อาณาจักรรีวกีว

อาณาจักรรีวกีว

琉球國
1429–1879
ธงชาติรีวกีว
ธงชาติ
พระราชลัญจกรของรีวกีว
พระราชลัญจกร
สถานะรัฐบรรณาการของราชวงศ์หมิง
(1429–1644)
รัฐบรรณาการของราชวงศ์ชิง
(1644–1874)
เมืองขึ้นของแคว้นซัตสึมะ
(1609–1872)
เมืองขึ้นของจักรวรรดิญี่ปุ่น
(1872–1879)
เมืองหลวงชูริ
ภาษาทั่วไปรีวกีว (ภาษาพื้นเมือง), ภาษาจีนคลาสสิก, ภาษาญี่ปุ่นคลาสสิก
ศาสนา
ศาสนาพื้นเมืองรีวกีว, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ (國王) 
• 1429–1439
โช ฮาชิ
• 1477–1526
โช ชิน
• 1587–1620
โช เน
• 1848–1879
โช ไท
เซ็สเซ (摂政) 
• 1666–1673
โช โชเค็ง
ผู้สำเร็จราชการ (โคกูชิ) (國師) 
• 1751–1752
ไซ อง
สภานิติบัญญัติชูริโอฟุ (首里王府), ซันชิกัง (三司官)
ประวัติศาสตร์ 
• รวมประเทศ
1429
5 เมษายน 1609
• เปลี่ยนเป็นแคว้นรีวกีว
1875
• รวมเข้ากับจักรวรรดิญี่ปุ่น
11 มีนาคม 1879
พื้นที่
2,271 ตารางกิโลเมตร (877 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
โฮกูซัน
ชูซัน
นันซัน
จักรวรรดิญี่ปุ่น
แคว้นซัตสึมะ
แคว้นรีวกีว
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

อาณาจักรรีวกีว (ญี่ปุ่น: 琉球王国 Ryūkyū Ōkoku; รีวกีว: 琉球國 Ruuchuu-kuku; จีนตัวเต็ม: 琉球國; จีนตัวย่อ: 琉球国; พินอิน: Liúqiú Guó; ค.ศ. 1429 — 1879) เป็นรัฐเอกราช ครอบครองหมู่เกาะรีวกีว (ญี่ปุ่น: 琉球諸島โรมาจิRyūkyū Shotō) เกือบทั้งหมดตั้งแต่ศตวรรษที่ 1519

ชื่อของอาณาจักรรีวกีวปรากฏในเอกสารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ลิชี่ว (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์)[1] หรือ ลิ่วขิ่ว (โคลงภาพคนต่างภาษา)[2]

กษัตริย์ของอาณาจักรรีวกีวได้รวบรวมเกาะโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄島โรมาจิOkinawa-jima) ให้เป็นปึกแผ่น และขยายอาณาเขตไปถึงหมู่เกาะอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美諸島โรมาจิamami shotō) (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดคาโงชิมะ (ญี่ปุ่น: 鹿児島県โรมาจิKagoshima-ken) และหมู่เกาะซากิชิมะ (ญี่ปุ่น: 先島諸島โรมาจิSakishima shotō) ใกล้กับเกาะไต้หวัน แม้ว่าจะเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ แต่ก็มีบทบาทสำคัญทางด้านการค้าทางทะเลในยุคกลางของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์

