ระแงะ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาสในอดีตเคยเป็นจังหวัดระแงะต่อมาจึงถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอระแงะขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
อำเภอระแงะ ตามประวัติศาสตร์เป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี อันเป็นเมืองโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุผลทางการเมือง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามกับพระยาสงขลา ( เถียนจ๋อง ) ออกไปทำการแยก เมืองปัตตานีออกเป็นเจ็ดหัวเมือง พร้อมอัญเชิญตราตั้ง ออกไปพระราชทานแก่เมืองทั้งเจ็ดเรียกว่า “บริเวณ 7 หัวเมือง” ประกอบด้วยเมืองปัตตานีเมืองยะลา เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองสายบุรี เมืองยะหริ่ง เมืองระแงะโดยมีการแต่งตั้งให้มีผู้ปกครองแต่ละเมือง เรียกว่าพระยาเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2355
พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระปิยมหาราชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตามบรรดาศักดิ์แก่เจ้าเมืองพระยาระแงะว่าพระยาภูผาภักดีศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา และเจ้าเมืองอื่น ๆ ด้วย พ.ศ. 2444 ได้ประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง ในการปกครองมอบหมายให้เจ้าเมืองปกครองดูแล โดยมีกองบัญชาการงานเมือง มีปลัดเมือง ยกกระบัตรผู้ช่วยผู้ว่าราชการเมือง โดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ควบคุมดูแล ตรวจตรา แนะนำ ข้าราชการ และข้าราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของราชการส่วนกลาง โดยยกเลิกการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการในการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง
เมืองระแงะจึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลตันหยงมัส และทรงโปรดเล้าฯแต่งตั้งนายหนิเดะ เป็นพระยาเมืองปกครอง และเมื่อนายหนิเดะได้ถึงแก่กรรม ตำแหน่งว่างลง จึงทรงโปรดแต่งตั้งให้นายหนิบอสูเป็นผู้รักษาราชการแทนสืบต่อเนื่องมาจนกระทั่งมีการโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงการปกครอง 7 หัวเมืองโดยให้ขึ้นตรงต่อมณฑลนครศรีธรรมราช
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล และให้ 7 หัวเมืองอยู่ในความ ปกครองของเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ยุบหัวเมืองทั้ง 7 เหลือแค่เพียง 4 หัวเมือง และให้ขึ้นอยู่กับมณฑลปัตตานี คือ (1) เมืองปัตตานี ประกอบด้วย หนองจิก ยะหริ่ง และปัตตานี (2) เมืองยะลา ประกอบด้วย รามัน และเมืองยะลา (3) เมืองสายบุรี (4) เมืองระแงะ
พ.ศ. 2450 ได้ย้ายที่ว่าการเมืองระแงะ ที่ตำบลบ้านตันหยงมัสไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บ้านมะนาลอ อำเภอบางนรา และยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา ส่วนเมืองระแงะเดิมนั้นให้เป็นอำเภอและขึ้นอยู่กับเมืองบางนรา โดยยกฐานะ “บ้านตันหยงมัส” เป็น “อำเภอเมืองระแงะ”
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ชุมชนตันหยงมัส ได้เจริญและขยายตัวเมือง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก“ อำเภอเมืองระแงะ” เป็น “อำเภอตันหยงมัส” และในปี พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอตันหยงมัส” เป็น “อำเภอระแงะ” จนถึงปัจจุบัน[1]
- วันที่ 21 เมษายน 2450 โอนอำเภอบางนรา แขวงเมืองสายบุรี มาขึ้นกับแขวงเมืองระแงะ[2]
- วันที่ 28 กันยายน 2456 แยกพื้นที่ตำบลเรียง ตำบลบาตง ตำบลสาคอ ตำบลต่อหลัง ตำบลมะยูง ตำบลรือเสาะ ตำบลลาเมาะ และตำบลลาโละ อำเภอเมืองระแงะ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอตำมะหงัน ตั้งที่ว่าการกิ่งที่บ้านตำมะหงัน และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองระแงะ[3]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็น อำเภอตันหยงมัส และเปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอตำมะหงัน อำเภอเมืองระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็น กิ่งอำเภอรือเสาะ[4]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดยะลา กับจังหวัดนราธิวาส โอนพื้นที่ตำบลโตนด ตำบลมะนังปันยัง และตำบลสาวอ อำเภอโกตาบารู จังหวัดยะลา ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอรือเสาะ อำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส[5]
