สโมสรฟุตบอลปัคทาคอร์ ทาชเคนต์

ปัคทาคอร์ ทาชเคนต์
ฉายาPaxtakorlar
("คนปลูกฝ้าย")
Sherlar
("สิงโต")
Xalq jamoasi
("ทีมของประชาชน")
ก่อตั้ง1956
สนามสนามกีฬากลางปัคทาคอร์
ความจุ35,000
Presidentโบบูร์ โชดิเยฟ
ผู้จัดการประเทศจอร์เจีย โชตา อาร์เวลาเจ
ลีกอุซเบกิสถานซูเปอร์ลีก
20246
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลปัคทาคอร์ ทาชเคนต์ (อังกฤษ: FC Pakhtakor Tashkent, อุซเบก: Paxtakor Toshkent futbol klubi) เป็นสโมสรฟุตบอลในกรุงทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน ชื่อสโมสร "ปัคทาคอร์" มาจากคำในภาษาเปอร์เซียสองคำประสมกันและมีความหมายว่า "คนปลูกฝ้าย"

ปัคทาคอร์เป็นสโมสรเดียวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกที่เคยแข่งขันในโซเวียตท็อปลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของสหภาพโซเวียต และแข่งขันในอุซเบกิสถานซูเปอร์ลีกนับตั้งแต่ฤดูกาล 1992 หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ปัคทาคอร์ชนะเลิศอุซเบกิสถานซูเปอร์ลีกในฤดูกาล 2019 ซึ่งเป็นสมัยที่ 12 โดยก่อนหน้านี้ปัคทาคอร์ยังเคยชนะเลิศหกสมัยติดต่อกันตั้งแต่ฤดูกาล 2002 ถึง 2007[1]

ประวัติ

ปัคทาคอร์ลงแข่งขันนัดแรกในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1956 กับสโมสรฟุตบอลจากเมืองโมโลตอฟ (เปียร์มในปัจจุบัน)[2] และเลื่อนชั้นสู่โซเวียตท็อปลีกในฤดูกาล 1959 นับตั้งแต่นั้นมาปัคทาคอร์ก็เลื่อนชั้นและตกชั้นระหว่างโซเวียตท็อปลีกและโซเวียตเฟิสต์ลีกซึ่งเป็นลีกระดับสองของสหภาพโซเวียต ปัคทาคอร์เคยเข้ารอบชิงชนะเลิศโซเวียตคัพใน ค.ศ. 1968 แต่แพ้ตอร์ปิโดมอสโกในรอบชิงชนะเลิศ 0–1 อย่างไรก็ตาม ปัคทาคอร์ถือเป็นสโมสรจากเอเชียกลางเพียงสโมสรเดียวที่เคยเข้ารอบชิงชนะเลิศรายการนี้[3]

อุบัติเหตุทางการบินในฤดูกาล 1979

อนุสรณ์สถานรำลึกถึงผู้เล่นและเจ้าหน้าที่สโมสรที่เสียชีวิตในอุบัติเหตุทางอากาศ

โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นกับสโมสรปัคทาคอร์เกิดขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1979 ระหว่างที่ปัคทาคอร์เดินทางไปแข่งขันกับดือนามามินสค์ที่กรุงมินสค์ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (ประเทศเบลารุสในปัจจุบัน) เครื่องบินที่สโมสรโดยสารชนกับเครื่องบินอีกลำหนึ่งกลางอากาศเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศใกล้กับเมืองดนีปรอดแซร์ฌึนสก์ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (ปัจจุบันคือเมืองกามิยันสแก ประเทศยูเครน) ผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบินทั้งสองลำเสียชีวิตทั้งหมด รวมทั้งผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ของสโมสรปัคทาคอร์จำนวน 17 คนได้แก่[4][5]

  • อิดเกย์ โบรีโซวิช ตาเซตดีนอฟ (ผู้ฝึกสอน)
  • มีฮาอิล อิวาโนวิช อัน (กองกลาง)
  • วลาดีมีร์ อิวาโนวิช ฟิโอโดรอฟ (กองหน้า)
  • อะลิม มาซาเลียวิช อาชิรอฟ (กองหลัง)
  • ราวิล รุสตาโมวิช อะกีเชฟ (กองหลัง)
  • คอนสตันติน อะเลคซันโดรวิช บาคานอฟ (กองกลาง)
  • ยูรี ตีโมเฟเยวิช ซากูเมนนึฮ์ (กองหลัง)
  • อะเลคซันเดียร์ อิวาโนวิช คอร์เชนอฟ (กองกลาง)
  • นีโคไล โบรีโซวิช คูลีคอฟ (กองหลัง)
  • วลาดีมีร์ วาซีเลียวิช มาคารอฟ (กองกลาง)
  • เซียร์เกย์ คอนสตันตีโนวิช โปคาตีลอฟ (ผู้รักษาประตู)
  • วิคตอร์ นีโคลาเยวิช ชูร์กิน (กองหน้า)
  • ซีโรจิดดิน อาฮ์เมโดวิช บาซารอฟ (กองหน้า)
  • ชุฮ์รัต มูซีโนวิช อิชบูตาเยฟ (กองหน้า)
  • วลาดีมีร์ วาลีเยวิช ซาบีรอฟ (กองหน้า)
  • วลาดีมีร์ วาซีเลียวิช ชูมัคส์ (ผู้จัดการทีม)
  • มันซูร์ อีนัมจาโนวิช ตาลิบจานอฟ (ผู้บริหารสโมสร)

แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางอากาศ แต่สโมสรก็ยังคงทำผลงานได้ดี โดยทำผลงานดีที่สุดในฤดูกาล 1982 ฤดูกาลนั้นปัคทาคอร์จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6[5] แม้ว่าในช่วงหลังผลงานจะแย่ลงเนื่องจากอันเดรย์ ยาคูบิค ซึ่งเป็นผู้เล่นคนสำคัญช่วงหลังจากอุบัติเหตุได้ย้ายออกจากสโมสรกลับบ้านเกิดที่กรุงมอสโก[6] และปัคทาคอร์ตกชั้นลงไปแข่งขันในโซเวียตเฟิสต์ลีกก็ตาม

หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย

หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ประเทศในกลุ่มเครือรัฐเอกราชรวมทั้งอุซเบกิสถานซึ่งเคยมีทีมแข่งขันในลีกของสหภาพโซเวียตเดิมต่างก็แยกตัวไปตั้งลีกเป็นของตัวเอง ปัคทาคอร์ลงแข่งขันในอุซเบกิสถานซูเปอร์ลีกนับตั้งแต่นั้น นอกจากนี้ปัคทาคอร์ยังได้เป็นตัวแทนของลีกอุซเบกิสถานเข้าแข่งขันในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกหลายครั้ง ผลงานที่ดีที่สุดในระดับทวีปเอเชียได้แก่เข้ารอบรองชนะเลิศในฤดูกาล 2002–03 และฤดูกาล 2004 โดยแพ้บีอีซี เทโรศาสนและซ็องนัมอิลฮวาชุนมาตามลำดับ

คู่แข่งสำคัญ

สโมสรที่ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของปัคทาคอร์ได้แก่บุนยอดกอร์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงทาชเคนต์เช่นเดียวกัน และเนฟต์ชี ฟาร์ฆอนาซึ่งเป็นสโมสรเก่าแก่เช่นเดียวกับปัคทาคอร์ การแข่งขันระหว่างปัคทาคอร์และฟาร์ฆอนาถือได้ว่าเป็นเอลกลาซิโกแห่งอุซเบกิสถาน[7]