กำเนิดอาณาจักร

ในศตวรรษที่ 14 เมืองเล็ก ๆ ที่กระจายตัวบนเกาะโอกินาวะได้รวมตัวกันตั้งเป็นแคว้น 3 แคว้น ได้แก่ แคว้นโฮกูซัน (ญี่ปุ่น: 北山โรมาจิHokuzan) (แปลว่า เขาตอนเหนือ) แคว้นชูซัน (ญี่ปุ่น: 中山โรมาจิChūzan) (แปลว่า เขาตอนกลาง) และแคว้นนันซัน (ญี่ปุ่น: 南山โรมาจิNanzan) (แปลว่า เขาตอนใต้) อันเป็นที่รู้กันในนามยุคสามก๊ก หรือยุคซันซัน (ญี่ปุ่น: 三山โรมาจิSanzan) (แปลว่า เขาทั้งสาม) แคว้นโฮกูซันตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะ และเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุด กินเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของเกาะ แม้ว่าจะมีกำลังทหารที่แข็งแกร่งที่สุด แต่ก็มีเศรษฐกิจที่อ่อนแอที่สุด แคว้นนันซันตั้งอยู่ตอนใต้ของเกาะ ส่วนแคว้นชูซันนั้นตั้งอยู่ตอนกลางของเกาะ และมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุด เป็นที่ตั้งของเมืองชูริ (ญี่ปุ่น: 首里โรมาจิShuri) อันเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองนาฮะ (ญี่ปุ่น: 那覇โรมาจิNaha) อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุด (ปัจจุบัน เป็นเมืองหลวงของจังหวัดโอกินาวะ) และเมืองคูเมมูระ (ญี่ปุ่น: 久米村โรมาจิKumemura) อันเป็นเมืองศูนย์รวมสรรพวิชาความรู้ต่าง ๆ จากจีน เหตุนี้เองที่ทำให้แคว้นชูซันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรรีวกีวจนกระทั่งล่มสลาย

ต่อมา เมื่อผู้ครองสามแคว้นใหญ่นี้ได้สู้รบกัน ผู้ครองแคว้นชูซันก็ได้รับชัยชนะ และได้รับการรับรองจากจักรวรรดิจีนให้เป็นกษัตริย์ผู้มีสิทธิเหนือสามแคว้นอย่างชอบธรรม แม้ว่าจะไม่สามารถปราบแคว้นที่เหลือได้อย่างราบคาบก็ตาม จากนั้น ผู้ครองแคว้นชูซันก็ได้ส่งต่อบังลังก์ให้กับฮาชิ ฮาชิสามารถปราบแคว้นโฮกูซันได้อย่างราบคาบใน ค.ศ. 1416 และแคว้นนันซันได้ในค.ศ. 1429 แล้วรวบรวมเกาะโอกินาวะให้เป็นปึกแผ่นได้เป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมา ฮาชิได้ก่อตั้ง "ราชวงศ์โช" ขึ้นเป็นราชวงศ์แรก โดย "โช" เป็นแซ่ซึ่งได้รับพระราชทานจากฮ่องเต้ราชวงศ์หมิงแห่งจักรวรรดิจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1421 และตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรนามว่า พระเจ้าโชฮาชิ ในค.ศ. 1429 อันเป็นจุดเริ่มแรกของอาณาจักรรีวกีว

พระเจ้าโช ฮาชิ ได้ทรงนำระบบราชสำนักแบบมีลำดับศักดิ์จากจีนมาใช้ ทรงก่อสร้างปราสาทชูริ (ญี่ปุ่น: 首里城โรมาจิShurijō) ขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครอง และทรงสร้างท่าเรือใหญ่ที่เมืองนาฮะ ต่อมา ในค.ศ. 1469 พระเจ้าโช โทกุสวรรคตโดยไม่มีโอรสเป็นรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อ้างตัวเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์และยังได้รับอุปถัมภ์จากจักรวรรดิจีนอีกด้วย จากนั้นได้ตั้งตนเองเป็น พระเจ้าโช เอ็ง และตั้งราชวงศ์โชที่สองขึ้นเป็นราชวงศ์ใหม่ของอาณาจักรรีวกีว หลังสิ้นพระเจ้าโช เอ็ง พระเจ้าโช ชินขึ้นครองราชย์ต่อ และยุคของพระองค์นี้เองที่เป็นยุคทองของอาณาจักรรีวกีว พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1487-1526

ในปลายศตวรรษที่ 15 อาณาจักรรีวกีวได้ขยายอาณาเขตไปถึงเกาะใต้สุดของหมู่เกาะรีวกีว และใน ค.ศ. 1571 ได้ขยายอาณาเขตทางเหนือไปถึงเกาะอามามิโอชิมะ (ญี่ปุ่น: 奄美大島โรมาจิAmami Ōshima) ใกล้เกาะคีวชู สำหรับการปกครองนั้น พื้นที่เกือบทั้งอาณาจักรตั้งขึ้นตรงกับชูริ อันเป็นเมืองหลวง ยกเว้นเกาะตั้งแต่หมู่เกาะซากิชิมะลงมา เป็นเพียงแคว้นบรรณาการของอาณาจักรรีวกีว โดยยังมีผู้ครองแคว้นของตัวเองได้แต่ต้องจงรักภักดีกับเมืองชูริ

