อำเภอบาเจาะ

อำเภอบาเจาะ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bacho
คำขวัญ: 
ปาโจแดนดินถิ่นสาวสวย สุดร่ำรวยสีทองอันสดใส มัสยิดโบราณแหล่งรวมใจ เลื่องลือไกลหลวงพ่อแดงแรงศรัทธา
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอบาเจาะ
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอบาเจาะ
พิกัด: 6°31′1″N 101°39′6″E / 6.51694°N 101.65167°E / 6.51694; 101.65167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่
 • ทั้งหมด171.68 ตร.กม. (66.29 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด55,961 คน
 • ความหนาแน่น325.96 คน/ตร.กม. (844.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 96170
รหัสภูมิศาสตร์9603
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบาเจาะ หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 96170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บาเจาะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส

ใบไม้สีทอง ที่สามจังหวัดชายแดนใต้คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่พบได้ที่นี่แห่งเดียวในโลก

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบาเจาะตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ใบอ่อนมีมีขนสีน้ำตาลแดง หรือขนสีทองแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย พบครั้งแรกโดย ดร.ชวลิต นิยมธรรม ที่น้ำตกปาโจ ตำบลบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

ประวัติ

อำเภอบาเจาะ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสายบุรี มณฑลปัตตานี มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่บริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่ากอตอ หรือวัง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านดูกู ตำบลบาเจาะ ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2451 ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น เรียกว่ากิ่งอำเภอจำปากอ[1] (ณ บ้านจำปากอ ตำบลบาเระเหนือ ในปัจจุบัน) โดยแยกพื้นที่ออกจากอำเภอกลางเมืองสายบุรี รวมตำบลบาเระเหนือ ตำบลบาเระใต้ ตำบลช้างตาย ตำบลบาเจาะ ตำบลตุกาสาเมาะ และตำบลจำปากอ รวม 6 ตำบล ปีถัดมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2452 ได้ยกฐานะเป็น อำเภอจำปากอ[2] ให้ขึ้นตรงต่อเมืองสายบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบาเจาะ[3][4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ยุบจังหวัดสายบุรี เป็นอำเภอสายบุรี ขึ้นกับจังหวัดปัตตานี จึงได้โอนท้องที่อำเภอบาเจาะมาขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสจนถึงปัจจุบัน

อนื่ง อำเภอบาเจาะ ราษฎรทั่วไปมักจะเรียกว่า “แป๊ะบุญ” เนื่องจากประวัติเดิมกล่าวว่าหมู่บ้านที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบาเจาะ มีชาวจีนชื่อ “บุญ” มาตั้ง บ้านเรือน และทำมาค้าขาย รับซื้อสินค้า ของป่า และของอื่นๆ จากชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเรียกว่า แป๊ะบุญ ซึ่ง เรียกขานกันมาจนถึงปัจจุบัน อำเภอบาเจาะนั้นนับตั้งแต่ การประกาศจัดตั้ง มีนายอำเภอบาเจาะทั้งหมดจำนวน 32 คนโดยมีขุนหลวงนฤภัยพิทักษ์ (หลง มิตรสิตะ) เป็นนายอำเภอคนแรก

