "พระนางติโลกจุฑาเทวี". แม่ญิงล้านนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-09. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มติชน, หน้า 48

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!