ยุคทองของการค้าทางทะเล

เป็นเวลาถึงเกือบสองร้อยปีที่อาณาจักรรีวกีวเติบโตได้เพราะเป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบทบาทนี้เอง ทำให้อาณาจักรรีวกีวตั้งมีฐานะเป็นรัฐบรรณาการต่อราชวงศ์หมิงแห่งจักรวรรดิจีนซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยแคว้นชูซันในค.ศ. 1372 การเป็นรัฐบรรณาการของจีนนี้ ทำให้จีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่ออาณาจักรรีวกีวตั้งแต่สมัยสามแคว้น โดยจีนได้จัดเรือเดินทะเลเพื่อให้ชาวรีวกีวอันค้าขาย จำกัดจำนวนชาวรีวกีวอันเพื่อให้ไปศึกษาในวิทยาลัยหลวงในเมืองปักกิ่ง รับรองสิทธิชอบธรรมในการครองแคว้นทั้งสามของกษัตริย์แคว้นชูซัน อนุญาตให้เรือของอาณาจักรรีวกีวเข้าไปทำการค้าที่ท่าเรือของจีนได้ พ่อค้าชาวรีวกีวอันใช้เรือสำเภาที่จีนจัดให้ได้เดินเรือไปทั่วภูมิภาค และเข้าไปค้าขายในท่าเรือของเมืองสำคัญต่าง ๆ เช่น เกาหลี จีน และญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีมะละกา ชวา สุมาตรา ปาเล็มบัง อันนัม (เวียดนาม) รวมถึงอยุธยาและปัตตานีด้วย

สินค้าญี่ปุ่น อาทิเช่น เครื่องเงิน ดาบ พัด เครื่องเขิน ม่านเบียวบุ เป็นต้น สินค้าจีน อาทิเช่น ยาจีน เหรียญกษาปณ์ เครื่องสังคโลก ผ้าไหม และสิ่งทออื่นๆ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันในอาณาจักรเพื่อแลกกับสินค้าจากที่ต่างๆ เช่น เครื่องเทศ เขาแรด ดีบุก น้ำตาล เหล็ก ไขปลาวาฬ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เถาวัลย์จากอินเดีย และกำยานจากอาหรับ ทั้งหมดนี้ มีการบันทึกว่ามีเรือจากรีวกีวแล่นมาทำการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 150 เที่ยว โดยมาที่สยาม 61 เที่ยว มะละกา 10 เที่ยว ปัตตานี 10 เที่ยว และชวา 8 เที่ยว

มาตรการไห่จิน (ภาษาจีน: 海禁, Hai jin แปลว่าข้อห้ามทางทะเล) คือมาตรการที่ราชวงศ์หมิงของจักรวรรดิจีนบังคับให้รัฐบรรณาการของจีนต้องทำการค้ากับจีนและประเทศที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ทำให้อาณาจักรรีวกีวได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากจีนมากกว่าประเทศอื่น ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรรีวกีวเป็นอย่างมากมาตลอด 150 ปี แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 การค้าของอาณาจักรรีวกีวตกต่ำ เนื่องจาก วาโก (ภาษาจีน: 倭寇, wōkòu; ภาษาญี่ปุ่น: wakō; ภาษาเกาหลี: 왜구, waegu) หรือโจรสลัดญี่ปุ่นออกอาละวาด ทำให้จีนคุ้มครองการค้าของอาณาจักรรีวกีวน้อยลง นอกจากนี้ อาณาจักรรีวกีวยังต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้ากับประเทศจากยุโรปด้วย

การรุนรานของญี่ปุ่นและถูกยึดครอง

อาคารหลักของปราสาทชูริ

ในค.ศ. 1590 โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (ญี่ปุ่น: 豊臣 秀吉โรมาจิToyotomi Hideyoshi) ขุนศึกคนสำคัญของญี่ปุ่น ได้มีการร้องขอให้อาณาจักรรีวกีวเข้าร่วมโจมตีราชวงศ์โชซ็อนของเกาหลี หากสำเร็จ ฮิเดโยชิก็จะสามารถยกทัพสู่จีนต่อได้ ด้วยอาณาจักรรีวกีวในขณะนั้นมีฐานะเป็นรัฐบรรณาการของราชวงศ์หมิงแห่งจักรวรรดิจีน จึงทำให้คำขอร้องนี้ถูกปฏิเสธไป

รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ (ญี่ปุ่น: 徳川幕府โรมาจิTokugawa bakufu) ได้ขึ้นครองอำนาจหลังจากโค่นขุนศึกฮิเดโยชิลงได้ และได้แต่งตั้งตระกูลชิมาซุ (ญี่ปุ่น: 島津氏โรมาจิShimazu-shi) ตระกูลไดเมียว (ญี่ปุ่น: 大名โรมาจิdaimyō) หรือเจ้าเมืองผู้ครองแคว้นซัตสึมะ (ปัจจุบันคือจังหวัดคาโงชิมะ) ให้ส่งกำลังทหารไปบุกอาณาจักรรีวกีวให้ได้ ในค.ศ. 1609 ด้วยกองทหารเพียงน้อยนิด อาณาจักรรีวกีวถูกยึดสำเร็จเป็นครั้งแรก พระเจ้าโชเน (ญี่ปุ่น: 尚寧โรมาจิShō Nei) ทรงถูกจับและนำไปขังไว้ที่แคว้นซัตสึมะและส่งต่อไปยังเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸โรมาจิEdo) เมืองหลวงของญี่ปุ่นในสมัยนั้น (ปัจจุบันคือโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京โรมาจิTōkyō) 2 ปีต่อมา อาณาจักรรีวกีวกลับรับอิสรภาพอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม แคว้นซัตสึมะยังคงคุมบางพื้นที่ของอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมู่เกาะอามามิ ซึ่งถูกรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นซัตสึมะ และปัจจุบันนี้กลายเป็นจังหวัดคาโงชิมะพร้อมแคว้นซัตสึมะ ไม่ใช่จังหวัดโอกินาวะเช่นส่วนอื่นของอาณาจักรรีวกีว

หลังได้รับอิสรภาพคืน อาณาจักรรีวกีวต้องอยู่ในภาวะประเทศราชของสองจักรวรรดิพร้อมกัน คือ จีนและญี่ปุ่น ซึ่งอาณาจักรรีวกีวต้องส่งบรรณาการให้กับราชวงศ์หมิงของจักรวรรดิจีน และรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะของญี่ปุ่น เนื่องจากจักรวรรดิจีนประกาศห้ามการค้าขายกับญี่ปุ่น เพื่อตอบโต้ที่รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะประกาศปิดประเทศ แคว้นซัตสึมะซึ่งได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรรีวกีวกับจักรวรรดิจีนเป็นสะพานเชื่อมในการทำการค้ากับจีน รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้ใช้นโยบายปิดประเทศของที่ห้ามการค้าขายกับต่างประเทศอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะยุโรป ยกเว้นดัตช์ อาจเรียกได้ว่าการที่แคว้นซัตสึมะใช้วิธีนี้ในการติดต่อกับต่างประเทศในช่วงปิดประเทศ เป็นช่องโหว่สำคัญที่ทำให้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกโค่นล้มไปในที่สุดในคริสต์ทศวรรษที่ 1860