  • วันที่ 9 สิงหาคม 2451 แยกพื้นที่ตำบลตำบลบาเระเหนือ ตำบลบาเระใต้ ตำบลช้างตาย ตำบลบาเจาะ ตำบลตุกาสาเมาะ และตำบลจำปากอ ของอำเภอกลางเมืองสายบุรี จังหวัดสายบุรี ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอจำปากอ[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกลางเมืองสายบุรี
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2452 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอจำปากอ อำเภอกลางเมืองสายบุรี เป็น อำเภอจำปากอ[2]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอจำปากอ จังหวัดสายบุรี เป็น อำเภอบาเจาะ[3][4]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบจังหวัดสายบุรี รวมเข้ากับจังหวัดปัตตานี[5] เว้นแต่ท้องที่อำเภอบาเจาะ ให้โอนมาขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบาเระเหนือ แยกออกจากตำบลกาเยาะมาตี และตำบลปะลุกาสาเมาะ ตั้งตำบลลุโบะสาวอ แยกออกจากตำบลบาเจาะ[6]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบาเจาะ ในท้องที่หมู่ที่ 2,3,4 ของตำบลบาเจาะ[7]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2512 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบาเจาะ[8] ในท้องที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งสภาตำบลบาเจาะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบาเจาะ) สภาตำบลลุโบะสาวอ สภาตำบลบาเระเหนือ สภาตำบลบาเระใต้ และสภาตำบลปะลุกาสาเมาะ
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลกาเยาะมาตี[9]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2518 จัดตั้งนิคมสหกรณ์บาเจาะ ในท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอยี่งอ และอำเภอบาเจาะ[10]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 จัดตั้งนิคมสหกรณ์บาเจาะ (อีกครั้ง) ในท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอยี่งอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และเขตกิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[11][12] เนื่องจากประกาศปี พ.ศ. 2518[10] ได้ผิดไปจากสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศ
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2534 จัดตั้งสุขาภิบาลต้นไทร ในท้องที่หมู่ที่ 1,6 ของตำบลปะลุกาสาเมาะ[13]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลปะลุกาสาเมาะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลต้นไทร) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ[14]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลบาเจาะ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลบาเจาะ) สภาตำบลบาเระเหนือ สภาตำบลบาเระใต้ สภาตำบลกาเยาะมาตี และสภาตำบลลุโบะสาวอ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระเหนือ องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลกาเยาะมาตี และองค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ[15] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบาเจาะ และสุขาภิบาลต้นไทร เป็นเทศบาลตำบลบาเจาะ และเทศบาลตำบลต้นไทร ตามลำดับ[16] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 แยกหมู่ที่ 3 บ้านดูกู ตำบลบาเจาะ ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ 1 หมู่บ้าน ตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านซอปอ ตำบลบาเจาะ[17]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบาเจาะแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บาเจาะ (Bacho) 9 หมู่บ้าน
2. ลุโบะสาวอ (Lubo Sawo) 7 หมู่บ้าน
3. กาเยาะมาตี (Kayo Mati) 6 หมู่บ้าน
4. ปะลุกาสาเมาะ (Paluka Samo) 11 หมู่บ้าน
5. บาเระเหนือ (Bare Nuea) 7 หมู่บ้าน
6. บาเระใต้ (Bare Tai) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบาเจาะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบาเจาะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบาเจาะ
  • เทศบาลตำบลต้นไทร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปะลุกาสาเมาะ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาเจาะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบาเจาะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะสาวอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุโบะสาวอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาเยาะมาตี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาเยาะมาตีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลต้นไทร)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาเระเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาเระใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาเระใต้ทั้งตำบล

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ลดอำเภอกระลาพอลงเป็นกิ่งและรวมตำบลต่างๆในท้องที่อำเภอเมือง เมืองสายบุรี ๖ ตำบลจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอจำปากอ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (19): 571. August 9, 1908. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  2. 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนอำเภอยี่งอ ซึ่งขึ้นเมืองสายบุรี ไปขึ้นจังหวัดบางนราในมณฑลปัตตานี ยกกิ่งอำเภอจำปากอ ตั้งเป็นอำเภอจำปากอขึ้นเมืองสายบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1950. December 5, 1909. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  4. 4.0 4.1 "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๕ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ หน้า ๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 858. June 17, 1917.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. February 21, 1931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-48. October 15, 1956.
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขท่ามะกา,ท่าม่วง,แก้งคล้อ,คีรีรัฐนิคม,คลองแงะ,ละงู,บาเจาะ และอุดรธานี ๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2549. August 26, 1969.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
  10. 10.0 10.1 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอบาเจาะ และอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (238 ก): (ฉบับพิเศษ) 17-18. November 20, 1975.
  11. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่กิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (128 ก): (ฉบับพิเศษ) 16-19. July 6, 1990.
  12. "แก้คำผิด พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่กิ่งอำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และอำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (176 ง): 6281. September 3, 1990.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลต้นไทร อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (177 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-24. October 7, 1991.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. January 30, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  16. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  17. "ประกาศจังหวัดนราธิวาส เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (87 ง): 105–108. November 14, 2019.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!