- วันที่ 16 มกราคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในตอนนั้น) จากตำบลบูกิต ไปขึ้นกับตำบลจวบ และโอนพื้นที่หมู่ 1-4 (ในตอนนั้น) จากตำบลกานัวะ ไปขึ้นกับตำบลกาลิซา และยุบพื้นที่ตำบลกานัวะ[6]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส เป็น อำเภอระแงะ[7]
- วันที่ 9 ตุลาคม 2482 ยกฐานะกิ่งอำเภอรือเสาะ อำเภอระแงะ เป็น อำเภอรือเสาะ ให้มีเขตการปกครองได้แก่ ตำบลรือเสาะ ตำบลลาโละ ตำบลบาตง ตำบลโตนด ตำบลมะนังปันยัง ตำบลซากอ ตำบลตะมะยูง ตำบลเรียง และตำบลสาวอ[8]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลจวบ แยกออกจากตำบลบูกิต ตำบลมะรือโบออก และตำบลตันหยงลิมอ ตั้งตำบลเฉลิม แยกออกจากตำบลมะรือโบตก และตำบลบาโงสะโต[9]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลตันหยงมัส ในท้องที่บางส่วนของตำบลตันหยงมัส[10]
- วันที่ 16 กันยายน 2501 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลตันหยงมัส[11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 7 ตุลาคม 2518 ตั้งตำบลดุซงญอ แยกออกจากตำบลจะแนะ[12]
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2526 แยกพื้นที่ตำบลจะแนะ และตำบลดุซงญอ อำเภอระแงะ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอจะแนะ[13] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอระแงะ
- วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลผดุงมาตร แยกออกจากตำบลดุซงญอ[14]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ เป็น อำเภอจะแนะ[15]
- วันที่ 9 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลมะรือโบตก ในท้องที่บางส่วนของตำบลมะรือโบตก[16]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลจวบ ตำบลบูกิต และตำบลมะรือโบออก อำเภอระแงะ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเจาะไอร้อง[17] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอระแงะ
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอเจาะไอร้อง อำเภอระแงะ เป็น อำเภอเจาะไอร้อง[18]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลตันหยงมัส และสุขาภิบาลมะรือโบตก เป็นเทศบาลตำบลตันหยงมัส และเทศบาลตำบลมะรือโบตก ตามลำดับ[19] ด้วยผลของกฎหมาย
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอระแงะตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอระแงะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
ตันหยงมัส |
|
|
|
(Tanyong Mat) |
|
|
|
13 หมู่บ้าน |
|
2. |
ตันหยงลิมอ |
|
|
|
(Tanyong Limo) |
|
|
|
8 หมู่บ้าน |
|
3. |
บองอ |
|
|
|
(Bo-ngo) |
|
|
|
10 หมู่บ้าน |
|
4. |
กาลิซา |
|
|
|
(Kalisa) |
|
|
|
6 หมู่บ้าน |
|
5. |
บาโงสะโต |
|
|
|
(Ba-ngo Sato) |
|
|
|
8 หมู่บ้าน |
|
6. |
เฉลิม |
|
|
|
(Chaloem) |
|
|
|
7 หมู่บ้าน |
|
7. |
มะรือโบตก |
|
|
|
(Maruebo Tok) |
|
|
|
9 หมู่บ้าน |
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอระแงะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลตันหยงมัส ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลตันหยงมัส
- เทศบาลตำบลมะรือโบตก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมะรือโบตก
- องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงมัส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตันหยงมัส (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตันหยงมัส)
- องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตันหยงลิมอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบองอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกาลิซา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาลิซาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงสะโต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาโงสะโตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเฉลิมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะรือโบตก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก)
รายนามเจ้าเมืองระแงะ
- พระยาระแงะ (หนิเดะ) Nik Dah
- พระยาระแงะ (หนิบอสู หรือตวันบอสู) Nik Bongsu
- พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังศา พระยาระแงะ (ตวันโหนะ) Tuan Nong
- พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังศา พระยาระแงะ (ตวันเหงาะ) Tuan Tengah [20] ลูกชายต่วนสุหลง พี่ชายต่างมารดาของต่วนโน๊ะ (ตวันโหนะ)
- พระยาภูผาภักดี ศรีสุวรรณประเทศวิเศษวังษา พระยาระแงะ (เต็งกูเงาะซำซูดิน) Tengku Ngah Shamsuddin
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
คุณภาพชีวิต | |
---|
|
---|
|