หลังการได้รับอิสรภาพคืนจนถึงการยึดครองหมู่เกาะอย่างสมบูรณ์ในค.ศ. 1879 อาณาจักรรีวกีวกลายเป็นประเทศราชในปกครองของไดเมียวแห่งแคว้นซัตสึมะ แต่ไม่ได้มีฐานะเป็นแคว้น (ฮัน) หนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งก็ถือว่ายังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่น และชาวรีวกีวอันก็ยังไม่นับว่าเป็นชาวญี่ปุ่นด้วย อาณาจักรรีวกีวยังคงมีเอกราชของตนเองอยู่ แต่ต้องคอยรับใช้แคว้นซัตสึมะและรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในด้านการค้ากับจีนตามคำร้องขออยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็เป็นรัฐบรรณาการของจักรวรรดิจีนด้วยเช่นกัน อีกทั้งญี่ปุ่นไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเป็นทางการ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องไม่ให้ทางปักกิ่งรู้ว่าอาณาจักรรีวกีวถูกญี่ปุ่นควบคุมอยู่ ดังนั้น ญี่ปุ่นจำเป็นต้องวางมาตรการเสมือนวางเฉยต่ออาณาจักรรีวกีว การกระทำเช่นนี้ส่งผลดีทั้งต่อทั้ง 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรรีวกีว ไดเมียวแคว้นซัตสึมะ และรัฐบาลโชกุน ที่ต้องทำให้รีวกีวอันเหมือนต่างชาติและแตกต่างจากชาวญี่ปุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ชาวญี่ปุ่นห้ามเดินทางไปอาณาจักรรีวกีวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโชกุน และชาวรีวกีวอันก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อภาษาญี่ปุ่น ใส่เสื้อผ้าแบบญี่ปุ่น และปฏิบัติตามวัฒนธรรมญี่ปุ่น ห้ามแม้กระทั่งเมื่อชาวรีวกีวจะอันเดินทางไปกรุงเอโดะพร้อมกับไดเมียวแห่งแคว้นซัตสึมะ ก็ห้ามเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นแม้แต่น้อย ตระกูลชิมาซุผู้เป็นไดเมียวแห่งแคว้นซัตสึมะได้รับสิทธิพิเศษให้นำกษัตริย์แห่งอาณาจักรรีวกีวไปอยู่ในขบวนอิสริยยศเมื่อเดินทางไปกรุงเอโดะอย่างเป็นทางการ ในฐานะที่เป็นแคว้น (ฮัน) เดียวที่มีอาณาจักรเป็นเมืองขึ้น ชาวรีวกีวอันทำให้ขบวนแคว้นซัตสึมะดูแปลกและโดดเด่น และมองดูแล้วเหมือนกับไม่ได้มาจากญี่ปุ่นเอง

เมื่อพลเรือจัตวาแมทธิว แคลเบรธ เพร์รี (อังกฤษ: Commodore Matthew Calbraith Perry) เดินเรือถึงญี่ปุ่น เพื่อบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ในคริสต์ทศวรรษที่ 1850 เขาได้หยุดพักที่หมู่เกาะรีวกีวเป็นที่แรกเช่นเดียวกับนักเดินเรือตะวันตกหลายคนก่อนหน้านี้ เขาได้บีบบังคับให้อาณาจักรรีวกีวยอมเซ็นสัญญาเสียเปรียบทางการค้าเพื่อที่จะให้สหรัฐอเมริกาเปิดการค้ากับอาณาจักรรีวกีวได้ และจุดหมายต่อไปของเขาก็คือเอโดะ

ระหว่างการปฏิรูปเมจิ (ญี่ปุ่น: 明治維新โรมาจิMeiji Ishin) รัฐบาลโตเกียวในสมัยนั้นได้ล้มล้างอาณาจักรรีวกีวลง โดยถือเป็นการยึดครองหมู่เกาะรีวกีวของจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยสมบูรณ์ และเปลี่ยนเป็นจังหวัดโอกินาวะในค.ศ. 1879 ส่วนหมู่เกาะอามามิที่ถูกแคว้นซัตสึมะยึดครองไปก่อนหน้านี้ ก็เปลี่ยนเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดคาโงชิมะ พระเจ้าโช ไท (ญี่ปุ่น: 尚泰โรมาจิShō Tai) กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรรีวกีว ถูกให้ย้ายไปประทับที่กรุงโตเกียว พร้อมกับได้รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ (ญี่ปุ่น: 華族โรมาจิKazoku) ให้เป็นเจ้าขุนนางชั้นโคชากุ (ญี่ปุ่น: 侯爵โรมาจิkōshaku) (เทียบเท่ากับเจ้าพระยาของไทย) และได้รับการยกย่องดั่งเช่นตระกูลขุนนางชั้นสูง พระเจ้าโช ไทสวรรคตในค.ศ. 1901 ในช่วงที่อาณาจักรรีวกีวถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของญี่ปุ่นนี้ มีการปราบปรามผู้เรียกร้องอิสรภาพของอาณาจักรรีวกีวจากญี่ปุ่นหรือแคว้นซัตสึมะอยู่หลายครั้ง นอกจากนี้ จักรวรรดิจีนยังได้ทำหนังสือทางการทูตประท้วงรัฐบาลเมจิเช่นกัน

รายการอ้างอิง

  1. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน. 2548, หน้า 192
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน. 2548, หน้า 199

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!