ผลงานระดับทวีป

ฤดูกาล รายการ รอบ คู่แข่งขัน นัดเหย้า นัดเยือน สรุปผล
1994–95 เอเชียนคัพวินเนอร์คัพ PL   แรฟแชน เกอลอบ 10–0[a] อันดับที่ 2
  ตารัซ 0–3[a]
  อะไล-ออช-ปีริม 5–1[a]
  เมรือ 4–0[a]
1998–99 เอเชียนคัพวินเนอร์คัพ 1R   ฮูจันด์ 4–1 1–1 5–2
2R   นีซา อาชกาบัต 6–0 0–5 6–5
3R   อัลอิติฮาด 0–1 0–3 0–4
1999–2000 เอเชียนคลับแชมเปียนชิป 1R   อีร์ติช ปัฟโลดาร์ 5–2 0–7 5–9
2001–02 เอเชียนคัพวินเนอร์คัพ 1R   เอสกาอา-เปเวโอ บิชเคก 3–1 1–2 4–3
2R   เรแกร์-แตแดซ ตูร์ซุนโซดา 2–2 1–3 3–5
2002–03 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   เพร์สโพลีส 1–0[b] อันดับที่ 1
  อัฏเฏาะละบะฮ์ 3–0[b]
  นีซา อาชกาบัต 3–0[b]
SF   บีอีซี เทโรศาสน 1–0 1–3 2–3
2004 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   โซบ-ออแฮน 2–0 0–1 อันดับที่ 1
  อัลเกาะฏ็อร 1–0 0–0
  อัรริฟาอ์ w/o w/o
QF   อัลวะห์ดะฮ์ 4–0 1–1 5–1
SF   ซ็องนัม 0–0 0–2 0–2
2005 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัลอะฮ์ลี 2–1 0–3 อันดับที่ 2
  อัซเซารออ์ 1–2 0–1
  อัลญะอิช 4–1 2–0
2006 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   กอดซียะฮ์ 2–2 1–2 อันดับที่ 2
  ฟูลอด 2–0 3–1
  อัลอิติฮาด 2–0 1–2
2007 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัลฮิลาล 0–2 0–2 อันดับที่ 2
  อัลกุวัยต์ 2–1 1–0
  เอสเทกลอล w/o w/o
2008 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   กอดซียะฮ์ 0–1 2–2 อันดับที่ 2
  อัรบีล 2–0 5–1
  อัลฆ็อรรอฟะฮ์ 2–0 2–2
2009 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัลฮิลาล 1–1 0–2 อันดับที่ 2
  ซะบาย โกม 2–1 2–0
  อัลอะฮ์ลี 2–0 2–1
R16   อัลอิติฟาก 2–1[c]
QF   อัลอิติฮาด 1–1 0–4 1–5
2010 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัชชะบาบ 1–3 1–2 อันดับที่ 2
  แซพอแฮน 2–1 0–2
  อัลอัยน์ 3–2 1–0
R16   อัลฆ็อรรอฟะฮ์ 0–1[d]
2011 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัสซัดด์ 1–1 1–2 อันดับที่ 4
  อันนัศร์ 2–2 0–4
  เอสเทกลอล 2–1 2–4
2012 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัลอิติฮาด 1–2 0–4 อันดับที่ 3
  บะนัยยาส 1–1 0–2
  อัลอะเราะบี 3–1 1–0
2013 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   ลัควิยา 2–2 1–3 อันดับที่ 4
  อัชชะบาบ 1–2 1–0
  อัลอิติฟาก 1–0 0–2
2015 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัลอัยน์ 0–1 1–1 อันดับที่ 3
  นาฟท์เตหะราน 2–1 1–1
  อัชชะบาบ 0–2 2–2
2016 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   อัลฮิลาล 2–2 1–4 อันดับที่ 3
  แทรกเตอร์ซาซี 1–0 0–2
  อัลญะซีเราะฮ์ 3–0 3–1
2018 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก PO   อัลฆ็อรรอฟะฮ์ 1–2[d]
2019 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก PL   อัลกุวะตุลญาวียะฮ์ 2–1[e]
PO   อันนัศร์ 2–1[f]
GS   เพร์สโพลีส 1–0 1–1 อันดับที่ 3
  อัลอะฮ์ลี 1–0 1–2
  อัสซัดด์ 2–2 1–2
2020 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   ชะบาบอัลอะฮ์ลีดูไบ 2–1 0–0 อันดับที่ 1
  แชหร์คูดรู 3–0 1–0
  อัลฮิลาล 0–0 1–2
R16   เอสเทกลอล 2–1[g]
QF   เพร์สโพลีส 0–2[g]
2021 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   แทรกเตอร์ ซาซี 3–3 0–0 อันดับที่ 3
  อัลกุวะตุลญาวียะฮ์ 1–0 0–0
  ชัรญะฮ์ 1–1 1–4
2022 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก GS   แซพอแฮน 1–3 1–2 อันดับที่ 4
  อัดดุฮัยล์ 0–3 2–3
  อัตตะอาวูน 5–4 1–0
หมายเหตุ
  • PL: รอบคัดเลือก
  • PO: รอบเพลย์ออฟ
  • GS: รอบแบ่งกลุ่ม
  • R16: รอบ 16 ทีมสุดท้าย
  • QF: รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • SF: รอบรองชนะเลิศ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 การแข่งขันทุกนัดจัดที่ตารัซ ประเทศคาซัคสถาน
  2. 2.0 2.1 2.2 การแข่งขันทุกนัดจัดที่ทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน
  3. แข่งขันเพียงนัดเดียว ปัคทาคอร์เดินทางไปเยือนอัลอิติฟากที่อัดดัมมาม ประเทศซาอุดีอาระเบีย
  4. 4.0 4.1 แข่งขันเพียงนัดเดียว ปัคทาคอร์เดินทางไปเยือนอัลฆ็อรรอฟะฮ์ที่โดฮา ประเทศกาตาร์
  5. แข่งขันเพียงนัดเดียว ปัคทาคอร์เป็นทีมเหย้า
  6. แข่งขันเพียงนัดเดียว ปัคทาคอร์เดินทางไปเยือนอันนัศร์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  7. 7.0 7.1 แข่งขันเพียงนัดเดียวเนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 โดยประเทศกาตาร์เสนอตัวเป็นเจ้าภาพการแข่งขันรอบแพ้คัดออกในโซนเอเชียตะวันตกทั้งหมด[8]

อ้างอิง

  1. Stokkermans, Karel (2008-02-28). "Uzbekistan – List of Champions". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-07-18.
  2. "Generations (Founded 1956)" (ภาษารัสเซีย). Pakhtakor Tashkent Official Website. 2008-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-18.[ลิงก์เสีย]
  3. "История Ф.К. Пахтакор (Узбекистан), 30.03.2008 เก็บถาวร 16 สิงหาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Yuldashev, Mavlyan (2004-08-11). "Двадцать пять лет назад в авиакатастрофе погибли футболисты ташкентской команды "Пахтакор" (Twenty Five Years Have Passed Since the Deadly Air Disaster Involving Pakhtakor Tashkent)" (ภาษารัสเซีย). Ferghana.Ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2012. สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.
  5. 5.0 5.1 Hogstrom, Erik (6 กรกฎาคม 2008). "A soccer movie idea to pitch". Dubuque Telegraph Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2008.
  6. "Andrei A. Yakubik" (ภาษารัสเซีย). Peoples.ru. 2008-01-24. สืบค้นเมื่อ 2008-07-18.
  7. Uzbek El Classico, 22 March, 2011 เก็บถาวร 2012-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "Qatar to host 2020 AFC Champions League in the West region". Asian Football Confederation. 16 July 2020.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!